ตอนนี้กระแสละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส กำลังมาแรงมาก ซึ่งผู้เขียนเองได้เคยอ่านนวนิยายเล่มนี้มาก่อนที่จะนำมาทำเป็นละครเสียอีก และตอนนี้ก็ได้กลายเป็นแฟนคลับละครเรื่องนี้อย่างเต็มตัว ถึงในละครจะมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนจากบทประพันธ์เดิมของคุณรอมแพงไปบ้าง เพื่อเพิ่มอรรถรสให้กับผู้ชม ก็ถือเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และผู้เขียนมองว่า ละครทำออกมาได้ดีมาก ผลลัพธ์ที่ได้มีมากกว่าความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ยังทำให้ผู้ที่ได้ชมละครหันกลับมาสนใจในประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอีกด้วย ในเรื่องนี้พ่อเดชและพวกนั้น อยู่ฝั่งพระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ซึ่งถือเป็นอริกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์(คอนสแตนติน ฟอลคอน) ถึงขั้นเกิดการประหัดประหารกัน ทำให้หลายๆคนอาจเกิดความสงสัยว่าเหตุใดพ่อเดชถึงไปอยู่ฝั่งพระเพท เพราะตามที่เราเคยเรียนประวัติศาสตร์กันมา ส่วนใหญ่จะบอกว่าพระองค์เป็นกบฏและถูกมองไปในทางที่ไม่ดีนัก..
แต่สาเหตุและที่ไปที่มาของการก่อกบฏในครั้งนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะเหตุใด? สมควรทำหรือไม่?
และที่ว่า.. พระเพทราชาผู้นี้ เป็นผู้ร้ายทางทางประวัติศาสตร์นั้น เป็นความจริงหรือ?
สมัยตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำรายงานฉบับหนึ่งในรายวิชา ประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาเลือกหัวข้อรายงานตามความสนใจ ผู้เขียนจึงได้ทำรายงานในหัวข้อ "กบฏออกพระเพทราชา" ขึ้น จึงอยากนำมาแบ่งปันให้ทุกคนได้ลองอ่านกัน
ในหัวข้อดังต่อไปนี้..
- พระราชประวัติสมเด็จพระเพทราชา
- การเมืองในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
- การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเพทราชา
- พระเพทราชาเป็นผู้ร้ายทางประวัติศาสตร์จริงหรือ?
(พระเพทราชา)
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประวัติศาสตร์อยุธยา ผู้จัดทำได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอน ให้หยิบยกเอาประเด็นที่ตนสนใจจากการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์อยุธยามาศึกษาและเรียบเรียงออกมาเป็นรายงานฉบับนี้ โดยผู้จัดได้หยิบยกเอาเรื่องของออกพระเพทราชา ผู้สถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อการกบฏเพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ขึ้นในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ เหตุผลที่ได้เลือกเอาเรื่องนี้มาศึกษาก็เพราะ ผู้จัดทำมีความสงสัยว่า เหตุผลในการก่อกบฏของออกพระเพทราชาคืออะไร จะเป็นเช่นดังที่นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวเอาไว้จริงหรือไม่ โดยนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่า พระเพทราชาผู้นี้ เป็นเสมือนผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ การมองภาพลักษณ์ของพระเพทราชาแบบนั้นเป็นเพราะเหตุใด ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาจากหลักฐานและรวบรวมข้อมูลต่างๆนำมาเรียบเรียงจนเกิดเป็นรายงายฉบับนี้ขึ้น
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
- พระราชประวัติสมเด็จพระเพทราชา -
สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยาและทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-พ.ศ. 2246
