พริษฐ์ เดินหน้าฝ่ายค้านเชิงรุก ชวนจับตา 2 วาระพิเศษ อภิปรายงบ 67- อภิปรายรบ.ต้นเม.ย.67
https://www.matichon.co.th/politics/news_4331902
พริษฐ์ ยันเดินหน้าเป็นฝ่ายค้านเชิงรุก มุ่งทำงาน 3 มิติ ชวนจับตา 2 วาระพิเศษ อภิปรายงบฯ 67- อภิปรายรบ.ต้นเม.ย.ปีหน้า รับคณิตศาสตร์การเมืองในสภาฯเป็นเรื่องท้าทาย ไม่ท้อร่างกฎหมายสภาก้าวหน้าถูกปัดตก หวังอนาคตจะสำเร็จ
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงภารกิจการทำหน้าที่ฝ่ายค้านฝ่ายตรวจสอบว่าจะเป็น “ฝ่ายค้านเชิงรุก” ที่ทำมาแล้ว 3 เดือน และขับเคลื่อนเดินหน้าต่ออนาคตฝ่ายค้าน 3 มิติ คือ
1. การเสนอแก้ไขกฎหมายที่ยื่นเสนอไปแล้วกว่า 40 ฉบับ เชื่อว่าการประชุมสภาฯสมัยนี้จะเรียงคิววาระพิจารณา ซึ่งเป็นการต่อสู้ 2 สมรภูมิ การผลักดันให้แก้กฎหมายได้สำเร็จและรณรงค์ทางความคิดต่อประชาชนถึงหลักการและเหตุผล
2. การผลักดันติดตามตรวจสอบนโยบายของกลไกคณะกรรมาธิการโดยเฉพาะคณะที่คนฝ่ายค้านนั่งเป็นประธาน เช่น กรรมาธิการศึกษาและติดตามจัดทำงบประมาณ ไม่เพียงร่างงบประมาณปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท แต่จะตรวจสอบการของบประมาณทั้งหมดของหน่วยงาน 5.8 ล้านล้านบาทว่าการตัดสินใจอนุมัติงบสมเหตุสมผลหรือไม่ หวังได้เข้าถึงข้อมูลการของบฯตั้งแต่ต้น
“
คณะกรรมาธิการการเมือง เราให้ความสำคัญกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยตั้งคณะอนุกรรมาธิการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เกี่ยวกับโมเดล ส.ส.ร.เลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็น เพราะเชื่อว่าข้อกังวลบางฝ่ายเรื่องผู้เชี่ยวชาญหรือพื้นที่หลากหลายทางสังคมเป็นข้อกังวลที่สามารถคลี่คลายได้ โดยยึดหลักการ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์อยู่” นาย
พริษฐ์กล่าว
นาย
พริษฐ์ ยังกล่าวกลไกที่ 3. การใช้เวทีสภาฯ ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา กระทู้ทั่วไปตรวจสอบการทำงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในนโยบายที่สำคัญ ซึ่งเป็นกลไกปกติ พร้อมชวนจับตาวาระพิเศษฝ่ายค้าน คือ การอภิปราย ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯปี 2567 ช่วงต้นปีเดือนมกราคม และการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติหรือจะลงมติของฝ่ายค้านในช่วงต้นเดือนเมษายน
ส่วนกรณีที่สภาฯ ตีตกร่างข้อบังคับการประชุมสภาญของพรรคก้าวไกลส่งสัญญาณการเสนอกฎหมายหรือไม่ นาย
พริษฐ์ยอมรับว่าคณะศาสตร์การเมืองในสภาฯ คือความท้าทายในการเสนอกฎหมายของฝ่ายค้าน ซึ่งหากกฎหมายฉบับใดจะผ่านสภาฯไปได้ต้องอาศัยเสียงของรัฐบาลด้วย และไม่ท้อแม้วันนี้ถูกรัฐบาลปัดตก แต่หวังประชาชนที่ติดตามเห็นด้วยในวันข้างหน้าอาจสำเร็จ
‘โรม’ยก กมธ.ความมั่นคง บุกกองทัพบก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4331866
‘โรม’ยก กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ สภาฯ บุกกองทัพบก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านความมั่นคง พร้อมถวายสักการะพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 วางพวงมาลา ณ กำแพงอนุสรณ์กองทัพบก
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 ธํนวาคม ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.อ.
เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ คณะผู้บังคับบัญชา ให้การต้อนรับ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นาย
รังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการฯ และพล.อ.
