“มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์ แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญและแม่ เกียรติศักดิ์รักข้ามอบไว้แก่ตัว”
“อันนี้พูดไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลย เป็นโคลงที่รัชกาลที่ 6 ทรงเขียนไว้
ซึ่งตรงกับในเรื่องพันท้ายนรสิงห์ แล้วทุกอย่างนี้เกี่ยวกับความรักทั้งหมด
เรื่องแรกเลยคือรักแผ่นดิน รักพระเจ้าแผ่นดิน รักพ่อแม่ รักเมีย
และท้ายที่สุดคือรักเกียรติศักดิ์ของตัวเอง”
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
Q. ในรอบ2ทศวรรษที่ผ่านมาจากภาพยนตร์แห่งสยามประเทศอย่างสุริโยไท ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้ง6ภาค และที่เรากำลังจะได้ชมกันก็คือ พันท้ายนรสิงห์ พูดได้ว่าภาพจำของ ท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล คือผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ปฏิวัติการทำหนังย้อนยุค ,พีเรียด ,อิงประวัติศาสตร์ ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่กระบวนการสร้าง ที่มีการสร้างโรงถ่ายทำอย่างเป็นทางการ มีการเอานักแสดงมาเข้าโรงเรียนฝึกฝนทางด้านการแสดงก่อนการถ่ายทำเป็นปีๆ มีการสร้างฉากเซ็ทโลเกชั่นเสมือนจริงใหญ่โตอลังการ ในสายตาของท่านมุ้ย ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์มีเสน่ห์ชวนหลงใหลอย่างไร กว่าจะถ่ายทำได้ในแต่ละฉาก นักแสดงจำนวนมหาศาล ทีมงานหลายพันชีวิต ใช้เวลาก็นานกว่าจะปิดกล้องถ่ายทำ ฯลฯ
ท่านมุ้ย : ปัญหาก็คือผมไม่เคยถือว่าเป็นหนังประวัติศาสตร์หรือว่าอะไรนะ เพราะว่าหนังหรือภาพยนตร์ก็คือภาพยนตร์เพราะต้องบอกอย่างนี้ครับ ไม่ว่าผมทำหนังอย่างทองพูนโคกโพซึ่งเกี่ยวกับคนขับแท๊กซี่กับพระสุริโยไท ผมก็treatให้เหมือนกันหมด เพราะว่าเราตั้งใจทำ100เปอร์เซ็นต์ 150เปอร์เซ็นต์ เผื่อถ้ามี50เปอร์เซ็นต์เพิ่ม คือทำให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ส่วนที่ว่าทำไมถึงมาหลงใหลในพระสุริโยไทหรือนเรศวรอะไรพวกนี้ คือเมื่อเราทำแล้วเราก็ต้องทำให้เสร็จ อย่างนเรศวรมันยาวมากนะครับ เพราะว่ามันมีหลายตอน ถ้าเผื่อว่าเราตัดตอนใดตอนหนึ่งออกมันก็จะไม่สมบูรณ์ เพราะว่ามันมีที่คนเขารู้เยอะมาก อย่างพระแสงดาบคาบค่าย หรือพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ยุทธหัตถี ประกาศอิสรภาพ คืออันนี้ที่รู้ๆกันนะ และยังมีที่ไม่รู้อีกเป็นจำนวนมาก ยังมีศึกตองอู ศึกนันทบุเรง คือมันมีมากมายมหาศาลซึ่งแต่ละอันสามารถทำหนังได้เรื่องหนึ่งเต็มๆเลยนะครับอย่างศึกนันทบุเรง แค่ศึกเดียวหรือพระยาจีนจันตุจากเหตุการณ์ๆเดียวเราสามารถทำหนังได้ทั้งเรื่องเช่นเดียวกัน
Q.ผลงานภาพยนตร์พีเรียดย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์เรื่องล่าสุดของท่าน “พันท้ายนรสิงห์”
ท่านมุ้ย : สำหรับเรื่องราวของ “พันท้ายนรสิงห์” คือเป็นเรื่องที่Controversial (มีข้อโต้แย้งเป็นที่ถกเถียง)กันมากๆเลย คือเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าเสือกับพันท้ายซึ่งเราก็ไม่รู้เลยว่าเป็นจริงแท้แค่ไหน แต่ว่าเรื่องของพันท้ายเป็นเรื่องที่อยู่ในพงศาวดารพูดถึงนายสินที่ทำให้หัวเรือหักและโดนประหารชีวิตในที่สุด ซึ่งเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย เป็นคนเดียวที่ขอให้ตัดหัวเพื่อรักษาพระเกียรติของพระเจ้าเสือ ซึ่งทำให้เราคิดว่าพระเจ้าเสืออาจไม่เลวร้ายเหมือนอย่างที่บางข้อมูลมีการพูดถึง แต่จะว่าไปแล้ว จริงๆแล้วท่านต้องมีอะไรดีอย่างน้อยที่สุดพันท้ายถึงยอมถวายชีวิตให้พระเจ้าเสือ จากจุดนี้ทำให้เราเริ่มค้นคว้าลึกเข้าไป แต่จริงๆก็ไม่ได้จำเป็นต้องค้นคว้าอะไรมากมายนะครับ เพราะว่าเรื่องบทของพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องที่ลุงผม(พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล)เอามาทำเป็นหนัง(พ.ศ.2493) เป็นละคร(พ.ศ.2487)มาก่อนในสมัยโน้น แต่ว่าเรารู้อย่างหนึ่งว่าพระเอกก็คือชูชัย พระขรรค์ชัย(ฉบับภาพยนตร์)นะครับ แล้วนางเอกคือสุพรรณ บูรณะพิมพ์(ทั้งฉบับละครเวทีและภาพยนตร์) แล้วบทของท่าน มันค่อนข้างลึกซึ้งพอสมควร นั่นแสดงว่าท่านศึกษามากมายพอสมควรนะครับ ซึ่งเราก็ไปศึกษาต่อ ต่อยอดมาจากท่าน แล้วเราก็นำมาทำ(พันท้ายนรสิงห์ฉบับปีพุทธศักราช2558)
Q.นั่นหมายความนอกจากท่านมุ้ยทรงประทับใจในพระราชนิพนธ์ “พันท้ายนรสิงห์” ของพระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ทรงเลือกนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ให้ได้ชมกันแล้ว ระยะเวลาที่ผ่านไปกว่า70ปีไม่ได้ลดทอนคุณค่าในแก่นสารหรือสาระสำคัญที่บทพระราชนิพนธ์มีท่านมุ้ยมองว่าไม่ได้เป็นความล้าสมัยเลยที่จะนำเสนอในยุคปัจจุบันนี้
ท่านมุ้ย : เรื่องความรักนะเหรอครับ ผมว่าเรื่องความรักเป็นสิ่งที่ไม่ล้าสมัยนะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรักระหว่างเพื่อนระหว่างพันท้ายนรสิงห์หรือไอ้สินกับพระเจ้าเสือ กับผู้หญิงซึ่งเป็นตัวกลางที่อยู่ระหว่างคนสองคนคือนวล ซึ่งพระเจ้าเสือในบทของผมท่านก็รักนวลพอสมควร แล้วก็เวลาเดียวกันไอ้สินรักนวล ขนาดถวายชีวิตด้วยกันตายแทนกันได้ มันเป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆเลย
Q.ฟังๆดูแล้วนอกจากความเป็นภาพยนตร์พีเรียดอิงประวัติศาสตร์ใน “พันท้ายนรสิงห์” ผู้ชมจะได้สัมผัสถึงอารมณ์ในรูปแบบของความดรามาติก-โรแมนซ์อยู่พอสมควรเลยทีเดียว
ท่านมุ้ย : ต้องบอกอย่างนี้ครับมันเป็นแกนของเรื่องเลยนะครับ เรื่องโรแมนติคหรือเรื่องอะไรพวกนี้ คือผมก็ไม่รู้นะ คือเราก็พยายามที่จะให้เห็นถึงความรัก ถามว่าแล้วในพันท้ายนรสิงห์มีกี่ความรักละ มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์ แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า ดวงใจมอบเมียขวัญและแม่ เกียรติศักดิ์รักข้ามอบไว้แก่ตัว อันนี้พูดไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลยเป็นโคลงที่รัชกาลที่6ทรงเขียนไว้ ซึ่งตรงกับในเรื่องนี้ แล้วทุกอย่างนี้เกี่ยวกับความรักทั้งหมด เรื่องแรกเลยคือรักแผ่นดิน รักพระเจ้าแผ่นดิน รักพ่อแม่ รักเมียและท้ายที่สุดคือรักเกียรติศักดิ์ของตัวเอง นี่คือคอนเซ็ปท์ที่อยากให้มันมีการถูกพูดถึงให้ได้
