ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 3
พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาสะกด "นเรศวร" เต็มไปหมดครับ
ตั้งแต่พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ที่เชื่อว่าชำระช่วงปลายอยุทธยา พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่ม 8 ฉบับจำลอง จ.ศ. 1145 (พ.ศ. 2326) ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ชำระใน จ.ศ. 1157 (พ.ศ. 2338) รวมมาถึงพงศาวดารทุกฉบับที่ชำระหลังจากนั้น
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึง "พระนเรศราชบุตร" ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครั้งหนึ่ง อีกตอนหนึ่งอกพระนามว่า "พระนเรศร์" แต่ในตอนอื่นๆ ออกพระนามว่า "สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตร" "สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า" "พระนเรศวรเป็นเจ้า" "พระนเรศวร"
- พระราชนิพลพงษาวดาร ต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกใน พ.ศ. 2350 มีบางตอนออกพระนามว่า “พระนเรจ์” “พระณะเรศเจ้า” แต่ส่วนใหญ่ออกพระนามว่า "นเรศวร" “นะเรศวร” หรือบางครั้ง “ณเรศวร”
- พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน ชำระโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อประมาณรัชกาลที่ 3 มีการออกพระนามว่า "พระนเรศ" แต่ส่วนใหญ่ออกพระนามว่า "นเรศวร"
- พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส แต่งใน พ.ศ. 2394 ออกพระนามว่า "พระนเรศวร"
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในหอพระกรมานุสร สมัยรัชกาลที่ 4 ออกพระนามว่า "พระนเรศร์" "พระนเรศร์มหาราช" "พระนเรศวรมหาราช" "สมเดจพระนเรศวรมหราาช"
- พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง (John Bowring) ออกพระนามว่า “Naresr (นเรศร์)”
พงศาวดารฉบับชำระหรือตีพิมพ์ครั้งหลังๆ ส่วนใหญ่ชำระแก้เป็น "นเรศวร" เกือบทั้งหมด
ส่วนที่อ้างกันว่า นเรศวร เป็นพระนามที่วรรคคำผิดจากพระนามเต็ม "พระนเรศวรราชาธิราช" เป็นข้อสันนิษฐานของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร โดยอ้างอิงจากศิลาจารึกวัดพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2103 รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระอัยกา (ตา) ของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งจากรึกดังกล่าวระบุพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า "สํเดจพฺระปรมมหาจกฺกรพตฺติวรราชาธิราช (สมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช)"
ดร.วินัยสันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นพระนัดดา (หลาน) ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็น่าจะใช้สร้อยพระนาม “วรราชาธิราช” ต่อท้ายแบบเดียวกัน เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงสายสัมพันธ์กับพระอัยกา เป็น
- สมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิ วรราชาธิราช
- สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช
ส่วนเหตุที่พระนาม "นเรศ" กลายเป็น “นเรศวร” ในสมัยหลัง ดร.วินัยสันนิษฐานว่า เป็นการตัดคำผิดจาก นเรศ-วรราชาธิราช เป็น นเรศวร-ราชาธิราช
“ถ้าหากว่า อาลักษณ์ในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งชำระพงศาวดารและได้พบเอกสารเก่าซึ่งเผอิญมีพระนามที่ถูกต้องของสมเด็จพระนเรศวรฯอยู่ ก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อยที่จะตัดคำผิดเป็น ‘นเรศวร-ราชาธิราช’ โดยเข้าใจว่า ‘ราชาธิราช’ เป็นสร้อยวลียกย่องพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระนามว่า ‘นเรศวร’ (นร + อีศวร) กระผมขอเดาว่าสร้อยพระนาม ‘วรราชาธิราช’ มีความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์ซึ่งแสดงถึงสายสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรฯ กับสมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิ ผู้เป็นพระเจ้าตา.”