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ ในโอกาสขอเข้าพบหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐและกิจการชายแดนไทย
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและ การปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้ถวายสักการะพระบรมรูป รัชกาลที่ 5 ณ ห้องพระบารมีปกเกล้า ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ พร้อมกันนี้ได้เยี่ยมชมอาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาและวิวัฒนาการของกองทัพบก และวางพวงมาลา ณ กำแพงอนุสรณ์กองทัพบก ซึ่งจารึกรายนามกำลังพลกองทัพบก ที่สละชีพเพื่อชาติ จากนั้นรับฟังบรรยายสรุป ณ ห้องประชุมอาคารศรีสิทธิสงคราม
โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวต้อนรับ คณะกรรมาธิการฯ จากนั้นจึงเป็น การหารือ ตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวนโยบายและการดำเนินของกองทัพบกในภาพรวมและในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการพัฒนาชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับดินแดนและความมั่นคงของประชาชน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการดังกล่าวให้เกิดผลสำเร็จ
มิติใหม่ สภา”ปดิพัทธ์” เปิดให้ประชาชนสังเกตการณ์ประชุม
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_653946/
มิติใหม่ สภา”ปดิพัทธ์” เปิดให้ประชาชนสังเกตการณ์ประชุม ได้ยาว ในฐานะสักขีพยาน ดีเดย์รอบแรก 150 คน วันถกร่างงบประมาณ ปี 67 ขณะยอมรับ สภาล่ม เพราะประลองกำลัง-เช็คชื่อกัน ยันยึด 2 แนวทาง ตามข้อบังคับ-แนวคำตัดสินของศาล รธน. ต้องมีองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่ง
นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ หนึ่งแถลงถึงโครงการในการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือ OPEN PARLIAMENT โดยเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะเป็นสักขีพยาน (Witnesses) ภายในห้องประชุม ซึ่งจะแตกต่างจากการให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ในฐานะผู้เยี่ยมชม (Visitors) ที่เข้าเพียงเวลาสั้นๆ ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวมีการปฏิบัติแพร่หลายในต่างประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งผู้สังเกตการณ์จะสามารถรับชมการประชุมได้ตลอดทั้งช่วง เห็นรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่ได้ผ่านมุมมองของสื่อมวลชนประจำรัฐสภา เพื่อให้รับรู้บรรยากาศการประชุม จะได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม เพราะจะได้รับการอบรมเรื่องระเบียบข้อบังคับการประชุมด้วย
นาย
ปดิพัทธ์ กล่าวว่า การเปิดให้ประชาชนเข้าสังเกตการณ์ในครั้งแรก จะเปิดรับประชาชนมาเป็นผู้สังเกตการณ์ทั้งหมด 150 คน ลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 25 ธ.ค. ผ่านทาง QR Code โดยไม่จำกัดเพศ วัย วุฒิการศึกษา แต่ทุกคนจะต้องทำตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับการประชุมสภา ซึ่งจะมีการอบรมก่อนหน้า ทั้งยังมีห้องรับรองไว้ให้ด้วย และโครงการนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้งวันแรกที่เปิดให้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในฐานะสักขีพยานจะตรงกับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2567 ซึ่งจะได้เห็นรัฐมนตรีเต็มคณะ และหลังได้รับการประเมินจากรอบแรกแล้ว ก็สามารถลงทะเบียนเข้าสังเกตการณ์การประชุมสภาฯ ในวาระของการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ด้วย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองภาคพลเมือง
ขณะเดียวกัน นาย
ปดิพัทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีสภาล่มในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า เกิดกรณีการลงมติแล้วไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งที่ประชุมในขณะนั้นเปิดให้สส.ลงมติทั้งสิ้น 2 ครั้งแรกเป็นการลงมติว่าเห็นด้วยกับนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล หรือไม่ที่ให้ส่งร่างข้อบังคับการประชุมสภาให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาศึกษาก่อนเป็นเวลา 60 วัน และ การโหวตครั้งที่ 2 คือ เห็นชอบกับการเสนอร่างข้อบังคับการประชุมสภาของนายพริษฐ์ หรือไม่ ซึ่งเมื่อเช็คองค์ประชุมปรากฎว่าครบเกินกึ่งหนึ่ง
