วงเสวนาชี้ ไทยก้าวไม่ข้ามอำนาจนิยม-ระบบอุปถัมถ์ เด็กอนุบาลยังต้องฝากเข้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3731593
นักการเมือง-นักวิชาการ ชี้ ชนชั้นนำ รากฐานปัญหาของรัฐธรรมนูญ เผยเหตุของวงจรรัฐประหาร คือไม่ก้าวข้ามอำนาจนิยม
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่โรงแรมนูโว เขตพระนคร กรุงเทพฯ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ร่วมกับเครือข่าย 30 องค์กรประชาธิปไตย จัดสัมมนาเรื่อง ‘
สร้างสรรค์รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน’
นาย
บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ประธาน ครป.กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 90 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยและการเมืองไทยผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร ผ่านการรัฐประหารมา 12 ครั้ง มีการรัฐประหารที่ไม่ประสบผลสำเร็จ 13 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าในระยะเวลาเฉลี่ย 3 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสถานะทางสังคมการเมืองไทยมีความไม่แน่นอน และขณะเดียวกันก็ยังอยู่ภายใต้การครอบงำของระบอบอำนาจนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนยังไม่มีความเข้มแข็งพอในการที่จะต่อต้านกับระบอบการปกครองที่เลวร้าย และบรรยากาศในการประชุมวันนี้เราคงจะได้มารับทราบว่าการปฏิรูปประเทศ การวางยุทธศาสตร์ชาตินั้นมีปัญหาอะไร และทำไมเราจึงต้องมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในฐานะที่เป็นองค์กรภาคประชาชนที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการและกำหนดแนวทิศทางการบริหารประเทศในอนาคต (อ่านข่าว
ประธาน ครป. ชี้ องค์กรอิสระอ่อนเปลี้ย ปฏิรูปล้มเหลวทุกมิติ ยก 10 เหตุผลต้องมีรธน.ฉบับประชาชน)
ด้าน นาย
โภคิน พลกุล ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) กล่าวว่า การเกิดรัฐประหารในประเทศไทยเกิดวนเวียนมาหลายครั้ง คำถามคือทำไมเราจึงก้าวข้ามสิ่งนี้ไปไม่ได้ อะไรเป็นสาเหตุใหญ่ที่วงจรนี้วนเวียนอยู่อย่างนี้ ตนตอบได้แค่อย่างแรกคือ เพราะเรายังติดยึดกับวัฒธรรมและความคิดแบบอำนาจนิยม
“
แม้แต่ตัวเราทุกคนก็มีลักษณะนี้อยู่ไม่น้อย ระบบโซตัสก็เป็นอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง การหาพวกหากลุ่ม หาระบบอุปถัมภ์เพื่อที่ตัวเองจะได้มีความสำคัญ เด็กอนุบาลจะเข้าเรียนยังต้องมีการฝากเข้า มีการวิ่งเต้น เข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็ยังต้องมีการติว แต่จริงๆ แล้วตัวเราคือตัวที่กำหนดชะตาทั้งเราเองและพี่น้อง” นายโภคินกล่าว
ดร.
