https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/33
ปกิณณกธรรมตอนที่ ๓๓
สนทนาธรรมที่โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ พศ. ๒๕๓๖
ถ. ความหมายของคำว่า สหรคต
ส. สหรคต จริงๆ แล้วไม่ใช่ภาษาบาลี ถ้าเป็นภาษาบาลีจะใช้คำว่า สหคต คำว่า สห หมายความว่า ร่วมกัน ด้วยกัน พร้อมกัน ภาษาบาลีจะใช้คำว่า สหคต คต แปลว่า ไป สหคต แปลว่า ไปด้วยกัน คือ จิตเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิก มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ตำราในภาษาไทยรุ่นหลังจะปนกับภาษาสันสกฤต จะเห็นได้ว่า ความนิยมภาษาบาลี ในสมัยเดิมค่อยๆ เปลี่ยนรูปไปใช้คำภาษาสันสกฤต แม้แต่ตำราพุทธศาสนา ซึ่งที่จริงแล้วไม่ถูก แต่ก็เป็นสิ่งซึ่งได้กระทำกันมาแล้ว เราก็ต้องเข้าใจยุคสมัยว่า ไม่มีอะไรที่คงที่ ไม่มีอะไรที่แน่นอน ทุกอย่างจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เราก็ควรจะยึดหลักที่ดีสำหรับตัวเรา คือว่า เราจะแก้คนอื่นก็คงไม่ได้ เพราะฉะนั้น ตำราพุทธศาสนาแม้แต่ที่แปลจาก ภาษามคธ ก็จะใช้คำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่นคำว่า สหรคต สำหรับดิฉันเองเวลาที่ลอกข้อความจากตำราอรรถกถา ก็จะต้องคงคำนั้นไว้ ในเมื่อภาษาที่เค้าใช้ในครั้งนั้นเขาใช้คำว่า สหรคต ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปแก้ตัวหนังสือของเขามาเป็น สหคตํ แต่ให้ทราบว่าความหมายเดียวกัน
ถ. คำว่า ปรมัตถ์ ปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จิต เจตสิก รูป นี้เป็นสังขารธรรม หมายความว่ามีสิ่งที่จะต้องมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง แต่ถ้าเป็น นิพพาน แล้วจะไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น นิพพานจึงเป็นวิสังขารธรรม แต่อีกคำหนึ่งคือ สังขตธรรม
ส. คำนี้คนไทยเราใช้น้อยมาก เพราะเหตุว่า เราจะใช้คำว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แล้วเราก็ไม่เรียนว่า สังขารคืออะไร ก็คิดว่าร่างกายนั่นแหละสังขาร คือนักเดา ไม่ใช่นักเรียน ก็เลยเข้าใจผิด ก็คิดกันเอาเองว่า สังขารคือร่างกายตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ไม่เที่ยง เวลาพูดถึงสังขาร ก็สังขารแบบนี้ทั้งนั้นเลย แต่จริงๆ แล้ว สังขาร หมายความถึงสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง ส่วน สังขตะ หมายความถึง สภาพธรรมที่เกิดแล้ว เมื่อมีการปรุงแต่งเกิดแล้ว หรือเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป ความหมายของ สังขตะ คือสภาพธรรมที่เกิดแล้ว เพราะสังขาร คือมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เกิดแล้วก็ดับแน่นอน สิ่งใดก็ตามที่เกิดที่จะไม่ดับนั้นไม่มี เวลานี้ ทุกอย่างกำลังเกิดดับ แต่ว่าถ้าไม่ใช่เป็นปัญญาที่ได้อบรมมา ไม่มีทางที่จะประจักษ์ แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญปัญญามาแล้วสามารถที่จะพิสูจน์ความจริง สิ่งใดก็ตามที่เป็นความจริง แทนที่เราจะต้องศึกษา ๒๐ ปีเข้าห้องทดลองแบบวิทยาศาสตร์หรืออะไร อันนั้นจะไม่ใช่การรู้สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ แต่ในเมื่อขณะนี้สัจจธรรมก็คือว่า สภาพธรรมเกิดแล้วดับอยู่ตลอดเวลา อย่าง ตา กำลังเห็น ไม่ใช่ทางหูที่ได้ยิน นี้แสดงให้เห็นแล้วสภาพธรรมจะเกิดพร้อมกัน ๒ อย่างไม่ได้ ทางตาต้องดับ และทางหูก็ต้องดับด้วย ในขณะที่มีทางตาเห็น นี่แสดงให้เห็นว่ามีอวิชชามากมายเหลือเกิน ทั้งๆ ที่สภาพธรรมเป็นอย่างนี้ก็ไม่รู้อย่างนี้ ต้องอาศัยพระปัญญาคุณที่ทรงตรัสรู้แล้วทรงแสดง และเราก็เริ่มตั้งแต่ฟังให้เข้าใจก่อน ว่า สังขตธรรม หมายความถึง สิ่งที่เกิดแล้วเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง และสิ่งที่เกิดแล้วต้องดับ ถึงจะยังไม่ประจักษ์ ก็รู้ความจริงว่าต้องดับ แล้วก็ค่อยๆ ศึกษาไปจนกว่าจะประจักษ์ได้
