ถ้าใครเคยชมเรื่องราวตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คงจะจำเอกอัครมหาเหสีคู่พระทัยของสมเด็จพระนเรศวร นามว่า “มณีจันทร์” หญิงสาวชาวรามัญที่ต้องพระทัยพระองค์ดำ ในคราที่พระองค์ถูกนำตัวไปเป็นองค์ประกันหงสา ทำให้หลายคนมีข้อสงสัยว่า “มณีจันทร์” มีตัวตนจริงหรือไม่? หรือเป็นเพียงการสมมติบทบาทของเจ้าขรัวมณีจันทร์
จากข้อมูลพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนใหญ่ได้จากพงศาวดารอยุธยา ซึ่งมักมีการจดบันทึกในพระราชกรณียกิจ ซึ่งส่วนใหญ่บันทึกถึงการทำสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านเป็นอันมาก จนมองข้ามเกี่ยวกับเจ้านายฝ่ายในหรือพระมเหสีของพระองค์ แต่อย่างไรก็ตามได้มีการปรากฏพระนามของเจ้านายฝ่ายใน ในเอกสารของต่างชาติ 5 ฉบับด้วยกัน ซึ่งได้แก่ จดหมายเหตุสเปน (History of the Philippines and Other Kingdom) ของบาทหลวงมาร์เชโล เด ริบาเดเนย์รา (Marchelo de Ribadeneira, O.F.M), จดหมายเหตุวันวลิต, พงศาวดารละแวก, คำให้การขุนหลวงหาวัด และพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ซึ่งปรากฏพระนามพระมเหสี 3-4 พระองค์ โดยมีพระนามดังนี้
พระมณีรัตนา หรือ เจ้าขรัวมณีจันทร์ จากจดหมายเหตุวันวลิต
โยเดียมี้พระยา พระราชธิดาในพระเจ้านรธามังสอ กับพระนางเชงพยูเชงเมดอ ปฐมวงศ์พม่าที่ปกครองอาณาจักรล้านนา จากพงศาวดารพม่า
พระเอกกษัตรีย์ พระราชธิดาในพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราช เจ้าแผ่นดินเขมร จากพงศาวดารเขมร
มีการกล่าวถึง พระมณีรัตนา และ เจ้าขรัวมณีจันทร์ ว่าอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่บ้างก็ว่าอาจเป็นคนละคนกัน โดยเชื่อว่า พระมณีรัตนาอาจเป็นเจ้าหญิงที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ละโว้สายสุพรรณภูมิของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระมหินทราธิราช ซึ่งในขณะนั้นเจ้านายฝ่ายในในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระรัตนมณีเนตร หรือ พระแก้วฟ้า ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างชนนีของพระวิสุทธิกษัตรีย์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นพระนางจะมีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉาของพระนเรศวรอย่างไรก็ตามเจ้าขรัวมณีจันทร์ มีบทบาทสูงกว่าพระมเหสีจากเชียงใหม่และเขมร โดยมีการสถาปนาพระนางเป็นอัครมเหสีดังที่ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัดที่กล่าวถึงเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติต่อจากพระราชบิดา ความว่า
ส่วนพระนเรศวรนั้น ก็เข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา ก็เสด็จเข้าสู่พระราชฐานอันอัครเสนาบดีและมหาปุโรหิตทั้งปวง จึงปราบดาภิเษกแล้วเชื้อเชิญให้เสวยราชสมบัติ จึงถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้วจึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ ทั้งเครื่องราชูปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึงถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัตรสมญา แล้วฝ่ายในกรมจึงถวายพระมเหษีพระนามชื่อพระมณีรัตนา และถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชสมบัติเมื่อจุลศักราช ๙๕๒ ปีขาลศก อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช
— คำให้การขุนหลวงหาวัด
หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อนั้น เจ้าขรัวมณีจันทร์ได้ปรากฏอีกครั้งในจดหมายเหตุวันวลิต ที่ได้กล่าวถึง พระชายาม่ายของสมเด็จพระนเรศวร ได้เสด็จออกบวชชี และเป็นเหตุให้บุคคลทั่วไปเรียกกันว่า เจ้าขรัว จนกระทั่งมีเหตุการณ์หนึ่งที่เสด็จไปช่วยพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ คือ “เจ้าไล” หรือศรี ซึ่งมีเหตุวิวาทกับพระยาออกนา จนต้องพระราชอาญาจนถึงชีวิต ข้ารองพระบาทในพระองค์ไลจึงได้ไปทูลขอพึ่งพระบารมีเจ้าขรัวมณีจันทร์ซึ่งเป็นพระปิตุจฉา พระนางจึงรีบเสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถ จนสมเด็จพระเอกาทศรถยินยอมด้วยความเกรงพระทัย (แต่ในจดหมายเหตุวันวลิตกล่าวว่า ถูกฟันด้วยพระแสงดาบและถูกจำคุกเป็นเวลา 5 เดือน เจ้าขรัวมณีจันทร์จึงได้ขอพระราชทานอภัยโทษ) โดยปรากฏในจดหมายเหตุวันวลิต ความว่า “จนกระทั่งเจ้าขรัวมณีจันทร์ ชายาม่ายของพระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ คือ พระองค์ดำ ได้ทูลขอจึงเป็นที่โปรดปรานอีก”
นอกจากนี้มีการกล่าวถึงพระราชโอรสในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในจดหมายเหตุสเปน (History of the Philippines and Other Kingdom) ของบาทหลวงมาร์เชโล เด ริบาเดเนย์รา (Marchelo de Ribadeneira, O.F.M) ที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของบาทหลวงนิกายฟรานซิสกันที่เคยพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2125 ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พ.ศ. 2139 ตรงกับต้นรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเนื้อความในจดหมายเหตุนี้ได้มีการอธิบายถึงกระบวนพยุหยาตราชลมารคของพระเจ้าแผ่นดินสยาม โดยมีเนื้อความตอนหนึ่งที่ได้กล่าวถึงพระอัครมเหสีและพระราชโอรสผู้ทรงพระเยาว์โดยเสด็จด้วย ความว่า
…เรือสี่ลำเหล่านี้หยุดที่พระอารามแห่งหนึ่งบนชายฝั่ง เพราะพวกเขาคาดหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเจริญพระพุทธมนต์และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตามติดมาอย่างใกล้ชิดเรือสี่ลำนั้นเป็นเรืออื่น ๆ อีกหลายลำที่ใหญ่กว่านั้น แต่ละลำบรรทุกผู้คนมากมายที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบประเภทต่าง ๆ เรือแต่ละลำมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แห่งพระราชสำนัก ๑ คน แล้วจากนั้นเป็นพระราชกุมารพระองค์เยาว์ที่สุดในบรรดาแผ่นดินที่เสด็จปรากฏพระองค์ในเรือพระที่นั่งที่ตกแต่งอย่างหรูหรามาก ตามติดมาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีและสาวสรรกำนัลใน สมเด็จพระอัครมเหสีประทับแต่เพียงลำพังพระองค์ และบรรดานางกำนัลนั่งในเรือลำอื่นตกแต่งอย่างน่าอัศจรรย์ และกั้นด้วยม่านอย่างรอบคอบจนเป็นไปได้ที่จะสามารถมองผ่านม่านจากภายในสู่โลกภายนอกได้ โดยที่คนภายนอกไม่เห็นคนภายใน…
เมื่อนำเหตุการณ์ที่บาทหลวงสเปนได้เขียนบอกเล่าไว้ไปเทียบเคียงกับพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม (จาด) จะพบว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้มีการกล่าวถึงพระราชพิธีอาสวยุทธ และการต้อนรับคณะทูตกัมพูชาที่เดินทางมาถวายเครื่องราชบรรณาการยังราชสำนักอยุธยาซึ่งตรงกับเหตุการณ์การเสด็จฯทางชลมารคและการออกรับทูตกัมพูชาในจดหมายเหตุของสเปน โดยบางทีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาจมีพระราชโอรสมากกว่า 1 พระองค์แล้ว เนื่องจากในจดหมายเหตุมีการใช้คำว่า “พระราชกุมารพระองค์เยาว์ที่สุด”