พระเพทราชา แต่เดิมเป็นสามัญชนชื่อว่า "ทองคำ" เป็นชาวพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน คือ บ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) ประสูติเมื่อ พ.ศ.2175 (บางแห่งว่า พ.ศ.2170) จุลศักราช 994 จัตวาศก ปีเดียวกับ สมเด็จพระนารายณ์ เป็นบุตรของพระนมเปรม เนื่องจากพระมารดาของพระองค์เป็นพระนมโทในสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์จึงทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระนารายณ์มาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ในตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเพทราชามีตำแหน่งเป็นจางวางกรมช้างมีความชำนาญในศิลปศาสตร์การบังคับช้างและมีฝีมือในการสงคราม เคยได้รับความชอบจากสมเด็จพระนารายณ์หลายครั้ง มีครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเพทราชาหรือจางวางกรมช้างในขณะนั้นได้ตามเสด็จไปทำศึกด้วย
การศึกในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ตีได้เมืองเชียงใหม่และได้มีสัมพันธ์กับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งจนตั้งครรภ์ แต่พระองค์ทรงคิดละอายที่จะรับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ไว้เป็นพระสนม เนื่องจากในเวลานั้นยังถือว่าเมืองเชียงใหม่เป็นพวกเดียวกับเมืองลาวและยังเป็นที่ดูถูกว่าต่ำต้อยจึงทรงยกนางนั้นให้กับจางวางกรมช้าง เมื่อเดินทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่มาถึงเมืองพิษณุโลก ตำบลโพธิ์ประทับช้างจังหวัดพิจิตรในปัจจุบัน ราชธิดาองค์นั้นได้คลอดบุตรออกมาเป็นเพศชายตั้งชื่อให้ว่า “เดื่อ” ซึ่งก็คือหลวงสรศักดิ์(ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์) สมเด็จลูกยาเธอกรมพระราชวังบวร(ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา) หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระเพทราชานั่นเอง ต่อมาพระเพทราชาได้รับราชการในวังโดยรับตำแหน่งสูงและเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย
ในปี พ.ศ. 2231 ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ที่ลพบุรีและประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปสำเร็จโทษ และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในปัจจุบัน
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2232 จุลศักราช 1050 ขณะพระชนมายุ 56 พรรษา (บางแห่งว่า 61)
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา
สมเด็จพระเพทราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2246 พระชนมายุได้ 71 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
(ต่อ คห.1)
อ้างอิง
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. ( 2527). การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- สมเด็จพระเพทราชา. 2559. [ระบบออนไลน์].
https://th.wikisource.org/wiki/สมเด็จพระเพทราชา (11 ธันวาคม 2559).
- จดหมายเหตุเรื่องการจลาจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. 2556. [ระบบออนไลน์].
https://th.wikisource.org/wiki/จดหมายเหตุเรื่องการจลาจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (12 ธันวาคม 2559).
- ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. 2559. [ระบบออนไลน์].
http://nungdee-hd.com/ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ (12 ธันวาคม 2559).
"กบฏออกพระเพทราชา" >>> พระองค์ทรงเป็นผู้ร้ายทางประวัติศาสตร์จริงหรือ?
แต่สาเหตุและที่ไปที่มาของการก่อกบฏในครั้งนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะเหตุใด? สมควรทำหรือไม่?
และที่ว่า.. พระเพทราชาผู้นี้ เป็นผู้ร้ายทางทางประวัติศาสตร์นั้น เป็นความจริงหรือ?
สมัยตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำรายงานฉบับหนึ่งในรายวิชา ประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาเลือกหัวข้อรายงานตามความสนใจ ผู้เขียนจึงได้ทำรายงานในหัวข้อ "กบฏออกพระเพทราชา" ขึ้น จึงอยากนำมาแบ่งปันให้ทุกคนได้ลองอ่านกัน
ในหัวข้อดังต่อไปนี้..
- พระราชประวัติสมเด็จพระเพทราชา
- การเมืองในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
- การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเพทราชา
- พระเพทราชาเป็นผู้ร้ายทางประวัติศาสตร์จริงหรือ?