ถ. ถ้าสภาพของนิพพาน ก็เป็นอสังขตธรรม
ส. หมายความว่า ไม่ได้เกิดเลย เพราะไม่มีปัจจัยที่จะไปปรุงแต่ง ถ้ามีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น จะต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใหญ่ คือเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก เป็นรูป อะไรก็ตามที่เกิดแล้วดับ สิ่งนั้นเป็น สังขารธรรม และปรมัตถ์ธรรมมี ๔ คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ นิพพานไม่เกิด ไม่ดับ เมื่อไม่เกิดแล้วจะดับได้ยังไง เมื่อไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานนั้นเป็น วิสังขารธรรม ส่วนจิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม นี่กว้างที่สุด และต่อมาก็จะมีคำว่า สังขารขันธ์ ซึ่งแคบออกมาอีกว่าได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง เพราะว่าเ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ ๑ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ ๑ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ นี่ความหมายอีกอย่างนึงแล้วจาก สังขารธรรม เป็น สังขารขันธ์ และ สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท ที่ว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารนั้นหมายความเฉพาะเจตนาเจตสิก ที่เกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิตเท่านั้น ที่เป็นสังขาร
ถ. สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ คือการรับรู้
ส. มิได้ (สังขาร) เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิต และ จิตอื่นๆ สำหรับปฏิจจสมุปบาท
ถ. ทำไมถึงเรียก เจตนาเจตสิก ว่าเป็น อภิสังขาร
ส. เพราะเหตุว่า ปรุงแต่งยิ่งกว่าสังขารขันธ์อื่น เพราะเหตุว่าเป็น ตัวกรรม นับเป็นความจงใจ ตั้งใจ ที่จะกระทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมแล้ว
ถ. และก็ต้องเกิดกับเจตสิกทุกดวงใช่ไหม เพราะ เจตนาเจตสิก อยู่ในเจตสิก ๗ ดวงที่ต้องเกิดร่วมกับจิตทุกดวง ใช่ไหม
ส. แต่ว่าสำหรับ ปฏิจจสมุปบาท นั้น เฉพาะกุศลและอกุศลเท่านั้น ไม่นับวิบาก ไม่นับกิริยา
ถ. จะมีคำถามอยู่ข้างหลังที่ทบทวน
อาจารย์ตั้งคำถามว่า ขันธ์อะไรไม่ใช่ปรมัตธรรม ดิฉันก็นึกว่า นิพพาน ก็ไม่ใช่ขันธ์ แต่นิพพานก็เป็นปรมัตถ์ธรรม ไม่ทราบว่าคำตอบที่ถูกจะเป็นอย่างไร
ส.
คำตอบที่ถูกก็คือ ไม่มี
ส. การศึกษานี้ต้องกล้าพอที่จะตัดสินใจ เป็นเครื่องทดสอบเหตุผลว่า คนนั้นมีความมั่นใจในเหตุผลจริงๆ หรือเปล่า เพราะเหตุว่า ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นใจในเหตุผลต้องตอบตามความเป็นจริง
ถ. จะขออนุญาตกล่าวถึงเรื่อง รูป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะว่า เรามองเห็นแล้วก็อยู่กับเราตลอดเวลา อย่างจิตนี้ยังมองไม่เห็น ก็ยังเดาเอาบ้าง แต่ รูป อยู่กับเรา ทุกคนก็มองเห็น มองไม่เห็นตัวเอง ก็เห็นของคนอื่น รูป จะเกิดด้วยก็จากเหตุปัจจัยด้วยกัน ๔ อย่าง ก็คือ กรรม อุตุ จิต อาหาร คำว่า อาหาร กับ โอชา จะมีความหมายเหมือนกันไหม
ส. เหมือน แต่บางคนที่ไม่ได้ศึกษา อาจจะเข้าใจว่า อาหารที่เรามองเห็นตามร้าน ที่อยู่ตรงหน้าเราที่จะรับประทาน
ขันธ์อะไรที่ไม่ใช่ปรมัตธรรม?
