“กลุ่มคราฟต์เบียร์” สอนมวยรัฐ ชี้ภาษียังลักลั่น รายเล็กเกิดยาก อัดไม่ส่งเสริมก็อย่าขัดขวาง
https://www.matichon.co.th/economy/news_3824560
“กลุ่มคราฟต์เบียร์” สอนมวยรัฐ ชี้ภาษียังลักลั่น รายเล็กเกิดยาก อัดไม่ส่งเสริมก็อย่าขัดขวาง
คราฟต์เบียร์ชี้กฎหมายใหม่ที่ออกมายังไม่ตอบโจทย์ ยังมีช่องว่าง ไม่ส่งเสริมรายเล็ก ใช้มุมมองต่อผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนจากในอดีต ภาษียังคงเป็นปัจจัยหลัก แนะรัฐไม่ส่งเสริมก็ไม่ควรขัดขวาง โวยรายเล็กยังเกิดยากรายใหญ่ยังได้ประโยชน์ ชี้กฎหมายต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยเพื่อตอบสนองสังคม ที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
นาย
อาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ กรรมการ บริษัท ไอเอสทีบี จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเบียร์ไทยและต่างประเทศเจ้าของคราฟต์เบียร์แบรนด์ไลเกอร์และอัลเลมองท์ กล่าวว่าจากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตสุรา พิกัดอัตราภาษี-อากรแสตมป์ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 นั้นมองว่ามีบางส่วนใหม่แต่บางส่วนก็ไม่มีการปรับเปลี่ยนยังคงมีช่องว่างในเรื่องการกำหนดกำลังการผลิตอยู่ เพราะหากมองในโมเดลทางการเงินนั้น ข้อกำหนดในเรื่องกำลังการผลิตในเชิงธุรกิจยังไม่ได้ส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดเล็กอยู่ได้ ในส่วนภาษียังคงยึดแนวทางเดิม ทำให้ภาษีดูไม่เป็นสากล เทียบง่ายๆ ระหว่างเบียร์กับสุราชุมชนค่อนข้างชัดว่าต้องการส่งเสริมสุราชุมชน แต่สำหรับเบียร์นั้นมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมานับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
“อัตราภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เราก็ยังคิดในแบบของเราไม่ได้ใช้แบบแอลกอฮอล์ดีกรีตามหลายๆประเทศ ยังคงมองภาษีเป็นภาษีบาปทั้งๆ ที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์หลายๆ ประเทศในโลกใช้เป็นเครื่องมือในการดึงคนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศรวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการรับประทานอาหาร แม้นภาครัฐไม่ส่งเสริมก็ไม่ควรขัดขวาง อย่างกฎหมายล่าสุดที่ออกมา ผมมองว่าบางเรื่องค่อนข้างดูลักลั่นและตลก ในการกำหนดว่าการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภคเอง โดยมิได้จำหน่าย แต่จัดเก็บภาษีเพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่เก็บภาษีสำหรับการผลิตเพื่อการบริโภคเอง” นาย
อาชิระวัสส์ กล่าว
นาย
กาญจน์ เสาวพุทธสุเวช ผู้ผลิตเบียร์สเปซคราฟต์ กล่าวว่าจากอัตราภาษีดังกล่าว ยังมีความลักลั่น มีผลกระทบกับรายใหม่และรายเล็กอย่างมาก เพราะพื้นฐานโครงสร้างภาษีแม้จะมองว่ายุติธรรม แต่ต้องมีพื้นฐานภาษีที่เท่ากันก่อน แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดนั้นเจ้าใหญ่และเจ้าเก่ามักได้ประโยชน์มากกว่าเสมอ ผู้ผลิตคราฟต์เบียร์และรายเล็กๆ ถือเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างที่อเมริกาเมื่อแก้กฎหมายผู้ผลิตเบียร์นั้น ทำให้เกิดรายเล็กๆ จำนวนมาก และนั่นส่งผลให้เศรษฐกิจแข็งแกร่ง แต่ในประเทศไทยเมื่อเข้าไปในซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็จะพบว่าสุราและเบียร์ต่างประเทศมีเยอะมากเพราะกฎเกณฑ์ของภาครัฐไม่เอื้อต่อผู้ผลิตในเมืองไทย
“เราต้องยอมรับก่อนว่าแอลกอฮอล์ไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย เมื่อเป็นเช่นนั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องต้องตอบสนองความต้องการของสังคมและประชาชน ที่สำคัญต้องมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย, เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพราะบางทีกฎหมายที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนก็ไม่สนับสนุนให้ทำธุรกิจอย่างถูกกฎหมาย การพัฒนากฎหมายนั้นมีส่วนสำคัญในการทำธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโต เราต้องยอมรับพฤติกรรมผู้บริโภคของแต่ละชาติต่างกัน ในหลายๆ ชาติมองว่าแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์คืออาหาร”
