‘พิชัย’ ยก 8 เหตุผลแนะเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนกัมพูชา เหน็บรบ.ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศบ้าง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3674300
‘พิชัย’ ยก 8 เหตุผลแนะเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนกัมพูชา เหน็บรบ.ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศบ้าง
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ, นาย
จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.), นาย
ศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย และน.ส.
จุฑาพร เกตุราทร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขตบางรัก โฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรค พท. ร่วมแถลงข่าว “รวมไทยซ่อมชาติ”
โดยนาย
พิชัย กล่าวว่า ชื่อการแถลงข่าววันนี้ชื่อรวมไทยซ่อมชาติ ไม่ใช่สร้างชาติ ตั้งใจให้เห็นว่าประเทศเรามีอะไรให้ซ่อมอีกเยอะมาก จะมาสร้างอะไรเต็มไปหมด วันนี้มีแต่พรรคที่จะสร้างอย่างเดียว นอกจากประชาชนจะหายแล้ว ยังมีค่าไฟฟ้าที่น่าเป็นห่วงเพราะจะมีการปรับขึ้นอีกซึ่งอาจจะขึ้นถึง 6 บาท ประชาชนจะแบกรับไหวหรือ ซึ่งอยากจะเรียนไปถึงรัฐบาลว่าหากมีต้นทุนสูงเช่นนี้ แต่รายได้ไม่มีและต้องแบกรับมากเช่นนี้ จะไม่ไหว ทั้งนี้ ตนขอให้เหตุผล 8 ข้อว่าทำไมไทยจึงควรเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา
1. บริเวณพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ทั้งแก๊สและน้ำมันจำนวนมาก
2. แหล่งพลังงานปัจจุบันทั้งจากอ่าวไทยและที่ส่งมาจากเมียนมานั้นมีปริมาณลดลง และมีเรื่องของการสัมปทานที่ส่งมอบกันไม่ได้ รวมถึงการส่งท่อแก๊สจากเมียนมานั้นมีปัญหา
3. การใช้แก๊สจากพื้นที่ซับซ้อนจะทำให้ราคาไฟฟ้าลดลง เพราะแก๊สจากพื้นที่ทับซ้อนเมื่อนำมาเป็นไฟฟ้าแล้วจะมีต้นทุนลดลง
4. ในการเปลี่ยนแปลงของโลก การใช้แก๊สและน้ำมันจะใช้ลดลง คนจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานจากไฮโดรเจนมากขึ้น ยิ่งขุดช้ามูลค่าจะยิ่งไม่มี คนจะเลิกใช้น้ำมันและแก๊ส ฉะนั้น หากมีมูลค่าอยู่ก็รีบใช้ เพราะวันข้างหน้าคนอาจจะไม่ใช้แก๊สและน้ำมันกันแล้ว รีบขุดมาใช้งานตอนนี้ดีกว่า
นาย
พิชัย กล่าวต่อว่า
5. แก๊สในพื้นที่อ่าวไทยและพื้นที่ซับซ้อนเขาเรียกว่าแก๊สเปียก สามารถนำเข้าโรงแยกแก๊สและทำปิโตเคมิคอลได้ ฉะนั้น นี่คือความได้เปรียบของพื้นที่ซับซ้อน ซึ่งหากขุดแก๊สมาได้สามารถสร้างรายได้ 6-20 เท่า
6. นอกจากจะได้แก๊สราคาถูกมาทำไฟฟ้าแล้ว รัฐยังได้รายได้เยอะ ซึ่งหากเจรจาพื้นที่ซับซ้อนได้รายได้ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น สามารถนำไปช่วยคนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุที่จะได้รายได้จากส่วนนี้ไปใช้ในโครงการต่างๆ รวมถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
7. พื้นที่ดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีแก๊สและพลังงานอยู่ ดังนั้น การที่จะเจรจาเพื่อให้ผลประโยชน์มากขึ้นก็เป็นไปได้
และ 8. แม้จะเจรจาจบวันนี้แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ค่าแก๊สเพิ่มขึ้นมาเลย แต่จะต้องใช้เวลา 2-8 ปีกว่าแก๊สจะขึ้นมาได้ ฉะนั้น จึงต้องรีบเจรจาในตอนนี้ เพราะหากปล่อยไว้นานกว่าจะเจรจาและกว่าจะขุดแก๊สขึ้นมาได้ แก๊สอาจจะหมดไปแล้วก็ได้
