มธ.จัดงาน "แปดที่ปวด" ขับไล่ระบอบประยุทธ์ เลิกอำนาจสว. เลือกนายก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7233790
ธรรมศาสตร์จัดงาน “แปดที่ปวด” ขับไล่ระบอบประยุทธ์ ออกแถลงการณ์ 3 ข้อ เลิกอำนาจสว. เลือกนายกรัฐมนตรี ย้ำยุบสภาทันทีที่กฎหมายลูกเสร็จ
วันที่ 26 ส.ค.2565 ที่ลาน Common คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี มีการจัดกิจกรรม “
แปดที่ปวด” หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที เพื่อรอวินิจฉัยปม 8 ปี โดยมี
รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้เข้าร่วมรับฟังการปราศรัย
ทั้งมีการสลับกันขึ้นปราศรัยของนักศึกษา กล่าวถึงการบริการประเทศของพล.อ.
ประยุทธ์ และองคาพยพที่บริหารประเทศมาถึง 8 ปี ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านเศรษฐิจและสังคม ซึ่งทำให้ประเทศตกต่ำอยู่ทุกวันนี้ รวมถึงการใช้งบประมาณกระทรวงกลาโหม ที่ใช้งบประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท
ถือเป็นกระทรวงที่ได้งบประมาณมากว่ากระทรวงที่ใช้ผลิตนักเรียนนักศึกษาให้มีคุณภาพ แต่ใช้งบประมาณไปซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ปัจจุบัน ก็ไม่มีการสู้รบกันแล้ว เป็นการใช้งบประมาณของประเทศที่สิ้นเปลือง แทนที่จะนำไปพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ
โดยปัญหาที่เกิดจากการรัฐประหารมีอยู่ 2 ข้อ
1. สืบทอดอำนาจ
และ 2. หลังจากการเลือกตั้งที่มีกลไกที่ทางคณะที่ยึดอำนาจ หรือนโยบายที่เขาวางไว้ ไม่ว่าจะเป็นระบบข้าราชการ หรือการวางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงเป็นปัญหาการเมืองไทย มาอย่างยาวนาน มันจึงเกิดปัญหาซ้ำซากมาถึงทุกวันนี้
ทั้งนี้ภายในงานได้จัดกิจกรรมภายอาทิ ตั้งรูปเพื่อไว้อาลัยสำหรับในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.
ประยุทธ์ ที่มีพื้นสีดำ และมีธูปเทียนตั้งอยู่ จัดป้ายผ้าแสดงความคิดเห็น และโพลสำรวจความคิดเห็น ของผู้ร่วมงาน
เบื้องต้นภายในงานมีการอ่านแถลงการณ์ขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งวินิจฉัยให้พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชาพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ยกเลิกการให้อํานาจวุฒสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี ก่อนมีการยุบสภา และให้มีการ ยุบสภาทันทีหลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ
ทางคณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเล็งเห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดสภาวะสูญญากาศทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ จึงมีข้อ เรียกร้อง 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งวินิจฉัยให้พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที
2. แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา27 ข้อ2ยกเลิกการให้อํานาจวุฒสิภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีก่อนมีการยุบสภา
3. ให้มีการยุบสภาทันทีหลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ
สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคําร้องของพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยใช้และ ตีความกฎหมายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญด้วยความเที่ยงธรรมอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากอคติส่วนตน ดังที่ผู้ทรงคุณวุฒิและวิญญูชนพึงกระทํา
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะเล็งเห็นถึงปัญหาที่ตนเองได้ก่อ อย่างการบริหาร ราชการผิดพลาดจนก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและบริหารราชการผิดพลาดในการรับมือต่อสถานการณ์การ ระบาดของโรคโควิด-19 จนก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ประชาชน
การใช้จ่ายงบประมาณอย่างสิ้นเปลือง จัดสรร งบประมาณโดยไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ก่อหนี้สาธารณะให้กับประเทศเป็นจํานวนมาก สร้างเครือข่าย องคาพยพต่าง ๆ เพื่อสืบทอดอํานาจ รวมถึงการใช้อํานาจโดยมิชอบคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เห็นต่าง ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการนักศึกษาคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งรัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการประกาศยุบสภา เพื่อ คืนอํานาจให้แก่ประชาชน