ข้อสันนิษฐานเรื่องการวรรคพระนามผิด รวมไปถึงประเด็นสร้อยพระนาม “วรราชาธิราช” นับว่าน่าสนใจ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจน และ ดร.วินัยเองก็บอกเองว่าท่านแค่ "เดา" เท่านั้น
ตามความคิดเห็นของผม แม้ว่าหลักฐานที่มีอายุเก่าแก่ถึงสมัยกรุงศรีอยุทธยาจะบ่งชี้ว่าพระนามจริงของสมเด็จพระนเรศวรอาจจะเป็น "นเรศ" มากกว่า "นเรศวร" ที่พบในเอกสารสมัยหลังเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานชัดเจนจึงยังไม่ควรด่วนสรุปว่าพระนาม "นเรศวร" นั้นเป็นพระนามแปลกปลอม และ "นเรศ" นั้นถูกต้อง
เพราะตามหลักภาษาบาลี-สันสกฤต คำว่า "นเรศ" (นร+อีศ) และ "นเรศวร" (นร+อีศฺวร) มีความหมายไม่ต่างกัน โดยคำว่า อีศ/อีศวร ล้วนสื่อถึงพระอิศวร หรือ ผู้เป็นใหญ่ เหมือนกัน เช่นเดียว กับ "นเรศร์" (นร+อีศฺร)
ข้อควรพิจารณาคืออักขรวิธีในสมัยโบราณยังไม่มีการกำหนดบรรทัดฐานตายตัวเหมือนกับปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่างๆ ในแต่ละยุคสมัย เช่น อาลักษณ์ผู้จดบันทึกไม่ได้มีความรู้ในหลักการของภาษาบาลี-สันสกฤตเท่ากัน หรืออาจบันทึกคลาดเคลื่อน ทำให้พระนามของสมเด็จพระนเรศวรในเอกสารโบราณต่างๆ มีการสะกดที่หลากหลายมาก ดังที่พบว่าแม้แต่พระนามที่ออกเสียงว่า "นะ-เรด" ก็มีการสะกดหลากหลายแบบ ไม่ใช่ "นเรศ" เพียงนามเดียวตายตัว
นอกจากนี้ พระนาม "นเรศวร" ในสมัยโบราณสามารถเสียงว่า "นะ-เรด" เหมือนคำว่า "นเรศ" ได้ด้วยเพราะในสมัยโบราณไม่ได้เคร่งครัดในการใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตในการกำกับเสียง จึงพบว่าในเอกสารตัวเขียนโบราณจำนวนมากไม่ได้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ แต่สามารถออกเสียงเหมือนกับมีเครื่องหมายอยู่ได้
เช่น ราเมศ-ราเมศวร-ราเมศวร์ ปรเมศ-ปรเมศวร-ปรเมศวร์ นเรนทร์-นเรนทร พิฆเนศ-พิฆเณศวร-พิฆเณศวร์
คำว่า "นเรศวร" ในสมัยโบราณจึงออกเสียงเหมือนคำว่า "นเรศวร์" ได้
ยกตัวอย่างวรรณกรรมเรื่อง “ลิลิตตะเลงพ่าย” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีการสะกดพระนามว่า "นเรศวร" แต่เมื่อพิจารณาจากฉันทลักษณ์ของลิลิตตะเลงพ่ายแล้ว ต้องออกเสียงเหมือนคำว่า “นเรศวร์” (นะ-เรด) จึงจะมีความคล้องจองและมีจำนวนพยางค์ตรงตามฉันทลักษณ์
ดังปรากฏในบทร่ายว่า “จึ่งพระองค์ชายเชษฐ์ นเรศวรสืบเสวยศวรรย์” หรือ “เอารสไทนฤเบศ นเรศวรเสวยศวรรยา”
"นเรศวร" ในที่นี้ต้องอ่านเหมือนคำว่า "นเรศวร์" จึงจะคล้องจองกับคำว่า เชษฐ์ และ เบศ
มีอยู่ตอนเดียวที่ต้องอ่านว่า "นะ-เร-สวน" คือ “ธก็ทราบสรรพโดยควร ว่านเรศวรกษัตรา”
ตอนหนึ่งแผลงเป็น "นเรศูร" คือ “เร็วระเห็ดไปทูล แด่นเรศูรอุปราช”
ตอนหนึ่งแยกคำว่า "นเรศ" กับ "วร" คือ “สมญานามนฤเบศ นเรศวรนรินทร์” (วรรคหลังอ่านว่า นะ-เรด-วอ-ระ-นะ-ริน)
แต่ในกรณีเหล่านี้ สันนิษฐานว่าเป็นการแผลงเพื่อต้องการให้เกิดความไพเราะตามฉันทลักษณ์เท่านั้น ในขณะที่คำว่า "นเรศวร" ในลิลิตตะเลงพ่ายส่วนใหญ่ต้องอ่านว่า "นะ-เรด" ไม่ได้ต่างจากคำว่า "นเรศ" "นเรศร์" หรือ "นเรศวร์"
อนุมานว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยังน่าจะอ่านพระนาม "นเรศวร" ว่า "นะ-เรด" อยู่
แต่คนในสมัยหลังคงจะออกเสียงพระนามตามรูปศัพท์ จึงกลายเป็น "นะ-เร-สวน" เพียงอย่างเดียว
ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าอักขรวิธีในสมัยโบราณไม่ได้มีรูปแบบบรรทัดฐานตายตัวเหมือนในปัจจุบัน และสามารถผันแปรไปตามปัจจัยของยุคสมัย การที่เอกสารโบราณต่างๆ สะกดพระนามกษัตริย์พระองค์นี้ว่า นเรศ นเรศร์ นเรสฺส นริส์ส นเรจ์ ณะเรศ นเรศวร นะเรศวร ณะเรศวร ฯลฯ จึงสามารถสื่อถึงพระนามของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ได้ทั้งสิ้น ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าพระนามใดเป็นพระนามที่ถูกต้อง
ถ้าประสงค์หาข้อสรุปที่แท้จริงพระนามของสมเด็จพระนเรศวรจริงๆ ก็ต้องค้นหาหลักฐานลายลักษณ์อักษรภาษาไทยที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังหาไม่พบ ปรากฏแต่หลักฐานพระนามที่บันทึกเมื่อล่วงรัชกาลไปแล้วหรือพระนามที่แปลจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงยังคงไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนามที่ถูกต้องจริงๆ ที่ใช้งานในรัชกาลสมเด็จพระนเรศควรจะสะกดแบบใด
