ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นตามหลักฐานหมิงสือลู่ของจีนน่าเชื่อถือกว่าพงศาวดารไทยไหม?

ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาตอนต้นคลุมเครือหลักฐานจากพงศาวดารต่างๆ ของไทยขัดแย้งกัน  คือบันทึกไว้ไม่เหมือนกันเลยทั้งชื่อกษัตริย์ทั้งปีที่ครองราชไปจนถึงเหตุการ์ต่างๆ ไม่ตรงกันเลย  การที่พงศาวดารบันทึกไม่ตรงกันเป็นเพราะพงศาวดารต่างๆ มาบันทึกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ห่างไกลกับเหตุการณ์เกือบ 300 ปี ถ้าเทียบกับห้วงเวลาตอนนี้ก็เสมือนให้เรากลับไปเขียนเรื่องราวกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศตามคำบอกเล่าลองคิดดูว่าจะผิดเพี้ยนเท่าใด แม้พงศาวดารจะผิดเพี้ยนแต่ครูประวัติศาสตร์ก็ยังสอนตามพงศาวดารนักเรียก็ค้องเรียนรู้เรื่องราวที่ผิดเพี้ยนค่อไป

บันทึกเหตุการณ์จริงของราชวงศ์หมิง(หมิงสือลู่)ของจีนที่บันทึกเกี่ยวกับเซียน-หลอ ระบุว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เป็นปฐมกษัตริย์ ครองราชนานเท่าใดไม่รู้เพราะกว่าจูหยวนจางจะรบชนะมองโกลขึ้นเป็นฮ่องเต้ต้าหมิงก็ปีพ.ศ.1910 ตรงกับสมัยสมเด็จพระราเมศวรแล้ว แต่สมเด็จพระราเมศวรครองราชได้ถึงปี พ.ศ.1916 ก็ถูกขุนหลวงพะงั่วกษัตริย์สุพรรณภูมิ กดดันให้สละสมบัติ  ขุนหลวงพะงั่วครองราชนาน 22 ปี ถึงปีพ.ศ.1938 เจ้านครอินทร์ โอรสของขุนหลวงพะงั่ว ครองราชต่อมีการแจ้งข่าวไปยังจีนและจีนส่งทูตมาเคารพพระศพขุนหลวงพะงั่ว

จากหลักฐานหมิงสือลู่กษัตริย์อยุธยาหายไปถึง 3 พระองค์ถ้านำไปเทียบกับพงศาวดารไทย   เจ้านครอินทร์ ตามเอกสารจีนไม่ได้ปฏิวัติทำรัฐประหารหรือยึดอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น  หากพิจารณาปีพ.ศ.เหตุการณ์ต่างๆ ตามพงศาวดารไทยแล้วยิ่งสับสนขัดแย้งกันไปใหญ่ แต่มีพงศวดารฉบับวันวลิตที่ผู้เขียนเป็นชาวฮอลันดาเขียนตามคำบอกเล่าของคนกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ระบุปี พ.ศ.การครองราชของเจ้านครอินทร์ตรงกับเอกสารจีน ตรงเฉพาะพ.ศ.การขึ้นครองราชของเจ้านครอินทร์เท่านั้นอย่างอื่นไม่ตรง  เมื่อหลักฐานเป็นแบบนี้คุณเชื่อหลักฐานใดมากกว่ากัน?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่