(คหสต).
สิ่งที่เรียกว่าจิต หรือภาษาไทยเรียกว่า ใจ(ธรรมชาติรู้อารมณ์..),
อินทรีย์ 5(ตา หู จมูก ลิ้น กาย) แล่นไปสู่ ใจ
หรือมนะ, มโน เรียกว่า มโนธาตุ [ธาตุคือรู้อารมณ์] เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของปัญจารมณ์(5) มีจักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(รูปารมณ์)เป็นต้น
เป็นอายตนะที่ 6 (มโนทวาร)
หรือเรา(ที่ถูกสมมติว่าเป็น คน บุคคล สัตว์ชื่อนั้นชื่อนี้ มีลิงเป็นต้น) นั่นเอง.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
จักษุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด, ทุกข์ หรือการบัญญัติว่าทุกข์ ย่อมมีอยู่ในที่นั้น.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความมีลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งจักษุนี้).
๑. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะทนได้ยาก,
๒. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่นพร้อมกันไปในตัว,
๓. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะแห่งความแปรปรวนเป็นไปต่าง ๆ.
....เหล่านี้แล คือความเป็นทุกข์ 3 ลักษณะ.
ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
ในนามและรูปนั้น
นาม เป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม,
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป,
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
.... นามรูป แล (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์.
.... ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
...รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ;
กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.
....รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.
....รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น (สังขตะ).
ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต วิญญาณขันธ์ กรรม ภพ ชาติ...
สิ่งที่เรียกว่าจิต หรือภาษาไทยเรียกว่า ใจ(ธรรมชาติรู้อารมณ์..),
อินทรีย์ 5(ตา หู จมูก ลิ้น กาย) แล่นไปสู่ ใจ
หรือมนะ, มโน เรียกว่า มโนธาตุ [ธาตุคือรู้อารมณ์] เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของปัญจารมณ์(5) มีจักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(รูปารมณ์)เป็นต้น
เป็นอายตนะที่ 6 (มโนทวาร)
หรือเรา(ที่ถูกสมมติว่าเป็น คน บุคคล สัตว์ชื่อนั้นชื่อนี้ มีลิงเป็นต้น) นั่นเอง.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
จักษุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด, ทุกข์ หรือการบัญญัติว่าทุกข์ ย่อมมีอยู่ในที่นั้น.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความมีลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งจักษุนี้).
๑. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะทนได้ยาก,
๒. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่นพร้อมกันไปในตัว,
๓. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะแห่งความแปรปรวนเป็นไปต่าง ๆ.
....เหล่านี้แล คือความเป็นทุกข์ 3 ลักษณะ.
ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
ในนามและรูปนั้น
นาม เป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม,
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป,
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
.... นามรูป แล (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์.
.... ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
...รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ;
กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.
....รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.
....รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น (สังขตะ).