Q.ที่ผ่านมาเราจะได้เห็นภาพบรรยากาศ เหตุการณ์ เรื่องราวในประวัติศาสตร์ของ “อยุธยา” ในช่วงเวลาต่างๆผ่านภาพยนตร์อย่าง “สุริโยไท” และ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวร” แล้วสำหรับในเรื่องราวของ “พันท้ายนรสิงห์” ผู้ชมจะได้สัมผัสเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไหนในสมัยอยุธยา
ท่านมุ้ย : ห่างกันร้อยกว่าปีก่อนที่เราจะเสียเมืองไม่กี่ปี เป็นช่วงท้ายสุดของราชวงศ์บ้านพลูหลวงครับ อีก 2 รัชสมัยซึ่งเป็นรัชสมัยสั้นๆก่อนที่เราจะเสียเมือง เราก็จะมีการเอ่ยผ่านๆ มีการพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระนารายณ์อยู่บ้างเหมือนกันนะครับ
Q.สำหรับแฟนๆของท่านมุ้ยนี่เป็นอีกหนึ่งผลงานภาพยนตร์พีเรียดอิงประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ สุริโยไท ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนมาถึงผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุด “พันท้ายนรสิงห์”ต้องถามว่าเรื่องนี้แตกต่างจากสองเรื่องก่อนหน้านี้อย่างไรบ้าง
ท่านมุ้ย : แตกต่างกันอย่างไรนะเหรอครับ จริงๆสำหรับพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในของประเทศมันจะเป็นเรื่องของการปฏิวัตินะครับ มันจะไม่เกี่ยวกับพม่าหรือเขมรอะไรพวกนี้นะครับ มันเป็นเรื่องต่อสู้ภายในรบกันในประเทศระหว่างพระเจ้าเสือกับคนที่ไม่พอใจกับพระเจ้าเสือก็คือพระพิชัย(รับบทโดยสรพงษ์ ชาตรี)
ผู้ที่เข้าใจผิดว่าพระเจ้าเสือเป็นขบถต่อพระนารายณ์(รับบทโดยสุเชาว์ พงษ์วิไล) เพื่อที่จะให้พ่อเลี้ยงของตัวเองคือพระเภทราชา(สมภพ เบญจาธิกุล)ขึ้นมาป็นกษัตริย์แทน
Q.พูดถึงนักแสดงที่ถูกคัดเลือกให้มารับบทบาทถ่ายทอดคาแรคเตอร์หลักทั้ง3 (พระเจ้าเสือ,พันท้ายนรสิงห์หรือไอ้สินและนวล) ให้โลดแล่นในภาพยนตร์เรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ฉบับพุทธศักราช2558นี้
ท่านมุ้ย : คนแรกเราก็มองผู้พันเบิร์ด(พันโทวันชนะ สวัสดี)เป็นพระเจ้าเสือ ซึ่งจริงๆแล้วผมประทับใจตั้งแต่สมัยที่ผู้พันเบิร์ดเป็นพระนเรศวร แต่ว่าในความรู้สึกของคนทั่วไปเขาอาจจะติดภาพของผู้พันเบิร์ดในฐานะของพระนเรศวร เราถึงต้องแก้ภาพพจน์อันนี้ให้เป็นผู้พันเบิร์ดที่เป็นพระเจ้าเสือ ซึ่งผมคิดว่าก็ประสบความสำเร็จพอสมควร เสร็จแล้วมาถึงบทพันท้ายนรสิงห์หรือนายสิน ก็เอาเด็กใหม่มาเล่นนะครับ อันนี้พูดถึงเด็กใหม่ ตอนเราเริ่มถ่ายทำเขาก็ไม่เคยเล่นหนังเรื่องไหนมาก่อน คุณเต้ย พงศกร สดๆเลยครับ
Q.อย่างนี้ต้องเรียนถามว่าภาพของพระเจ้าเสือในใจของท่านมุ้ยเป็นอย่างไร และความต้องการที่จะเปลี่ยนลุคของผู้พันเบิร์ด ท้ายที่สุดแล้วออกมาได้อย่างตรงใจท่านมุ้ยแค่ไหน อย่างไร
ท่านมุ้ย : ก็ในเรื่องสำหรับพระเจ้าเสือหรือทิดเดื่อ ท่านก็เป็นนักเลงชอบต่อยมวย ชอบจีบผู้หญิงซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างจากพระนเรศวรโดยสิ้นเชิงนะครับ เพราะอย่างพระนเรศวรจะค่อนข้างขรึมๆ ซึ่งสำหรับพระนเรศวรจะค่อนข้างยากในการทำเป็นหนัง เพราะเราจะแตกประเด็นออกไปมากไม่ได้ แต่ว่าพันท้ายนรสิงห์ พระเจ้าเสือจะสามารถที่จะเล่นในมุมกว้างได้มากกว่าพระนเรศวร ที่สำคัญมีชีวิตชีวามากกว่า