อ่านเพิ่มเติมที่บทความ พระนเรศวร หรือ พระนเรศ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1116173255112810/
ตั้งแต่พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ที่เชื่อว่าชำระช่วงปลายอยุทธยา พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่ม 8 ฉบับจำลอง จ.ศ. 1145 (พ.ศ. 2326) ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ชำระใน จ.ศ. 1157 (พ.ศ. 2338) รวมมาถึงพงศาวดารทุกฉบับที่ชำระหลังจากนั้น
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึง "พระนเรศราชบุตร" ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครั้งหนึ่ง อีกตอนหนึ่งอกพระนามว่า "พระนเรศร์" แต่ในตอนอื่นๆ ออกพระนามว่า "สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตร" "สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า" "พระนเรศวรเป็นเจ้า" "พระนเรศวร"
- พระราชนิพลพงษาวดาร ต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกใน พ.ศ. 2350 มีบางตอนออกพระนามว่า “พระนเรจ์” “พระณะเรศเจ้า” แต่ส่วนใหญ่ออกพระนามว่า "นเรศวร" “นะเรศวร” หรือบางครั้ง “ณเรศวร”
- พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน ชำระโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อประมาณรัชกาลที่ 3 มีการออกพระนามว่า "พระนเรศ" แต่ส่วนใหญ่ออกพระนามว่า "นเรศวร"
- พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส แต่งใน พ.ศ. 2394 ออกพระนามว่า "พระนเรศวร"
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในหอพระกรมานุสร สมัยรัชกาลที่ 4 ออกพระนามว่า "พระนเรศร์" "พระนเรศร์มหาราช" "พระนเรศวรมหาราช" "สมเดจพระนเรศวรมหราาช"
- พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง (John Bowring) ออกพระนามว่า “Naresr (นเรศร์)”
พงศาวดารฉบับชำระหรือตีพิมพ์ครั้งหลังๆ ส่วนใหญ่ชำระแก้เป็น "นเรศวร" เกือบทั้งหมด
ส่วนที่อ้างกันว่า นเรศวร เป็นพระนามที่วรรคคำผิดจากพระนามเต็ม "พระนเรศวรราชาธิราช" เป็นข้อสันนิษฐานของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร โดยอ้างอิงจากศิลาจารึกวัดพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2103 รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระอัยกา (ตา) ของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งจากรึกดังกล่าวระบุพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า "สํเดจพฺระปรมมหาจกฺกรพตฺติวรราชาธิราช (สมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช)"
ดร.วินัยสันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นพระนัดดา (หลาน) ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็น่าจะใช้สร้อยพระนาม “วรราชาธิราช” ต่อท้ายแบบเดียวกัน เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงสายสัมพันธ์กับพระอัยกา เป็น
- สมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิ วรราชาธิราช
- สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช
ส่วนเหตุที่พระนาม "นเรศ" กลายเป็น “นเรศวร” ในสมัยหลัง ดร.วินัยสันนิษฐานว่า เป็นการตัดคำผิดจาก นเรศ-วรราชาธิราช เป็น นเรศวร-ราชาธิราช
“ถ้าหากว่า อาลักษณ์ในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งชำระพงศาวดารและได้พบเอกสารเก่าซึ่งเผอิญมีพระนามที่ถูกต้องของสมเด็จพระนเรศวรฯอยู่ ก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อยที่จะตัดคำผิดเป็น ‘นเรศวร-ราชาธิราช’ โดยเข้าใจว่า ‘ราชาธิราช’ เป็นสร้อยวลียกย่องพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระนามว่า ‘นเรศวร’ (นร + อีศวร) กระผมขอเดาว่าสร้อยพระนาม ‘วรราชาธิราช’ มีความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์ซึ่งแสดงถึงสายสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรฯ กับสมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิ ผู้เป็นพระเจ้าตา.”
