ใน ค.ศ.1253 กองทัพมองโกลก็เข้ายึดครองน่าน เจ้า ค.ศ.1257 ก็เข้าครองฮานอย
เมื่อมีอำานาจอย่างเต็มที่แล้วก็ทรงส่งผู้แทนมาทวงบรรณาการจากบรรดาประเทศต่างๆรวมถึงส่งผู้แทนไปทวงเครื่องราชบรรณาการที่พุกามด้วย พระเจ้านรสีหบดีทรงเมินเฉยและปฏิเสธอย่างภาคภูมิอีกทั้งยังไม่ยอมรับ รองคณะทูต อีก 2 ปีต่อมาผู้แทนจากราชสำานักซึ่งถือคำสั่งโดยตรงจากจักรพรรดิ
พงศาวดารของพม่ากล่าวว่า ฑูตในฐานะผู้แทนจักรพรรดิเสียมารยาทในการไม่ถอดรองเท้าเข้าเฝ้ากษัตริย์พม่า พระองค์จึงทรงรับสั่งให้จับกุมราชฑูตไปประหาร เสนาบดีได้ทักท้วงแต่กษัตริย์ก็อ้างราชฑูตทำผิดอย่างร้ายแรง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กุบไลข่านทรงพิโรธ
เมื่อพม่าเหิมเกริมรุกเข้ามาในแคว้นเล็กๆที่ชื่อ คองไก เจ้าครองแคว้นคองไกไม่อาจสู้พม่าได้จึงยอมแพ้ต่อพม่า กุบไลข่านจึงไม่อาจอยู่นิ่งได้ ทรงรับสั่งให้อุปราชมณฑลต้าลี่ ขับพม่าออกจากดินแดนของพระองค์ กองทหารมองโกลของต้าลี่สามารถเอาชนะได้และขับพม่ากลับดินแดนตนในปีค.ศ.1277 ไม่เพียงเท่านั้นกองทัพที่สองของจีนโดยยูนนานก็ยกตามเข้ามาอีกโดยทัพมองโกลนี้มีผู้นำคือ อุปราชแห่งยูนนานเป็นผู้นำทัพ
สามารถตีป้อมค่ายพม่าได้หลายแห่งแต่ไม่นานก็ต้องถอยกลับเพราะทนอากาศที่ร้อนไม่ไหว พระเจ้านรสีหบดีทรงไม่ยอมแพ้ค.ศ. 1278 พระองค์ส่งกองทหารรุกเข้ายูนนาน โต้กันไปมาไม่มีใครชนะอย่างแท้จริง ผ่านไป 5ปี กองทัพมองโกลก็รุกรบใหม่ในปีค.ศ. 1283 คราวนี้สามารถรุกเข้าไปถึงตอนในของพม่าใกล้ถึงเมืองพุกาม
พระเจ้านรสีหบดี รู้ข่าวเข้าก็ละทิ้งเมืองด้วยความตกพระทัยหนีไปอยู่พะสิม หตุการณ์นี้เองที่ทำให้ชาวพม่าจดจำพระองค์ว่า “กษัตริย์ผู้วิ่งหนีชาวจีน” ผลจากการที่พม่าไร้ศูนย์กลางของอำนาจทำให้มอญและยะไข่ ถอนตัวออกจากราชอาณาจักร มองโกลได้ส่งหนังสือไปยังราชสำนักพุกามขอให้ยอมแพ้โดยหารู้ไม่ ว่ากษัตริย์ได้หลบหนีไปแล้วจะมีก็เพียงแม่ทัพนายกองของพม่าที่รวมกำลังกัน ตั้งมั่นที่เมืองตะโก้ง
ค.ศ.1284 เมื่อไร้คำตอบจากกษัตริย์พุกามทัพของมองโกลก็ทำการเข้าปราบปรามทันทีและครานี้สามารถตีเมืองตะโก้งแตก ดังนั้นจึงประกาศรวมเอาพม่าตอนบนเข้าเป็นมณฑลใหม่ของจีน ขนานนามว่า“เชียงเมียน” หรือมณฑล พม่า มีกรุงตะโก้งเป็นเมืองหลวง
ต่อมาเมื่อพระเจ้านรสีหบดีทรงเห็นว่าหมดทางสู้อย่างแท้จริงแล้ว พระองค์จึงหวังจะทำหนังสือยอมแพ้อย่างเป็นทางการและเดินทางกลับยังเมืองพุกาม แต่ปรากฏว่าใน ค.ศ.1287เมื่อพระเจ้านรสีหบดีเสด็จากเมืองพะสิ ล่องไปตามทางแม่น้ำอิระวดีเมื่อเสด็จมาถึงเมืองแปร กองทหารของพระโอรสองค์ที่ สองของพระองค์ก็ยกมาเข้าล้อมเรือพระที่นั่ง แล้วบังคับให้กษัตริย์เสวยยาพิษสิ้นพระชนม์
อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเพราะรบแพ้จักรวรรดิมองโกลผู้รุกรานในปลายศตวรรษที่ 13 ความล่มสลายนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกับการถือกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัยทางตอนกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ อาณาจักรพุกามที่เคยเป็นปึกแผ่นก็แยกออกเป็นอาณาจักรเล็กๆ