อํานาจไม่ใช่สิ่งยืนยาว หรือทรัพย์สินที่ใครจะครอบครองได้ตลอดไป 8 ปีแห่งความสิ้นหวัง 8 ปีแห่งความ ท้อแท้ ควรจบสิ้นลงเสียที อย่ารอให้ถึงวันที่ประชาชนจะพิพากษาพวกท่านด้วยตนเอง
แนวโน้มคนไทยหมดไฟในการทำงาน รัฐวิสาหกิจ-เอกชนสูงสุด เกิน 70%
https://www.prachachat.net/csr-hr/news-1029278
สภาพัฒน์ พบแนวโน้มคนไทยหมดไฟในการทำงาน กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนสูงสุด เกิน 70%
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2565 เกี่ยวสถานการณ์ด้านแรงงาน พบว่า ระยะถัดไปมีแนวโน้มพบปัญหาคนไทยกำลังหมดไฟในการทำงาน
แนวโน้มดังกล่าวเป็นไปตามสถานการณ์แรงงานทั่วโลกจำนวนมากเริ่มมีภาวะหมดไฟในการทำงาน และลาออกจากงานมากขึ้น
สาเหตุหลักของภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้แก่ ภาระงานหนัก เครื่องมือการสนับสนุนในการทำงานที่ไม่เหมาะสม หัวหน้างานที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่รับฟังความคิดเห็น และโครงสร้างองค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่น
ผลสำรวจของ The Adecco Group ตามรายงานเรื่อง Resetting Normal : Defining the New Era of Work 2021 พบว่า พนักงานทั่วโลกมากกว่า 4 ใน 10 มีภาวะหมดไฟ สอดคล้องกับการสำรวจของวิทยาลัยการจัดการ
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของ เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) ที่สำรวจ SMEs จำนวน 1,363 แห่ง จาก 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น ในจำนวนนี้มีธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย จำนวน 207 แห่ง ระหว่างปี 2564-2565 พบว่า พนักงานเอสเอ็มอีไทยกว่า 47% ลาออกมากขึ้นเมื่อเทียบกับ 12 เดือนที่แล้ว ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณของปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่
ด้านผลศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2562 สำรวจวัยแรงงานในกรุงเทพฯ จำนวน 1,280 คน พบว่า 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน และ 57% มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ
กลุ่มอาชีพที่มีภาวะหมดไฟมากที่สุด ได้แก่ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 77% บริษัทเอกชน 73% ข้าราชการ 58%ธุรกิจส่วนตัว 48%
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา นายจ้าง องค์กรต่าง ๆ อาจต้องกระตุ้นให้มีโครงการที่สร้างสรรค์ และออกแบบให้คนในองค์กรมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ต้องเร่งสร้างระบบนิเวศในการทำงานใหม่ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแรงงานต่อไป
‘ชลน่าน’ เชื่อ ‘บิ๊กป้อม’ ไม่ชิงยุบสภา ด้วยเหตุหลายประการ ซ้ำไม่เป็นผลดีกับรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_3528364
‘ชลน่าน’ เชื่อ ‘บิ๊กป้อม’ ไม่ยุบสภา เหตุ กม.ไม่ระบุชัด-ไม่มีเหตุให้ยุบ-กม.ลูกเลือกตั้งยังไม่เสร็จ ชี้หากประกาศยุบไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลและประเทศ นำไปสู่ความขัดแย้ง
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 สิงหาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรค พท. กล่าวถึงท่าทีของ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี หลังศาลมีคำสั่งให้ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หยุดปฏิบัติหน้าที่ และ พล.อ.ประวิตรอาจจะกำชับอำนาจเพื่อเตรียมการเลือกตั้งมองอย่างไรว่า มีหลายมุมมอง แต่ฝ่ายค้านพยายามมองในมุมมองที่เป็นไปได้กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พล.อ.
ประยุทธ์ถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.
ประวิตรขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทน ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าหากนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไป คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะต้องรักษาการบริหารราชการแผ่นดินอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ไปจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อ
นพ.