Q.อยากให้ท่านมุ้ยช่วยลองยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพว่าลุคที่เปลี่ยนไปของผู้พันเบิร์ดที่แฟนๆจะได้เห็นในบทพระเจ้าเสือจากภาพยนตร์เรื่อง “พันท้ายนรสิงห์”เป็นอย่างไรบ้าง
ท่านมุ้ย : ก็อย่างจีบผู้หญิงแข่งกับไอ้สินจีบนวล ซึ่งในเรื่องท่านปลอมตัวเข้าไปในหมู่บ้านวิเศษชัยชาญเพื่อที่จะเข้าไปสืบการฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วก็ไปเจอกับสาวชาวบ้าน แล้วท่านก็เลยเกิดชอบพอ หลงรักเข้า เพราะตามปกติแล้ว เป็นพระเจ้าเสืออยากจะได้ผู้หญิงคนไหนก็ได้ในปฐพี จะสวยแค่ไหนท่านก็เอามาได้ แต่ว่าพอมาถึงนวล สาวที่วิเศษชัยชาญ เป็นผู้หญิงที่ปฏิเสธท่านตั้งแต่ต้น เพราะว่านวลเองมีความรักอยู่แล้วกับสิน ซึ่งทำให้พระเจ้าเสือค่อนข้างที่จะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นในการที่จะได้นวลมาเป็นเมีย
Q.มาถึงพระเอกใหม่บ้างที่ ณ เวลานั้นค่อนข้างสดมากๆ เต้ย พงศกร อย่างนี้พอพูดได้มั้ยท่านว่าท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลเป็นครูคนแรกของเต้ย
ท่านมุ้ย : เป็นครูคนแรก พูดได้เลยครับ
Q.ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาพูดได้ว่าท่านมุ้ยมีลูกศิษย์ลูกหาเต็มไปหมดทั่วทั้งวงการ มีนักแสดงตลอดจนผู้กำกับหลายๆคนที่ได้แจ้งเกิดในวงการภาพยนตร์ หลังๆที่เห็นชัดๆในรอบ14-15ปีก็จะมีเหล่านักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่าง ผู้พันเบิร์ด พันโทวันชนะ, แอฟ ทักษอร,ปีเตอร์ นพชัย ซึ่งตอนนี้กลายเป็นผู้กำกับแล้ว ฯลฯ เรื่อยมาจนถึงคู่ล่าสุด เต้ย พงศกร และน้องมัดหมี่ พิมดาว อยากเรียนถามท่านมุ้ยว่าทำไมท่านถึงต้องให้นักแสดงมาเข้าหลักสูตร-เวิร์คช็อพขี่ม้า ฟันดาบ ใช้ชีวิต เลี้ยงควายฝึกฝนมากมายขนาดนั้นบางคนแรมเดือน เห็นว่าอย่างมัดหมี่นี่ก็แรมปีเลยทีเดียว
ท่านมุ้ย : คือเราต้องการให้นักแสดงเป็นตัวละครตัวนั้นจริงๆ ให้เต้ยเขาเป็นพันท้ายนรสิงห์จริงๆเลย เป็นทั้งชาวบ้านเป็นสิน เป็นทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นพันท้ายกับศักดินาพันไร่ซึ่งเขาต้องแสดงในหลายๆบทบาท บทบาทที่มีความรักกับนวลอะไรพวกนี้ก็เช่นกันในแง่การถ่ายทอดอารมณ์ รวมไปถึงฉากแอ็คชั่น เพราะภาพยนตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์ก็มีฉากบู๊อยู่มากพอสมควร
Q.อยากให้ท่านมุ้ยเล่าให้ฟังว่าเอาเต้ยมาฝึกทักษะการแสดงอะไรบ้าง
ท่านมุ้ย : เราเอาเต้ยมาฝึกสารพัดอย่างเลยครับ ก่อนอื่นต้องให้เขาทำความเข้าใจกับตัวแสดงในเรื่องกับตัวบทที่เขาจะต้องถ่ายทอดออกมาว่าเป็นใคร อันแรกเราต้องเปลี่ยนลุคของเขาให้เข้ากับตัวพันท้ายซึ่งก็ตั้งแต่ตอนเป็นชาวบ้านไปจนกระทั่งถึงเป็นพันท้ายนะครับตั้งแต่เป็นไอ้สินเลย ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงก็มีตั้งแต่ตัดผมตัดเผ้า คือทำทุกอย่างให้มันดูเป็นชาวบ้านไปจนถึงแอ็คชั่นด้วยครับ สู้กัน โดยมีทีมสตันท์คอยสอนว่าจะสู้อย่างไร ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง รวมไปถึงเป่าขลุ่ยหรือแม้แต่พายเรือทั้งพายเรือธรรมดาและถือหางเสือ
