คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เพราะศิลาจารึกวัดศรีชุม มีข้อสงสัยหลายอย่าง ทำให้ต้องยึดตามศิลาจารึกพ่อขุนราม คือ พระบิดาของพ่อขุนรามคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ข้อสงสัยอย่างที่ 1 ของจารึกวัดศรีชุมก็คือ เรื่องที่พ่อขุนศรีนาวนำถมยึดเมืองสุโขทัย อาจจะเป็นเรื่องที่แต่งมาจาก เรื่องของ ท้าวน้ำท่วม
หลานพระยาเม็งราย ยึดเมืองเขมรัฐ เพราะว่า นำถม หมายถึง น้ำท่วม และ เขมรัฐ แปลว่า นครแห่งความสุข คล้ายกับชื่อเมืองสุโขทัย
ข้อสงสัยที่ 2 อีแดงเพลิงใหญ่เท่าบาตรที่ พ่อขุนศรีนาวนำถมใช้ อาจจะเป็นลูกกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งความน่าจะเป็นที่ภูมิภาคนี้จะมีลูกกระสุนปืนใหญ่ใช้ก็น่าจะหลัง พ.ศ.1800
ข้อสงสัยที่ 3 เมืองที่พ่อขุนศรีนาวนำถมครอง คือ สุโขทัย กับ ศรีสัชนาลัย แต่ในจารึกวัดศรีชุมกลับบรรยายทิศพายัพของเมืองพ่อขุนศรีนาวนำถมเป็น เชียงแสน พะเยา ลาว ซึ่งเมืองที่จะมีทิศพายัพเป็น เชียงแสน พะเยา ลาว ก็มีแต่เมืองในจังหวัดเลยเท่านั้น
ดังนั้นเรื่องของ พ่อขุนศรีนาวนำถม ในจารึกวัดศรีชุมจึงถูกตัดออกไปจากประวัติศาสตร์
ส่วนเรื่องของพ่อขุนบางกลางหาว กับ พ่อขุนผาเมือง ไม่ได้มีแต่ในจารึกวัดศรีชุม แต่มีบันทึกไว้ในสมุดข่อยที่เขียนลอกกันมาถึงประวัติของเมืองเลย ว่า
" ประวัติศาสตร์จังหวัดเลย
มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้ง อาณาจักรโยนกเชียงแสนโดยพ่อขุนบางกลางหาว และ พ่อขุนผาเมือง(เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักร โยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้างข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของ อาณาเขต ล้านนาต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พา ผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน" "
อ้างอิงจากลิงค์สำนักงานธนารักษ์จังหวัดเลย https://loei.treasury.go.th/th/about/
สมุดข่อยที่บันทึกเรื่องจังหวัดเลยที่กล่าวถึงพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาวก็มีเพียงแค่นี้ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า พ่อขุนผาเมือง กับพ่อขุนบางกลางหาว ได้ร่วมมือกันบุกสุโขทัย เหมือนอย่างที่บันทึกในจารึกวัดศรีชุม ก็เป็นที่น่าสงสัยว่า จารึกวัดศรีชุม อาจจะเป็นแค่พงศาวดารที่นำชื่อพ่อขุนผาเมือง กับ พ่อขุนบางกลาวหาว ไปขยายความต่อว่า ร่วมมือกันบุกสุโขทัย
และนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ชื่อ เอเจียน แอมอนิเย ได้เดินทางมาค้นหาศิลาจารึกและมาถึงเมืองเลย เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2426 แต่เรื่องต่อจากนั้นไม่ปรากฎว่า เอเจียน แอมอนิเย ได้ค้นพบศิลาจารึกอะไร และในปี พ.ศ.2430 ก็มีคนพบจารึกวัดศรีชุม ในอุโมงค์วัดศรีชุม
เรื่องราวในศิลาจารึกวัดศรีชุม จึงยังมีข้อสงสัยอยู่มากชวนให้คิดกันต่อไป
ข้อสงสัยอย่างที่ 1 ของจารึกวัดศรีชุมก็คือ เรื่องที่พ่อขุนศรีนาวนำถมยึดเมืองสุโขทัย อาจจะเป็นเรื่องที่แต่งมาจาก เรื่องของ ท้าวน้ำท่วม
หลานพระยาเม็งราย ยึดเมืองเขมรัฐ เพราะว่า นำถม หมายถึง น้ำท่วม และ เขมรัฐ แปลว่า นครแห่งความสุข คล้ายกับชื่อเมืองสุโขทัย