ชลน่านกล่าวว่า ตัวของนายกฯ สามารถรักษาการต่อได้ ยกเว้นในกรณีที่ ครม.พ้นจากตำแหน่งไปและไม่สามารถรักษาการได้ เพราะมีความผิดทั้งคณะ เช่น กระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ในการพิจารณางบประมาณแล้วถูกฟ้อง และศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วว่าผิดจริง หรือจะเป็นในกรณีที่มีความผิดเฉพาะตัว เช่น นายกรัฐมนตรีอาจจะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 98 อีกกรณีคือมีบทพิสูจน์ว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตไม่เป็นที่ประจักษ์คือ การถูกฟ้องว่ามีผลประโยชน์แอบแฝง เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนต่างๆ และการฝ่าฝืนจริยธรรม รวมถึงข้อห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี
เมื่อถามว่า มีความเป็นห่วงในช่วงที่นายกรัฐมนตรีรักษาการอาจสามารถยุบสภาได้หรือไม่ นพ.
ชลน่านกล่าวว่า มีข้อถกเถียงอยู่ว่ามีอำนาจถึงขนาดนั้นหรือไม่ หาก พล.อ.
ประวิตรรักษาการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีจะเป็นในส่วนที่มีนายกรัฐมนตรีอยู่ แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีคำสั่งเขียนไว้ เช่น เรื่องงบประมาณและเรื่องแต่งตั้งโยกย้ายไม่สามารถทำได้ แต่ก็มีหลายคนที่เถียงว่าทำได้ ซึ่งหากเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการตามที่กล่าวไปข้างต้น เขาสามารถทำได้ทุกเรื่อง
นพ.
ชลน่านกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ตัวนายกรัฐมนตรียังอยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราว ฉะนั้น ถ้าจะมาอาศัยช่วงจังหวะนี้ยุบสภาก็ยังเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมายกันอยู่ หากยุบสภามีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่ เชื่อว่า พล.อ.
ประวิตรไม่ทำด้วย
1. ข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน
2. ไม่มีเหตุแห่งการที่จะให้ยุบสภา
และ 3. กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้งยังไม่ประกาศใช้
หาก พล.อ.
ประวิตรประกาศยุบสภาไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลและประเทศแน่ มีแต่ความวุ่นวาย ไม่สามารถเลือกตั้งได้ ซึ่งเมื่อไม่สามารถเลือกตั้งได้ก็จะเข้าสู่เรื่องของความขัดแย้ง ฉะนั้น เรื่องของการเตรียมการเลือกตั้งยังเดินหน้าต่อ
เมื่อถามถึงกรณีที่นาย
มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เตรียมหารือให้ฝ่ายค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ ครม.พ้นตำแหน่งทั้งคณะ นพ.
ชลน่านกล่าวว่า เรื่องนี้ฝ่ายค้านได้หารือกันก่อนที่นาย
มงคลกิตติ์จะออกข่าวมา แต่ที่ประชุมได้ตีตกไปเพราะเรื่องนี้อยู่ในศาลแล้วและศาลรับพิจารณาแล้ว ทั้งนี้ สิ่งที่เราเรียกร้องคือการให้ พล.อ.
ประยุทธ์ประกาศว่า ท่านอยู่ในตำแหน่งครบวาระแล้ว ขอออกจากตำแหน่ง ซึ่งก็ไม่ประกาศ และในวันที่ 24 สิงหาคม ศาลก็มีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นการบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ยังอยู่ในตำแหน่ง เมื่ออยู่ในตำแหน่งการที่เราจะไปยื่นให้ศาลวินิจฉัยความชอบด้วยกรณีขาดคุณสมบัติ และให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เรามองว่ายังไม่มีเหตุและหากยื่นไปศาลก็ไม่รับ
ประธาน กกต.ยัน หาก "ยุบสภา" ตอนนี้ พร้อมจัดเลือกตั้ง เริ่มนับ 1 แล้ว
https://www.thairath.co.th/news/politic/2483391
วันที่ 26 ส.ค. 65 เมื่อเวลา 13.45 น. ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 12 จัดงานสัมมนานำเสนอยุทธศาสตร์ "
เรื่องยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการเมือง" มีนาย
อิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา โดยนาย
อิทธิพร ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดการจัดสัมมนา ว่า สำนักงาน กกต.จะมีการถอดบทเรียนการเลือกตั้งทุกครั้ง จุดที่ดีจุดที่เป็นจุดแข็ง จะนำจุดดี ของการเลือกตั้งระดับต่างๆ มาพัฒนาต่อ ส่วนจุดบกพร่องก็จะนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น พร้อมยกตัวอย่างการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ถือว่าเป็นจุดแข็ง เนื่องจากไม่มีเรื่องของปัญหาบัตรเขย่ง เป็นจุดแข็งที่เราจะนำมาเตรียมการเลือกตั้งให้ดีขึ้น