ข้อสันนิษฐานเรื่องการวรรคพระนามผิด รวมไปถึงประเด็นสร้อยพระนาม “วรราชาธิราช” นับว่าน่าสนใจ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจน และ ดร.วินัยเองก็บอกเองว่าท่านแค่ "เดา" เท่านั้น
ตามความคิดเห็นของผม แม้ว่าหลักฐานที่มีอายุเก่าแก่ถึงสมัยกรุงศรีอยุทธยาจะบ่งชี้ว่าพระนามจริงของสมเด็จพระนเรศวรอาจจะเป็น "นเรศ" มากกว่า "นเรศวร" ที่พบในเอกสารสมัยหลังเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานชัดเจนจึงยังไม่ควรด่วนสรุปว่าพระนาม "นเรศวร" นั้นเป็นพระนามแปลกปลอม และ "นเรศ" นั้นถูกต้อง
เพราะตามหลักภาษาบาลี-สันสกฤต คำว่า "นเรศ" (นร+อีศ) และ "นเรศวร" (นร+อีศฺวร) มีความหมายไม่ต่างกัน โดยคำว่า อีศ/อีศวร ล้วนสื่อถึงพระอิศวร หรือ ผู้เป็นใหญ่ เหมือนกัน เช่นเดียว กับ "นเรศร์" (นร+อีศฺร)
ข้อควรพิจารณาคืออักขรวิธีในสมัยโบราณยังไม่มีการกำหนดบรรทัดฐานตายตัวเหมือนกับปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่างๆ ในแต่ละยุคสมัย เช่น อาลักษณ์ผู้จดบันทึกไม่ได้มีความรู้ในหลักการของภาษาบาลี-สันสกฤตเท่ากัน หรืออาจบันทึกคลาดเคลื่อน ทำให้พระนามของสมเด็จพระนเรศวรในเอกสารโบราณต่างๆ มีการสะกดที่หลากหลายมาก ดังที่พบว่าแม้แต่พระนามที่ออกเสียงว่า "นะ-เรด" ก็มีการสะกดหลากหลายแบบ ไม่ใช่ "นเรศ" เพียงนามเดียวตายตัว
นอกจากนี้ พระนาม "นเรศวร" ในสมัยโบราณสามารถเสียงว่า "นะ-เรด" เหมือนคำว่า "นเรศ" ได้ด้วยเพราะในสมัยโบราณไม่ได้เคร่งครัดในการใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตในการกำกับเสียง จึงพบว่าในเอกสารตัวเขียนโบราณจำนวนมากไม่ได้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ แต่สามารถออกเสียงเหมือนกับมีเครื่องหมายอยู่ได้
เช่น ราเมศ-ราเมศวร-ราเมศวร์ ปรเมศ-ปรเมศวร-ปรเมศวร์ นเรนทร์-นเรนทร พิฆเนศ-พิฆเณศวร-พิฆเณศวร์
คำว่า "นเรศวร" ในสมัยโบราณจึงออกเสียงเหมือนคำว่า "นเรศวร์" ได้
ยกตัวอย่างวรรณกรรมเรื่อง “ลิลิตตะเลงพ่าย” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีการสะกดพระนามว่า "นเรศวร" แต่เมื่อพิจารณาจากฉันทลักษณ์ของลิลิตตะเลงพ่ายแล้ว ต้องออกเสียงเหมือนคำว่า “นเรศวร์” (นะ-เรด) จึงจะมีความคล้องจองและมีจำนวนพยางค์ตรงตามฉันทลักษณ์
ดังปรากฏในบทร่ายว่า “จึ่งพระองค์ชายเชษฐ์ นเรศวรสืบเสวยศวรรย์” หรือ “เอารสไทนฤเบศ นเรศวรเสวยศวรรยา”
"นเรศวร" ในที่นี้ต้องอ่านเหมือนคำว่า "นเรศวร์" จึงจะคล้องจองกับคำว่า เชษฐ์ และ เบศ
มีอยู่ตอนเดียวที่ต้องอ่านว่า "นะ-เร-สวน" คือ “ธก็ทราบสรรพโดยควร ว่านเรศวรกษัตรา”
ตอนหนึ่งแผลงเป็น "นเรศูร" คือ “เร็วระเห็ดไปทูล แด่นเรศูรอุปราช”