https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/33
ปกิณณกธรรมตอนที่ ๓๓
สนทนาธรรมที่โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ พศ. ๒๕๓๖
ถ. ความหมายของคำว่า สหรคต
ส. สหรคต จริงๆ แล้วไม่ใช่ภาษาบาลี ถ้าเป็นภาษาบาลีจะใช้คำว่า สหคต คำว่า สห หมายความว่า ร่วมกัน ด้วยกัน พร้อมกัน ภาษาบาลีจะใช้คำว่า สหคต คต แปลว่า ไป สหคต แปลว่า ไปด้วยกัน คือ จิตเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิก มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ตำราในภาษาไทยรุ่นหลังจะปนกับภาษาสันสกฤต จะเห็นได้ว่า ความนิยมภาษาบาลี ในสมัยเดิมค่อยๆ เปลี่ยนรูปไปใช้คำภาษาสันสกฤต แม้แต่ตำราพุทธศาสนา ซึ่งที่จริงแล้วไม่ถูก แต่ก็เป็นสิ่งซึ่งได้กระทำกันมาแล้ว เราก็ต้องเข้าใจยุคสมัยว่า ไม่มีอะไรที่คงที่ ไม่มีอะไรที่แน่นอน ทุกอย่างจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เราก็ควรจะยึดหลักที่ดีสำหรับตัวเรา คือว่า เราจะแก้คนอื่นก็คงไม่ได้ เพราะฉะนั้น ตำราพุทธศาสนาแม้แต่ที่แปลจาก ภาษามคธ ก็จะใช้คำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่นคำว่า สหรคต สำหรับดิฉันเองเวลาที่ลอกข้อความจากตำราอรรถกถา ก็จะต้องคงคำนั้นไว้ ในเมื่อภาษาที่เค้าใช้ในครั้งนั้นเขาใช้คำว่า สหรคต ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปแก้ตัวหนังสือของเขามาเป็น สหคตํ แต่ให้ทราบว่าความหมายเดียวกัน
ถ. คำว่า ปรมัตถ์ ปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จิต เจตสิก รูป นี้เป็นสังขารธรรม หมายความว่ามีสิ่งที่จะต้องมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง แต่ถ้าเป็น นิพพาน แล้วจะไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น นิพพานจึงเป็นวิสังขารธรรม แต่อีกคำหนึ่งคือ สังขตธรรม
ส. คำนี้คนไทยเราใช้น้อยมาก เพราะเหตุว่า เราจะใช้คำว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แล้วเราก็ไม่เรียนว่า สังขารคืออะไร ก็คิดว่าร่างกายนั่นแหละสังขาร คือนักเดา ไม่ใช่นักเรียน ก็เลยเข้าใจผิด ก็คิดกันเอาเองว่า สังขารคือร่างกายตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ไม่เที่ยง เวลาพูดถึงสังขาร ก็สังขารแบบนี้ทั้งนั้นเลย แต่จริงๆ แล้ว สังขาร หมายความถึงสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง ส่วน สังขตะ หมายความถึง สภาพธรรมที่เกิดแล้ว เมื่อมีการปรุงแต่งเกิดแล้ว หรือเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป ความหมายของ สังขตะ คือสภาพธรรมที่เกิดแล้ว เพราะสังขาร คือมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เกิดแล้วก็ดับแน่นอน สิ่งใดก็ตามที่เกิดที่จะไม่ดับนั้นไม่มี เวลานี้ ทุกอย่างกำลังเกิดดับ แต่ว่าถ้าไม่ใช่เป็นปัญญาที่ได้อบรมมา ไม่มีทางที่จะประจักษ์ แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญปัญญามาแล้วสามารถที่จะพิสูจน์ความจริง สิ่งใดก็ตามที่เป็นความจริง แทนที่เราจะต้องศึกษา ๒๐ ปีเข้าห้องทดลองแบบวิทยาศาสตร์หรืออะไร อันนั้นจะไม่ใช่การรู้สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ แต่ในเมื่อขณะนี้สัจจธรรมก็คือว่า สภาพธรรมเกิดแล้วดับอยู่ตลอดเวลา อย่าง ตา กำลังเห็น ไม่ใช่ทางหูที่ได้ยิน นี้แสดงให้เห็นแล้วสภาพธรรมจะเกิดพร้อมกัน ๒ อย่างไม่ได้ ทางตาต้องดับ และทางหูก็ต้องดับด้วย ในขณะที่มีทางตาเห็น นี่แสดงให้เห็นว่ามีอวิชชามากมายเหลือเกิน ทั้งๆ ที่สภาพธรรมเป็นอย่างนี้ก็ไม่รู้อย่างนี้ ต้องอาศัยพระปัญญาคุณที่ทรงตรัสรู้แล้วทรงแสดง และเราก็เริ่มตั้งแต่ฟังให้เข้าใจก่อน ว่า สังขตธรรม หมายความถึง สิ่งที่เกิดแล้วเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง และสิ่งที่เกิดแล้วต้องดับ ถึงจะยังไม่ประจักษ์ ก็รู้ความจริงว่าต้องดับ แล้วก็ค่อยๆ ศึกษาไปจนกว่าจะประจักษ์ได้