“
8 ข้อนี้คือผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ เราจะได้ค่าไฟฟ้าที่ถูก มีรายได้เข้ามา และยังมีธุรกิจต่อเนื่องอีก จึงอยากเห็นว่ารัฐบาลเร่งทำอะไรที่เป็นประโยชน์ของประเทศ ผมไม่เห็นอะไรแย่จากเรื่องนี้ เห็นแต่รัฐบาลพูดแล้วก็ถอย แล้วก็พูดแล้วก็ถอย เร่งทำเถอะเหมือนที่บอกว่าต้องใช้เวลากว่าแก๊สจะออกมาได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เร่งทำเถอะ” นาย
พิชัย กล่าว
‘พิชัย’ ซัด รัฐขยับช้า ทำไทยซื้อลิขสิทธิ์บอลโลกแพง ด้าน ศรัณย์ อัด กสทช.บกพร่องรู้อยู่ว่ามีกฎแต่ไม่ยอมทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3674450
“พิชัย” ซัด รัฐขยับช้า ทำไทยซื้อลิขสิทธิ์บอลโลกแพง ด้าน ศรัณย์ อัด กสทช.บกพร่องรู้อยู่ว่ามีกฎแต่ไม่ยอมทำ
เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเศรษฐกิจพรรค พท. กล่าวถึงกรณีการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งมีมูลค่า 1,600 ล้านบาทว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ว่า ตนค่อนข้างสงสัยว่าประเทศอื่นใช้ค่าลิขสิทธิ์น้อยกว่ามาก ขณะนี้ตนมองว่าควรใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสมถูกต้อง ตนอยากให้ประชาชนได้มีความสุขจากการดูการแข่งขัน แต่หากลิขสิทธิ์แพงมาก อาจพิจารณาถ่ายทอดสดเพียงบางส่วนไม่ต้องทั้งหมด เช่นในช่วง 16 ทีมสุดท้ายที่ค่อนข้างเข้มข้น ประชาชนอาจสนใจมากกว่า และเชื่อว่าคนไทยจะเข้าใจและรับได้
นาย
พิชัยกล่าวต่อว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ควรเตรียมการมานานก่อนหน้าให้นานก่อนหน้านี้ ถ้าดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ได้ทันท่วงทีแต่แรก ค่าลิขสิทธิ์คงไม่สูงมากกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งหากนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ พรรค พท. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขณะนี้คงจัดการได้เรียบร้อยไปแล้ว และได้ค่าลิขสิทธิ์ที่ถูกกว่านี้ ขอย้ำว่าอยากเห็นประชาชนมีความสุขในช่วงภาวะเศรษฐกิจแย่ อย่างน้อยคนได้ดูฟุตบอลให้ลืมความทุกข์ชั่วคราว แต่ค่าลิขสิทธิ์ 1,600 ล้านบาท ถือว่าแพงไป สงสัยเราติดต่อช้าไปหรือไม่ นี่ถือเป็นความบกพร่องรัฐบาล อีกไม่กี่วันจะถ่ายทอดแล้วยังสรุปไม่ได้ การทำงานของรัฐบาลเรา ถ้าไม่ถูกด่าไม่ทำ ไม่เข้าตัวก็ไม่ทำ
ด้าน นาย
ศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย ในฐานะคณะทำงานเศรษฐกิจพรรค พท. กล่าวว่า กรณีนี้เป็นความบกพร่องของสำนักงานกิจการการกระจายเสียง การโทรทัศน์ และการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (กสทช.) เพราะ กสทช. ต้องทราบอยู่แล้วว่ามีกฎมัสต์ แฮฟ (Must Have) อยู่ ไม่ใช่เพิ่งมารู้สึกตัวว่าต้องซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอด ส่วนเหตุที่หลายประเทศซื้อลิขสิทธิ์ได้ถูกกว่า เพราะทางผู้จัดการแข่งขันก็บอกแล้วว่าถ้าซื้อลิขสิทธิ์ก่อนหน้านี้ จะได้อีกราคาหนึ่ง ซึ่งตนทราบมาว่ามีการพูดคุยกันภายในหน่วยงานของไทย ซึ่งคิดกันว่าซื้อลิขสิทธิ์ใกล้ช่วงถ่ายทอดแล้วจะได้ราคาถูกกว่า แต่หากมองในมุมคนที่รู้อยู่แล้วว่าต้องซื้อ ก็สามารถซื้อได้ตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ ด้วยราคาที่ถูกกว่ามาก คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 500-600 ล้านบาท ตามจำนวนประชากรไม่ถึง 1,000 ล้านบาท
