ปี’65ยุคข้าวยากหมากแพง คนไทยระทม!!
https://www.matichon.co.th/economy/news_3749274
ปี’65ยุคข้าวยากหมากแพง
คนไทยระทม!!
ปี 2565 ใครจะไปคาดคิดว่านอกจากโรคระบาดโควิด-19 ที่หนักหนาสาหัสลากยาวถึง 3 ปีแล้ว ทั่วโลกยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากไฟสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เริ่มปะทุตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนกระทบราคาพลังงานแพงลิบลิ่ว ไม่พอยังส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอาหาร สินค้าทุนต่างๆ จนทั่วทั้งโลกต่างระส่ำ ตั้งรับแทบไม่ทัน รวมทั้งประเทศไทย
ราคาพลังงานพุ่ง ทั้งน้ำมัน-ค่าไฟ
กระทบคนไทยทั้งประเทศหนักๆ หนีไม่พ้นราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ทะลุ 100 เหรียญสหรัฐ สูงสุดในรอบ 7 ปี จนประชาชนโอดครวญ โดยเฉพาะพลังจากโซเชียลที่จัดหนักกระทรวงพลังงานในทุกช่องทาง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มม็อบรถบรรทุกที่เดินหน้ากดดันรัฐบาล จัดม็อบทั้งกระทรวงพลังงานและทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 35 บาทต่อลิตร
ผลกระทบจริงบวกเสียงเรียกร้องจากผู้ได้รับผลกระทบที่ต่อเนื่องไปยังต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนราคาสินค้า กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) จึงเดินหน้าอุ้มราคาน้ำมันดีเซล จนปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯหลังแอ่นติดลบทะลุ 1 แสนล้านบาทติดดอยยาว จนกระทรวงพลังงานต้องขอขยายเพดานเงินกู้ ออก พ.ร.ก.กู้เงินอุ้มกองทุนน้ำมันฯ รองรับ
นอกจากปัญหาน้ำมันแพง อีกผลกระทบคือราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่พุ่งกระฉูดหลายเท่าตัว ทะลุ 50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ประกอบกับการเปลี่ยนผ่านผู้ผลิตในแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติเอราวัณที่ไม่สามารถฟื้นกำลังการผลิตได้ตามแผน ได้กดดันให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทยพุ่งสูงขึ้น
โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เริ่มเห็นสัญญาณและทยอยปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) 3 งวดติดต่อกัน นับจากงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2565 เริ่มขึ้น 1.39 สตางค์ต่อหน่วย ตามด้วยงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 ขึ้นอีก 24.77 สตางค์ต่อหน่วย งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ขึ้นอีก 93.43 สตางค์ต่อหน่วย จนทำให้มีอัตราค่าไฟฟ้า 4.72 บาท และล่าสุดเดือนมกราคม-เมษายน 2566 แม้จะตรึงภาคครัวเรือน แต่ได้ตัดสินใจเพิ่มในกลุ่มภาคอื่นที่ไม่ใช่ครัวเรือน เพราะต้นทุนแพงอั้นไม่ไหวจริง
คาถาประหยัดๆ น่าจะดีสุด แต่ถ้าโครงการค่าไฟถูกสังคายนาด้วยจะเป็นธรรมกับคนไทยทุกคนแน่นอน
5บิ๊กบะหมี่คอลเอาต์ขึ้นราคารอบ 14 ปี
เมื่อราคาพลังงานแพง วัตถุดิบแพง สินค้าย่อมขึ้นเป็นธรรมดา วันประวัติศาสตร์จึงเกิดขึ้น โดย 5 บิ๊กแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ “มาม่า ซื่อสัตย์ ไวไว ยำยำ นิสชิน” รวมตัวกันในรอบ 50 ปี ออกมาคอลเอาต์ขอกรมการค้าภายในขึ้นราคาบะหมี่อีก 2 บาทต่อซอง จาก 6 บาท เป็น 8 บาท ในรอบ 14 ปี นับจากปี 2551 หลังเจอวิกฤตต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนและราคาพลังงานขาขึ้น ลามเป็นไฟลามทุ่ง ซึ่งทุกแบรนด์ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่ไหวแล้ว” หลังรายได้บางเดือนติดตัวแดงและขาดทุนเป็นประวัติการณ์
