*** ...ต้องเข้าใจดีๆ อย่าสับสน ระหว่าง วิจิกิจจฉาในหมวดนิวรณ์ ๕ และ วิจิกิจฉาในหมวดสังโยชน์ ๑๐...***

...วิจิกิจฉาในหมวดธรรม ๒ หมวดนี้  แม้จะชื่อเดียวกัน มีองค์ธรรมเดียวกัน คือ วิจิกิจฉาเจตสิก ก็ตาม แต่มีอารมณ์และพลังต่างกัน  
...(๑) วิจิกิจฉาในหมวดนิวรณ์ ๕ พลังไม่มากนัก เป็นระดับ ปริยุฏฐานกิเลส(หรือระดับอุปกิเลส หรือ กิเลสระดับกลาง) อารมณ์ของมันคือความสงสัยในฌาน ในสมาธิ ว่า ฌาน สมาธิ มีจริงหรือไม่ ... เมื่อใดจิตสงบลงสู่ฌานสมาธิ  วิจิกิจฉาในระดับนี้ก็จะหายไป จิตสงบลงแนบแน่น  สุขสบายมากๆ ...แต่ วิจิกิจฉาในระดับอนุสัย (หรือในระดับสังโยชน์ ๑๐) ยังคงมีอยู่ลึกๆ  ยังไม่หายไปไหน 
...(๒) วิจิกิจฉาในระดับอนุสัย หรือ ระดับสังโยชน์ ๑๐  จะมีพลังมากๆ สุดๆ อารมณ์ของมันคือความสงสัยในมรรคผลนิพพาน ว่า มีจริงหรือไม่  ..เมื่อใดฝึกวิปัสสนาญาณจนครบ ๑๖ ในระดับ โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล  เมื่อนั้นวิจิกิจฉาในระดับอนุสัยนี้ ก็จะหายไป ไม่ปรากฏอีกเลย และ จะทำให้ตัววิจิกิจฉาในระดับนิวรณ์ ๕ พลอยหายไปด้วย ไม่โผล่อีกเลย ตลอดไป..เพราะรากของมัน คือ ตัววิจิกิจฉาเจตสิกโดนถอน โดนทำลายหมดแล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรคจิต

......ซึ่งจะมีตัวอย่างมากมาย ทั้งในตำรา และในยุคต่างๆมาจนถึงยุคนี้ คือ คนที่ฝึกจนได้ฌาน ได้อภิญญา (ซึ่งหมายถึงเขาสามารถกำจัดนิวรณ์ ๕ (รวมทั้งตัววิจิกิจฉานิวรณ์)ได้แล้ว จิตจึงรวมลงเป็นฌานได้ มีอภิญญาได้  เหาะเหินเดินอากาศได้ ฯลฯ
...แต่ภายหลังมา เมื่อฌานเสื่อม  เขาก็กลับมามีครอบครัว หรือมาทำบาปได้อีก หรือ ตกนรกก็มี เช่น พระเทวทัต ฯ...นั่นเป็นเพราะเขายังไม่เห็นนิพพาน ยังไม่สามารถกำจัดตัววิจิกิจฉาในระดับอนุสัยหรือระดับสังโยชน์ได้ ... นั่นเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่