พิชชา ใจสมคม อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงที่มาของงานวิจัยที่ศึกษาว่าในการปรับปรุงโครงสร้างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ในการปฏิรูปประเทศควรจะมีหลักการที่สำคัญอะไรบ้าง ทางทีมวิจัยจึงได้ศึกษาและตั้งโจทย์ว่าควรมีหลักการที่สำคัญและสามารถวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยได้ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เรื่องของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมได้ โดยลำดับแรกเป็นเรื่องของการจำกัดการใช้อำนาจของรัฐและเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล และที่สำคัญคือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า การมองปัญหาของรัฐธรรมนูญต้องมองที่รากฐานของโครงสร้างสังคมไทย ซึ่งในรัฐธรรมนูญนั้นพยายามพูดถึงสิ่งที่ดูดี อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พูดถึงการแบ่งแยกอำนาจ แต่โดยข้อเท็จจริงนั้นไม่ใช่
“
โครงสร้างของคนไทยเป็นโครงสร้างของชนชั้นนำที่ส่งเสริมให้ชนชั้นนำนั้นมีอำนาจในการปกครองประเทศ คนเหล่านี้เดิมทีอาจจะมาจากอะไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อขึ้นสู่อำนาจเขากลายเป็นชนชั้นนำเต็มตัวและตัดสินตามประโยชน์ของชนชั้นนำในสังคม ต่อมาคืออำนาจในส่วนบริหารซึ่งอาจจะมาจากนิติบัญญัติ นั่นคือโอกาสที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการเลือกส.ส.เข้าไปทำหน้าที่ แต่อำนาจในส่วนนี้ของประชาชนยังถูกชนชั้นนำครอบงำอยู่ หมายความว่ากลุ่มชนชั้นนำก็จะมีพรรคการเมือง มีตัวแทนของเขาเข้ามาต่อสู้และช่วงชิงอำนาจ ในส่วนของนิติบัญญัติถ้าหากคุณเป็นฝ่ายของประชาชนและขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหารคุณก็อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายประชาชนที่ถูกเลือกโดยประชาชนแต่กลับทรยศประชาชน ไปอยู่กับชนชั้นนำก็จบกัน นี่คือโครงสร้างของสังคมที่เราคิดว่าเป็นปัญหาที่เราต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข” นาย
สมชัยกล่าว
‘จาตุรนต์’ หวั่น รัฐทุ่มอีอีซีสูญเปล่า ชี้ปีนี้พบต่างชาติลงทุนแค่ 4 หมื่นล. รั้งท้ายที่ 3 ต่ำสุดของอาเซียน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3731710
“จาตุรนต์” หวั่น รัฐทุ่มอีอีซีสูญเปล่า ชี้ปีนี้พบต่างชาติลงทุนแค่ 4 หมื่นล. รั้งท้ายที่ 3 ต่ำสุดของอาเซียน
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
“เช้าวันนี้ อ.ปริญญา ชวนผมไปร่วมพูดคุยในประเด็น “EEC กับลุ่มแม่น้ำบางปะกง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่จัดคู่กับกิจกรรมพายเรือเก็บขยะ #พายเรือเพื่อบางปะกง 240 กิโลเมตร โดยได้ร่วมพูดคุณพิธา และคุณประโยชน์ครับ
แม่น้ำบางปะกงกับผมมีความทรงจำร่วมกันมาตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ ผมลงเล่นว่ายน้ำในแม่น้ำบางปะกงกับน้องกับเพื่อน ๆ พอเวลาหน้าฝนน้ำหลากลงมา จะเห็นพวกท่อนไม้ที่มาจากพื้นที่ป่าไหลลงมาด้วย แต่หลัง ๆ นี้ไม่เห็นแล้ว
พอมาเป็น ส.ส. ก็จะเห็นปัญหาเรื่องขยะ ที่พบว่าพื้นที่หลายตำบลในบางปะกงไม่มีระบบจัดเก็บขยะ ที่พอทำได้ก็มีที่เทศบาลเมืองที่เปลี่ยนจากเดิมแบบฝังกลบมาเป็นการแยกขยะ ส่วนพื้นที่อื่นเมื่อไม่มีพื้นที่กำจัดขยะก็เลยนำขยะไปกองไว้ยังที่ใกล้ที่สุดก็คือคลอง ท้ายที่สุดขยะเหล่านี้ไหลลงแม่น้ำไป