ทั้ง 5 แบรนด์แจกแจงภาระต้นทุนที่แบกรับมาตั้งแต่ปลายปี 2564 ทั้งแป้งสาลีจาก 250 บาทต่อถุง เป็นกว่า 500 บาทต่อถุง น้ำมันปาล์มขึ้นอีก 3 เท่าตัว เฉพาะวัตถุดิบ 2 ตัว หากผันเป็นราคาต่อซองแล้วขึ้นมากว่า 1 บาท ยังไม่นับรวมวัตถุดิบเกษตร เช่น พริก หอม กระเทียม ที่ขยับขึ้นมา 35% และแพคเกจจิ้งอีก 12-15% จากเดิมเคยยื่นขอปรับราคา 1 บาทต่อซอง จึงเปลี่ยนใจขอขึ้น 2 บาทต่อซอง
สุดท้ายกรมการค้าภายในใช้สูตร “คนละครึ่ง” ให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตอยู่ได้ยอมกดปุ่มไฟเขียวให้ขึ้นราคา 1 บาทต่อซอง จาก 6 บาท เป็น 7 บาท แต่ก็ยังเป็นราคาที่ 5 บิ๊กบะหมี่บอกว่า “ยังไม่มีกำไร” เพราะต้นทุนแซงหน้าราคานี้ไปนานแล้ว
หลังปิดจ๊อบจบ มีเสียงสะท้อนกลับ “ขนาดมาม่า (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจ ยังขึ้นราคา” สรุปเศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดี?
คนไทยเผชิญเงินเฟ้อสูงสุดรอบ 13 ปี
ปัจจัยหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนกำลังเผชิญกับข้าวของแพง และประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพสูงขึ้นแค่ไหน อยู่กับดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเราๆ เรียกกันว่า อัตราเงินเฟ้อ
พบว่าตลอดปี 2565 มีหลายเดือนที่ทำสถิติสูงสุด เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ที่น่าตกใจมากของปีนี้ เริ่มจากเดือนมิถุนายน 2565 อัตราเงินเฟ้อสูงถึง บวก 7.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี
โดยสาเหตุหลัก ที่กระทรวงพาณิชย์อ้างอิง คือ ราคาพลังงาน (น้ำมัน ก๊าซ ส่งผลต่อค่าไฟ ค่าขนส่ง) และราคาอาหารสด อาหารปรุงสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคดาหน้าทยอยปรับราคา 5-10%
แม้รัฐจะพยายามกล่อมผู้ผลิตผู้จำหน่าย “ตรึงราคา” แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเมิน โดยเลี่ยงไปออกสินค้าใหม่ หรือปรับหีบห่อ ให้เหมือนว่าออกสินค้าใหม่ กำหนดราคาใหม่
พอเข้าไตรมาส 4 ของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแม้จะยังสูงบวกเกิน 5% โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการเดือนพฤศจิกายน 2565 เงินเฟ้อสูงขึ้น 5.55% ก็ใจชื้นขึ้นบ้าง
เพราะเป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 โดยเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือน ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 6.10% และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้น 2.44%
หากเทียบกับอัตราการขยายตัวของจีดีพีประเทศ ที่ภาครัฐเองประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 3% เศษ ก็เท่ากับว่าราคาของกินของใช้ เกินหน้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจถึงเท่าตัว
รัฐสูญภาษีดีเซล 1.18 แสนล้าน