JJNY : 5in1 มธ.จัดงาน"แปดที่ปวด"│แนวโน้มคนไทยหมดไฟ│‘ชลน่าน’เชื่อ‘ป้อม’ไม่ชิงยุบสภา│ปธ.กกต.พร้อมจัดลต.│สหรัฐเอาคืนจีน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7233790
ธรรมศาสตร์จัดงาน “แปดที่ปวด” ขับไล่ระบอบประยุทธ์ ออกแถลงการณ์ 3 ข้อ เลิกอำนาจสว. เลือกนายกรัฐมนตรี ย้ำยุบสภาทันทีที่กฎหมายลูกเสร็จ
วันที่ 26 ส.ค.2565 ที่ลาน Common คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี มีการจัดกิจกรรม “แปดที่ปวด” หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที เพื่อรอวินิจฉัยปม 8 ปี โดยมีรุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้เข้าร่วมรับฟังการปราศรัย
ทั้งมีการสลับกันขึ้นปราศรัยของนักศึกษา กล่าวถึงการบริการประเทศของพล.อ.ประยุทธ์ และองคาพยพที่บริหารประเทศมาถึง 8 ปี ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านเศรษฐิจและสังคม ซึ่งทำให้ประเทศตกต่ำอยู่ทุกวันนี้ รวมถึงการใช้งบประมาณกระทรวงกลาโหม ที่ใช้งบประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท
ถือเป็นกระทรวงที่ได้งบประมาณมากว่ากระทรวงที่ใช้ผลิตนักเรียนนักศึกษาให้มีคุณภาพ แต่ใช้งบประมาณไปซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ปัจจุบัน ก็ไม่มีการสู้รบกันแล้ว เป็นการใช้งบประมาณของประเทศที่สิ้นเปลือง แทนที่จะนำไปพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ
โดยปัญหาที่เกิดจากการรัฐประหารมีอยู่ 2 ข้อ
1. สืบทอดอำนาจ
และ 2. หลังจากการเลือกตั้งที่มีกลไกที่ทางคณะที่ยึดอำนาจ หรือนโยบายที่เขาวางไว้ ไม่ว่าจะเป็นระบบข้าราชการ หรือการวางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงเป็นปัญหาการเมืองไทย มาอย่างยาวนาน มันจึงเกิดปัญหาซ้ำซากมาถึงทุกวันนี้
ทั้งนี้ภายในงานได้จัดกิจกรรมภายอาทิ ตั้งรูปเพื่อไว้อาลัยสำหรับในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่มีพื้นสีดำ และมีธูปเทียนตั้งอยู่ จัดป้ายผ้าแสดงความคิดเห็น และโพลสำรวจความคิดเห็น ของผู้ร่วมงาน
เบื้องต้นภายในงานมีการอ่านแถลงการณ์ขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งวินิจฉัยให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ยกเลิกการให้อํานาจวุฒสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี ก่อนมีการยุบสภา และให้มีการ ยุบสภาทันทีหลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ
ทางคณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเล็งเห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดสภาวะสูญญากาศทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ จึงมีข้อ เรียกร้อง 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งวินิจฉัยให้พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที
2. แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา27 ข้อ2ยกเลิกการให้อํานาจวุฒสิภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีก่อนมีการยุบสภา
3. ให้มีการยุบสภาทันทีหลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ
สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคําร้องของพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยใช้และ ตีความกฎหมายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญด้วยความเที่ยงธรรมอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากอคติส่วนตน ดังที่ผู้ทรงคุณวุฒิและวิญญูชนพึงกระทํา
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะเล็งเห็นถึงปัญหาที่ตนเองได้ก่อ อย่างการบริหาร ราชการผิดพลาดจนก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและบริหารราชการผิดพลาดในการรับมือต่อสถานการณ์การ ระบาดของโรคโควิด-19 จนก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ประชาชน
การใช้จ่ายงบประมาณอย่างสิ้นเปลือง จัดสรร งบประมาณโดยไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ก่อหนี้สาธารณะให้กับประเทศเป็นจํานวนมาก สร้างเครือข่าย องคาพยพต่าง ๆ เพื่อสืบทอดอํานาจ รวมถึงการใช้อํานาจโดยมิชอบคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เห็นต่าง ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการนักศึกษาคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งรัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการประกาศยุบสภา เพื่อ คืนอํานาจให้แก่ประชาชน