แต่เมื่อลงมติพบว่ามีสมาชิกจำนวนหนึ่งไม่กดลงคะแนนจึงทำให้คะแนนไม่ถึง 250 เสียง จากนั้นมีคำถามตามมาว่าใช้เกณฑ์ใดในการนับองค์ประชุม เช่น ใช้กึ่งหนึ่งของจำนวน สส. ที่มีอยู่ทั้งหมดในสภา หรือ กึ่งหนึ่งของ สส. ที่มาแสดงตน ซึ่งในเรื่องนี้ต้องให้ความชัดเจนว่าตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 120 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่าการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม แต่ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อที่ 25 วรรคสอง กำหนดว่าเมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงเป็นองค์ประชุม
นาย
ปดิพัทธ์ กล่าวว่า มี 2 แนวทาง ที่นำมาใช้ในการนับองค์ประชุมในปัจจุบันคือ แนวทางการนับองค์ประชุมของนายชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ที่ ใช้วิธีการนับองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่งตามจำนวน สส.ที่มาประชุม และ แนวคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินเกี่ยวกับองค์ประชุมในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 ว่า องค์ประชุมมิได้มีความหมายแต่เพียงว่าเมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมครบเปิดการประชุมแล้ว หลังจากนั้นสมาชิกอยู่ร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในที่ประชุมอีกต่อไปหากเป็นเช่นนั้นแล้วผลก็จะเป็นว่าหลังจากเปิดประชุมแม้จะมีสมาชิกเพียงไม่กี่คนก็อาจลงมติและเสียงข้างมากได้ ซึ่งไม่ใช่เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ หรือ สรุปได้ว่าองค์ประชุมจะต้องอยู่เพียงพอทั้งการลงชื่อ
มาประชุมครบเปิดการประชุมแล้ว หลังจากนั้นสมาชิกอยู่ร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในที่ประชุมอีกต่อไปหากเป็นเช่นนั้นแล้วผลก็จะเป็นว่าหลังจากเปิดประชุมแม้จะมีสมาชิกเพียงไม่กี่คนก็อาจลงมติและเสียงข้างมากได้ ซึ่งไม่ใช่เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ หรือ สรุปได้ว่าองค์ประชุมจะต้องอยู่เพียงพอทั้งการลงชื่อ และ การลงมติต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
นาย
ปดิพัทธ์ เข้าใจดีว่า มีการประลองกำลังกันบ้าง เช็คชื่อกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตามความแม่นยำทางกฎหมาย ตนวินิจฉัยเรื่องต่างๆจากหลักการอะไร จะต้องเป็นเรื่องที่ถูกสื่อสารมาอย่างชัดเจน เผื่อทางพี่น้องประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่จะได้ทราบแนวตัดสินของประธานสภาทั้ง 3 คน
JJNY : พริษฐ์ชวนจับตา 2 วาระพิเศษ│‘โรม’ยกกมธ.บุกกองทัพบก│สภา”ปดิพัทธ์”เปิดให้ปชช.สังเกตการณ์│สนค.วิเคราะห์ปรับขึ้นค่าไฟ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4331902
พริษฐ์ ยันเดินหน้าเป็นฝ่ายค้านเชิงรุก มุ่งทำงาน 3 มิติ ชวนจับตา 2 วาระพิเศษ อภิปรายงบฯ 67- อภิปรายรบ.ต้นเม.ย.ปีหน้า รับคณิตศาสตร์การเมืองในสภาฯเป็นเรื่องท้าทาย ไม่ท้อร่างกฎหมายสภาก้าวหน้าถูกปัดตก หวังอนาคตจะสำเร็จ
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงภารกิจการทำหน้าที่ฝ่ายค้านฝ่ายตรวจสอบว่าจะเป็น “ฝ่ายค้านเชิงรุก” ที่ทำมาแล้ว 3 เดือน และขับเคลื่อนเดินหน้าต่ออนาคตฝ่ายค้าน 3 มิติ คือ
1. การเสนอแก้ไขกฎหมายที่ยื่นเสนอไปแล้วกว่า 40 ฉบับ เชื่อว่าการประชุมสภาฯสมัยนี้จะเรียงคิววาระพิจารณา ซึ่งเป็นการต่อสู้ 2 สมรภูมิ การผลักดันให้แก้กฎหมายได้สำเร็จและรณรงค์ทางความคิดต่อประชาชนถึงหลักการและเหตุผล
2. การผลักดันติดตามตรวจสอบนโยบายของกลไกคณะกรรมาธิการโดยเฉพาะคณะที่คนฝ่ายค้านนั่งเป็นประธาน เช่น กรรมาธิการศึกษาและติดตามจัดทำงบประมาณ ไม่เพียงร่างงบประมาณปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท แต่จะตรวจสอบการของบประมาณทั้งหมดของหน่วยงาน 5.8 ล้านล้านบาทว่าการตัดสินใจอนุมัติงบสมเหตุสมผลหรือไม่ หวังได้เข้าถึงข้อมูลการของบฯตั้งแต่ต้น
“คณะกรรมาธิการการเมือง เราให้ความสำคัญกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยตั้งคณะอนุกรรมาธิการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เกี่ยวกับโมเดล ส.ส.ร.เลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็น เพราะเชื่อว่าข้อกังวลบางฝ่ายเรื่องผู้เชี่ยวชาญหรือพื้นที่หลากหลายทางสังคมเป็นข้อกังวลที่สามารถคลี่คลายได้ โดยยึดหลักการ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์อยู่” นายพริษฐ์กล่าว