ผลจากราคาน้ำมันโลกแพง โดยเฉพาะดีเซลที่ต้องดูแลไม่ให้เกิน 35 บาทต่อลิตร เพื่อไม่ให้คนไทยเจ็บหนักไปกว่านี้ รัฐบาลจึงต้องออกมาตรการช่วยเหลือรวมพลังทั้งกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต จึงตัดสินใจเฉือนรายได้สำคัญอย่างภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล โดยยอมลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 1 ปี โดยลดลงช่วงละประมาณ 3-5 บาท จากปกติ 5.99 บาทต่อลิตร ทำให้กระทรวงการคลังสูญเสียรายได้ จากการลดภาษี 5 ครั้ง
ครั้งแรกช่วงวันที่ 18 กุมภาพันธ์-20 พฤษภาคม 2565 ลดภาษีลิตร 3 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รัฐสูญรายได้ 1.8 หมื่นล้านบาท, ครั้งที่ 2 ช่วงวันที่ 21 พฤษภาคม-20 กรกฎาคม 2565 เป็นเวลา 3 เดือน ครั้งนี้ลดภาษีดีเซล ลงลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 3 หมื่นล้านบาท, ครั้งที่ 3 ช่วงวันที่ 21 กรกฎาคม-20 กันยายน 2565 เป็นเวลา 2 เดือน ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 2 หมื่นล้านบาท, ครั้งที่ 4 ช่วงวันที่ 21 กันยายน-20 พฤศจิกายน 2565 เป็นเวลา 2 เดือน ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 2 หมื่นล้านบาท และครั้งที่ 5 ช่วง วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565-20 มกราคม 2566 เป็นเวลา 2 เดือน ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 2 หมื่นล้านบาท รวมมาตรการลดภาษีดีเซลเพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพประชาชน 1.18 แสนล้านบาท
เหล่านี้ทำให้ปีงบประมาณ 2565 กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าถึง 9.35 หมื่นล้านบาท หรือต่ำกว่า 15.7% แลกกับการดูแลคนไทย ขณะที่กระทรวงการคลังต้องเร่งหาภาษีส่วนอื่นมาทดแทน!!
‘เพื่อไทย’ ล็อกเป้าเชือด ‘ประยุทธ์’ จัดเต็ม 15 ขุนพลซักฟอกรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_3749656
‘เพื่อไทย’ ล็อกเป้าเชือด ‘ประยุทธ์’ จัดเต็ม 15 ขุนพลซักฟอกรัฐบาล
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ทางพรรค พท. เตรียมขุนพลอภิปรายไว้กี่คน และจะนัดหารือร่วมกันอีกหรือไม่ ว่า พรรค พท. ได้เตรียมขุนพลในการอธิบายไว้ประมาณ 15 คน และมีข้อมูลครบแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการซ้อมอภิปราย เพื่อให้การอภิปรายมีน้ำหนักมากขึ้น โดยจะเน้นอภิปรายไปที่นายกรัฐมนตรีเป็นหลัก เพราะเป็นหัวหน้ารัฐบาล
ทั้งนี้ การอภิปรายตามมาตรา 152 สามารถอภิปรายรัฐมนตรีได้ทั้งคณะ และเป็นการอภิปรายภาพรวมไม่ได้เจาะจงรัฐมนตรี ส่วนระยะเวลาการอภิปรายคาดว่า 3 วันน่าจะเหมาะสม เพราะเดิมได้แค่ 2 วัน แต่ครั้งนี้ปัญหาการบริหารราชการของรัฐบาลมีปัญหาจึงต้องได้รับคำแนะนำและได้รับการแก้ไขเพราะการอภิปรายตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 152 เป็นการชี้ให้เห็นและให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อปัญหามากก็ต้องใช้เวลาพอสมควร
เมื่อถามว่า หากดูจากญัตติมีความเป็นไปได้ที่จะสะเทือนถึงผลการเลือกตั้งหรือไม่ นาย
