งั้นศรัทธาของโสดาบันนก็งมงายซิครับ
http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/843-1089/256-318
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๔. อินทริยสังยุต
สุทธิกวรรคที่ ๑
สุทธิกสูตร
อินทรีย์ ๕
[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
โสตาสูตรที่ ๑
รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
(ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตาม
เป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น
ผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๒
อรหันตสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๘๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธิน-
*ทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพระอรหันต-
*ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว
สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๔
อรหันตสูตรที่ ๒
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์
[๘๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธิน-
*ทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
สัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งปัญญิน-
*ทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็น
พราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น
สมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[๘๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง
สัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับ
แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความ
เกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์
เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๗
ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ
[๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
[๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ใน
โสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็น
สตินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
วิภังคสูตรที่ ๑
ความหมายของอินทรีย์ ๕
[๘๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[๘๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[๘๖๐] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง
ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[๘๖๑] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
สติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่
พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.
[๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ
ซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[๘๖๓] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล
ศรัทธา คือ ความงมงายฤา? ตรรกะของคนไม่รู้ธรรม
http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/843-1089/256-318
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๔. อินทริยสังยุต
สุทธิกวรรคที่ ๑
สุทธิกสูตร
อินทรีย์ ๕
[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
โสตาสูตรที่ ๑
รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
(ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตาม
เป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น
ผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๒
อรหันตสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๘๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธิน-
*ทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพระอรหันต-
*ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว
สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๔
อรหันตสูตรที่ ๒
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์
[๘๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธิน-
*ทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
สัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งปัญญิน-
*ทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็น
พราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น
สมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[๘๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง
สัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับ
แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความ
เกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์
เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๗
ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ
[๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
[๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ใน
โสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็น
สตินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
วิภังคสูตรที่ ๑
ความหมายของอินทรีย์ ๕
[๘๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[๘๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[๘๖๐] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง
ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[๘๖๑] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
สติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่
พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.
[๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ
ซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[๘๖๓] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล