“เพื่อไทย” ไม่ท้อ ยื่นแก้ รธน.ม.159 ยกเลิก ม.272 ต่อ
https://siamrath.co.th/n/407809
วันที่ 16 ธ.ค. 65 ที่รัฐสภา นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และคณะ ยื่นหนังสือถึงนาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านนพ.
สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมมาตรา 159 และการยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
โดยนพ.
ชลน่าน กล่าวว่า สิ่งที่พรรค พท.มีเจตจำนง และมุ่งมั่นมาตลอดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 60 โดยเฉพาะมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่สุดในการบังคับใช้ และกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือมาตรา 272 ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติไว้ชั่วคราวว่า ให้ส.ว. 250 คน สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ โดยเราพยายามยื่นแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตลอดแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากกติกาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ มีส่วนทำให้ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ คือ การต้องอาศัยเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา และต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยในวาระรับหลักการไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ ด้วยกลไกเหล่านี้ทำให้เรายื่นร่างแก้ไขแล้วไม่สำเร็จ ซึ่งในสมัยประชุมที่ผ่านมาเราก็ยื่นแต่ก็ถูกตีตกไปในขั้นรับหลักการ แต่เราก็ไม่ย่อท้อ เพราะตามข้อบังคับแล้วในสมัยประชุมที่เปิดมาเราสามารถยื่นแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่สภาไม่รับหลักการได้
นพ.
ชลน่าน กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สำหรับมาตรา 159 การเลือกนายกรัฐมนตรี แก้ไขเพิ่มเติมจากมาตรา 88 ที่ระบุถึงผู้ที่สมควรได้เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีต้องถูกพรรคการเมืองเสนอชื่อ โดยพรรคการเมืองนั้นต้องได้เสียงในสภาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และมีจำนวน 25 เสียงขึ้นไป แต่เรายังคงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ 3 รายชื่อไว้ หรือต้องเป็น ส.ส.จากพรรคการเมืองที่มีส.ส.ไม่น้อยกว่า 25 คนเช่นกัน จึงเป็นที่มาของการยื่นร่างแก้ไขในวันนี้
‘ชูศักดิ์’ ชี้ ส.ส.แห่ย้ายพรรค ไม่แคร์ประชาชน หวั่น กระทบศรัทธาการเมือง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3727629
‘ชูศักดิ์’ ชี้ ส.ส.แห่ย้ายพรรค ไม่แคร์ประชาชน หวั่น กระทบศรัทธาการเมือง อัด นายกฯ เล่นเกมลอยตัว ทั้งที่ตัวเองกำหนด
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม นาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี ส.ส.ลาออก และย้ายพรรคพร้อมกันจำนวนมากเป็นประวัติการณ์แม้สภายังไม่หมดวาระ ว่า ที่ผ่านมาการย้ายพรรคเป็นเรื่องปกติ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดหลังยุบสภา หรือสภาหมดอายุ และเป็นรายคน ไม่ใช่เป็นแบบกระบวนการ ดังนั้น กรณีที่เกิดขึ้นเวลานี้ ดูจะชัดเจนว่าการลาออกเพื่อไปสังกัดพรรคใหม่ เป็นไปตามคำสั่งของพรรคที่จะย้ายไป
ความคิดเบื้องต้นทราบว่าเพื่อกันปัญหาการเป็นสมาชิกพรรค 90 วัน และเพื่อความชัวร์ว่าคุณมาแน่ การลาออกและย้ายพรรคกันเป็นล็อต 30-40 คน ชัดเจนว่าเกิดจากการวางแผนกันมาโดยไม่สนใจว่ายังมีภารกิจในฐานะตัวแทนประชาชนที่ต้องทำอยู่หรือไม่ ไม่สนใจว่าประชาชนเขาเลือกเรามาให้ทำหน้าที่ในสภามีระยะเวลา 4 ปี
“
