...หลักธรรมของ ปฏิจจสมุปบาท ตามที่แยกแยะในตำรา ซึ่งฝ่ายเกิดมี ๑๒ ข้อ และ ฝ่ายดับมี ๑๒ ข้อ ...แต่ นี่เป็นเพียงการบัญญัติแยกแยะตามนัยยะของภาษา เท่านั้น ไม่ใช่การบ่งถึงอาการที่เกิดจริงๆในธรรมชาติ
...อาการที่เกิดจริงๆในธรรมชาติคือ เมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแลัวดับไป อาการของปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ ได้สำเร็จลงแล้วครบถ้วน
...ถ้าแยกตามขณะจิตย่อย ของจิตแต่ละดวงๆ คือ อุปาทะ ฐีติ ภังคะ / เมื่อจิตเกิดขึ้น และอุปาทขณะของจิตเกิด ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิด ๑๒ ข้อแรก ก็เกิดมาพร้อมกันทีเดียวในขณะนี้เลย แล้วจิตก็ตั้งอยู่ในขณะจิตย่อยคือ ฐีติขณะแว๊บหนึ่ง ต่อจากนั้นภังคขณะก็เกิด ทำให้จิตดับลง ตอนที่ภังคขณะเกิดนี้ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทั้ง ๑๒ ข้อ ก็ทำงานพร้อมกันทีเดียว คล้ายกับตอนเกิด
...ข้อต่อของปฏิจจสมุปบาททั้ง ๒๔ เป็นการบ่งบอกถึง การเกิดขึ้นของจิตและเจตสิกรวมทั้งรูปที่เกิดดับอย่างไวมากๆ
...และความเป็นจริงที่สำคัญคือ จิตและเจตสิก จะเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกัน มีวัตถุเดียวกัน
...ข้อความบาลีในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ยืนยันไว้แล้ว ดังนี้ --> เอกุปฺปาท นิโรธจ เอกาลมฺพนวตฺถุกา
...ต้องระวังดีๆ ในการตีความหลักธรรม เพราะการบัญญัติหลักธรรมในตำรา จะใช้ภาษามนุษย์บัญญัติแจกแจงออกมา ซึ่งเราจะตีความตรงๆไม่ได้
...ยกตัวอย่างเช่น เราจะตอบคำถามว่า เมื่อพลุระเบิดระเบิดตูมขึ้นมากลางอากาศ มีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ? /...เราก็อาจจะตอบว่า สิ่งที่จะเกิด คือ (๑) แสงสว่าง (๒) เสียง (๓) ความร้อน (๔) ความมืดบริเวณนั้นหายไป / ซึ่งจริงๆแล้ว ปรากฏการณ์ทั้ง ๔ นั้น ไม่ใช่ค่อยๆทะยอยๆเกิดไปตามลำดับตามที่เราเราตอบบอกไป แต่มันเกิดพร้อมกันทีเดียวเลย...แต่เพราะข้อจำกัดของการใช้ภาษามนุษย์ในการสื่อสาร เราจึงบอกได้แค่นั้น ซึ่งถ้าคนฟังไม่เข้าใจหรือ แกล้งเป็นอันธพาลแย้งเรา เขาก็อาจจะทำได้ โดยแย้งว่า " ก็ท่านบอกมาเรียงมาตามลำดับๆ เองนี่หน่าาา... แล้วท่านจะมาบอกว่าเกิดพร้อมกัน ได้ไงกัน ? "
...หรือ ทำนองเดียวกับตอนที่บรรลุมรรคผล โลกุตรอริยมรรคก็เกิดขึ้น ซึ่งมีเจตสิกทำงานพร้อมๆกัน ๓๖ ดวง ก็เกิดพร้อมกันในมรรคจิตดวงเดียว ไม่ใช่ค่อยๆทะยอยๆเกิด หรือ ฌานจิตประเภทต่างๆ ก็ทำนองเดียวกัน
ปฏิจจสมุปบาท ยังมีบางคนหรือหลายคนเข้าใจผิดว่า เกิดทะยอยๆไปตามลำดับ..แต่ที่จริงเกิดทีเดียวพร้อมกันในขณะจิตเล็กขณะเดียว
...อาการที่เกิดจริงๆในธรรมชาติคือ เมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแลัวดับไป อาการของปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ ได้สำเร็จลงแล้วครบถ้วน
...ถ้าแยกตามขณะจิตย่อย ของจิตแต่ละดวงๆ คือ อุปาทะ ฐีติ ภังคะ / เมื่อจิตเกิดขึ้น และอุปาทขณะของจิตเกิด ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิด ๑๒ ข้อแรก ก็เกิดมาพร้อมกันทีเดียวในขณะนี้เลย แล้วจิตก็ตั้งอยู่ในขณะจิตย่อยคือ ฐีติขณะแว๊บหนึ่ง ต่อจากนั้นภังคขณะก็เกิด ทำให้จิตดับลง ตอนที่ภังคขณะเกิดนี้ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทั้ง ๑๒ ข้อ ก็ทำงานพร้อมกันทีเดียว คล้ายกับตอนเกิด
...ข้อต่อของปฏิจจสมุปบาททั้ง ๒๔ เป็นการบ่งบอกถึง การเกิดขึ้นของจิตและเจตสิกรวมทั้งรูปที่เกิดดับอย่างไวมากๆ
...และความเป็นจริงที่สำคัญคือ จิตและเจตสิก จะเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกัน มีวัตถุเดียวกัน
...ข้อความบาลีในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ยืนยันไว้แล้ว ดังนี้ --> เอกุปฺปาท นิโรธจ เอกาลมฺพนวตฺถุกา
...ต้องระวังดีๆ ในการตีความหลักธรรม เพราะการบัญญัติหลักธรรมในตำรา จะใช้ภาษามนุษย์บัญญัติแจกแจงออกมา ซึ่งเราจะตีความตรงๆไม่ได้
...ยกตัวอย่างเช่น เราจะตอบคำถามว่า เมื่อพลุระเบิดระเบิดตูมขึ้นมากลางอากาศ มีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ? /...เราก็อาจจะตอบว่า สิ่งที่จะเกิด คือ (๑) แสงสว่าง (๒) เสียง (๓) ความร้อน (๔) ความมืดบริเวณนั้นหายไป / ซึ่งจริงๆแล้ว ปรากฏการณ์ทั้ง ๔ นั้น ไม่ใช่ค่อยๆทะยอยๆเกิดไปตามลำดับตามที่เราเราตอบบอกไป แต่มันเกิดพร้อมกันทีเดียวเลย...แต่เพราะข้อจำกัดของการใช้ภาษามนุษย์ในการสื่อสาร เราจึงบอกได้แค่นั้น ซึ่งถ้าคนฟังไม่เข้าใจหรือ แกล้งเป็นอันธพาลแย้งเรา เขาก็อาจจะทำได้ โดยแย้งว่า " ก็ท่านบอกมาเรียงมาตามลำดับๆ เองนี่หน่าาา... แล้วท่านจะมาบอกว่าเกิดพร้อมกัน ได้ไงกัน ? "
...หรือ ทำนองเดียวกับตอนที่บรรลุมรรคผล โลกุตรอริยมรรคก็เกิดขึ้น ซึ่งมีเจตสิกทำงานพร้อมๆกัน ๓๖ ดวง ก็เกิดพร้อมกันในมรรคจิตดวงเดียว ไม่ใช่ค่อยๆทะยอยๆเกิด หรือ ฌานจิตประเภทต่างๆ ก็ทำนองเดียวกัน