อํานาจไม่ใช่สิ่งยืนยาว หรือทรัพย์สินที่ใครจะครอบครองได้ตลอดไป 8 ปีแห่งความสิ้นหวัง 8 ปีแห่งความ ท้อแท้ ควรจบสิ้นลงเสียที อย่ารอให้ถึงวันที่ประชาชนจะพิพากษาพวกท่านด้วยตนเอง
แนวโน้มคนไทยหมดไฟในการทำงาน รัฐวิสาหกิจ-เอกชนสูงสุด เกิน 70%
https://www.prachachat.net/csr-hr/news-1029278
สภาพัฒน์ พบแนวโน้มคนไทยหมดไฟในการทำงาน กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนสูงสุด เกิน 70%
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2565 เกี่ยวสถานการณ์ด้านแรงงาน พบว่า ระยะถัดไปมีแนวโน้มพบปัญหาคนไทยกำลังหมดไฟในการทำงาน
แนวโน้มดังกล่าวเป็นไปตามสถานการณ์แรงงานทั่วโลกจำนวนมากเริ่มมีภาวะหมดไฟในการทำงาน และลาออกจากงานมากขึ้น
สาเหตุหลักของภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้แก่ ภาระงานหนัก เครื่องมือการสนับสนุนในการทำงานที่ไม่เหมาะสม หัวหน้างานที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่รับฟังความคิดเห็น และโครงสร้างองค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่น
ผลสำรวจของ The Adecco Group ตามรายงานเรื่อง Resetting Normal : Defining the New Era of Work 2021 พบว่า พนักงานทั่วโลกมากกว่า 4 ใน 10 มีภาวะหมดไฟ สอดคล้องกับการสำรวจของวิทยาลัยการจัดการ
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของ เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) ที่สำรวจ SMEs จำนวน 1,363 แห่ง จาก 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น ในจำนวนนี้มีธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย จำนวน 207 แห่ง ระหว่างปี 2564-2565 พบว่า พนักงานเอสเอ็มอีไทยกว่า 47% ลาออกมากขึ้นเมื่อเทียบกับ 12 เดือนที่แล้ว ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณของปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่
ด้านผลศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2562 สำรวจวัยแรงงานในกรุงเทพฯ จำนวน 1,280 คน พบว่า 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน และ 57% มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ
กลุ่มอาชีพที่มีภาวะหมดไฟมากที่สุด ได้แก่ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 77% บริษัทเอกชน 73% ข้าราชการ 58%ธุรกิจส่วนตัว 48%
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา นายจ้าง องค์กรต่าง ๆ อาจต้องกระตุ้นให้มีโครงการที่สร้างสรรค์ และออกแบบให้คนในองค์กรมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ต้องเร่งสร้างระบบนิเวศในการทำงานใหม่ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแรงงานต่อไป
‘ชลน่าน’ เชื่อ ‘บิ๊กป้อม’ ไม่ชิงยุบสภา ด้วยเหตุหลายประการ ซ้ำไม่เป็นผลดีกับรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_3528364
‘ชลน่าน’ เชื่อ ‘บิ๊กป้อม’ ไม่ยุบสภา เหตุ กม.ไม่ระบุชัด-ไม่มีเหตุให้ยุบ-กม.ลูกเลือกตั้งยังไม่เสร็จ ชี้หากประกาศยุบไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลและประเทศ นำไปสู่ความขัดแย้ง
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 สิงหาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรค พท. กล่าวถึงท่าทีของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี หลังศาลมีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หยุดปฏิบัติหน้าที่ และ พล.อ.ประวิตรอาจจะกำชับอำนาจเพื่อเตรียมการเลือกตั้งมองอย่างไรว่า มีหลายมุมมอง แต่ฝ่ายค้านพยายามมองในมุมมองที่เป็นไปได้กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พล.อ.ประยุทธ์ถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตรขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทน ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าหากนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไป คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะต้องรักษาการบริหารราชการแผ่นดินอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ไปจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อ