ยัดคดี-รุนแรง-ละเมิดสิทธิ! ‘ราษฎร’ แถลงซัดรัฐไทย หน้าสถานทูตเมกา นัดม็อบใหญ่ ‘แยกอโศก’ 17 พ.ย. บอกผู้นำโลก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3674477
‘ราษฎร’ แถลงซัดหน้าสถานทูตเมกา นัด ‘ม็อบใหญ่แยกอโศก’ 17 พ.ย. จะไปยื่นหนังสือ บอกผู้นำเอเปค รัฐไทยยัดคดี-รุนแรง-ละเมิดสิทธิ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน เครือข่ายกลุ่มเคลื่อนไหว “
ราษฎรหยุด APEC 2022” เดินทางไปยื่นหนังสือถึง 5 สถานทูต ได้แก่ สถานเอคอัครราชทูตแคนาดา, ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เพื่อสื่อสารถึงผู้นำที่จะมาเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค 2022
บรรยากาศ เวลา 11.45 น. ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย น.ส.ธนพร หรือไหม เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน กล่าวว่า วันนี้เราจะส่งสารของเราผ่านทางทูตสหรัฐอเมริกา ที่จะพูดถึงปัญหาสิทธิแรงงาน และกล่าวถึงที่มาของการเดินทางไปยื่นหนังสือถึง 5 สถานทูต
โดยภายหลังยื่นหนังสือ น.ส.
ธนพรยังกล่าวด้วยว่า วันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ เราจะมีการชุมนุมใหญ่ เจอกันที่แยกอโศก เวลา 12.00 น. ขอเชิญพี่น้องประชาชนที่จะไปร่วมยื่นหนังสือต่อผู้นำเอเปค เราอาจพูดถึงว่าเอเปค ประชาชนได้อะไร
น.ส.
ณัฐนิช หรือ
ใบปอ กลุ่มทะลุวัง เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ ความว่า
เรียน เอกอัครราชทูตประจำประเทศแห่งระบอบประชาธิปไตย วันนี้เราเขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในปัจจุบัน และจุดยืนของเราที่มีต่อการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค ประจำปี 2565 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ภายหลังการเลือกตั้งนายกฯในปี 2562 ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร กลับมาดำรงตำแหน่งนายกฯอีกครั้ง การกลับมาของรัฐบาลเผด็จการนำไปสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วประเทศ ในปี 2563 ซึ่งมีข้อเรียกร้องสำคัญ 3 ประการคือ
1. พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ และองคาพยพต้องลาออก
2. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
3. ปฏิรูปสถาบันฯ
ซึ่งไม่ใช่ข้อเรียกร้องเพื่อล้มล้าง แต่เป็นข้อเรียกร้องที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและงบประมาณ เพื่อให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธุรกิจผูกขาด และยังมีบทบาทสำคัญในการผูกขาดธุรกิจ จนส่งผลให้ประชาชนต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาท นำไปสู่การเรียกร้องให้มีการยกเลิก ม.112 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ม.112 กลายเป็นอาวุธสำคัญของรัฐในการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ
นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้นักกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย ตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้ความรุนแรงจากรัฐในรูปแบบต่างๆ
น.ส.