สิ่งสำคัญอีกด้านของแม่น้ำบางปะกงครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ไปถึงสระแก้ว นครนายก และจันทบุรี ซึ่งคือพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เมื่อผมพยายามคำนวนกดเครื่องคิดเลขมาหลายรอบแล้ว พบว่าปี 2564 มีการทำลายป่าในประเทศไทยเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและการเกษตรประมาณ 6 แสนกว่าไร่ภายในปีเดียว จำนวนมหาศาลนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง ซึ่งการเกษตรที่ว่าก็เพื่อนำเอามาผลิตเป็นอาหารสัตว์ของทุนขนาดใหญ่
ผลที่ตามมาคือสารพิษปนเปื้อนในดินไหลลงในแม่น้ำ สภาพอย่างนี้ไม่ได้รับการดูแลทั่วประเทศ ต่อไปพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออาจมีเฉพาะเขาใหญ่ หรือในรอยต่อ 5 จังหวัดก็คงเหลือเป็นหย่อมเล็กๆเท่านั้น พอดูการแก้ปัญหาป่าของประเทศไทยก็ทำไม่ถูกจุดเพราะไม่ได้ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม แม้รัฐพยายามจะขายเรื่อง BCG แต่ก็พบว่าไม่ได้ดูแลทั้งเรื่องป่า หรือความหลากหลายทางชีวภาพเลย ที่บางปะกงจะเห็นว่าสัตว์น้ำบางชนิดสูญหายไปเยอะ หรือในป่ารอยต่อ ก็ไม่พบเสือหรือกวางแล้ว
ยิ่งลงไปในทะเล ที่ขณะนี้ขยะพลาสติกทั่วโลกสูงถึง 14 ล้านตันต่อปี ซึ่งประเทศไทยกลับเป็นประเทศติดอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีปริมาณขยะทะเลสูง
มาที่ประเด็น EEC ถ้าพูดในฐานะนักการเมืองจากพรรคการเมือง ถ้าเราเป็นรัฐบาลแล้วไปล้มเลิกโครงการที่มีการตกลงกับต่างประเทศไว้เยอะแล้วมันไม่สามารถทำได้ แต่ต้องพูดตรงๆว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะมีการลงทุนขนาดใหญ่มากแต่ส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและด้านโลจิสติกส์ เช่น รถไฟเชื่อม 3 สนามบินที่ไม่รู้จะมีใครใช้หรือไม่
ส่วนการลงทุนทางอุตสาหกรรม เกษตรแบบใหม่ นวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง กลับเป็นเรื่องของทุนขนาดใหญ่ และยังไม่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่นับรวมการลงทุนนี้ยังถูกตั้งคำถามว่าจะสร้างงาน หรือเกิดแรงงานคุณภาพได้อย่างไร
1.9 ล้านล้านที่อนุมัติไป ถ้าดูจริงๆการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยต่ำเป็นอันดับ 3 จากท้ายในอาเซียน เวียดนามสูงกว่าเราถึง 3.6 เท่า สิงคโปร์เป็นอันดับ 1 ที่สูงกว่าถึง 8 เท่า หรือดูจากที่ครึ่งปีมานี้ EEC ดึงดูดนักลงทุนได้แค่ 4 หมื่นล้าน
แม้สิ่งที่ไทยควรทำคือการร่วมมือกับ EU แต่ก็พบว่าเป็นประเทศที่ตกขบวนทำ FDA กับ EU ไปแล้ว เพราะฉะนั้น EEC ที่วางแผนไว้จึงไม่มีทีท่าจะเป็นจริงและเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล
EU ประกาศออกมาว่า จะไม่รับสินค้าเกษตรที่เกิดจากการทำลายป่า หลักเกณฑ์อันนี้จะทำให้สินค้าเกษตรของไทยหลายชนิดประสบปัญหาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นถ้าเราทำลายป่าไม่หยุด เกษตรกรรวมถึงเกษตรกรในฉะเชิงเทราก็จะได้รับผลกระทบแน่นอน
เรื่องป่า เรื่องโลกร้อน ไม่ใช่เรื่องไกลตัว อย่างน้อย EEC ทำให้เราเห็นว่าการวางมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรม ต้องมีการปรับเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับธรรมชาติครับ”
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid0JXpCDBfRnFHrCjSuWksw5e3wqQm4iKXmgDFfGvF55uEyXGX2ocgWe1xohnvdg6Jql
‘วิสาร’ แนะ ไทยเปิดศูนย์ป้องกันพิบัติ ยึดมาตรฐานญี่ปุ่น ให้ความรู้ประชาชน พร้อมเผชิญเหตุ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3731768
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่เมืองเปปปุ ประเทศญี่ปุ่น นาย
วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย เขต 3 พรรคเพื่อไทย(พท.) ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยฯ ได้เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ
ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติเมืองฟุกุโอกะ หรือ Fukuoka City Disaster Prevention Center ที่เมือง Sawara-ku, Fukuoka ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นศูนย์ความรู้ แนะนำเทคนิดรวมถึงเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติ ของเมืองฟุกุโอกะ
นาย
วิสาร กล่าวว่า เมืองฟุกุโอกะ (Fukuoka) มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เป็นจังหวัดหลักของเกาะคิวชู (Kyushu) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เกาะ เป็นเกาะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น เป็นพื้นที่ที่ยังมีภูเขาไฟในพิภพ ต้องยอมรับว่าการมาดูงานของกรรมาธิการที่ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติเมืองฟุกุโอกะ ได้รับความรู้ที่เมืองไทยควรนำไปพัฒนาถึงการเฝ้าระวังภัยทางธรรมชาติ ในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว มีการจำลองเหตุการณ์ เหมือนสถานการณ์จริงด้วยภาพ 3 มิติและให้ประชาชนทดลองบนที่นั่งเสมือนจริง 360 องศา มีการให้ความรู้กับประชาชนโดยเฉพาะเด็กนักเรียน เมื่อได้มารับความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง
นาย
วิสาร กล่าวต่อว่า การจำลองเหตุการณ์ ไฟไหม้ มีขั้นตอนการฝึกใช้เครื่องดับเพลิง การตะโกนให้ประชาชนรอบข้างเข้ามาช่วยเหลือ และแนะนำการหนีภัยจากเหตุไฟไหม้ หากไม่สามารถดับไฟได้ การจำลองเหตุการณ์น้ำท่วม การใช้รถใช้ถนนเมื่อน้ำท่วมข้อระวังในการหลบหนีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์น้ำท่วมรวมถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ให้รู้หลบภัยที่ปลอดภัยและทดลองกับแผ่นดินไหวจริงขนาด 7 ริกเตอร์ มองว่า เมืองไทยของควรมีศูนย์ฝึกอบรม หรือจัดการอบรมในพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ก็จะได้ประโยชน์ต่อชีวิตและทรัพย์สิน หากเกิดภัยธรรมชาติ
JJNY : 5in1 ก้าวไม่ข้ามอำนาจนิยม│‘จาตุรนต์’หวั่นอีอีซีสูญ│แนะเปิดศูนย์ป้องกันพิบัติ│สมคิดแซะหนู│เวิลด์แบงก์หนุนขึ้นภาษ๊
https://www.matichon.co.th/politics/news_3731593
นักการเมือง-นักวิชาการ ชี้ ชนชั้นนำ รากฐานปัญหาของรัฐธรรมนูญ เผยเหตุของวงจรรัฐประหาร คือไม่ก้าวข้ามอำนาจนิยม
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่โรงแรมนูโว เขตพระนคร กรุงเทพฯ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ร่วมกับเครือข่าย 30 องค์กรประชาธิปไตย จัดสัมมนาเรื่อง ‘สร้างสรรค์รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน’
นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ประธาน ครป.กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 90 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยและการเมืองไทยผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร ผ่านการรัฐประหารมา 12 ครั้ง มีการรัฐประหารที่ไม่ประสบผลสำเร็จ 13 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าในระยะเวลาเฉลี่ย 3 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสถานะทางสังคมการเมืองไทยมีความไม่แน่นอน และขณะเดียวกันก็ยังอยู่ภายใต้การครอบงำของระบอบอำนาจนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนยังไม่มีความเข้มแข็งพอในการที่จะต่อต้านกับระบอบการปกครองที่เลวร้าย และบรรยากาศในการประชุมวันนี้เราคงจะได้มารับทราบว่าการปฏิรูปประเทศ การวางยุทธศาสตร์ชาตินั้นมีปัญหาอะไร และทำไมเราจึงต้องมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในฐานะที่เป็นองค์กรภาคประชาชนที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการและกำหนดแนวทิศทางการบริหารประเทศในอนาคต (อ่านข่าว ประธาน ครป. ชี้ องค์กรอิสระอ่อนเปลี้ย ปฏิรูปล้มเหลวทุกมิติ ยก 10 เหตุผลต้องมีรธน.ฉบับประชาชน)
ด้าน นายโภคิน พลกุล ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) กล่าวว่า การเกิดรัฐประหารในประเทศไทยเกิดวนเวียนมาหลายครั้ง คำถามคือทำไมเราจึงก้าวข้ามสิ่งนี้ไปไม่ได้ อะไรเป็นสาเหตุใหญ่ที่วงจรนี้วนเวียนอยู่อย่างนี้ ตนตอบได้แค่อย่างแรกคือ เพราะเรายังติดยึดกับวัฒธรรมและความคิดแบบอำนาจนิยม
“แม้แต่ตัวเราทุกคนก็มีลักษณะนี้อยู่ไม่น้อย ระบบโซตัสก็เป็นอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง การหาพวกหากลุ่ม หาระบบอุปถัมภ์เพื่อที่ตัวเองจะได้มีความสำคัญ เด็กอนุบาลจะเข้าเรียนยังต้องมีการฝากเข้า มีการวิ่งเต้น เข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็ยังต้องมีการติว แต่จริงๆ แล้วตัวเราคือตัวที่กำหนดชะตาทั้งเราเองและพี่น้อง” นายโภคินกล่าว
ดร.พิชชา ใจสมคม อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงที่มาของงานวิจัยที่ศึกษาว่าในการปรับปรุงโครงสร้างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ในการปฏิรูปประเทศควรจะมีหลักการที่สำคัญอะไรบ้าง ทางทีมวิจัยจึงได้ศึกษาและตั้งโจทย์ว่าควรมีหลักการที่สำคัญและสามารถวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยได้ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เรื่องของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมได้ โดยลำดับแรกเป็นเรื่องของการจำกัดการใช้อำนาจของรัฐและเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล และที่สำคัญคือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า การมองปัญหาของรัฐธรรมนูญต้องมองที่รากฐานของโครงสร้างสังคมไทย ซึ่งในรัฐธรรมนูญนั้นพยายามพูดถึงสิ่งที่ดูดี อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พูดถึงการแบ่งแยกอำนาจ แต่โดยข้อเท็จจริงนั้นไม่ใช่
“โครงสร้างของคนไทยเป็นโครงสร้างของชนชั้นนำที่ส่งเสริมให้ชนชั้นนำนั้นมีอำนาจในการปกครองประเทศ คนเหล่านี้เดิมทีอาจจะมาจากอะไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อขึ้นสู่อำนาจเขากลายเป็นชนชั้นนำเต็มตัวและตัดสินตามประโยชน์ของชนชั้นนำในสังคม ต่อมาคืออำนาจในส่วนบริหารซึ่งอาจจะมาจากนิติบัญญัติ นั่นคือโอกาสที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการเลือกส.ส.เข้าไปทำหน้าที่ แต่อำนาจในส่วนนี้ของประชาชนยังถูกชนชั้นนำครอบงำอยู่ หมายความว่ากลุ่มชนชั้นนำก็จะมีพรรคการเมือง มีตัวแทนของเขาเข้ามาต่อสู้และช่วงชิงอำนาจ ในส่วนของนิติบัญญัติถ้าหากคุณเป็นฝ่ายของประชาชนและขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหารคุณก็อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายประชาชนที่ถูกเลือกโดยประชาชนแต่กลับทรยศประชาชน ไปอยู่กับชนชั้นนำก็จบกัน นี่คือโครงสร้างของสังคมที่เราคิดว่าเป็นปัญหาที่เราต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข” นายสมชัยกล่าว
