พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ในทัศนะและมุมมองของคุณเป็นอย่างไรฮะ...


วัยเด็ก
ฟอลคอนเกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ) เมื่อ พ.ศ. 2190 มีเชื้อสายของชาวกรีกและเวนิส เข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ พ.ศ. 2205 จึงออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังดินแดนต่าง ๆ
ชีวิตในอยุธยา

พ.ศ. 2218 เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในฐานะพ่อค้า เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่งล่าม นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหนายกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในเวลาอันรวดเร็ว

พ.ศ. 2225 ฟอลคอนแต่งงานกับดอญญามารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า)หรืออีกนามนึงเรียกว่า ทองกิมา
ความใกล้ชิดระหว่างพระยาวิไชเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวพระยาวิชเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าพระยาวิชเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นข้ออ้างให้พระเพทราชาซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจกับนโยบายด้านต่างประเทศที่ส่งผลให้มีชาวต่างชาติมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากมาย วางแผนให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ในลพบุรี และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ไว้ใจมอบอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินให้พระเพทราชาใน พ.ศ. 2231
บั้นปลายชีวิต

เมื่อพระเพทราชากุมอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็จับกุมพระยาวิชเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนิกุลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ในวัยเพียง 40 ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์กริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา บรรดาท่านขุนนางได้อัญเชิญ พระเพทราชา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษก ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา และปกครองโดยมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการขับไล่ชาวต่างชาติแทบทั้งหมดออกจากราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา การตีความกันไปต่าง ๆ นานาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้สมเด็จพระเพทราชาสั่งจับกุมและประหารชีวิตพระยาวิชเยนทร์เป็นผลให้จุดยืนของกรีกในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปมิได้มากนัก ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วยกับการกระทำของพระองค์มองพระยาวิไชเยนทร์ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ฉวยโอกาสมาใช้อิทธิพลเข้าควบคุมพระราชอาณาจักรในนามของผลประโยชน์จากชาติตะวันตก[ต้องการอ้างอิง] แต่นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าพระยาวิไชเยนทร์เป็นแพะรับบาป เป็นช่องว่างให้สมเด็จพระเพทราชาสามารถเข้ายึดอำนาจจากองค์รัชทายาทได้โดยนำเอาความริษยา อิจฉาและความระแวงที่มีต่อพระยาวิชเยนทร์มาเป็นมูลเหตุสนับสนุน

เก่ง ฉลาด มากความรู้ความสามารถ เรื่องนี้คงเป็นที่ยอมรับกัน
แต่ประเด็นที่ถูกกล่าวโทษจนโดนประหารชีวิตในวัยเพียงแค่40 ท่านมองเรื่องนี้กันอย่างไร...??
 
 
1.บทบาทตัวโกงชัดเจน...
อาจจะมองว่าเป็นคนทะเยอทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง ซ่องสุมผู้คน และคิดการใหญ่ถึงขั้นยึดอำนาจพระมหากษัตริย์
 

2.บทบาทพระเอกตายตอนจบ...
หรือเป็นคนที่ซื่อสัตย์ต่อพระนารายณ์ ไม่ได้คิดการใหญ่ถึงเพียงนั้น แค่ทำตามหน้าที่ได้รับหมอบหมายให้ดีที่สุด และก็ถูกความหวาดระแวง อิจฉาริษยากล่าวโทษเอา

 
3.บทบาทตีบทสองหน้า...สุดท้ายตกเป็นเหยื่อความขัดแย้ง
หรือจะมองว่า ท่านก็แค่คนขี้โม้ ขี้ประจบ เลียเจ้านาย เหยียบเรือสองแคม ได้ดิบได้ดี ข้ามหน้าข้ามตา จนคนเขาหมั่นไส้เอา และตกเป็นเหยื่อของการแย่งชิงอำนาจเอาก็เท่านั้น

4. ไม่แน่ใจเหมือนกัน มองยาก...
1.
2.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่