นาย
กาญจน์ กล่าวอีกว่าในบางกฎเกณฑ์ที่ออกมามีทั้งคนที่ทำถูกกฎหมายและทำผิดกฎหมาย อย่างเช่น บนถนนเส้นทางหนึ่งที่มีกำหนดให้ขับขี่ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่ก็ยังมีคนขับขี่เกินกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ต่างจากในกลุ่มธุรกิจหลายๆ กลุ่มธุรกิจที่มีทั้งทำถูกกฎหมายและทำผิดกฎหมาย ส่วนสำคัญหนึ่งในการตัดสินใจนั้นกฎหมายก็มีส่วนในการตัดสินใจ
เริ่มแล้ว! ยุทธการ กระชากหน้ากากคนดี หลังเปิดช้า 40 นาที คาดวันแรกจบตีสอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7511365
เริ่มแล้ว เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ มาตรา 152 หลังเปิดช้า 40 นาที วิปสองฝ่าย แจงกรอบเวลาคาดวันแรกจบตีสอง
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 ก.พ.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 โดยมีนาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม
แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดประชุมได้ เนื่องจากมีสมาชิกมาลงชื่อประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เกิดฝนตกหนัก ทำให้การจราจรติดขัด อาจส่งผลต่อการเดินทางมาประชุมของส.ส. กระทั่งเวลาผ่านไปกว่า 40 นาที มีสมาชิกมาลงชื่อ 213 คน ถือว่าครบองค์ประชุม จึงเปิดประชุมได้
เมื่อเริ่มการประชุม นาย
ชวน แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการลาออกจากส.ส.ของ นาง
แพงศรี พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปไตยใหม่ และน.ส.
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีส.ส.คงเหลือ 418 องค์ประชุมคือ 209 คน
จากนั้นนาย
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปฝ่ายค้าน ชี้แจงกรอบระยะเวลาการประชุม ว่า การประชุมจะใช้เวลา 2 วัน รวม 32 ชม. วันแรก 17 ชม. และจะจบที่เวลาประมาณ 02.00 – 03.00 น. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ขณะที่หลังเวลาเที่ยงคืนครึ่ง หากครม.ประสงค์ใช้สิทธิ์ชี้แจงเราจะอยู่ร่วมเป็นองค์ประชุมให้ครม.ชี้แจงจนเสร็จสิ้นส่วนวันพรุ่งนี้ (16 ก.พ.) จะเริ่มการประชุมในเวลา 09.00 น. รวม 15 ชม. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ที่เหลือจะเป็นเวลาของครม.ได้ชี้แจง ซึ่งการประชุมน่าจะจบในเวลาเที่ยงคืนวันพรุ่งนี้
ขณะที่ นาย
อรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เป็นญัตติที่เสนอแนะต่อรัฐมนตรี แต่สมาชิกบางท่านอาจอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ซึ่งต้องแยกกัน ส่วนประเด็นเรื่องเวลาการอภิปรายเป็นไปตามที่นายจุลพันธ์ชี้แจงไว้
จากนั้นนพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มการอภิปรายเป็นคนแรก ภายใต้ยุทธการ “
กระชากหน้ากากคนดี”
เริ่มแล้ว เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ มาตรา 152 หลังเปิดช้า 40 นาที วิปสองฝ่าย แจงกรอบเวลาคาดวันแรกจบตีสอง
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 ก.พ.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม
แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดประชุมได้ เนื่องจากมีสมาชิกมาลงชื่อประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เกิดฝนตกหนัก ทำให้การจราจรติดขัด อาจส่งผลต่อการเดินทางมาประชุมของส.ส. กระทั่งเวลาผ่านไปกว่า 40 นาที มีสมาชิกมาลงชื่อ 213 คน ถือว่าครบองค์ประชุม จึงเปิดประชุมได้
เมื่อเริ่มการประชุม นาย
ชวน แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการลาออกจากส.ส.ของ นาง
แพงศรี พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปไตยใหม่ และน.ส.