ประเสริฐ กล่าวว่า มีผลเพราะเราจะชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาด และความล้มเหลว ซึ่งรัฐบาลเดินทางมาถึงปลายทางแล้ว คิดว่าเวลาที่เหลือแค่ 2 เดือนกว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหวังให้รัฐบาลมาแก้ไข แต่อย่างน้อยที่สุดบางเรื่องที่จะเกิดความเสียหาย ก็ไม่ควรจะทำต่อฉะนั้นเชื่อว่าการอภิปรายครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และจะสั่นสะเทือนรัฐบาลได้ โดยพรรค พท. ได้แบ่งประเด็นการอภิปราย ประมาณ 10 ด้าน เช่น การไม่สามารถทำตามนโยบายที่บอกไว้กับประชาชนได้ บางนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ควรเดินหน้าต่อ และการทำงานของรัฐบาลที่ส่อไปในทางทุจริต
‘เพื่อไทย’ กำชับ ส.ส.ลงพื้นที่ ขึ้นป้ายนโยบาย 8 ด้านทั่วประเทศ หวังให้ ปชช.เห็นสิ่งใหม่ๆ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3749655
‘เพื่อไทย’ กำชับ ส.ส.ลงพื้นที่ต่อเนื่อง พร้อมขึ้นป้ายนโยบาย 8 ด้านทั่วประเทศ หวังให้ ปชช.เห็นสิ่งใหม่ๆ ช่วงปี 66
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้ง จะทยอยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เพิ่มเมื่อใด และจะรักษาฐานเสียงเดิมในพื้นที่ของ ส.ส.ที่ย้ายไปพรรคอื่นอย่างไร ว่า
ขณะนี้ พรรค พท.ได้ทยอยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ไปได้เกือบทั้งหมดแล้วคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงไม่เกินปลายเดือนมกราคม 2566 โดยในช่วงเทศกาลปีใหม่เราได้ให้ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นำแผ่นป้ายข้อความที่เป็นนโยบายของพรรค พท. 8 ด้าน ไปประชาสัมพันธ์ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้เห็นนโยบายใหม่ๆ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นช่วงปี 2566
ส่วนการเตรียมตัวด้านอื่นๆ ได้ให้ ส.ส.ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพราะเหลือเวลาก่อนการเลือกตั้งไม่นาน ส่วนการรักษาฐานเสียงเดิมในพื้นที่เดิมของ ส.ส.ที่ย้ายพรรคไป เราได้จัดหาว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.แทนและมั่นใจว่าจะรักษาที่นั่งไว้ได้ เพราะประชาชนไม่ได้เลือกคนแต่เลือกพรรค ดังนั้นคนที่ย้ายไปจะไม่ได้คะแนนติดตัวไป
JJNY : ปี’65 ยุคข้าวยากหมากแพง| ‘เพื่อไทย’ล็อกเป้าเชือด‘ประยุทธ์’ | ‘เพื่อไทย’กำชับส.ส.ลงพื้นที่|สื่อจีนฟัน เลือกปฏิบัติ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3749274
ปี’65ยุคข้าวยากหมากแพง
คนไทยระทม!!
ปี 2565 ใครจะไปคาดคิดว่านอกจากโรคระบาดโควิด-19 ที่หนักหนาสาหัสลากยาวถึง 3 ปีแล้ว ทั่วโลกยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากไฟสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เริ่มปะทุตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนกระทบราคาพลังงานแพงลิบลิ่ว ไม่พอยังส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอาหาร สินค้าทุนต่างๆ จนทั่วทั้งโลกต่างระส่ำ ตั้งรับแทบไม่ทัน รวมทั้งประเทศไทย
ราคาพลังงานพุ่ง ทั้งน้ำมัน-ค่าไฟ
กระทบคนไทยทั้งประเทศหนักๆ หนีไม่พ้นราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ทะลุ 100 เหรียญสหรัฐ สูงสุดในรอบ 7 ปี จนประชาชนโอดครวญ โดยเฉพาะพลังจากโซเชียลที่จัดหนักกระทรวงพลังงานในทุกช่องทาง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มม็อบรถบรรทุกที่เดินหน้ากดดันรัฐบาล จัดม็อบทั้งกระทรวงพลังงานและทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 35 บาทต่อลิตร