‘จาตุรนต์’ หวั่น รัฐทุ่มอีอีซีสูญเปล่า ชี้ปีนี้พบต่างชาติลงทุนแค่ 4 หมื่นล. รั้งท้ายที่ 3 ต่ำสุดของอาเซียน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3731710
“จาตุรนต์” หวั่น รัฐทุ่มอีอีซีสูญเปล่า ชี้ปีนี้พบต่างชาติลงทุนแค่ 4 หมื่นล. รั้งท้ายที่ 3 ต่ำสุดของอาเซียน
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
“เช้าวันนี้ อ.ปริญญา ชวนผมไปร่วมพูดคุยในประเด็น “EEC กับลุ่มแม่น้ำบางปะกง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่จัดคู่กับกิจกรรมพายเรือเก็บขยะ #พายเรือเพื่อบางปะกง 240 กิโลเมตร โดยได้ร่วมพูดคุณพิธา และคุณประโยชน์ครับ
แม่น้ำบางปะกงกับผมมีความทรงจำร่วมกันมาตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ ผมลงเล่นว่ายน้ำในแม่น้ำบางปะกงกับน้องกับเพื่อน ๆ พอเวลาหน้าฝนน้ำหลากลงมา จะเห็นพวกท่อนไม้ที่มาจากพื้นที่ป่าไหลลงมาด้วย แต่หลัง ๆ นี้ไม่เห็นแล้ว
พอมาเป็น ส.ส. ก็จะเห็นปัญหาเรื่องขยะ ที่พบว่าพื้นที่หลายตำบลในบางปะกงไม่มีระบบจัดเก็บขยะ ที่พอทำได้ก็มีที่เทศบาลเมืองที่เปลี่ยนจากเดิมแบบฝังกลบมาเป็นการแยกขยะ ส่วนพื้นที่อื่นเมื่อไม่มีพื้นที่กำจัดขยะก็เลยนำขยะไปกองไว้ยังที่ใกล้ที่สุดก็คือคลอง ท้ายที่สุดขยะเหล่านี้ไหลลงแม่น้ำไป
สิ่งสำคัญอีกด้านของแม่น้ำบางปะกงครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ไปถึงสระแก้ว นครนายก และจันทบุรี ซึ่งคือพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เมื่อผมพยายามคำนวนกดเครื่องคิดเลขมาหลายรอบแล้ว พบว่าปี 2564 มีการทำลายป่าในประเทศไทยเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและการเกษตรประมาณ 6 แสนกว่าไร่ภายในปีเดียว จำนวนมหาศาลนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง ซึ่งการเกษตรที่ว่าก็เพื่อนำเอามาผลิตเป็นอาหารสัตว์ของทุนขนาดใหญ่
ผลที่ตามมาคือสารพิษปนเปื้อนในดินไหลลงในแม่น้ำ สภาพอย่างนี้ไม่ได้รับการดูแลทั่วประเทศ ต่อไปพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออาจมีเฉพาะเขาใหญ่ หรือในรอยต่อ 5 จังหวัดก็คงเหลือเป็นหย่อมเล็กๆเท่านั้น พอดูการแก้ปัญหาป่าของประเทศไทยก็ทำไม่ถูกจุดเพราะไม่ได้ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม แม้รัฐพยายามจะขายเรื่อง BCG แต่ก็พบว่าไม่ได้ดูแลทั้งเรื่องป่า หรือความหลากหลายทางชีวภาพเลย ที่บางปะกงจะเห็นว่าสัตว์น้ำบางชนิดสูญหายไปเยอะ หรือในป่ารอยต่อ ก็ไม่พบเสือหรือกวางแล้ว
ยิ่งลงไปในทะเล ที่ขณะนี้ขยะพลาสติกทั่วโลกสูงถึง 14 ล้านตันต่อปี ซึ่งประเทศไทยกลับเป็นประเทศติดอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีปริมาณขยะทะเลสูง
มาที่ประเด็น EEC ถ้าพูดในฐานะนักการเมืองจากพรรคการเมือง ถ้าเราเป็นรัฐบาลแล้วไปล้มเลิกโครงการที่มีการตกลงกับต่างประเทศไว้เยอะแล้วมันไม่สามารถทำได้ แต่ต้องพูดตรงๆว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะมีการลงทุนขนาดใหญ่มากแต่ส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและด้านโลจิสติกส์ เช่น รถไฟเชื่อม 3 สนามบินที่ไม่รู้จะมีใครใช้หรือไม่
ส่วนการลงทุนทางอุตสาหกรรม เกษตรแบบใหม่ นวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง กลับเป็นเรื่องของทุนขนาดใหญ่ และยังไม่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่นับรวมการลงทุนนี้ยังถูกตั้งคำถามว่าจะสร้างงาน หรือเกิดแรงงานคุณภาพได้อย่างไร