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีส.ส.คงเหลือ 418 องค์ประชุมคือ 209 คน
จากนั้นนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปฝ่ายค้าน ชี้แจงกรอบระยะเวลาการประชุม ว่า การประชุมจะใช้เวลา 2 วัน รวม 32 ชม. วันแรก 17 ชม. และจะจบที่เวลาประมาณ 02.00 – 03.00 น. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ขณะที่หลังเวลาเที่ยงคืนครึ่ง หากครม.ประสงค์ใช้สิทธิ์ชี้แจงเราจะอยู่ร่วมเป็นองค์ประชุมให้ครม.ชี้แจงจนเสร็จสิ้นส่วนวันพรุ่งนี้ (16 ก.พ.) จะเริ่มการประชุมในเวลา 09.00 น. รวม 15 ชม. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ที่เหลือจะเป็นเวลาของครม.ได้ชี้แจง ซึ่งการประชุมน่าจะจบในเวลาเที่ยงคืนวันพรุ่งนี้
ขณะที่ นาย
อรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เป็นญัตติที่เสนอแนะต่อรัฐมนตรี แต่สมาชิกบางท่านอาจอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ซึ่งต้องแยกกัน ส่วนประเด็นเรื่องเวลาการอภิปรายเป็นไปตามที่นายจุลพันธ์ชี้แจงไว้
จากนั้นนพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มการอภิปรายเป็นคนแรก ภายใต้ยุทธการ
“กระชากหน้ากากคนดี”
โรม จัดหนักซักฟอก เปิดแผลทุจริต มั่นใจหลักฐานเอาผิดรบ.ได้ ฉะเล่นเกมสภาล่ม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7511363
โรม ขู่จัดหนักซักฟอก เปิดแผลทุจริต มั่นใจหลักฐานเอาผิดรัฐบาลได้ ฉะ เล่นเกมล่มประชุม ลั่น พร้อมอภิปรายนอกสภา เพื่อทำหน้าที่ ยอมถูกดำเนินคดี
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 ก.พ. 2566 ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ว่า การอภิปรายครั้งนี้เป็นการอภิปรายครั้งสุดท้าย หากพูดตามกฎหมายจะเป็นเหมือนการซักถามทั่วไปในประเด็นปัญหาต่างๆ ให้รัฐบาลตอบ แต่เมื่อมาอยู่ในช่วงเวลาก่อนเลือกตั้ง เราก็ยกระดับเป็นระดับเดียวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และทำอย่างเต็มที่ในการขุดคุ้ยข้อมูลต่างๆ
นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ในส่วนของตนได้เตรียมข้อมูลไว้เยอะ เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน และเกี่ยวพันกับการบริหารงานที่ไม่ชอบ รวมไปถึงความล้มเหลวในทุกๆ ด้านของรัฐบาล ตนใช้เวลาในการเตรียมข้อมูลประมาณ 4 เดือน ค่อนข้างมั่นใจว่า มีหลักฐานที่ชัดเจนในการเอาผิดกับรัฐบาลได้ และคงไม่จบแค่การซักฟอก เราเตรียมข้อมูลไว้ดำเนินการตามกฎหมายอีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง
เมื่อถามกรณีฝั่งรัฐบาลระบุหากอภิปรายเหมือนอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะเสนอให้นับองค์ประชุม เพื่อให้การประชุมไม่สามารถดำเนินไปได้ นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างนั้นไปทำไม เพราะที่ผ่านมาการอภิปรายทั่วไปก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร การที่ฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบได้ดีก็เป็นประโยชน์กับประชาชน ในเมื่อเป็นประโยชน์กับประชาชน รัฐบาลไม่อยากทำหน้าที่นี้ ตกลงรัฐบาลต้องการอะไร ไม่อยากให้ประชาชนทราบข้อมูลของการทุจริตคอร์รัปชั่นใช่หรือไม่