ผมเป็นส่วนหนึ่งในการสอบสวนทางวินัยจรรยาบรรณ ส.ส.หลายคน ขอบอกอย่างตรงไปตรงมาว่าที่มาที่ไปคือ เพราะได้ผลประโยชน์ ได้โครงการ ได้การดูแลที่พรรคเดิมไม่อาจให้ได้ หลายคนยอมเป็นงูเห่าถ้าจะขับก็ยินดี แถมบอกให้รีบขับเร็วๆ แสดงว่าจริงๆ แล้ว ไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์อะไรทั้งสิ้น สภาพการเมืองเช่นนี้น่าห่วง ส่วนหนึ่งแสดงว่า รัฐธรรมนูญปราบโกงล้มเหลวสิ้นเชิง การปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ล้มเหลว การเมืองย้อนไปสู่ธนกิจการเมือง
การเมืองแบบแจกกล้วย ดูแล้วคล้ายๆ ก่อนยุครัฐธรรมนูญ 2540 ที่เป็นเหตุให้ต้องปฏิรูปการเมืองขนานใหญ่ ยิ่งได้ฟังคำสัมภาษณ์ของนายกฯเรื่องสภาล่ม และ ส.ส.ย้ายพรรคว่า เป็นเรื่องฝ่ายการเมืองตัวเองสั่งไปแล้ว ไม่เกี่ยว ต้องว่ากันเอง ก็รู้สึกถึงการลอยตัว ทำนองว่าคุณมาเลือกผมเองทั้งๆ ที่ผมก็ไม่ได้เป็นแม้แต่สมาชิกพรรคของคุณ จริงๆ แล้วพรรคที่เสนอเขาก็ควรจะได้รับรู้ว่าแท้จริงเป็นอย่างไร แปลกประหลาดคนที่เสนอเป็นนายกฯ ในนามพรรคตัวเองไม่เป็นอะไรเลยแม้แต่สมาชิกพรรค แต่มีอิทธิพลถึงขั้นให้เสนอชื่อตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีได้” นาย
ชูศักดิ์กล่าว
นาย
ชูศักดิ์กล่าวว่า ตนเองเป็นห่วงความรู้สึกของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะความศรัทธาในระบอบพรรคการเมืองและความศรัทธาในนักการเมืองและระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญที่บอกว่าให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบายและส่งผู้สมัครเป็นเพียงลายลักษณ์อักษรหรูๆ ของพวกสร้างภาพเท่านั้นเอง นี่แหละรัฐธรรมนูญปราบโกงของพวกคนดีทั้งหลาย
'สมชัย' เชื่อ 'บิ๊กตู่' ดิ้นสู้ลากยาว ไม่ยุบสภา แม้ส.ส.แห่ลาออก ลุยสร้างฐานอำนาจ พลิกสถานการณ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3727854
‘สมชัย’ เชื่อ ‘บิ๊กตู่’ ดิ้นสู้ลากยาว ไม่ชิงยุบสภา แม้ส.ส.แห่ลาออก ลุยสร้างฐานอำนาจ หวังพลิกสถานการณ์ให้ฝั่งตัวเองได้เปรียบก่อน
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเมืองและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่มีส.ส.ลาออกและย้ายพรรคพร้อมกันจำนวนมากจะสามารถกดดันให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศยุบสภาได้หรือไม่ว่า มองว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะพล.อ.
ประยุทธ์ ตัดสินใจช้าในทางการเมือง จะไปทางไหนต้องมีความชัดเจน เพราะใกล้กับการเลือกตั้งมากแล้ว
ขณะเดียวกันตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.และส.ส.ปัจจุบัน ต้องการมีพรรคการเมืองที่ช่วยเสริมการเลือกตั้ง แต่เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ชัดเจนอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคและรับตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในพรรค จึงทำให้จังหวะนี้ตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.และส.ส.ปัจจุบัน เกิดการไหลไปยังพรรคอื่นทั้งไหลกลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และไหลไปเข้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ด้วยเหตุนี้ยิ่งทำให้โอกาสพรรคใหม่จะเกิดขึ้นได้จริงน้อยลงไปเรื่อยๆ
นาย
สมชัย กล่าวต่อว่า จากปรากฎการณ์ดังกล่าว ส่วนตัวคิดว่าพล.อ.
ประยุทธ์ ยังคิดถึงหนทางในการพลิกกลับมาเป็นฝ่ายมีโอกาสได้ชัยชนะด้วยเหตุ ดังนี้ 1.ขณะนี้ยังมีเวลาเหลืออยู่พอสมควร 2.อำนาจยุบสภายังอยู่ในมือ 3.การเป็นสมาชิกพรรคอื่นสมัครได้ก็ยื่นลาออกได้ และ 4.การใช้กลไกอำนาจรัฐเท่าที่มีอยู่ทำให้เกิดความได้เปรียบ
ซึ่งจากที่มีกระแสข่าวว่าจะแต่งตั้งนาย
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และคาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในสัปดาห์หน้า แสดงให้เห็นว่าพล.อ.