นพ.ชลน่านกล่าวว่า ตัวของนายกฯ สามารถรักษาการต่อได้ ยกเว้นในกรณีที่ ครม.พ้นจากตำแหน่งไปและไม่สามารถรักษาการได้ เพราะมีความผิดทั้งคณะ เช่น กระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ในการพิจารณางบประมาณแล้วถูกฟ้อง และศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วว่าผิดจริง หรือจะเป็นในกรณีที่มีความผิดเฉพาะตัว เช่น นายกรัฐมนตรีอาจจะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 98 อีกกรณีคือมีบทพิสูจน์ว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตไม่เป็นที่ประจักษ์คือ การถูกฟ้องว่ามีผลประโยชน์แอบแฝง เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนต่างๆ และการฝ่าฝืนจริยธรรม รวมถึงข้อห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี
เมื่อถามว่า มีความเป็นห่วงในช่วงที่นายกรัฐมนตรีรักษาการอาจสามารถยุบสภาได้หรือไม่ นพ.ชลน่านกล่าวว่า มีข้อถกเถียงอยู่ว่ามีอำนาจถึงขนาดนั้นหรือไม่ หาก พล.อ.ประวิตรรักษาการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีจะเป็นในส่วนที่มีนายกรัฐมนตรีอยู่ แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีคำสั่งเขียนไว้ เช่น เรื่องงบประมาณและเรื่องแต่งตั้งโยกย้ายไม่สามารถทำได้ แต่ก็มีหลายคนที่เถียงว่าทำได้ ซึ่งหากเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการตามที่กล่าวไปข้างต้น เขาสามารถทำได้ทุกเรื่อง
นพ.ชลน่านกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ตัวนายกรัฐมนตรียังอยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราว ฉะนั้น ถ้าจะมาอาศัยช่วงจังหวะนี้ยุบสภาก็ยังเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมายกันอยู่ หากยุบสภามีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่ เชื่อว่า พล.อ.ประวิตรไม่ทำด้วย
1. ข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน
2. ไม่มีเหตุแห่งการที่จะให้ยุบสภา
และ 3. กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้งยังไม่ประกาศใช้
หาก พล.อ.ประวิตรประกาศยุบสภาไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลและประเทศแน่ มีแต่ความวุ่นวาย ไม่สามารถเลือกตั้งได้ ซึ่งเมื่อไม่สามารถเลือกตั้งได้ก็จะเข้าสู่เรื่องของความขัดแย้ง ฉะนั้น เรื่องของการเตรียมการเลือกตั้งยังเดินหน้าต่อ
เมื่อถามถึงกรณีที่นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เตรียมหารือให้ฝ่ายค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ ครม.พ้นตำแหน่งทั้งคณะ นพ.ชลน่านกล่าวว่า เรื่องนี้ฝ่ายค้านได้หารือกันก่อนที่นายมงคลกิตติ์จะออกข่าวมา แต่ที่ประชุมได้ตีตกไปเพราะเรื่องนี้อยู่ในศาลแล้วและศาลรับพิจารณาแล้ว ทั้งนี้ สิ่งที่เราเรียกร้องคือการให้ พล.อ.ประยุทธ์ประกาศว่า ท่านอยู่ในตำแหน่งครบวาระแล้ว ขอออกจากตำแหน่ง ซึ่งก็ไม่ประกาศ และในวันที่ 24 สิงหาคม ศาลก็มีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นการบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ยังอยู่ในตำแหน่ง เมื่ออยู่ในตำแหน่งการที่เราจะไปยื่นให้ศาลวินิจฉัยความชอบด้วยกรณีขาดคุณสมบัติ และให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เรามองว่ายังไม่มีเหตุและหากยื่นไปศาลก็ไม่รับ
ประธาน กกต.ยัน หาก "ยุบสภา" ตอนนี้ พร้อมจัดเลือกตั้ง เริ่มนับ 1 แล้ว
https://www.thairath.co.th/news/politic/2483391
วันที่ 26 ส.ค. 65 เมื่อเวลา 13.45 น. ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 12 จัดงานสัมมนานำเสนอยุทธศาสตร์ "เรื่องยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการเมือง" มีนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา โดยนายอิทธิพร ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดการจัดสัมมนา ว่า สำนักงาน กกต.จะมีการถอดบทเรียนการเลือกตั้งทุกครั้ง จุดที่ดีจุดที่เป็นจุดแข็ง จะนำจุดดี ของการเลือกตั้งระดับต่างๆ มาพัฒนาต่อ ส่วนจุดบกพร่องก็จะนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น พร้อมยกตัวอย่างการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ถือว่าเป็นจุดแข็ง เนื่องจากไม่มีเรื่องของปัญหาบัตรเขย่ง เป็นจุดแข็งที่เราจะนำมาเตรียมการเลือกตั้งให้ดีขึ้น