“หากเป็นเช่นนั้นแสดงว่ารัฐบาลกำลังจะยอมรับว่า ตัวเองมีแผลเหวอะหวะเต็มตัว และกลัวประชาชนจะทราบจึงได้พยายามปิดปากพวกเรา ผมอยากให้สภาเป็นเวทีที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้มีโอกาสพูด เราไม่อยากให้ใช้เวทีนี้ปิดปากใคร ถ้ารัฐบาลชี้แจงดี ประชาชนก็จะเลือกคุณ ในทางกลับกัน หากฝ่ายค้านทำหน้าที่ในการซักฟอกไม่ดี ประชาชนก็ไม่เลือกฝ่ายค้าน ดังนั้น คนที่เรานำมาซักฟอกในครั้งนี้ จึงเป็นคนที่เรามั่นใจว่าเต็มไปด้วยบาดแผล และไม่เหมาะสมที่จะบริหารประเทศในวันนี้และในอนาคต”
JJNY : “กลุ่มคราฟต์เบียร์”สอนมวยรัฐ│เริ่มแล้ว! ยุทธการ กระชากหน้ากากคนดี│โรม จัดหนักซักฟอก│สมชัยเปิดแนวทางส่งศาลตีความ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3824560
“กลุ่มคราฟต์เบียร์” สอนมวยรัฐ ชี้ภาษียังลักลั่น รายเล็กเกิดยาก อัดไม่ส่งเสริมก็อย่าขัดขวาง
คราฟต์เบียร์ชี้กฎหมายใหม่ที่ออกมายังไม่ตอบโจทย์ ยังมีช่องว่าง ไม่ส่งเสริมรายเล็ก ใช้มุมมองต่อผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนจากในอดีต ภาษียังคงเป็นปัจจัยหลัก แนะรัฐไม่ส่งเสริมก็ไม่ควรขัดขวาง โวยรายเล็กยังเกิดยากรายใหญ่ยังได้ประโยชน์ ชี้กฎหมายต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยเพื่อตอบสนองสังคม ที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
นายอาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ กรรมการ บริษัท ไอเอสทีบี จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเบียร์ไทยและต่างประเทศเจ้าของคราฟต์เบียร์แบรนด์ไลเกอร์และอัลเลมองท์ กล่าวว่าจากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตสุรา พิกัดอัตราภาษี-อากรแสตมป์ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 นั้นมองว่ามีบางส่วนใหม่แต่บางส่วนก็ไม่มีการปรับเปลี่ยนยังคงมีช่องว่างในเรื่องการกำหนดกำลังการผลิตอยู่ เพราะหากมองในโมเดลทางการเงินนั้น ข้อกำหนดในเรื่องกำลังการผลิตในเชิงธุรกิจยังไม่ได้ส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดเล็กอยู่ได้ ในส่วนภาษียังคงยึดแนวทางเดิม ทำให้ภาษีดูไม่เป็นสากล เทียบง่ายๆ ระหว่างเบียร์กับสุราชุมชนค่อนข้างชัดว่าต้องการส่งเสริมสุราชุมชน แต่สำหรับเบียร์นั้นมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมานับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
“อัตราภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เราก็ยังคิดในแบบของเราไม่ได้ใช้แบบแอลกอฮอล์ดีกรีตามหลายๆประเทศ ยังคงมองภาษีเป็นภาษีบาปทั้งๆ ที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์หลายๆ ประเทศในโลกใช้เป็นเครื่องมือในการดึงคนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศรวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการรับประทานอาหาร แม้นภาครัฐไม่ส่งเสริมก็ไม่ควรขัดขวาง อย่างกฎหมายล่าสุดที่ออกมา ผมมองว่าบางเรื่องค่อนข้างดูลักลั่นและตลก ในการกำหนดว่าการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภคเอง โดยมิได้จำหน่าย แต่จัดเก็บภาษีเพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่เก็บภาษีสำหรับการผลิตเพื่อการบริโภคเอง” นายอาชิระวัสส์ กล่าว
