คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ชื่อราชวงศ์กษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุทธยา ล้วนเพิ่งถูกกำหนดขึ้นมาในสมัยหลังเพื่อให้สะดวกต่อการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นการนำกรอบการตั้งชื่อราชวงศ์ หรือ ราชตระกูล แบบตะวันตกมาใช้
รัฐโบราณในประเทศไทย เช่น ล้านนา อยุทธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฯลฯ ไม่มีหลักฐานแนวคิดการตั้งชื่อราชวงศ์ตะวันตกที่กำหนดชื่อราชตระกูลชัดเจน แบบ House of Tudor หรือ House of Windsor ฯลฯ
“ราชวงศ์” ตามแนวคิดแบบไทยโบราณเป็นการระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดเท่านั้น ปรากฏตัวอย่างในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา กล่าวถึงพระบิดาและพระมารดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชว่า “บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า”
คำว่า “พระราชวงศ์พระร่วง” ไม่ได้หมายความว่ามีราชวงศ์หรือราชตระกูลชื่อ “พระร่วง” ตามแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก เพียงแต่ระบุว่าพระบิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงเป็นเชื้อสายของ “พระร่วง” หรือกษัตริย์รัฐสุโขทัยเท่านั้น เช่นเดียวกับที่ระบุว่าพระมารดาเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระชัยราชาธิราช
ในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์เพื่อเทศนาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเสด็จขึ้นถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาโดยอ้างอิงตามหลักการสืบเชื้อสาย ดังนี้
- กษัตริย์ที่ “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” มีทั้งหมด ๒๐ พระองค์ นับตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาคโดยเว้นขุนวรวงศาธิราช (มีข้อสังเกตคือทั้ง ๒๐ พระองค์นี้ไม่ได้พิจารณาจากวงศ์ข้างบิดาเท่านั้น บางองค์สืบวงศ์ข้างพระมารดาหรือเกี่ยวดองผ่านการอภิเษกสมรส ก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้)
- เมื่อพระเจ้าทรงธรรมแย่งราชสมบัติจากพระศรีเสาวภาค จึง “ผลัดพระวงษ์ใหม่” สืบราชวงศ์ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (เพราะพงศาวดารให้ภาพว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นคนนอกราชวงศ์ที่มาชิงราชสมบัติ แต่ปัจจุบันพบหลักฐานว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ)
- เมื่อพระเจ้าปราสาททองครองราชย์สืบต่อจากพระอาทิตยวงศ์ จึงผลัดพระวงศ์ใหม่อีก สืบเชื้อสายมาจนเสียกรุงศรีอยุทธยา โดยเว้นสมเด็จพระเพทราชา รวมกษัตริย์ใน “ราชวงษสมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ๙ พระองค์ โดยอ้างอิงตามพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์
จะเห็นได้ว่าแนวคิดการนับราชวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีการกำหนดชื่อราชวงศ์แบบตะวันตก มีเพียงระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พระองค์ใด เช่น “ราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” หรือ “ราชวงษ์สมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อสายข้างบิดาหรือมารดา ขอให้มีความเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกันก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงปรากฏการตั้งชื่อราชวงศ์และการแบ่งราชวงศ์เป็นข้างบิดาและมารดาตามแนวคิดแบบตะวันตก ปรากฏใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ยังทรงแบ่งราชวงศ์ตามแบบที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตทรงแบ่งไว้ แต่มีการตั้งชื่อราชวงศ์ต่างๆ ดังนี้
- ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระมหินทราธิราช เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงราย” (เว้นขุนวรวงศาธิราช)
- ราชวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชามาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงรายสุโขทัย”
- ราชวงศ์ของพระเจ้าทรงธรรมถึงสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เรียกว่า “บรมราชวงศ์ทรงธรรม”
- ราชวงศ์พระเจ้าปราสาททองมาจนเสียกรุง เรียกว่า "บรมราชวงศ์ปราสาททอง" (เว้นสมเด็จพระเพทราชา)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงพระนิพนธ์เรื่อง “ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่” ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น ๕ ราชวงศ์ ได้แก่ เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
ชื่อ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งขึ้นสำหรับราชวงศ์ของสมเด็จพระเพทราชา โดยทรงอธิบายว่า “หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง”
นอกจากนี้ทรงเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเสือมาจนเสียกรุงซึ่งเคยถูกจัดอยู่ในราชวงศ์ปราสาททอง มาอยู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงทั้งหมด เพราะเมื่อตรวจสอบหลักฐานร่วมสมัยแล้ว ไม่ทรงเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ตามที่พระราชพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวอ้าง
“สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า”
การกำหนดชื่อราชวงศ์ของนักประวัติศาสตร์จึงเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่เคยพบหลักฐานการใช้งานจริงในสมัยกรุงศรีอยุทธยา
คำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ และไม่เคยปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยกรุงศรีอยุทธยาแม้แต่ชิ้นเดียวครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/2624515810945206/
เรื่องชาติกำเนิดพระเจ้าเสือ ถ้าพิจารณาจากหลักฐานร่วมสมัยของชาวตะวันตกในรัชสมัยพระเพทราชาถึงพระเจ้าเสือจำนวนมาก หรือพงศาวดารที่น่าเชื่อว่าชำระสมัยอยุทธยาตอนปลายในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงอย่างฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ไม่มีแม้แต่ชิ้นเดียวที่อ้างว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์ครับ แต่ระบุตรงกันว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสของพระเพทราชาครับ
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ถูกเล่าลือกันว่าเป็นโอรสลับในหลักฐานร่วมสมัยกลับเป็นพระปีย์ครับ
เรื่องที่กล่าวว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับ เพิ่งมาปรากฏในเอกสารที่แต่งขึ้นหลังรัชกาลพระเจ้าเสือทั้งสิ้น เช่นเอกสารประเภทมุขปาฐะอย่าง "คำให้การขุนหลวงหาวัด" และ "คำให้การชาวกรุงเก่า" ที่พม่าเรียบเรียงจากปากคำเชลยไทยสมัยเสียกรุงครั้งที่สอง หรือในพงศาวดารที่ชำระในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นความที่แต่งแทรกขึ้นใหม่เนื่องจากพงศาวดารเก่าความตอนสมเด็จพระนารายณ์ขาดไป ๒ เล่มสมุดไทย และความที่เพิ่มมาส่วนใหญ่ก็มีเนื้อหาพิสดาร มีวิธีการเขียนผิดจากเนื้อหาตอนอื่นเหมือนเป็นเรื่องที่จดจำบอกเล่าต่อกันในเชิง "ตำนาน" มากกว่า เช่น เรื่องโกษาปานไปฝรั่งเศสที่พิสดารและผิดจากหลักฐานร่วมสมัยอย่างสิ้นเชิง ความที่ถูกแทรกมานี้จึงมีความน่าเชื่อถือต่ำครับ
ทำนองเดียวกับพระเจ้าปราสาททองที่มาปรากฏเรื่องเล่าว่าเป็นโอรสลับพระเอกาทศรถ แต่หลักฐานร่วมสมัยกลับระบุว่าทรงเป็นบุตรออกญาศรีธรรมาธิราช ผู้เป็นพี่ชายของพระมารดาพระเจ้าทรงธรรม จึงทรงมีฐานะเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าทรงธรรมครับ
รัฐโบราณในประเทศไทย เช่น ล้านนา อยุทธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฯลฯ ไม่มีหลักฐานแนวคิดการตั้งชื่อราชวงศ์ตะวันตกที่กำหนดชื่อราชตระกูลชัดเจน แบบ House of Tudor หรือ House of Windsor ฯลฯ
“ราชวงศ์” ตามแนวคิดแบบไทยโบราณเป็นการระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดเท่านั้น ปรากฏตัวอย่างในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา กล่าวถึงพระบิดาและพระมารดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชว่า “บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า”
คำว่า “พระราชวงศ์พระร่วง” ไม่ได้หมายความว่ามีราชวงศ์หรือราชตระกูลชื่อ “พระร่วง” ตามแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก เพียงแต่ระบุว่าพระบิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงเป็นเชื้อสายของ “พระร่วง” หรือกษัตริย์รัฐสุโขทัยเท่านั้น เช่นเดียวกับที่ระบุว่าพระมารดาเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระชัยราชาธิราช
ในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์เพื่อเทศนาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเสด็จขึ้นถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาโดยอ้างอิงตามหลักการสืบเชื้อสาย ดังนี้
- กษัตริย์ที่ “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” มีทั้งหมด ๒๐ พระองค์ นับตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาคโดยเว้นขุนวรวงศาธิราช (มีข้อสังเกตคือทั้ง ๒๐ พระองค์นี้ไม่ได้พิจารณาจากวงศ์ข้างบิดาเท่านั้น บางองค์สืบวงศ์ข้างพระมารดาหรือเกี่ยวดองผ่านการอภิเษกสมรส ก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้)
- เมื่อพระเจ้าทรงธรรมแย่งราชสมบัติจากพระศรีเสาวภาค จึง “ผลัดพระวงษ์ใหม่” สืบราชวงศ์ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (เพราะพงศาวดารให้ภาพว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นคนนอกราชวงศ์ที่มาชิงราชสมบัติ แต่ปัจจุบันพบหลักฐานว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ)
- เมื่อพระเจ้าปราสาททองครองราชย์สืบต่อจากพระอาทิตยวงศ์ จึงผลัดพระวงศ์ใหม่อีก สืบเชื้อสายมาจนเสียกรุงศรีอยุทธยา โดยเว้นสมเด็จพระเพทราชา รวมกษัตริย์ใน “ราชวงษสมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ๙ พระองค์ โดยอ้างอิงตามพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์