บทสัมภาษณ์”ท่านมุ้ย” จากภาพยนตร์เรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ฉบับพุทธศักราช2558
“มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์ แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญและแม่ เกียรติศักดิ์รักข้ามอบไว้แก่ตัว”
“อันนี้พูดไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลย เป็นโคลงที่รัชกาลที่ 6 ทรงเขียนไว้
ซึ่งตรงกับในเรื่องพันท้ายนรสิงห์ แล้วทุกอย่างนี้เกี่ยวกับความรักทั้งหมด
เรื่องแรกเลยคือรักแผ่นดิน รักพระเจ้าแผ่นดิน รักพ่อแม่ รักเมีย
และท้ายที่สุดคือรักเกียรติศักดิ์ของตัวเอง”
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
Q. ในรอบ2ทศวรรษที่ผ่านมาจากภาพยนตร์แห่งสยามประเทศอย่างสุริโยไท ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้ง6ภาค และที่เรากำลังจะได้ชมกันก็คือ พันท้ายนรสิงห์ พูดได้ว่าภาพจำของ ท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล คือผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ปฏิวัติการทำหนังย้อนยุค ,พีเรียด ,อิงประวัติศาสตร์ ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่กระบวนการสร้าง ที่มีการสร้างโรงถ่ายทำอย่างเป็นทางการ มีการเอานักแสดงมาเข้าโรงเรียนฝึกฝนทางด้านการแสดงก่อนการถ่ายทำเป็นปีๆ มีการสร้างฉากเซ็ทโลเกชั่นเสมือนจริงใหญ่โตอลังการ ในสายตาของท่านมุ้ย ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์มีเสน่ห์ชวนหลงใหลอย่างไร กว่าจะถ่ายทำได้ในแต่ละฉาก นักแสดงจำนวนมหาศาล ทีมงานหลายพันชีวิต ใช้เวลาก็นานกว่าจะปิดกล้องถ่ายทำ ฯลฯ
ท่านมุ้ย : ปัญหาก็คือผมไม่เคยถือว่าเป็นหนังประวัติศาสตร์หรือว่าอะไรนะ เพราะว่าหนังหรือภาพยนตร์ก็คือภาพยนตร์เพราะต้องบอกอย่างนี้ครับ ไม่ว่าผมทำหนังอย่างทองพูนโคกโพซึ่งเกี่ยวกับคนขับแท๊กซี่กับพระสุริโยไท ผมก็treatให้เหมือนกันหมด เพราะว่าเราตั้งใจทำ100เปอร์เซ็นต์ 150เปอร์เซ็นต์ เผื่อถ้ามี50เปอร์เซ็นต์เพิ่ม คือทำให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ส่วนที่ว่าทำไมถึงมาหลงใหลในพระสุริโยไทหรือนเรศวรอะไรพวกนี้ คือเมื่อเราทำแล้วเราก็ต้องทำให้เสร็จ อย่างนเรศวรมันยาวมากนะครับ เพราะว่ามันมีหลายตอน ถ้าเผื่อว่าเราตัดตอนใดตอนหนึ่งออกมันก็จะไม่สมบูรณ์ เพราะว่ามันมีที่คนเขารู้เยอะมาก อย่างพระแสงดาบคาบค่าย หรือพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ยุทธหัตถี ประกาศอิสรภาพ คืออันนี้ที่รู้ๆกันนะ และยังมีที่ไม่รู้อีกเป็นจำนวนมาก ยังมีศึกตองอู ศึกนันทบุเรง คือมันมีมากมายมหาศาลซึ่งแต่ละอันสามารถทำหนังได้เรื่องหนึ่งเต็มๆเลยนะครับอย่างศึกนันทบุเรง แค่ศึกเดียวหรือพระยาจีนจันตุจากเหตุการณ์ๆเดียวเราสามารถทำหนังได้ทั้งเรื่องเช่นเดียวกัน
Q.ผลงานภาพยนตร์พีเรียดย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์เรื่องล่าสุดของท่าน “พันท้ายนรสิงห์”