นายกาญจน์ เสาวพุทธสุเวช ผู้ผลิตเบียร์สเปซคราฟต์ กล่าวว่าจากอัตราภาษีดังกล่าว ยังมีความลักลั่น มีผลกระทบกับรายใหม่และรายเล็กอย่างมาก เพราะพื้นฐานโครงสร้างภาษีแม้จะมองว่ายุติธรรม แต่ต้องมีพื้นฐานภาษีที่เท่ากันก่อน แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดนั้นเจ้าใหญ่และเจ้าเก่ามักได้ประโยชน์มากกว่าเสมอ ผู้ผลิตคราฟต์เบียร์และรายเล็กๆ ถือเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างที่อเมริกาเมื่อแก้กฎหมายผู้ผลิตเบียร์นั้น ทำให้เกิดรายเล็กๆ จำนวนมาก และนั่นส่งผลให้เศรษฐกิจแข็งแกร่ง แต่ในประเทศไทยเมื่อเข้าไปในซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็จะพบว่าสุราและเบียร์ต่างประเทศมีเยอะมากเพราะกฎเกณฑ์ของภาครัฐไม่เอื้อต่อผู้ผลิตในเมืองไทย
“เราต้องยอมรับก่อนว่าแอลกอฮอล์ไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย เมื่อเป็นเช่นนั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องต้องตอบสนองความต้องการของสังคมและประชาชน ที่สำคัญต้องมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย, เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพราะบางทีกฎหมายที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนก็ไม่สนับสนุนให้ทำธุรกิจอย่างถูกกฎหมาย การพัฒนากฎหมายนั้นมีส่วนสำคัญในการทำธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโต เราต้องยอมรับพฤติกรรมผู้บริโภคของแต่ละชาติต่างกัน ในหลายๆ ชาติมองว่าแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์คืออาหาร”
นายกาญจน์ กล่าวอีกว่าในบางกฎเกณฑ์ที่ออกมามีทั้งคนที่ทำถูกกฎหมายและทำผิดกฎหมาย อย่างเช่น บนถนนเส้นทางหนึ่งที่มีกำหนดให้ขับขี่ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่ก็ยังมีคนขับขี่เกินกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ต่างจากในกลุ่มธุรกิจหลายๆ กลุ่มธุรกิจที่มีทั้งทำถูกกฎหมายและทำผิดกฎหมาย ส่วนสำคัญหนึ่งในการตัดสินใจนั้นกฎหมายก็มีส่วนในการตัดสินใจ
เริ่มแล้ว! ยุทธการ กระชากหน้ากากคนดี หลังเปิดช้า 40 นาที คาดวันแรกจบตีสอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7511365
เริ่มแล้ว เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ มาตรา 152 หลังเปิดช้า 40 นาที วิปสองฝ่าย แจงกรอบเวลาคาดวันแรกจบตีสอง
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 ก.พ.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม
แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดประชุมได้ เนื่องจากมีสมาชิกมาลงชื่อประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เกิดฝนตกหนัก ทำให้การจราจรติดขัด อาจส่งผลต่อการเดินทางมาประชุมของส.ส. กระทั่งเวลาผ่านไปกว่า 40 นาที มีสมาชิกมาลงชื่อ 213 คน ถือว่าครบองค์ประชุม จึงเปิดประชุมได้