ประยุทธ์ เดินหน้าสู้เต็มที่ในสถานการณ์ที่ถูกบีบรัดหรือเริ่มจนตรอก ถ้ามองแบบนี้คงต้องการเวลาอีกสักระยะเพื่อพลิกสถานการณ์ หากยุบสภาเร็วทุกอย่างจบเลย
“
เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ต้องการเดินหน้าสู้ทางการเมืองคงอาศัยเวลาให้มากที่สุด คงไม่มีการยุบสภา ไม่ว่าส.ส.จะลาออกมากแค่ไหน หากยังคงสภาพของการประชุมสภาได้และกฎหมายต่างๆที่อยู่ในสภายังพิจารณาต่อไปได้ ยกเว้นว่าจะไม่สามารถรักษาองค์ประชุม สภาล่มบ่อย หรือจนถึงจุดที่ลาออกแล้วทำให้เสียงของฝ่ายรัฐบาลน้อยกว่าฝ่ายค้าน แต่จุดนี้เชื่อว่านายกฯก็ยังไม่ยุบสภา”นาย
สมชัยกล่าวและว่า
“
เพราะแม้เสียงรัฐบาลจะน้อยกว่า ก็ยังเป็นเสียงข้างน้อยในสภาฯ สามารถประคับประคองไปได้ ช่วงเวลา 2-3 เดือนที่เหลือก่อนครบวาระ แต่จุดสุดท้ายที่ไม่ได้เลยคือถ้าไปจุดถึงส.ส. ลาออกเกินกว่าครึ่ง เหลือไม่ถึง 250 คน แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดแต่ก็ดูขาดความชอบธรรมที่ดำรงความเป็นสภา แต่ก็คงไปถึงจุดนั้นยากเพราะไม่มีใครพร้อมใจตัดสินใจได้ถึงขนาดนั้น”นาย
สมชัยกล่าว
JJNY : “เพื่อไทย”ไม่ท้อ ยื่นแก้รธน.| ‘ชูศักดิ์’ชี้ส.ส.แห่ย้ายพรรค| 'สมชัย'เชื่อ'ตู่'ดิ้นสู้ลากยาว| "ลานีญา" เริ่มถอย
https://siamrath.co.th/n/407809
วันที่ 16 ธ.ค. 65 ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และคณะ ยื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านนพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมมาตรา 159 และการยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
โดยนพ.ชลน่าน กล่าวว่า สิ่งที่พรรค พท.มีเจตจำนง และมุ่งมั่นมาตลอดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 60 โดยเฉพาะมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่สุดในการบังคับใช้ และกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือมาตรา 272 ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติไว้ชั่วคราวว่า ให้ส.ว. 250 คน สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ โดยเราพยายามยื่นแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตลอดแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากกติกาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ มีส่วนทำให้ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ คือ การต้องอาศัยเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา และต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยในวาระรับหลักการไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ ด้วยกลไกเหล่านี้ทำให้เรายื่นร่างแก้ไขแล้วไม่สำเร็จ ซึ่งในสมัยประชุมที่ผ่านมาเราก็ยื่นแต่ก็ถูกตีตกไปในขั้นรับหลักการ แต่เราก็ไม่ย่อท้อ เพราะตามข้อบังคับแล้วในสมัยประชุมที่เปิดมาเราสามารถยื่นแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่สภาไม่รับหลักการได้