นอกจากนี้สมเด็จพระนเรศวารมหาราชก็มีพระราชธิดาด้วย โดยมีการกล่าวถึง พระเจ้านรธามังสอ เจ้าผู้ครองล้านนา ด้วยเหตุที่พระเจ้านรธามังสอได้รับการช่วยเหลือจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อจัดการปัญหาเมืองขึ้นแข็งเมือง และช่วยป้องกับการรุกรานข้าศึก ด้วยการเกื้อกูลกันดังกล่าว ได้สร้างสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับนรธามังสอและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงยกพระราชธิดาให้สมรสกับเมงสาตุลอง[48][49]ผู้ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้านรธามังสอ โดยพระเจ้านรธามังสอก็ได้ถวายพระราชธิดาให้เป็นพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย[50] โดยการมอบพระราชธิดาของพระเจ้านรธามังสอแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีปรากฏในโคลงบทที่ 21 ความว่า
นอเรศขอเจื่องเจ้า สาวกระสัตร
เทียมแท่นเสวยสมบัติ โกถเคล้า
แล้วเล่าลูกชายถัด เป็นแขก เขรยเอย
หวังว่าจักบางเส้า เล่าซ้ำแถมถมฯ
อย่างไรก็ตามก็มีหลักฐานเกี่ยวกับพระอัครมเหสีรวมไปถึงพระราชโอรสและพระราชธิดาน้อยมาก เนื่องจากผู้ที่เขียนจดหมายเหตุสเปนเองก็บันทึกจากผู้เห็นเหตุการณ์ที่ไม่รู้รายละเอียด รวมไปถึงพงศาวดารของพม่าที่กล่าวถึงพระราชธิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างผ่าน ๆ เท่านั้นภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว ราชสมบัติจึงตกแก่สมเด็จพระเอกาทศรถ
ที่มา :
http://teen.mthai.com/variety/121945.html
เปิดประวัติศาสตร์ พระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ถ้าใครเคยชมเรื่องราวตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คงจะจำเอกอัครมหาเหสีคู่พระทัยของสมเด็จพระนเรศวร นามว่า “มณีจันทร์” หญิงสาวชาวรามัญที่ต้องพระทัยพระองค์ดำ ในคราที่พระองค์ถูกนำตัวไปเป็นองค์ประกันหงสา ทำให้หลายคนมีข้อสงสัยว่า “มณีจันทร์” มีตัวตนจริงหรือไม่? หรือเป็นเพียงการสมมติบทบาทของเจ้าขรัวมณีจันทร์
จากข้อมูลพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนใหญ่ได้จากพงศาวดารอยุธยา ซึ่งมักมีการจดบันทึกในพระราชกรณียกิจ ซึ่งส่วนใหญ่บันทึกถึงการทำสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านเป็นอันมาก จนมองข้ามเกี่ยวกับเจ้านายฝ่ายในหรือพระมเหสีของพระองค์ แต่อย่างไรก็ตามได้มีการปรากฏพระนามของเจ้านายฝ่ายใน ในเอกสารของต่างชาติ 5 ฉบับด้วยกัน ซึ่งได้แก่ จดหมายเหตุสเปน (History of the Philippines and Other Kingdom) ของบาทหลวงมาร์เชโล เด ริบาเดเนย์รา (Marchelo de Ribadeneira, O.F.M), จดหมายเหตุวันวลิต, พงศาวดารละแวก, คำให้การขุนหลวงหาวัด และพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ซึ่งปรากฏพระนามพระมเหสี 3-4 พระองค์ โดยมีพระนามดังนี้
พระมณีรัตนา หรือ เจ้าขรัวมณีจันทร์ จากจดหมายเหตุวันวลิต
โยเดียมี้พระยา พระราชธิดาในพระเจ้านรธามังสอ กับพระนางเชงพยูเชงเมดอ ปฐมวงศ์พม่าที่ปกครองอาณาจักรล้านนา จากพงศาวดารพม่า
พระเอกกษัตรีย์ พระราชธิดาในพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราช เจ้าแผ่นดินเขมร จากพงศาวดารเขมร