(พระเพทราชา)
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประวัติศาสตร์อยุธยา ผู้จัดทำได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอน ให้หยิบยกเอาประเด็นที่ตนสนใจจากการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์อยุธยามาศึกษาและเรียบเรียงออกมาเป็นรายงานฉบับนี้ โดยผู้จัดได้หยิบยกเอาเรื่องของออกพระเพทราชา ผู้สถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อการกบฏเพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ขึ้นในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ เหตุผลที่ได้เลือกเอาเรื่องนี้มาศึกษาก็เพราะ ผู้จัดทำมีความสงสัยว่า เหตุผลในการก่อกบฏของออกพระเพทราชาคืออะไร จะเป็นเช่นดังที่นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวเอาไว้จริงหรือไม่ โดยนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่า พระเพทราชาผู้นี้ เป็นเสมือนผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ การมองภาพลักษณ์ของพระเพทราชาแบบนั้นเป็นเพราะเหตุใด ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาจากหลักฐานและรวบรวมข้อมูลต่างๆนำมาเรียบเรียงจนเกิดเป็นรายงายฉบับนี้ขึ้น
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
- พระราชประวัติสมเด็จพระเพทราชา -
สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยาและทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-พ.ศ. 2246
พระเพทราชา แต่เดิมเป็นสามัญชนชื่อว่า "ทองคำ" เป็นชาวพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน คือ บ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) ประสูติเมื่อ พ.ศ.2175 (บางแห่งว่า พ.ศ.2170) จุลศักราช 994 จัตวาศก ปีเดียวกับ สมเด็จพระนารายณ์ เป็นบุตรของพระนมเปรม เนื่องจากพระมารดาของพระองค์เป็นพระนมโทในสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์จึงทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระนารายณ์มาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ในตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเพทราชามีตำแหน่งเป็นจางวางกรมช้างมีความชำนาญในศิลปศาสตร์การบังคับช้างและมีฝีมือในการสงคราม เคยได้รับความชอบจากสมเด็จพระนารายณ์หลายครั้ง มีครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเพทราชาหรือจางวางกรมช้างในขณะนั้นได้ตามเสด็จไปทำศึกด้วย
การศึกในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ตีได้เมืองเชียงใหม่และได้มีสัมพันธ์กับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งจนตั้งครรภ์ แต่พระองค์ทรงคิดละอายที่จะรับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ไว้เป็นพระสนม เนื่องจากในเวลานั้นยังถือว่าเมืองเชียงใหม่เป็นพวกเดียวกับเมืองลาวและยังเป็นที่ดูถูกว่าต่ำต้อยจึงทรงยกนางนั้นให้กับจางวางกรมช้าง เมื่อเดินทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่มาถึงเมืองพิษณุโลก ตำบลโพธิ์ประทับช้างจังหวัดพิจิตรในปัจจุบัน ราชธิดาองค์นั้นได้คลอดบุตรออกมาเป็นเพศชายตั้งชื่อให้ว่า “เดื่อ” ซึ่งก็คือหลวงสรศักดิ์(ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์) สมเด็จลูกยาเธอกรมพระราชวังบวร(ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา) หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระเพทราชานั่นเอง ต่อมาพระเพทราชาได้รับราชการในวังโดยรับตำแหน่งสูงและเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย
ในปี พ.ศ. 2231 ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ที่ลพบุรีและประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปสำเร็จโทษ และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในปัจจุบัน
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2232 จุลศักราช 1050 ขณะพระชนมายุ 56 พรรษา (บางแห่งว่า 61)
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา
สมเด็จพระเพทราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2246 พระชนมายุได้ 71 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
(ต่อ คห.1)
อ้างอิง
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. ( 2527). การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- สมเด็จพระเพทราชา. 2559. [ระบบออนไลน์]. https://th.wikisource.org/wiki/สมเด็จพระเพทราชา (11 ธันวาคม 2559).
- จดหมายเหตุเรื่องการจลาจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. 2556. [ระบบออนไลน์]. https://th.wikisource.org/wiki/จดหมายเหตุเรื่องการจลาจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (12 ธันวาคม 2559).
- ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. 2559. [ระบบออนไลน์]. http://nungdee-hd.com/ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ (12 ธันวาคม 2559).