1.9 ล้านล้านที่อนุมัติไป ถ้าดูจริงๆการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยต่ำเป็นอันดับ 3 จากท้ายในอาเซียน เวียดนามสูงกว่าเราถึง 3.6 เท่า สิงคโปร์เป็นอันดับ 1 ที่สูงกว่าถึง 8 เท่า หรือดูจากที่ครึ่งปีมานี้ EEC ดึงดูดนักลงทุนได้แค่ 4 หมื่นล้าน
แม้สิ่งที่ไทยควรทำคือการร่วมมือกับ EU แต่ก็พบว่าเป็นประเทศที่ตกขบวนทำ FDA กับ EU ไปแล้ว เพราะฉะนั้น EEC ที่วางแผนไว้จึงไม่มีทีท่าจะเป็นจริงและเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล
EU ประกาศออกมาว่า จะไม่รับสินค้าเกษตรที่เกิดจากการทำลายป่า หลักเกณฑ์อันนี้จะทำให้สินค้าเกษตรของไทยหลายชนิดประสบปัญหาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นถ้าเราทำลายป่าไม่หยุด เกษตรกรรวมถึงเกษตรกรในฉะเชิงเทราก็จะได้รับผลกระทบแน่นอน
เรื่องป่า เรื่องโลกร้อน ไม่ใช่เรื่องไกลตัว อย่างน้อย EEC ทำให้เราเห็นว่าการวางมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรม ต้องมีการปรับเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับธรรมชาติครับ”
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid0JXpCDBfRnFHrCjSuWksw5e3wqQm4iKXmgDFfGvF55uEyXGX2ocgWe1xohnvdg6Jql
‘วิสาร’ แนะ ไทยเปิดศูนย์ป้องกันพิบัติ ยึดมาตรฐานญี่ปุ่น ให้ความรู้ประชาชน พร้อมเผชิญเหตุ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3731768
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่เมืองเปปปุ ประเทศญี่ปุ่น นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย เขต 3 พรรคเพื่อไทย(พท.) ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยฯ ได้เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติเมืองฟุกุโอกะ หรือ Fukuoka City Disaster Prevention Center ที่เมือง Sawara-ku, Fukuoka ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นศูนย์ความรู้ แนะนำเทคนิดรวมถึงเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติ ของเมืองฟุกุโอกะ
นายวิสาร กล่าวว่า เมืองฟุกุโอกะ (Fukuoka) มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เป็นจังหวัดหลักของเกาะคิวชู (Kyushu) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เกาะ เป็นเกาะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น เป็นพื้นที่ที่ยังมีภูเขาไฟในพิภพ ต้องยอมรับว่าการมาดูงานของกรรมาธิการที่ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติเมืองฟุกุโอกะ ได้รับความรู้ที่เมืองไทยควรนำไปพัฒนาถึงการเฝ้าระวังภัยทางธรรมชาติ ในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว มีการจำลองเหตุการณ์ เหมือนสถานการณ์จริงด้วยภาพ 3 มิติและให้ประชาชนทดลองบนที่นั่งเสมือนจริง 360 องศา มีการให้ความรู้กับประชาชนโดยเฉพาะเด็กนักเรียน เมื่อได้มารับความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง
นายวิสาร กล่าวต่อว่า การจำลองเหตุการณ์ ไฟไหม้ มีขั้นตอนการฝึกใช้เครื่องดับเพลิง การตะโกนให้ประชาชนรอบข้างเข้ามาช่วยเหลือ และแนะนำการหนีภัยจากเหตุไฟไหม้ หากไม่สามารถดับไฟได้ การจำลองเหตุการณ์น้ำท่วม การใช้รถใช้ถนนเมื่อน้ำท่วมข้อระวังในการหลบหนีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์น้ำท่วมรวมถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ให้รู้หลบภัยที่ปลอดภัยและทดลองกับแผ่นดินไหวจริงขนาด 7 ริกเตอร์ มองว่า เมืองไทยของควรมีศูนย์ฝึกอบรม หรือจัดการอบรมในพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ก็จะได้ประโยชน์ต่อชีวิตและทรัพย์สิน หากเกิดภัยธรรมชาติ