นายพริษฐ์ ยังกล่าวกลไกที่ 3. การใช้เวทีสภาฯ ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา กระทู้ทั่วไปตรวจสอบการทำงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในนโยบายที่สำคัญ ซึ่งเป็นกลไกปกติ พร้อมชวนจับตาวาระพิเศษฝ่ายค้าน คือ การอภิปราย ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯปี 2567 ช่วงต้นปีเดือนมกราคม และการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติหรือจะลงมติของฝ่ายค้านในช่วงต้นเดือนเมษายน
ส่วนกรณีที่สภาฯ ตีตกร่างข้อบังคับการประชุมสภาญของพรรคก้าวไกลส่งสัญญาณการเสนอกฎหมายหรือไม่ นายพริษฐ์ยอมรับว่าคณะศาสตร์การเมืองในสภาฯ คือความท้าทายในการเสนอกฎหมายของฝ่ายค้าน ซึ่งหากกฎหมายฉบับใดจะผ่านสภาฯไปได้ต้องอาศัยเสียงของรัฐบาลด้วย และไม่ท้อแม้วันนี้ถูกรัฐบาลปัดตก แต่หวังประชาชนที่ติดตามเห็นด้วยในวันข้างหน้าอาจสำเร็จ
‘โรม’ยก กมธ.ความมั่นคง บุกกองทัพบก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4331866
‘โรม’ยก กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ สภาฯ บุกกองทัพบก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านความมั่นคง พร้อมถวายสักการะพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 วางพวงมาลา ณ กำแพงอนุสรณ์กองทัพบก
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 ธํนวาคม ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ คณะผู้บังคับบัญชา ให้การต้อนรับ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการฯ และพล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ ในโอกาสขอเข้าพบหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐและกิจการชายแดนไทย
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและ การปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้ถวายสักการะพระบรมรูป รัชกาลที่ 5 ณ ห้องพระบารมีปกเกล้า ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ พร้อมกันนี้ได้เยี่ยมชมอาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาและวิวัฒนาการของกองทัพบก และวางพวงมาลา ณ กำแพงอนุสรณ์กองทัพบก ซึ่งจารึกรายนามกำลังพลกองทัพบก ที่สละชีพเพื่อชาติ จากนั้นรับฟังบรรยายสรุป ณ ห้องประชุมอาคารศรีสิทธิสงคราม
โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวต้อนรับ คณะกรรมาธิการฯ จากนั้นจึงเป็น การหารือ ตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวนโยบายและการดำเนินของกองทัพบกในภาพรวมและในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการพัฒนาชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับดินแดนและความมั่นคงของประชาชน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการดังกล่าวให้เกิดผลสำเร็จ
มิติใหม่ สภา”ปดิพัทธ์” เปิดให้ประชาชนสังเกตการณ์ประชุม
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_653946/
มิติใหม่ สภา”ปดิพัทธ์” เปิดให้ประชาชนสังเกตการณ์ประชุม ได้ยาว ในฐานะสักขีพยาน ดีเดย์รอบแรก 150 คน วันถกร่างงบประมาณ ปี 67 ขณะยอมรับ สภาล่ม เพราะประลองกำลัง-เช็คชื่อกัน ยันยึด 2 แนวทาง ตามข้อบังคับ-แนวคำตัดสินของศาล รธน. ต้องมีองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่ง
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ หนึ่งแถลงถึงโครงการในการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือ OPEN PARLIAMENT โดยเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะเป็นสักขีพยาน (Witnesses) ภายในห้องประชุม ซึ่งจะแตกต่างจากการให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ในฐานะผู้เยี่ยมชม (Visitors) ที่เข้าเพียงเวลาสั้นๆ ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวมีการปฏิบัติแพร่หลายในต่างประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งผู้สังเกตการณ์จะสามารถรับชมการประชุมได้ตลอดทั้งช่วง เห็นรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่ได้ผ่านมุมมองของสื่อมวลชนประจำรัฐสภา เพื่อให้รับรู้บรรยากาศการประชุม จะได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม เพราะจะได้รับการอบรมเรื่องระเบียบข้อบังคับการประชุมด้วย