ตอนหนึ่งแยกคำว่า "นเรศ" กับ "วร" คือ “สมญานามนฤเบศ นเรศวรนรินทร์” (วรรคหลังอ่านว่า นะ-เรด-วอ-ระ-นะ-ริน)
แต่ในกรณีเหล่านี้ สันนิษฐานว่าเป็นการแผลงเพื่อต้องการให้เกิดความไพเราะตามฉันทลักษณ์เท่านั้น ในขณะที่คำว่า "นเรศวร" ในลิลิตตะเลงพ่ายส่วนใหญ่ต้องอ่านว่า "นะ-เรด" ไม่ได้ต่างจากคำว่า "นเรศ" "นเรศร์" หรือ "นเรศวร์"
อนุมานว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยังน่าจะอ่านพระนาม "นเรศวร" ว่า "นะ-เรด" อยู่
แต่คนในสมัยหลังคงจะออกเสียงพระนามตามรูปศัพท์ จึงกลายเป็น "นะ-เร-สวน" เพียงอย่างเดียว
ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าอักขรวิธีในสมัยโบราณไม่ได้มีรูปแบบบรรทัดฐานตายตัวเหมือนในปัจจุบัน และสามารถผันแปรไปตามปัจจัยของยุคสมัย การที่เอกสารโบราณต่างๆ สะกดพระนามกษัตริย์พระองค์นี้ว่า นเรศ นเรศร์ นเรสฺส นริส์ส นเรจ์ ณะเรศ นเรศวร นะเรศวร ณะเรศวร ฯลฯ จึงสามารถสื่อถึงพระนามของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ได้ทั้งสิ้น ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าพระนามใดเป็นพระนามที่ถูกต้อง
ถ้าประสงค์หาข้อสรุปที่แท้จริงพระนามของสมเด็จพระนเรศวรจริงๆ ก็ต้องค้นหาหลักฐานลายลักษณ์อักษรภาษาไทยที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังหาไม่พบ ปรากฏแต่หลักฐานพระนามที่บันทึกเมื่อล่วงรัชกาลไปแล้วหรือพระนามที่แปลจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงยังคงไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนามที่ถูกต้องจริงๆ ที่ใช้งานในรัชกาลสมเด็จพระนเรศควรจะสะกดแบบใด
อ่านเพิ่มเติมที่บทความ พระนเรศวร หรือ พระนเรศ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1116173255112810/
แสดงความคิดเห็น
พระนเรศวร ไม่มีอยู่จริงพระนามนี้ไม่ปรากฏในเอกสารใดๆ แล้วตำราเรียนของไทยเอาพระนามนี้มาจากไหน?
เมื่ออ่านหลายแหล่งแล้วพระองค์น่าจะมีพระนามว่า "นเรศ" เพียงแต่สะกดไม่เหมือนกันคลาดเคลื่อนไปตามภาษาของผู้บันทึกเท่านั้น ในพงศาวดารทั้งหลายมีอยู่เล่มหนึ่งที่เรียกพระนามแปลกไม่เหมือนพงศาวดารเล่มอื่นคือ แต่พงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่เรียบเรียงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พงศาวดารเล่มนี้มักจะใช้มาอ้างอิงในการเขียนตำราเรียนได้เรียกพระนามพระองค์ว่า "สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่... (สมเด็จพระนารายณ์)" จะเห็นได้ว่าพงศาวดารทั้งหลายไม่ปรากฎพระนาม "นเรศวร" เลย แล้วตำราเรียนของไทยเอาพระนามนี้มาจากไหน? จะให้เด็กๆ ท่องจำพระนามผิดๆ นี้กันถึงเมื่อไหร่?