คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ผู้มิได้สดับคำพระศาสดา ย่อมเห็นว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นตัวตน เที่ยง เป็นสุข
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=238
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๓๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ฯลฯ
ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) ...
ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ...
กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=17&item=118
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ
...........ฯลฯ.................
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน? วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุ
วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า
วิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่ง
วิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ. นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความสลัดออกแห่ง
วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุ
เกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่ง
วิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว ปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ย่อมหลั่งลงในธรรมวินัยนี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุเกิด
แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว หลุดพ้นไป เพราะความ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นอันเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง โดยความเป็นอายตนะประการ
หนึ่ง โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้
เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ. ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เรา
เรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=16&A=2519&Z=2566
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
...........ฯลฯ.................
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ
ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
*โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
- เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
- เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ลัทธิจิตเที่ยง = ความเห็นผิดนอกศาสนาพุทธ
ลัทธิจิตสูญ = ความเห็นผิดนอกศาสนาพุทธ
ความเห็นถูกในศาสนาพุทธ = ปฏิจจสมุปบาท
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=238
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๓๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ฯลฯ
ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) ...
ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ...
กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=17&item=118
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ
...........ฯลฯ.................
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน? วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุ
วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า
วิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่ง
วิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ. นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความสลัดออกแห่ง
วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุ
เกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่ง
วิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว ปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ย่อมหลั่งลงในธรรมวินัยนี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุเกิด
แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว หลุดพ้นไป เพราะความ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นอันเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง โดยความเป็นอายตนะประการ
หนึ่ง โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้
เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ. ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เรา
เรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=16&A=2519&Z=2566
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
...........ฯลฯ.................
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ
ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
*โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
- เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
- เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ลัทธิจิตเที่ยง = ความเห็นผิดนอกศาสนาพุทธ
ลัทธิจิตสูญ = ความเห็นผิดนอกศาสนาพุทธ
ความเห็นถูกในศาสนาพุทธ = ปฏิจจสมุปบาท
แสดงความคิดเห็น
จิต เป็นไฉน....จากพระไตรปิฎก
การปฎิบัติ อ้างหลวงพ่อ อ้างหลวงปู่....แต่ลบหลู่พระไตรปิฎก ซึ่งถือเป็น ธรรมรัตนะ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=8270&w=%A8%D4%B5_%E0%BB%E7%B9%E4%A9%B9
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุ ชำระจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น ให้
พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากวิจิกิจฉานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากวิจิกิจฉา
https://84000.org/tipitaka/read/?35/130
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
[๑๓๐] มโนธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ
จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ
ของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ
มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิด
ดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า
มโนธาตุ
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=598&Z=847
[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.
....
....
[๓๒] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือ มโน วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=1408&w=%E0%C7%B7%B9%D2%E0%BB%E7%B9%E4%A9%B9
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน? วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุ
วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า
วิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่ง
วิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ. นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความสลัดออกแห่ง
วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุ
เกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่ง
วิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว ปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ย่อมหลั่งลงในธรรมวินัยนี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุเกิด
แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว หลุดพ้นไป เพราะความ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นอันเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม 45 พรรษา ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
ยุคสมัยคงเปลี่ยนไป ทำให้ความเคารพในพระรัตนตรัยของคนน้อยลง จนเห็นผิด
ทั้งลัทธิฤๅษีหลับตาแล้วรู้ได้เอง ทั้งลัทธิสันติกินผัก ทั้งลัทธิเพ่งลูกแก้วจนฝันเห็นพระพุทธเจ้า
ตื่นเถิดพี่น้อง
https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/371
เชิญอ่าน
...ไม่มีพระไตรปิฎกเสียอย่างเดียว เป็นอันหมดสิ้น คือ หมดสิ้นพระพุทธศาสนานั่นเอง...