ผลกระทบจริงบวกเสียงเรียกร้องจากผู้ได้รับผลกระทบที่ต่อเนื่องไปยังต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนราคาสินค้า กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) จึงเดินหน้าอุ้มราคาน้ำมันดีเซล จนปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯหลังแอ่นติดลบทะลุ 1 แสนล้านบาทติดดอยยาว จนกระทรวงพลังงานต้องขอขยายเพดานเงินกู้ ออก พ.ร.ก.กู้เงินอุ้มกองทุนน้ำมันฯ รองรับ
นอกจากปัญหาน้ำมันแพง อีกผลกระทบคือราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่พุ่งกระฉูดหลายเท่าตัว ทะลุ 50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ประกอบกับการเปลี่ยนผ่านผู้ผลิตในแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติเอราวัณที่ไม่สามารถฟื้นกำลังการผลิตได้ตามแผน ได้กดดันให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทยพุ่งสูงขึ้น
โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เริ่มเห็นสัญญาณและทยอยปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) 3 งวดติดต่อกัน นับจากงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2565 เริ่มขึ้น 1.39 สตางค์ต่อหน่วย ตามด้วยงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 ขึ้นอีก 24.77 สตางค์ต่อหน่วย งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ขึ้นอีก 93.43 สตางค์ต่อหน่วย จนทำให้มีอัตราค่าไฟฟ้า 4.72 บาท และล่าสุดเดือนมกราคม-เมษายน 2566 แม้จะตรึงภาคครัวเรือน แต่ได้ตัดสินใจเพิ่มในกลุ่มภาคอื่นที่ไม่ใช่ครัวเรือน เพราะต้นทุนแพงอั้นไม่ไหวจริง
คาถาประหยัดๆ น่าจะดีสุด แต่ถ้าโครงการค่าไฟถูกสังคายนาด้วยจะเป็นธรรมกับคนไทยทุกคนแน่นอน
5บิ๊กบะหมี่คอลเอาต์ขึ้นราคารอบ 14 ปี
เมื่อราคาพลังงานแพง วัตถุดิบแพง สินค้าย่อมขึ้นเป็นธรรมดา วันประวัติศาสตร์จึงเกิดขึ้น โดย 5 บิ๊กแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ “มาม่า ซื่อสัตย์ ไวไว ยำยำ นิสชิน” รวมตัวกันในรอบ 50 ปี ออกมาคอลเอาต์ขอกรมการค้าภายในขึ้นราคาบะหมี่อีก 2 บาทต่อซอง จาก 6 บาท เป็น 8 บาท ในรอบ 14 ปี นับจากปี 2551 หลังเจอวิกฤตต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนและราคาพลังงานขาขึ้น ลามเป็นไฟลามทุ่ง ซึ่งทุกแบรนด์ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่ไหวแล้ว” หลังรายได้บางเดือนติดตัวแดงและขาดทุนเป็นประวัติการณ์
ทั้ง 5 แบรนด์แจกแจงภาระต้นทุนที่แบกรับมาตั้งแต่ปลายปี 2564 ทั้งแป้งสาลีจาก 250 บาทต่อถุง เป็นกว่า 500 บาทต่อถุง น้ำมันปาล์มขึ้นอีก 3 เท่าตัว เฉพาะวัตถุดิบ 2 ตัว หากผันเป็นราคาต่อซองแล้วขึ้นมากว่า 1 บาท ยังไม่นับรวมวัตถุดิบเกษตร เช่น พริก หอม กระเทียม ที่ขยับขึ้นมา 35% และแพคเกจจิ้งอีก 12-15% จากเดิมเคยยื่นขอปรับราคา 1 บาทต่อซอง จึงเปลี่ยนใจขอขึ้น 2 บาทต่อซอง
สุดท้ายกรมการค้าภายในใช้สูตร “คนละครึ่ง” ให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตอยู่ได้ยอมกดปุ่มไฟเขียวให้ขึ้นราคา 1 บาทต่อซอง จาก 6 บาท เป็น 7 บาท แต่ก็ยังเป็นราคาที่ 5 บิ๊กบะหมี่บอกว่า “ยังไม่มีกำไร” เพราะต้นทุนแซงหน้าราคานี้ไปนานแล้ว
หลังปิดจ๊อบจบ มีเสียงสะท้อนกลับ “ขนาดมาม่า (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจ ยังขึ้นราคา” สรุปเศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดี?