ข้อสงสัยที่ 2 อีแดงเพลิงใหญ่เท่าบาตรที่ พ่อขุนศรีนาวนำถมใช้ อาจจะเป็นลูกกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งความน่าจะเป็นที่ภูมิภาคนี้จะมีลูกกระสุนปืนใหญ่ใช้ก็น่าจะหลัง พ.ศ.1800
ข้อสงสัยที่ 3 เมืองที่พ่อขุนศรีนาวนำถมครอง คือ สุโขทัย กับ ศรีสัชนาลัย แต่ในจารึกวัดศรีชุมกลับบรรยายทิศพายัพของเมืองพ่อขุนศรีนาวนำถมเป็น เชียงแสน พะเยา ลาว ซึ่งเมืองที่จะมีทิศพายัพเป็น เชียงแสน พะเยา ลาว ก็มีแต่เมืองในจังหวัดเลยเท่านั้น
ดังนั้นเรื่องของ พ่อขุนศรีนาวนำถม ในจารึกวัดศรีชุมจึงถูกตัดออกไปจากประวัติศาสตร์
ส่วนเรื่องของพ่อขุนบางกลางหาว กับ พ่อขุนผาเมือง ไม่ได้มีแต่ในจารึกวัดศรีชุม แต่มีบันทึกไว้ในสมุดข่อยที่เขียนลอกกันมาถึงประวัติของเมืองเลย ว่า
" ประวัติศาสตร์จังหวัดเลย
มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้ง อาณาจักรโยนกเชียงแสนโดยพ่อขุนบางกลางหาว และ พ่อขุนผาเมือง(เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักร โยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้างข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของ อาณาเขต ล้านนาต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พา ผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน" "
อ้างอิงจากลิงค์สำนักงานธนารักษ์จังหวัดเลย https://loei.treasury.go.th/th/about/
สมุดข่อยที่บันทึกเรื่องจังหวัดเลยที่กล่าวถึงพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาวก็มีเพียงแค่นี้ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า พ่อขุนผาเมือง กับพ่อขุนบางกลางหาว ได้ร่วมมือกันบุกสุโขทัย เหมือนอย่างที่บันทึกในจารึกวัดศรีชุม ก็เป็นที่น่าสงสัยว่า จารึกวัดศรีชุม อาจจะเป็นแค่พงศาวดารที่นำชื่อพ่อขุนผาเมือง กับ พ่อขุนบางกลาวหาว ไปขยายความต่อว่า ร่วมมือกันบุกสุโขทัย
และนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ชื่อ เอเจียน แอมอนิเย ได้เดินทางมาค้นหาศิลาจารึกและมาถึงเมืองเลย เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2426 แต่เรื่องต่อจากนั้นไม่ปรากฎว่า เอเจียน แอมอนิเย ได้ค้นพบศิลาจารึกอะไร และในปี พ.ศ.2430 ก็มีคนพบจารึกวัดศรีชุม ในอุโมงค์วัดศรีชุม
เรื่องราวในศิลาจารึกวัดศรีชุม จึงยังมีข้อสงสัยอยู่มากชวนให้คิดกันต่อไป
แสดงความคิดเห็น
ปัจจุบันนี้หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ผู้สถาปนากรุงสุโขทัยยังคงเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือไม่?
ในประวัติศาตร์ พ่อขุนศรีนาวนำถุม จะเป็นกษัตริย์สุโขทัยพระองค์แรกเพราะเราไม่มีหลักฐานที่มีความชัดเจนและเก่าแก่กว่านี้ แต่การขุนค้นทางโบราณคดีพบเครื่องถ้วยจีนสมัยซ่งเหนือ (ประมาณ พ.ศ.1500) และพบโครงกระดูกจากการฝังศพพร้อมกับเครื่องใช้ หม้อ ไห ต่างๆ เมื่อนำไปตรวจพบว่ามีอายุเกือบ 2000 ปี นั่นเป็นหลักฐานว่าเมืองสุโขทัยมีผู้คนอยู่อาศัยมานานกว่า 2000 ปีแล้ว แต่บ้านเมืองจะมีขนาดใหญ่เท่าใด ปกครองด้วยระบอบใด มีใครเป็นผู้ปกครองตรงนี้เราไม่รู้ ประวัติศาสตร์จึงย้อนได้ถึง พ่อขุนศรีนาวนำถุม เท่านั้น