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สำหรับมาตรา 159 การเลือกนายกรัฐมนตรี แก้ไขเพิ่มเติมจากมาตรา 88 ที่ระบุถึงผู้ที่สมควรได้เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีต้องถูกพรรคการเมืองเสนอชื่อ โดยพรรคการเมืองนั้นต้องได้เสียงในสภาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และมีจำนวน 25 เสียงขึ้นไป แต่เรายังคงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ 3 รายชื่อไว้ หรือต้องเป็น ส.ส.จากพรรคการเมืองที่มีส.ส.ไม่น้อยกว่า 25 คนเช่นกัน จึงเป็นที่มาของการยื่นร่างแก้ไขในวันนี้
‘ชูศักดิ์’ ชี้ ส.ส.แห่ย้ายพรรค ไม่แคร์ประชาชน หวั่น กระทบศรัทธาการเมือง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3727629
‘ชูศักดิ์’ ชี้ ส.ส.แห่ย้ายพรรค ไม่แคร์ประชาชน หวั่น กระทบศรัทธาการเมือง อัด นายกฯ เล่นเกมลอยตัว ทั้งที่ตัวเองกำหนด
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี ส.ส.ลาออก และย้ายพรรคพร้อมกันจำนวนมากเป็นประวัติการณ์แม้สภายังไม่หมดวาระ ว่า ที่ผ่านมาการย้ายพรรคเป็นเรื่องปกติ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดหลังยุบสภา หรือสภาหมดอายุ และเป็นรายคน ไม่ใช่เป็นแบบกระบวนการ ดังนั้น กรณีที่เกิดขึ้นเวลานี้ ดูจะชัดเจนว่าการลาออกเพื่อไปสังกัดพรรคใหม่ เป็นไปตามคำสั่งของพรรคที่จะย้ายไป
ความคิดเบื้องต้นทราบว่าเพื่อกันปัญหาการเป็นสมาชิกพรรค 90 วัน และเพื่อความชัวร์ว่าคุณมาแน่ การลาออกและย้ายพรรคกันเป็นล็อต 30-40 คน ชัดเจนว่าเกิดจากการวางแผนกันมาโดยไม่สนใจว่ายังมีภารกิจในฐานะตัวแทนประชาชนที่ต้องทำอยู่หรือไม่ ไม่สนใจว่าประชาชนเขาเลือกเรามาให้ทำหน้าที่ในสภามีระยะเวลา 4 ปี
“ผมเป็นส่วนหนึ่งในการสอบสวนทางวินัยจรรยาบรรณ ส.ส.หลายคน ขอบอกอย่างตรงไปตรงมาว่าที่มาที่ไปคือ เพราะได้ผลประโยชน์ ได้โครงการ ได้การดูแลที่พรรคเดิมไม่อาจให้ได้ หลายคนยอมเป็นงูเห่าถ้าจะขับก็ยินดี แถมบอกให้รีบขับเร็วๆ แสดงว่าจริงๆ แล้ว ไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์อะไรทั้งสิ้น สภาพการเมืองเช่นนี้น่าห่วง ส่วนหนึ่งแสดงว่า รัฐธรรมนูญปราบโกงล้มเหลวสิ้นเชิง การปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ล้มเหลว การเมืองย้อนไปสู่ธนกิจการเมือง
การเมืองแบบแจกกล้วย ดูแล้วคล้ายๆ ก่อนยุครัฐธรรมนูญ 2540 ที่เป็นเหตุให้ต้องปฏิรูปการเมืองขนานใหญ่ ยิ่งได้ฟังคำสัมภาษณ์ของนายกฯเรื่องสภาล่ม และ ส.ส.ย้ายพรรคว่า เป็นเรื่องฝ่ายการเมืองตัวเองสั่งไปแล้ว ไม่เกี่ยว ต้องว่ากันเอง ก็รู้สึกถึงการลอยตัว ทำนองว่าคุณมาเลือกผมเองทั้งๆ ที่ผมก็ไม่ได้เป็นแม้แต่สมาชิกพรรคของคุณ จริงๆ แล้วพรรคที่เสนอเขาก็ควรจะได้รับรู้ว่าแท้จริงเป็นอย่างไร แปลกประหลาดคนที่เสนอเป็นนายกฯ ในนามพรรคตัวเองไม่เป็นอะไรเลยแม้แต่สมาชิกพรรค แต่มีอิทธิพลถึงขั้นให้เสนอชื่อตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีได้” นายชูศักดิ์กล่าว
นายชูศักดิ์กล่าวว่า ตนเองเป็นห่วงความรู้สึกของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะความศรัทธาในระบอบพรรคการเมืองและความศรัทธาในนักการเมืองและระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญที่บอกว่าให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบายและส่งผู้สมัครเป็นเพียงลายลักษณ์อักษรหรูๆ ของพวกสร้างภาพเท่านั้นเอง นี่แหละรัฐธรรมนูญปราบโกงของพวกคนดีทั้งหลาย