คนไทยเผชิญเงินเฟ้อสูงสุดรอบ 13 ปี
ปัจจัยหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนกำลังเผชิญกับข้าวของแพง และประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพสูงขึ้นแค่ไหน อยู่กับดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเราๆ เรียกกันว่า อัตราเงินเฟ้อ
พบว่าตลอดปี 2565 มีหลายเดือนที่ทำสถิติสูงสุด เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ที่น่าตกใจมากของปีนี้ เริ่มจากเดือนมิถุนายน 2565 อัตราเงินเฟ้อสูงถึง บวก 7.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี
โดยสาเหตุหลัก ที่กระทรวงพาณิชย์อ้างอิง คือ ราคาพลังงาน (น้ำมัน ก๊าซ ส่งผลต่อค่าไฟ ค่าขนส่ง) และราคาอาหารสด อาหารปรุงสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคดาหน้าทยอยปรับราคา 5-10%
แม้รัฐจะพยายามกล่อมผู้ผลิตผู้จำหน่าย “ตรึงราคา” แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเมิน โดยเลี่ยงไปออกสินค้าใหม่ หรือปรับหีบห่อ ให้เหมือนว่าออกสินค้าใหม่ กำหนดราคาใหม่
พอเข้าไตรมาส 4 ของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแม้จะยังสูงบวกเกิน 5% โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการเดือนพฤศจิกายน 2565 เงินเฟ้อสูงขึ้น 5.55% ก็ใจชื้นขึ้นบ้าง
เพราะเป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 โดยเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือน ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 6.10% และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้น 2.44%
หากเทียบกับอัตราการขยายตัวของจีดีพีประเทศ ที่ภาครัฐเองประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 3% เศษ ก็เท่ากับว่าราคาของกินของใช้ เกินหน้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจถึงเท่าตัว
รัฐสูญภาษีดีเซล 1.18 แสนล้าน
ผลจากราคาน้ำมันโลกแพง โดยเฉพาะดีเซลที่ต้องดูแลไม่ให้เกิน 35 บาทต่อลิตร เพื่อไม่ให้คนไทยเจ็บหนักไปกว่านี้ รัฐบาลจึงต้องออกมาตรการช่วยเหลือรวมพลังทั้งกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต จึงตัดสินใจเฉือนรายได้สำคัญอย่างภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล โดยยอมลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 1 ปี โดยลดลงช่วงละประมาณ 3-5 บาท จากปกติ 5.99 บาทต่อลิตร ทำให้กระทรวงการคลังสูญเสียรายได้ จากการลดภาษี 5 ครั้ง
ครั้งแรกช่วงวันที่ 18 กุมภาพันธ์-20 พฤษภาคม 2565 ลดภาษีลิตร 3 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รัฐสูญรายได้ 1.8 หมื่นล้านบาท, ครั้งที่ 2 ช่วงวันที่ 21 พฤษภาคม-20 กรกฎาคม 2565 เป็นเวลา 3 เดือน ครั้งนี้ลดภาษีดีเซล ลงลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 3 หมื่นล้านบาท, ครั้งที่ 3 ช่วงวันที่ 21 กรกฎาคม-20 กันยายน 2565 เป็นเวลา 2 เดือน ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 2 หมื่นล้านบาท, ครั้งที่ 4 ช่วงวันที่ 21 กันยายน-20 พฤศจิกายน 2565 เป็นเวลา 2 เดือน ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 2 หมื่นล้านบาท และครั้งที่ 5 ช่วง วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565-20 มกราคม 2566 เป็นเวลา 2 เดือน ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 2 หมื่นล้านบาท รวมมาตรการลดภาษีดีเซลเพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพประชาชน 1.18 แสนล้านบาท
เหล่านี้ทำให้ปีงบประมาณ 2565 กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าถึง 9.35 หมื่นล้านบาท หรือต่ำกว่า 15.7% แลกกับการดูแลคนไทย ขณะที่กระทรวงการคลังต้องเร่งหาภาษีส่วนอื่นมาทดแทน!!