มีการกล่าวถึง พระมณีรัตนา และ เจ้าขรัวมณีจันทร์ ว่าอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่บ้างก็ว่าอาจเป็นคนละคนกัน โดยเชื่อว่า พระมณีรัตนาอาจเป็นเจ้าหญิงที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ละโว้สายสุพรรณภูมิของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระมหินทราธิราช ซึ่งในขณะนั้นเจ้านายฝ่ายในในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระรัตนมณีเนตร หรือ พระแก้วฟ้า ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างชนนีของพระวิสุทธิกษัตรีย์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นพระนางจะมีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉาของพระนเรศวรอย่างไรก็ตามเจ้าขรัวมณีจันทร์ มีบทบาทสูงกว่าพระมเหสีจากเชียงใหม่และเขมร โดยมีการสถาปนาพระนางเป็นอัครมเหสีดังที่ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัดที่กล่าวถึงเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติต่อจากพระราชบิดา ความว่า
ส่วนพระนเรศวรนั้น ก็เข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา ก็เสด็จเข้าสู่พระราชฐานอันอัครเสนาบดีและมหาปุโรหิตทั้งปวง จึงปราบดาภิเษกแล้วเชื้อเชิญให้เสวยราชสมบัติ จึงถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้วจึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ ทั้งเครื่องราชูปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึงถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัตรสมญา แล้วฝ่ายในกรมจึงถวายพระมเหษีพระนามชื่อพระมณีรัตนา และถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชสมบัติเมื่อจุลศักราช ๙๕๒ ปีขาลศก อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช
— คำให้การขุนหลวงหาวัด
หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อนั้น เจ้าขรัวมณีจันทร์ได้ปรากฏอีกครั้งในจดหมายเหตุวันวลิต ที่ได้กล่าวถึง พระชายาม่ายของสมเด็จพระนเรศวร ได้เสด็จออกบวชชี และเป็นเหตุให้บุคคลทั่วไปเรียกกันว่า เจ้าขรัว จนกระทั่งมีเหตุการณ์หนึ่งที่เสด็จไปช่วยพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ คือ “เจ้าไล” หรือศรี ซึ่งมีเหตุวิวาทกับพระยาออกนา จนต้องพระราชอาญาจนถึงชีวิต ข้ารองพระบาทในพระองค์ไลจึงได้ไปทูลขอพึ่งพระบารมีเจ้าขรัวมณีจันทร์ซึ่งเป็นพระปิตุจฉา พระนางจึงรีบเสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถ จนสมเด็จพระเอกาทศรถยินยอมด้วยความเกรงพระทัย (แต่ในจดหมายเหตุวันวลิตกล่าวว่า ถูกฟันด้วยพระแสงดาบและถูกจำคุกเป็นเวลา 5 เดือน เจ้าขรัวมณีจันทร์จึงได้ขอพระราชทานอภัยโทษ) โดยปรากฏในจดหมายเหตุวันวลิต ความว่า “จนกระทั่งเจ้าขรัวมณีจันทร์ ชายาม่ายของพระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ คือ พระองค์ดำ ได้ทูลขอจึงเป็นที่โปรดปรานอีก”
นอกจากนี้มีการกล่าวถึงพระราชโอรสในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในจดหมายเหตุสเปน (History of the Philippines and Other Kingdom) ของบาทหลวงมาร์เชโล เด ริบาเดเนย์รา (Marchelo de Ribadeneira, O.F.M) ที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของบาทหลวงนิกายฟรานซิสกันที่เคยพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2125 ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พ.ศ. 2139 ตรงกับต้นรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเนื้อความในจดหมายเหตุนี้ได้มีการอธิบายถึงกระบวนพยุหยาตราชลมารคของพระเจ้าแผ่นดินสยาม โดยมีเนื้อความตอนหนึ่งที่ได้กล่าวถึงพระอัครมเหสีและพระราชโอรสผู้ทรงพระเยาว์โดยเสด็จด้วย ความว่า