มองโกลถล่มพุกาม ถึงคราวล่มสลาย เป็นมณฑลหนึ่งของจีนมองโกล ชื่อ เชียงเหมียน
เมื่อมีอำานาจอย่างเต็มที่แล้วก็ทรงส่งผู้แทนมาทวงบรรณาการจากบรรดาประเทศต่างๆรวมถึงส่งผู้แทนไปทวงเครื่องราชบรรณาการที่พุกามด้วย พระเจ้านรสีหบดีทรงเมินเฉยและปฏิเสธอย่างภาคภูมิอีกทั้งยังไม่ยอมรับ รองคณะทูต อีก 2 ปีต่อมาผู้แทนจากราชสำานักซึ่งถือคำสั่งโดยตรงจากจักรพรรดิ
พงศาวดารของพม่ากล่าวว่า ฑูตในฐานะผู้แทนจักรพรรดิเสียมารยาทในการไม่ถอดรองเท้าเข้าเฝ้ากษัตริย์พม่า พระองค์จึงทรงรับสั่งให้จับกุมราชฑูตไปประหาร เสนาบดีได้ทักท้วงแต่กษัตริย์ก็อ้างราชฑูตทำผิดอย่างร้ายแรง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กุบไลข่านทรงพิโรธ
เมื่อพม่าเหิมเกริมรุกเข้ามาในแคว้นเล็กๆที่ชื่อ คองไก เจ้าครองแคว้นคองไกไม่อาจสู้พม่าได้จึงยอมแพ้ต่อพม่า กุบไลข่านจึงไม่อาจอยู่นิ่งได้ ทรงรับสั่งให้อุปราชมณฑลต้าลี่ ขับพม่าออกจากดินแดนของพระองค์ กองทหารมองโกลของต้าลี่สามารถเอาชนะได้และขับพม่ากลับดินแดนตนในปีค.ศ.1277 ไม่เพียงเท่านั้นกองทัพที่สองของจีนโดยยูนนานก็ยกตามเข้ามาอีกโดยทัพมองโกลนี้มีผู้นำคือ อุปราชแห่งยูนนานเป็นผู้นำทัพ
สามารถตีป้อมค่ายพม่าได้หลายแห่งแต่ไม่นานก็ต้องถอยกลับเพราะทนอากาศที่ร้อนไม่ไหว พระเจ้านรสีหบดีทรงไม่ยอมแพ้ค.ศ. 1278 พระองค์ส่งกองทหารรุกเข้ายูนนาน โต้กันไปมาไม่มีใครชนะอย่างแท้จริง ผ่านไป 5ปี กองทัพมองโกลก็รุกรบใหม่ในปีค.ศ. 1283 คราวนี้สามารถรุกเข้าไปถึงตอนในของพม่าใกล้ถึงเมืองพุกาม
พระเจ้านรสีหบดี รู้ข่าวเข้าก็ละทิ้งเมืองด้วยความตกพระทัยหนีไปอยู่พะสิม หตุการณ์นี้เองที่ทำให้ชาวพม่าจดจำพระองค์ว่า “กษัตริย์ผู้วิ่งหนีชาวจีน” ผลจากการที่พม่าไร้ศูนย์กลางของอำนาจทำให้มอญและยะไข่ ถอนตัวออกจากราชอาณาจักร มองโกลได้ส่งหนังสือไปยังราชสำนักพุกามขอให้ยอมแพ้โดยหารู้ไม่ ว่ากษัตริย์ได้หลบหนีไปแล้วจะมีก็เพียงแม่ทัพนายกองของพม่าที่รวมกำลังกัน ตั้งมั่นที่เมืองตะโก้ง
ค.ศ.1284 เมื่อไร้คำตอบจากกษัตริย์พุกามทัพของมองโกลก็ทำการเข้าปราบปรามทันทีและครานี้สามารถตีเมืองตะโก้งแตก ดังนั้นจึงประกาศรวมเอาพม่าตอนบนเข้าเป็นมณฑลใหม่ของจีน ขนานนามว่า“เชียงเมียน” หรือมณฑล พม่า มีกรุงตะโก้งเป็นเมืองหลวง
ต่อมาเมื่อพระเจ้านรสีหบดีทรงเห็นว่าหมดทางสู้อย่างแท้จริงแล้ว พระองค์จึงหวังจะทำหนังสือยอมแพ้อย่างเป็นทางการและเดินทางกลับยังเมืองพุกาม แต่ปรากฏว่าใน ค.ศ.1287เมื่อพระเจ้านรสีหบดีเสด็จากเมืองพะสิ ล่องไปตามทางแม่น้ำอิระวดีเมื่อเสด็จมาถึงเมืองแปร กองทหารของพระโอรสองค์ที่ สองของพระองค์ก็ยกมาเข้าล้อมเรือพระที่นั่ง แล้วบังคับให้กษัตริย์เสวยยาพิษสิ้นพระชนม์
อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเพราะรบแพ้จักรวรรดิมองโกลผู้รุกรานในปลายศตวรรษที่ 13 ความล่มสลายนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกับการถือกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัยทางตอนกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ อาณาจักรพุกามที่เคยเป็นปึกแผ่นก็แยกออกเป็นอาณาจักรเล็กๆ