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า การเปิดให้ประชาชนเข้าสังเกตการณ์ในครั้งแรก จะเปิดรับประชาชนมาเป็นผู้สังเกตการณ์ทั้งหมด 150 คน ลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 25 ธ.ค. ผ่านทาง QR Code โดยไม่จำกัดเพศ วัย วุฒิการศึกษา แต่ทุกคนจะต้องทำตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับการประชุมสภา ซึ่งจะมีการอบรมก่อนหน้า ทั้งยังมีห้องรับรองไว้ให้ด้วย และโครงการนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้งวันแรกที่เปิดให้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในฐานะสักขีพยานจะตรงกับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2567 ซึ่งจะได้เห็นรัฐมนตรีเต็มคณะ และหลังได้รับการประเมินจากรอบแรกแล้ว ก็สามารถลงทะเบียนเข้าสังเกตการณ์การประชุมสภาฯ ในวาระของการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ด้วย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองภาคพลเมือง
ขณะเดียวกัน นายปดิพัทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีสภาล่มในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า เกิดกรณีการลงมติแล้วไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งที่ประชุมในขณะนั้นเปิดให้สส.ลงมติทั้งสิ้น 2 ครั้งแรกเป็นการลงมติว่าเห็นด้วยกับนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล หรือไม่ที่ให้ส่งร่างข้อบังคับการประชุมสภาให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาศึกษาก่อนเป็นเวลา 60 วัน และ การโหวตครั้งที่ 2 คือ เห็นชอบกับการเสนอร่างข้อบังคับการประชุมสภาของนายพริษฐ์ หรือไม่ ซึ่งเมื่อเช็คองค์ประชุมปรากฎว่าครบเกินกึ่งหนึ่ง
แต่เมื่อลงมติพบว่ามีสมาชิกจำนวนหนึ่งไม่กดลงคะแนนจึงทำให้คะแนนไม่ถึง 250 เสียง จากนั้นมีคำถามตามมาว่าใช้เกณฑ์ใดในการนับองค์ประชุม เช่น ใช้กึ่งหนึ่งของจำนวน สส. ที่มีอยู่ทั้งหมดในสภา หรือ กึ่งหนึ่งของ สส. ที่มาแสดงตน ซึ่งในเรื่องนี้ต้องให้ความชัดเจนว่าตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 120 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่าการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม แต่ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อที่ 25 วรรคสอง กำหนดว่าเมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงเป็นองค์ประชุม
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า มี 2 แนวทาง ที่นำมาใช้ในการนับองค์ประชุมในปัจจุบันคือ แนวทางการนับองค์ประชุมของนายชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ที่ ใช้วิธีการนับองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่งตามจำนวน สส.ที่มาประชุม และ แนวคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินเกี่ยวกับองค์ประชุมในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 ว่า องค์ประชุมมิได้มีความหมายแต่เพียงว่าเมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมครบเปิดการประชุมแล้ว หลังจากนั้นสมาชิกอยู่ร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในที่ประชุมอีกต่อไปหากเป็นเช่นนั้นแล้วผลก็จะเป็นว่าหลังจากเปิดประชุมแม้จะมีสมาชิกเพียงไม่กี่คนก็อาจลงมติและเสียงข้างมากได้ ซึ่งไม่ใช่เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ หรือ สรุปได้ว่าองค์ประชุมจะต้องอยู่เพียงพอทั้งการลงชื่อ
มาประชุมครบเปิดการประชุมแล้ว หลังจากนั้นสมาชิกอยู่ร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในที่ประชุมอีกต่อไปหากเป็นเช่นนั้นแล้วผลก็จะเป็นว่าหลังจากเปิดประชุมแม้จะมีสมาชิกเพียงไม่กี่คนก็อาจลงมติและเสียงข้างมากได้ ซึ่งไม่ใช่เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ หรือ สรุปได้ว่าองค์ประชุมจะต้องอยู่เพียงพอทั้งการลงชื่อ และ การลงมติต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
นายปดิพัทธ์ เข้าใจดีว่า มีการประลองกำลังกันบ้าง เช็คชื่อกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตามความแม่นยำทางกฎหมาย ตนวินิจฉัยเรื่องต่างๆจากหลักการอะไร จะต้องเป็นเรื่องที่ถูกสื่อสารมาอย่างชัดเจน เผื่อทางพี่น้องประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่จะได้ทราบแนวตัดสินของประธานสภาทั้ง 3 คน