เมื่อเริ่มการประชุม นายชวน แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการลาออกจากส.ส.ของ นางแพงศรี พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปไตยใหม่ และน.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีส.ส.คงเหลือ 418 องค์ประชุมคือ 209 คน
จากนั้นนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปฝ่ายค้าน ชี้แจงกรอบระยะเวลาการประชุม ว่า การประชุมจะใช้เวลา 2 วัน รวม 32 ชม. วันแรก 17 ชม. และจะจบที่เวลาประมาณ 02.00 – 03.00 น. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ขณะที่หลังเวลาเที่ยงคืนครึ่ง หากครม.ประสงค์ใช้สิทธิ์ชี้แจงเราจะอยู่ร่วมเป็นองค์ประชุมให้ครม.ชี้แจงจนเสร็จสิ้นส่วนวันพรุ่งนี้ (16 ก.พ.) จะเริ่มการประชุมในเวลา 09.00 น. รวม 15 ชม. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ที่เหลือจะเป็นเวลาของครม.ได้ชี้แจง ซึ่งการประชุมน่าจะจบในเวลาเที่ยงคืนวันพรุ่งนี้
ขณะที่ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เป็นญัตติที่เสนอแนะต่อรัฐมนตรี แต่สมาชิกบางท่านอาจอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ซึ่งต้องแยกกัน ส่วนประเด็นเรื่องเวลาการอภิปรายเป็นไปตามที่นายจุลพันธ์ชี้แจงไว้
จากนั้นนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มการอภิปรายเป็นคนแรก ภายใต้ยุทธการ “กระชากหน้ากากคนดี”
เริ่มแล้ว เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ มาตรา 152 หลังเปิดช้า 40 นาที วิปสองฝ่าย แจงกรอบเวลาคาดวันแรกจบตีสอง
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 ก.พ.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม
แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดประชุมได้ เนื่องจากมีสมาชิกมาลงชื่อประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เกิดฝนตกหนัก ทำให้การจราจรติดขัด อาจส่งผลต่อการเดินทางมาประชุมของส.ส. กระทั่งเวลาผ่านไปกว่า 40 นาที มีสมาชิกมาลงชื่อ 213 คน ถือว่าครบองค์ประชุม จึงเปิดประชุมได้
เมื่อเริ่มการประชุม นายชวน แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการลาออกจากส.ส.ของ นางแพงศรี พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปไตยใหม่ และน.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีส.ส.คงเหลือ 418 องค์ประชุมคือ 209 คน
จากนั้นนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปฝ่ายค้าน ชี้แจงกรอบระยะเวลาการประชุม ว่า การประชุมจะใช้เวลา 2 วัน รวม 32 ชม. วันแรก 17 ชม. และจะจบที่เวลาประมาณ 02.00 – 03.00 น. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ขณะที่หลังเวลาเที่ยงคืนครึ่ง หากครม.ประสงค์ใช้สิทธิ์ชี้แจงเราจะอยู่ร่วมเป็นองค์ประชุมให้ครม.ชี้แจงจนเสร็จสิ้นส่วนวันพรุ่งนี้ (16 ก.พ.) จะเริ่มการประชุมในเวลา 09.00 น. รวม 15 ชม. เป็นของฝ่ายค้าน 12 ชม. ที่เหลือจะเป็นเวลาของครม.ได้ชี้แจง ซึ่งการประชุมน่าจะจบในเวลาเที่ยงคืนวันพรุ่งนี้