‘เพื่อไทย’ ล็อกเป้าเชือด ‘ประยุทธ์’ จัดเต็ม 15 ขุนพลซักฟอกรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_3749656
‘เพื่อไทย’ ล็อกเป้าเชือด ‘ประยุทธ์’ จัดเต็ม 15 ขุนพลซักฟอกรัฐบาล
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ทางพรรค พท. เตรียมขุนพลอภิปรายไว้กี่คน และจะนัดหารือร่วมกันอีกหรือไม่ ว่า พรรค พท. ได้เตรียมขุนพลในการอธิบายไว้ประมาณ 15 คน และมีข้อมูลครบแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการซ้อมอภิปราย เพื่อให้การอภิปรายมีน้ำหนักมากขึ้น โดยจะเน้นอภิปรายไปที่นายกรัฐมนตรีเป็นหลัก เพราะเป็นหัวหน้ารัฐบาล
ทั้งนี้ การอภิปรายตามมาตรา 152 สามารถอภิปรายรัฐมนตรีได้ทั้งคณะ และเป็นการอภิปรายภาพรวมไม่ได้เจาะจงรัฐมนตรี ส่วนระยะเวลาการอภิปรายคาดว่า 3 วันน่าจะเหมาะสม เพราะเดิมได้แค่ 2 วัน แต่ครั้งนี้ปัญหาการบริหารราชการของรัฐบาลมีปัญหาจึงต้องได้รับคำแนะนำและได้รับการแก้ไขเพราะการอภิปรายตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 152 เป็นการชี้ให้เห็นและให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อปัญหามากก็ต้องใช้เวลาพอสมควร
เมื่อถามว่า หากดูจากญัตติมีความเป็นไปได้ที่จะสะเทือนถึงผลการเลือกตั้งหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า มีผลเพราะเราจะชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาด และความล้มเหลว ซึ่งรัฐบาลเดินทางมาถึงปลายทางแล้ว คิดว่าเวลาที่เหลือแค่ 2 เดือนกว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหวังให้รัฐบาลมาแก้ไข แต่อย่างน้อยที่สุดบางเรื่องที่จะเกิดความเสียหาย ก็ไม่ควรจะทำต่อฉะนั้นเชื่อว่าการอภิปรายครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และจะสั่นสะเทือนรัฐบาลได้ โดยพรรค พท. ได้แบ่งประเด็นการอภิปราย ประมาณ 10 ด้าน เช่น การไม่สามารถทำตามนโยบายที่บอกไว้กับประชาชนได้ บางนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ควรเดินหน้าต่อ และการทำงานของรัฐบาลที่ส่อไปในทางทุจริต
‘เพื่อไทย’ กำชับ ส.ส.ลงพื้นที่ ขึ้นป้ายนโยบาย 8 ด้านทั่วประเทศ หวังให้ ปชช.เห็นสิ่งใหม่ๆ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3749655
‘เพื่อไทย’ กำชับ ส.ส.ลงพื้นที่ต่อเนื่อง พร้อมขึ้นป้ายนโยบาย 8 ด้านทั่วประเทศ หวังให้ ปชช.เห็นสิ่งใหม่ๆ ช่วงปี 66
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้ง จะทยอยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เพิ่มเมื่อใด และจะรักษาฐานเสียงเดิมในพื้นที่ของ ส.ส.ที่ย้ายไปพรรคอื่นอย่างไร ว่า
ขณะนี้ พรรค พท.ได้ทยอยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ไปได้เกือบทั้งหมดแล้วคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงไม่เกินปลายเดือนมกราคม 2566 โดยในช่วงเทศกาลปีใหม่เราได้ให้ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นำแผ่นป้ายข้อความที่เป็นนโยบายของพรรค พท. 8 ด้าน ไปประชาสัมพันธ์ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้เห็นนโยบายใหม่ๆ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นช่วงปี 2566
ส่วนการเตรียมตัวด้านอื่นๆ ได้ให้ ส.ส.ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพราะเหลือเวลาก่อนการเลือกตั้งไม่นาน ส่วนการรักษาฐานเสียงเดิมในพื้นที่เดิมของ ส.ส.ที่ย้ายพรรคไป เราได้จัดหาว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.แทนและมั่นใจว่าจะรักษาที่นั่งไว้ได้ เพราะประชาชนไม่ได้เลือกคนแต่เลือกพรรค ดังนั้นคนที่ย้ายไปจะไม่ได้คะแนนติดตัวไป