ถ. ถ้าสภาพของนิพพาน ก็เป็นอสังขตธรรม
ส. หมายความว่า ไม่ได้เกิดเลย เพราะไม่มีปัจจัยที่จะไปปรุงแต่ง ถ้ามีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น จะต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใหญ่ คือเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก เป็นรูป อะไรก็ตามที่เกิดแล้วดับ สิ่งนั้นเป็น สังขารธรรม และปรมัตถ์ธรรมมี ๔ คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ นิพพานไม่เกิด ไม่ดับ เมื่อไม่เกิดแล้วจะดับได้ยังไง เมื่อไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานนั้นเป็น วิสังขารธรรม ส่วนจิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม นี่กว้างที่สุด และต่อมาก็จะมีคำว่า สังขารขันธ์ ซึ่งแคบออกมาอีกว่าได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง เพราะว่าเ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ ๑ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ ๑ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ นี่ความหมายอีกอย่างนึงแล้วจาก สังขารธรรม เป็น สังขารขันธ์ และ สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท ที่ว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารนั้นหมายความเฉพาะเจตนาเจตสิก ที่เกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิตเท่านั้น ที่เป็นสังขาร
ถ. สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ คือการรับรู้
ส. มิได้ (สังขาร) เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิต และ จิตอื่นๆ สำหรับปฏิจจสมุปบาท
ถ. ทำไมถึงเรียก เจตนาเจตสิก ว่าเป็น อภิสังขาร
ส. เพราะเหตุว่า ปรุงแต่งยิ่งกว่าสังขารขันธ์อื่น เพราะเหตุว่าเป็น ตัวกรรม นับเป็นความจงใจ ตั้งใจ ที่จะกระทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมแล้ว
ถ. และก็ต้องเกิดกับเจตสิกทุกดวงใช่ไหม เพราะ เจตนาเจตสิก อยู่ในเจตสิก ๗ ดวงที่ต้องเกิดร่วมกับจิตทุกดวง ใช่ไหม
ส. แต่ว่าสำหรับ ปฏิจจสมุปบาท นั้น เฉพาะกุศลและอกุศลเท่านั้น ไม่นับวิบาก ไม่นับกิริยา
ถ. จะมีคำถามอยู่ข้างหลังที่ทบทวน อาจารย์ตั้งคำถามว่า ขันธ์อะไรไม่ใช่ปรมัตธรรม ดิฉันก็นึกว่า นิพพาน ก็ไม่ใช่ขันธ์ แต่นิพพานก็เป็นปรมัตถ์ธรรม ไม่ทราบว่าคำตอบที่ถูกจะเป็นอย่างไร
ส. คำตอบที่ถูกก็คือ ไม่มี
ส. การศึกษานี้ต้องกล้าพอที่จะตัดสินใจ เป็นเครื่องทดสอบเหตุผลว่า คนนั้นมีความมั่นใจในเหตุผลจริงๆ หรือเปล่า เพราะเหตุว่า ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นใจในเหตุผลต้องตอบตามความเป็นจริง
ถ. จะขออนุญาตกล่าวถึงเรื่อง รูป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะว่า เรามองเห็นแล้วก็อยู่กับเราตลอดเวลา อย่างจิตนี้ยังมองไม่เห็น ก็ยังเดาเอาบ้าง แต่ รูป อยู่กับเรา ทุกคนก็มองเห็น มองไม่เห็นตัวเอง ก็เห็นของคนอื่น รูป จะเกิดด้วยก็จากเหตุปัจจัยด้วยกัน ๔ อย่าง ก็คือ กรรม อุตุ จิต อาหาร คำว่า อาหาร กับ โอชา จะมีความหมายเหมือนกันไหม
ส. เหมือน แต่บางคนที่ไม่ได้ศึกษา อาจจะเข้าใจว่า อาหารที่เรามองเห็นตามร้าน ที่อยู่ตรงหน้าเราที่จะรับประทาน