ท่านมุ้ย : สำหรับเรื่องราวของ “พันท้ายนรสิงห์” คือเป็นเรื่องที่Controversial (มีข้อโต้แย้งเป็นที่ถกเถียง)กันมากๆเลย คือเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าเสือกับพันท้ายซึ่งเราก็ไม่รู้เลยว่าเป็นจริงแท้แค่ไหน แต่ว่าเรื่องของพันท้ายเป็นเรื่องที่อยู่ในพงศาวดารพูดถึงนายสินที่ทำให้หัวเรือหักและโดนประหารชีวิตในที่สุด ซึ่งเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย เป็นคนเดียวที่ขอให้ตัดหัวเพื่อรักษาพระเกียรติของพระเจ้าเสือ ซึ่งทำให้เราคิดว่าพระเจ้าเสืออาจไม่เลวร้ายเหมือนอย่างที่บางข้อมูลมีการพูดถึง แต่จะว่าไปแล้ว จริงๆแล้วท่านต้องมีอะไรดีอย่างน้อยที่สุดพันท้ายถึงยอมถวายชีวิตให้พระเจ้าเสือ จากจุดนี้ทำให้เราเริ่มค้นคว้าลึกเข้าไป แต่จริงๆก็ไม่ได้จำเป็นต้องค้นคว้าอะไรมากมายนะครับ เพราะว่าเรื่องบทของพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องที่ลุงผม(พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล)เอามาทำเป็นหนัง(พ.ศ.2493) เป็นละคร(พ.ศ.2487)มาก่อนในสมัยโน้น แต่ว่าเรารู้อย่างหนึ่งว่าพระเอกก็คือชูชัย พระขรรค์ชัย(ฉบับภาพยนตร์)นะครับ แล้วนางเอกคือสุพรรณ บูรณะพิมพ์(ทั้งฉบับละครเวทีและภาพยนตร์) แล้วบทของท่าน มันค่อนข้างลึกซึ้งพอสมควร นั่นแสดงว่าท่านศึกษามากมายพอสมควรนะครับ ซึ่งเราก็ไปศึกษาต่อ ต่อยอดมาจากท่าน แล้วเราก็นำมาทำ(พันท้ายนรสิงห์ฉบับปีพุทธศักราช2558)
Q.นั่นหมายความนอกจากท่านมุ้ยทรงประทับใจในพระราชนิพนธ์ “พันท้ายนรสิงห์” ของพระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ทรงเลือกนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ให้ได้ชมกันแล้ว ระยะเวลาที่ผ่านไปกว่า70ปีไม่ได้ลดทอนคุณค่าในแก่นสารหรือสาระสำคัญที่บทพระราชนิพนธ์มีท่านมุ้ยมองว่าไม่ได้เป็นความล้าสมัยเลยที่จะนำเสนอในยุคปัจจุบันนี้
ท่านมุ้ย : เรื่องความรักนะเหรอครับ ผมว่าเรื่องความรักเป็นสิ่งที่ไม่ล้าสมัยนะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรักระหว่างเพื่อนระหว่างพันท้ายนรสิงห์หรือไอ้สินกับพระเจ้าเสือ กับผู้หญิงซึ่งเป็นตัวกลางที่อยู่ระหว่างคนสองคนคือนวล ซึ่งพระเจ้าเสือในบทของผมท่านก็รักนวลพอสมควร แล้วก็เวลาเดียวกันไอ้สินรักนวล ขนาดถวายชีวิตด้วยกันตายแทนกันได้ มันเป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆเลย
Q.ฟังๆดูแล้วนอกจากความเป็นภาพยนตร์พีเรียดอิงประวัติศาสตร์ใน “พันท้ายนรสิงห์” ผู้ชมจะได้สัมผัสถึงอารมณ์ในรูปแบบของความดรามาติก-โรแมนซ์อยู่พอสมควรเลยทีเดียว
ท่านมุ้ย : ต้องบอกอย่างนี้ครับมันเป็นแกนของเรื่องเลยนะครับ เรื่องโรแมนติคหรือเรื่องอะไรพวกนี้ คือผมก็ไม่รู้นะ คือเราก็พยายามที่จะให้เห็นถึงความรัก ถามว่าแล้วในพันท้ายนรสิงห์มีกี่ความรักละ มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์ แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า ดวงใจมอบเมียขวัญและแม่ เกียรติศักดิ์รักข้ามอบไว้แก่ตัว อันนี้พูดไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลยเป็นโคลงที่รัชกาลที่6ทรงเขียนไว้ ซึ่งตรงกับในเรื่องนี้ แล้วทุกอย่างนี้เกี่ยวกับความรักทั้งหมด เรื่องแรกเลยคือรักแผ่นดิน รักพระเจ้าแผ่นดิน รักพ่อแม่ รักเมียและท้ายที่สุดคือรักเกียรติศักดิ์ของตัวเอง นี่คือคอนเซ็ปท์ที่อยากให้มันมีการถูกพูดถึงให้ได้