'สมชัย' เชื่อ 'บิ๊กตู่' ดิ้นสู้ลากยาว ไม่ยุบสภา แม้ส.ส.แห่ลาออก ลุยสร้างฐานอำนาจ พลิกสถานการณ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3727854
‘สมชัย’ เชื่อ ‘บิ๊กตู่’ ดิ้นสู้ลากยาว ไม่ชิงยุบสภา แม้ส.ส.แห่ลาออก ลุยสร้างฐานอำนาจ หวังพลิกสถานการณ์ให้ฝั่งตัวเองได้เปรียบก่อน
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเมืองและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่มีส.ส.ลาออกและย้ายพรรคพร้อมกันจำนวนมากจะสามารถกดดันให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศยุบสภาได้หรือไม่ว่า มองว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะพล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจช้าในทางการเมือง จะไปทางไหนต้องมีความชัดเจน เพราะใกล้กับการเลือกตั้งมากแล้ว
ขณะเดียวกันตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.และส.ส.ปัจจุบัน ต้องการมีพรรคการเมืองที่ช่วยเสริมการเลือกตั้ง แต่เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ชัดเจนอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคและรับตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในพรรค จึงทำให้จังหวะนี้ตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.และส.ส.ปัจจุบัน เกิดการไหลไปยังพรรคอื่นทั้งไหลกลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และไหลไปเข้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ด้วยเหตุนี้ยิ่งทำให้โอกาสพรรคใหม่จะเกิดขึ้นได้จริงน้อยลงไปเรื่อยๆ
นายสมชัย กล่าวต่อว่า จากปรากฎการณ์ดังกล่าว ส่วนตัวคิดว่าพล.อ.ประยุทธ์ ยังคิดถึงหนทางในการพลิกกลับมาเป็นฝ่ายมีโอกาสได้ชัยชนะด้วยเหตุ ดังนี้ 1.ขณะนี้ยังมีเวลาเหลืออยู่พอสมควร 2.อำนาจยุบสภายังอยู่ในมือ 3.การเป็นสมาชิกพรรคอื่นสมัครได้ก็ยื่นลาออกได้ และ 4.การใช้กลไกอำนาจรัฐเท่าที่มีอยู่ทำให้เกิดความได้เปรียบ
ซึ่งจากที่มีกระแสข่าวว่าจะแต่งตั้งนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และคาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในสัปดาห์หน้า แสดงให้เห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์ เดินหน้าสู้เต็มที่ในสถานการณ์ที่ถูกบีบรัดหรือเริ่มจนตรอก ถ้ามองแบบนี้คงต้องการเวลาอีกสักระยะเพื่อพลิกสถานการณ์ หากยุบสภาเร็วทุกอย่างจบเลย
“เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ต้องการเดินหน้าสู้ทางการเมืองคงอาศัยเวลาให้มากที่สุด คงไม่มีการยุบสภา ไม่ว่าส.ส.จะลาออกมากแค่ไหน หากยังคงสภาพของการประชุมสภาได้และกฎหมายต่างๆที่อยู่ในสภายังพิจารณาต่อไปได้ ยกเว้นว่าจะไม่สามารถรักษาองค์ประชุม สภาล่มบ่อย หรือจนถึงจุดที่ลาออกแล้วทำให้เสียงของฝ่ายรัฐบาลน้อยกว่าฝ่ายค้าน แต่จุดนี้เชื่อว่านายกฯก็ยังไม่ยุบสภา”นายสมชัยกล่าวและว่า
“เพราะแม้เสียงรัฐบาลจะน้อยกว่า ก็ยังเป็นเสียงข้างน้อยในสภาฯ สามารถประคับประคองไปได้ ช่วงเวลา 2-3 เดือนที่เหลือก่อนครบวาระ แต่จุดสุดท้ายที่ไม่ได้เลยคือถ้าไปจุดถึงส.ส. ลาออกเกินกว่าครึ่ง เหลือไม่ถึง 250 คน แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดแต่ก็ดูขาดความชอบธรรมที่ดำรงความเป็นสภา แต่ก็คงไปถึงจุดนั้นยากเพราะไม่มีใครพร้อมใจตัดสินใจได้ถึงขนาดนั้น”นายสมชัยกล่าว