ขณะที่ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เป็นญัตติที่เสนอแนะต่อรัฐมนตรี แต่สมาชิกบางท่านอาจอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ซึ่งต้องแยกกัน ส่วนประเด็นเรื่องเวลาการอภิปรายเป็นไปตามที่นายจุลพันธ์ชี้แจงไว้
จากนั้นนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มการอภิปรายเป็นคนแรก ภายใต้ยุทธการ “กระชากหน้ากากคนดี”
โรม จัดหนักซักฟอก เปิดแผลทุจริต มั่นใจหลักฐานเอาผิดรบ.ได้ ฉะเล่นเกมสภาล่ม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7511363
โรม ขู่จัดหนักซักฟอก เปิดแผลทุจริต มั่นใจหลักฐานเอาผิดรัฐบาลได้ ฉะ เล่นเกมล่มประชุม ลั่น พร้อมอภิปรายนอกสภา เพื่อทำหน้าที่ ยอมถูกดำเนินคดี
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 ก.พ. 2566 ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ว่า การอภิปรายครั้งนี้เป็นการอภิปรายครั้งสุดท้าย หากพูดตามกฎหมายจะเป็นเหมือนการซักถามทั่วไปในประเด็นปัญหาต่างๆ ให้รัฐบาลตอบ แต่เมื่อมาอยู่ในช่วงเวลาก่อนเลือกตั้ง เราก็ยกระดับเป็นระดับเดียวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และทำอย่างเต็มที่ในการขุดคุ้ยข้อมูลต่างๆ
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ในส่วนของตนได้เตรียมข้อมูลไว้เยอะ เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน และเกี่ยวพันกับการบริหารงานที่ไม่ชอบ รวมไปถึงความล้มเหลวในทุกๆ ด้านของรัฐบาล ตนใช้เวลาในการเตรียมข้อมูลประมาณ 4 เดือน ค่อนข้างมั่นใจว่า มีหลักฐานที่ชัดเจนในการเอาผิดกับรัฐบาลได้ และคงไม่จบแค่การซักฟอก เราเตรียมข้อมูลไว้ดำเนินการตามกฎหมายอีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง
เมื่อถามกรณีฝั่งรัฐบาลระบุหากอภิปรายเหมือนอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะเสนอให้นับองค์ประชุม เพื่อให้การประชุมไม่สามารถดำเนินไปได้ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างนั้นไปทำไม เพราะที่ผ่านมาการอภิปรายทั่วไปก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร การที่ฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบได้ดีก็เป็นประโยชน์กับประชาชน ในเมื่อเป็นประโยชน์กับประชาชน รัฐบาลไม่อยากทำหน้าที่นี้ ตกลงรัฐบาลต้องการอะไร ไม่อยากให้ประชาชนทราบข้อมูลของการทุจริตคอร์รัปชั่นใช่หรือไม่
“หากเป็นเช่นนั้นแสดงว่ารัฐบาลกำลังจะยอมรับว่า ตัวเองมีแผลเหวอะหวะเต็มตัว และกลัวประชาชนจะทราบจึงได้พยายามปิดปากพวกเรา ผมอยากให้สภาเป็นเวทีที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้มีโอกาสพูด เราไม่อยากให้ใช้เวทีนี้ปิดปากใคร ถ้ารัฐบาลชี้แจงดี ประชาชนก็จะเลือกคุณ ในทางกลับกัน หากฝ่ายค้านทำหน้าที่ในการซักฟอกไม่ดี ประชาชนก็ไม่เลือกฝ่ายค้าน ดังนั้น คนที่เรานำมาซักฟอกในครั้งนี้ จึงเป็นคนที่เรามั่นใจว่าเต็มไปด้วยบาดแผล และไม่เหมาะสมที่จะบริหารประเทศในวันนี้และในอนาคต”