Q.ที่ผ่านมาเราจะได้เห็นภาพบรรยากาศ เหตุการณ์ เรื่องราวในประวัติศาสตร์ของ “อยุธยา” ในช่วงเวลาต่างๆผ่านภาพยนตร์อย่าง “สุริโยไท” และ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวร” แล้วสำหรับในเรื่องราวของ “พันท้ายนรสิงห์” ผู้ชมจะได้สัมผัสเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไหนในสมัยอยุธยา
ท่านมุ้ย : ห่างกันร้อยกว่าปีก่อนที่เราจะเสียเมืองไม่กี่ปี เป็นช่วงท้ายสุดของราชวงศ์บ้านพลูหลวงครับ อีก 2 รัชสมัยซึ่งเป็นรัชสมัยสั้นๆก่อนที่เราจะเสียเมือง เราก็จะมีการเอ่ยผ่านๆ มีการพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระนารายณ์อยู่บ้างเหมือนกันนะครับ
Q.สำหรับแฟนๆของท่านมุ้ยนี่เป็นอีกหนึ่งผลงานภาพยนตร์พีเรียดอิงประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ สุริโยไท ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนมาถึงผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุด “พันท้ายนรสิงห์”ต้องถามว่าเรื่องนี้แตกต่างจากสองเรื่องก่อนหน้านี้อย่างไรบ้าง
ท่านมุ้ย : แตกต่างกันอย่างไรนะเหรอครับ จริงๆสำหรับพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในของประเทศมันจะเป็นเรื่องของการปฏิวัตินะครับ มันจะไม่เกี่ยวกับพม่าหรือเขมรอะไรพวกนี้นะครับ มันเป็นเรื่องต่อสู้ภายในรบกันในประเทศระหว่างพระเจ้าเสือกับคนที่ไม่พอใจกับพระเจ้าเสือก็คือพระพิชัย(รับบทโดยสรพงษ์ ชาตรี)
ผู้ที่เข้าใจผิดว่าพระเจ้าเสือเป็นขบถต่อพระนารายณ์(รับบทโดยสุเชาว์ พงษ์วิไล) เพื่อที่จะให้พ่อเลี้ยงของตัวเองคือพระเภทราชา(สมภพ เบญจาธิกุล)ขึ้นมาป็นกษัตริย์แทน
Q.พูดถึงนักแสดงที่ถูกคัดเลือกให้มารับบทบาทถ่ายทอดคาแรคเตอร์หลักทั้ง3 (พระเจ้าเสือ,พันท้ายนรสิงห์หรือไอ้สินและนวล) ให้โลดแล่นในภาพยนตร์เรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ฉบับพุทธศักราช2558นี้
ท่านมุ้ย : คนแรกเราก็มองผู้พันเบิร์ด(พันโทวันชนะ สวัสดี)เป็นพระเจ้าเสือ ซึ่งจริงๆแล้วผมประทับใจตั้งแต่สมัยที่ผู้พันเบิร์ดเป็นพระนเรศวร แต่ว่าในความรู้สึกของคนทั่วไปเขาอาจจะติดภาพของผู้พันเบิร์ดในฐานะของพระนเรศวร เราถึงต้องแก้ภาพพจน์อันนี้ให้เป็นผู้พันเบิร์ดที่เป็นพระเจ้าเสือ ซึ่งผมคิดว่าก็ประสบความสำเร็จพอสมควร เสร็จแล้วมาถึงบทพันท้ายนรสิงห์หรือนายสิน ก็เอาเด็กใหม่มาเล่นนะครับ อันนี้พูดถึงเด็กใหม่ ตอนเราเริ่มถ่ายทำเขาก็ไม่เคยเล่นหนังเรื่องไหนมาก่อน คุณเต้ย พงศกร สดๆเลยครับ
Q.อย่างนี้ต้องเรียนถามว่าภาพของพระเจ้าเสือในใจของท่านมุ้ยเป็นอย่างไร และความต้องการที่จะเปลี่ยนลุคของผู้พันเบิร์ด ท้ายที่สุดแล้วออกมาได้อย่างตรงใจท่านมุ้ยแค่ไหน อย่างไร
ท่านมุ้ย : ก็ในเรื่องสำหรับพระเจ้าเสือหรือทิดเดื่อ ท่านก็เป็นนักเลงชอบต่อยมวย ชอบจีบผู้หญิงซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างจากพระนเรศวรโดยสิ้นเชิงนะครับ เพราะอย่างพระนเรศวรจะค่อนข้างขรึมๆ ซึ่งสำหรับพระนเรศวรจะค่อนข้างยากในการทำเป็นหนัง เพราะเราจะแตกประเด็นออกไปมากไม่ได้ แต่ว่าพันท้ายนรสิงห์ พระเจ้าเสือจะสามารถที่จะเล่นในมุมกว้างได้มากกว่าพระนเรศวร ที่สำคัญมีชีวิตชีวามากกว่า