จะเห็นได้ว่าแนวคิดการนับราชวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีการกำหนดชื่อราชวงศ์แบบตะวันตก มีเพียงระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พระองค์ใด เช่น “ราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” หรือ “ราชวงษ์สมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อสายข้างบิดาหรือมารดา ขอให้มีความเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกันก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงปรากฏการตั้งชื่อราชวงศ์และการแบ่งราชวงศ์เป็นข้างบิดาและมารดาตามแนวคิดแบบตะวันตก ปรากฏใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ยังทรงแบ่งราชวงศ์ตามแบบที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตทรงแบ่งไว้ แต่มีการตั้งชื่อราชวงศ์ต่างๆ ดังนี้
- ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระมหินทราธิราช เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงราย” (เว้นขุนวรวงศาธิราช)
- ราชวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชามาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงรายสุโขทัย”
- ราชวงศ์ของพระเจ้าทรงธรรมถึงสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เรียกว่า “บรมราชวงศ์ทรงธรรม”
- ราชวงศ์พระเจ้าปราสาททองมาจนเสียกรุง เรียกว่า "บรมราชวงศ์ปราสาททอง" (เว้นสมเด็จพระเพทราชา)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงพระนิพนธ์เรื่อง “ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่” ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น ๕ ราชวงศ์ ได้แก่ เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
ชื่อ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งขึ้นสำหรับราชวงศ์ของสมเด็จพระเพทราชา โดยทรงอธิบายว่า “หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง”
นอกจากนี้ทรงเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเสือมาจนเสียกรุงซึ่งเคยถูกจัดอยู่ในราชวงศ์ปราสาททอง มาอยู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงทั้งหมด เพราะเมื่อตรวจสอบหลักฐานร่วมสมัยแล้ว ไม่ทรงเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ตามที่พระราชพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวอ้าง
“สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า”
การกำหนดชื่อราชวงศ์ของนักประวัติศาสตร์จึงเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่เคยพบหลักฐานการใช้งานจริงในสมัยกรุงศรีอยุทธยา
คำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ และไม่เคยปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยกรุงศรีอยุทธยาแม้แต่ชิ้นเดียวครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/2624515810945206/
เรื่องชาติกำเนิดพระเจ้าเสือ ถ้าพิจารณาจากหลักฐานร่วมสมัยของชาวตะวันตกในรัชสมัยพระเพทราชาถึงพระเจ้าเสือจำนวนมาก หรือพงศาวดารที่น่าเชื่อว่าชำระสมัยอยุทธยาตอนปลายในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงอย่างฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ไม่มีแม้แต่ชิ้นเดียวที่อ้างว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์ครับ แต่ระบุตรงกันว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสของพระเพทราชาครับ
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ถูกเล่าลือกันว่าเป็นโอรสลับในหลักฐานร่วมสมัยกลับเป็นพระปีย์ครับ
เรื่องที่กล่าวว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับ เพิ่งมาปรากฏในเอกสารที่แต่งขึ้นหลังรัชกาลพระเจ้าเสือทั้งสิ้น เช่นเอกสารประเภทมุขปาฐะอย่าง "คำให้การขุนหลวงหาวัด" และ "คำให้การชาวกรุงเก่า" ที่พม่าเรียบเรียงจากปากคำเชลยไทยสมัยเสียกรุงครั้งที่สอง หรือในพงศาวดารที่ชำระในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นความที่แต่งแทรกขึ้นใหม่เนื่องจากพงศาวดารเก่าความตอนสมเด็จพระนารายณ์ขาดไป ๒ เล่มสมุดไทย และความที่เพิ่มมาส่วนใหญ่ก็มีเนื้อหาพิสดาร มีวิธีการเขียนผิดจากเนื้อหาตอนอื่นเหมือนเป็นเรื่องที่จดจำบอกเล่าต่อกันในเชิง "ตำนาน" มากกว่า เช่น เรื่องโกษาปานไปฝรั่งเศสที่พิสดารและผิดจากหลักฐานร่วมสมัยอย่างสิ้นเชิง ความที่ถูกแทรกมานี้จึงมีความน่าเชื่อถือต่ำครับ
ทำนองเดียวกับพระเจ้าปราสาททองที่มาปรากฏเรื่องเล่าว่าเป็นโอรสลับพระเอกาทศรถ แต่หลักฐานร่วมสมัยกลับระบุว่าทรงเป็นบุตรออกญาศรีธรรมาธิราช ผู้เป็นพี่ชายของพระมารดาพระเจ้าทรงธรรม จึงทรงมีฐานะเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าทรงธรรมครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมถึงไม่นับพระเจ้าเสือ เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง
ในเมื่อพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระสนมซึ่งเป็นพระราชธิดาในพญาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่ ก็น่าจะนับพระเจ้าเสือ เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททองได้ ใช่หรือไม่ครับ???