…เรือสี่ลำเหล่านี้หยุดที่พระอารามแห่งหนึ่งบนชายฝั่ง เพราะพวกเขาคาดหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเจริญพระพุทธมนต์และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตามติดมาอย่างใกล้ชิดเรือสี่ลำนั้นเป็นเรืออื่น ๆ อีกหลายลำที่ใหญ่กว่านั้น แต่ละลำบรรทุกผู้คนมากมายที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบประเภทต่าง ๆ เรือแต่ละลำมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แห่งพระราชสำนัก ๑ คน แล้วจากนั้นเป็นพระราชกุมารพระองค์เยาว์ที่สุดในบรรดาแผ่นดินที่เสด็จปรากฏพระองค์ในเรือพระที่นั่งที่ตกแต่งอย่างหรูหรามาก ตามติดมาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีและสาวสรรกำนัลใน สมเด็จพระอัครมเหสีประทับแต่เพียงลำพังพระองค์ และบรรดานางกำนัลนั่งในเรือลำอื่นตกแต่งอย่างน่าอัศจรรย์ และกั้นด้วยม่านอย่างรอบคอบจนเป็นไปได้ที่จะสามารถมองผ่านม่านจากภายในสู่โลกภายนอกได้ โดยที่คนภายนอกไม่เห็นคนภายใน…
เมื่อนำเหตุการณ์ที่บาทหลวงสเปนได้เขียนบอกเล่าไว้ไปเทียบเคียงกับพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม (จาด) จะพบว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้มีการกล่าวถึงพระราชพิธีอาสวยุทธ และการต้อนรับคณะทูตกัมพูชาที่เดินทางมาถวายเครื่องราชบรรณาการยังราชสำนักอยุธยาซึ่งตรงกับเหตุการณ์การเสด็จฯทางชลมารคและการออกรับทูตกัมพูชาในจดหมายเหตุของสเปน โดยบางทีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาจมีพระราชโอรสมากกว่า 1 พระองค์แล้ว เนื่องจากในจดหมายเหตุมีการใช้คำว่า “พระราชกุมารพระองค์เยาว์ที่สุด”
นอกจากนี้สมเด็จพระนเรศวารมหาราชก็มีพระราชธิดาด้วย โดยมีการกล่าวถึง พระเจ้านรธามังสอ เจ้าผู้ครองล้านนา ด้วยเหตุที่พระเจ้านรธามังสอได้รับการช่วยเหลือจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อจัดการปัญหาเมืองขึ้นแข็งเมือง และช่วยป้องกับการรุกรานข้าศึก ด้วยการเกื้อกูลกันดังกล่าว ได้สร้างสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับนรธามังสอและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงยกพระราชธิดาให้สมรสกับเมงสาตุลอง[48][49]ผู้ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้านรธามังสอ โดยพระเจ้านรธามังสอก็ได้ถวายพระราชธิดาให้เป็นพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย[50] โดยการมอบพระราชธิดาของพระเจ้านรธามังสอแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีปรากฏในโคลงบทที่ 21 ความว่า
นอเรศขอเจื่องเจ้า สาวกระสัตร
เทียมแท่นเสวยสมบัติ โกถเคล้า
แล้วเล่าลูกชายถัด เป็นแขก เขรยเอย
หวังว่าจักบางเส้า เล่าซ้ำแถมถมฯ
อย่างไรก็ตามก็มีหลักฐานเกี่ยวกับพระอัครมเหสีรวมไปถึงพระราชโอรสและพระราชธิดาน้อยมาก เนื่องจากผู้ที่เขียนจดหมายเหตุสเปนเองก็บันทึกจากผู้เห็นเหตุการณ์ที่ไม่รู้รายละเอียด รวมไปถึงพงศาวดารของพม่าที่กล่าวถึงพระราชธิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างผ่าน ๆ เท่านั้นภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว ราชสมบัติจึงตกแก่สมเด็จพระเอกาทศรถ
ที่มา : http://teen.mthai.com/variety/121945.html