Q.อยากให้ท่านมุ้ยช่วยลองยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพว่าลุคที่เปลี่ยนไปของผู้พันเบิร์ดที่แฟนๆจะได้เห็นในบทพระเจ้าเสือจากภาพยนตร์เรื่อง “พันท้ายนรสิงห์”เป็นอย่างไรบ้าง
ท่านมุ้ย : ก็อย่างจีบผู้หญิงแข่งกับไอ้สินจีบนวล ซึ่งในเรื่องท่านปลอมตัวเข้าไปในหมู่บ้านวิเศษชัยชาญเพื่อที่จะเข้าไปสืบการฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วก็ไปเจอกับสาวชาวบ้าน แล้วท่านก็เลยเกิดชอบพอ หลงรักเข้า เพราะตามปกติแล้ว เป็นพระเจ้าเสืออยากจะได้ผู้หญิงคนไหนก็ได้ในปฐพี จะสวยแค่ไหนท่านก็เอามาได้ แต่ว่าพอมาถึงนวล สาวที่วิเศษชัยชาญ เป็นผู้หญิงที่ปฏิเสธท่านตั้งแต่ต้น เพราะว่านวลเองมีความรักอยู่แล้วกับสิน ซึ่งทำให้พระเจ้าเสือค่อนข้างที่จะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นในการที่จะได้นวลมาเป็นเมีย
Q.มาถึงพระเอกใหม่บ้างที่ ณ เวลานั้นค่อนข้างสดมากๆ เต้ย พงศกร อย่างนี้พอพูดได้มั้ยท่านว่าท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลเป็นครูคนแรกของเต้ย
ท่านมุ้ย : เป็นครูคนแรก พูดได้เลยครับ
Q.ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาพูดได้ว่าท่านมุ้ยมีลูกศิษย์ลูกหาเต็มไปหมดทั่วทั้งวงการ มีนักแสดงตลอดจนผู้กำกับหลายๆคนที่ได้แจ้งเกิดในวงการภาพยนตร์ หลังๆที่เห็นชัดๆในรอบ14-15ปีก็จะมีเหล่านักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่าง ผู้พันเบิร์ด พันโทวันชนะ, แอฟ ทักษอร,ปีเตอร์ นพชัย ซึ่งตอนนี้กลายเป็นผู้กำกับแล้ว ฯลฯ เรื่อยมาจนถึงคู่ล่าสุด เต้ย พงศกร และน้องมัดหมี่ พิมดาว อยากเรียนถามท่านมุ้ยว่าทำไมท่านถึงต้องให้นักแสดงมาเข้าหลักสูตร-เวิร์คช็อพขี่ม้า ฟันดาบ ใช้ชีวิต เลี้ยงควายฝึกฝนมากมายขนาดนั้นบางคนแรมเดือน เห็นว่าอย่างมัดหมี่นี่ก็แรมปีเลยทีเดียว
ท่านมุ้ย : คือเราต้องการให้นักแสดงเป็นตัวละครตัวนั้นจริงๆ ให้เต้ยเขาเป็นพันท้ายนรสิงห์จริงๆเลย เป็นทั้งชาวบ้านเป็นสิน เป็นทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นพันท้ายกับศักดินาพันไร่ซึ่งเขาต้องแสดงในหลายๆบทบาท บทบาทที่มีความรักกับนวลอะไรพวกนี้ก็เช่นกันในแง่การถ่ายทอดอารมณ์ รวมไปถึงฉากแอ็คชั่น เพราะภาพยนตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์ก็มีฉากบู๊อยู่มากพอสมควร
Q.อยากให้ท่านมุ้ยเล่าให้ฟังว่าเอาเต้ยมาฝึกทักษะการแสดงอะไรบ้าง
ท่านมุ้ย : เราเอาเต้ยมาฝึกสารพัดอย่างเลยครับ ก่อนอื่นต้องให้เขาทำความเข้าใจกับตัวแสดงในเรื่องกับตัวบทที่เขาจะต้องถ่ายทอดออกมาว่าเป็นใคร อันแรกเราต้องเปลี่ยนลุคของเขาให้เข้ากับตัวพันท้ายซึ่งก็ตั้งแต่ตอนเป็นชาวบ้านไปจนกระทั่งถึงเป็นพันท้ายนะครับตั้งแต่เป็นไอ้สินเลย ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงก็มีตั้งแต่ตัดผมตัดเผ้า คือทำทุกอย่างให้มันดูเป็นชาวบ้านไปจนถึงแอ็คชั่นด้วยครับ สู้กัน โดยมีทีมสตันท์คอยสอนว่าจะสู้อย่างไร ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง รวมไปถึงเป่าขลุ่ยหรือแม้แต่พายเรือทั้งพายเรือธรรมดาและถือหางเสือ