ณัฐนิชกล่าวต่อว่า ประการแรก รัฐใช้กำลังและความรุนแรงในการเข้าสลายการชุมนุมโดยสันติของประชาชน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 526 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตเป็นเยาวชนที่มีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น
ประการที่ 2 มีการดำเนินคดีมาตรา 112 กับนักกิจกรรมทางการเมืองและประชาชนจำนวนมาก อย่างน้อย 217 ราย ใน 236 คดี ซึ่งจำนวนนี้รวมไปถึงเยาวชนที่ออกมาใช้สิทธิทางการเมืองด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีการดำเนินนคดีอื่นๆ กับประชาชน เช่น ม.116 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ประการที่ 3 ผู้ต้องหาในคดีทางการเมืองต้องเผชิญกับความผิดปกติ และไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมภายใต้ ICCPR
รัฐบาลเผด็จการใช้เครื่องมือพิพากษาประชาชน ที่ผ่านมาในคดีทางการเมืองมักมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น มีการปฏิเสธให้สิทธิประกันตัว ซึ่งเป็นสิทธิที่ระบุไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคี มีการบังคับผู้ต้องหาคดีการเมืองให้ติดอุปกรณ์ติดตาม หรือกำไล EM ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการประกันตัว มีการปฏิเสธไม่ให้จำเลยใช้หลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และปฏิเสธไม่ให้มีผู้สังเกตการณ์ในการสืบพยานคดี ม.112 มากไปกว่านั้น นักกิจกรรม นักการเมือง และเอ็นจีโอ ไม่น้อยกว่า 30 ราย ตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิมนุษยชนจากการใช้สปายแวร์ (spyware) ในการใช้เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์จีพีเอส ในรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อสอดส่องข้อมูลส่วนตัว ดักจับสัญญาณ และติดตามการเคลื่อนไหวของประชาชนในทุกย่างก้าว
ดังนั้น เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในฐานะตัวแทนประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จะมีการพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากรัฐบาลไทยดังที่กล่าวมาในจดหมายฉบับนี้ เพราะเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การประชุมเอเปคไม่ควรเป็นเวทีในการสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ที่ได้อำนาจมาจากกระบอกปืน ไม่ใช่อาณัติของประชาชน
ด้วยความเคารพ และหวังเป็นอย่างยิ่ง
ประชาชนชาวไทย
JJNY : ‘พิชัย’ยก 8 เหตุผลแนะเร่งเจรจา│‘พิชัย’ ซัด รัฐขยับช้า│ยัดคดี-รุนแรง-ละเมิดสิทธิ!│ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงกดดัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3674300
‘พิชัย’ ยก 8 เหตุผลแนะเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนกัมพูชา เหน็บรบ.ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศบ้าง
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ, นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.), นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย และน.ส.จุฑาพร เกตุราทร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขตบางรัก โฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรค พท. ร่วมแถลงข่าว “รวมไทยซ่อมชาติ”
โดยนายพิชัย กล่าวว่า ชื่อการแถลงข่าววันนี้ชื่อรวมไทยซ่อมชาติ ไม่ใช่สร้างชาติ ตั้งใจให้เห็นว่าประเทศเรามีอะไรให้ซ่อมอีกเยอะมาก จะมาสร้างอะไรเต็มไปหมด วันนี้มีแต่พรรคที่จะสร้างอย่างเดียว นอกจากประชาชนจะหายแล้ว ยังมีค่าไฟฟ้าที่น่าเป็นห่วงเพราะจะมีการปรับขึ้นอีกซึ่งอาจจะขึ้นถึง 6 บาท ประชาชนจะแบกรับไหวหรือ ซึ่งอยากจะเรียนไปถึงรัฐบาลว่าหากมีต้นทุนสูงเช่นนี้ แต่รายได้ไม่มีและต้องแบกรับมากเช่นนี้ จะไม่ไหว ทั้งนี้ ตนขอให้เหตุผล 8 ข้อว่าทำไมไทยจึงควรเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา
1. บริเวณพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ทั้งแก๊สและน้ำมันจำนวนมาก
2. แหล่งพลังงานปัจจุบันทั้งจากอ่าวไทยและที่ส่งมาจากเมียนมานั้นมีปริมาณลดลง และมีเรื่องของการสัมปทานที่ส่งมอบกันไม่ได้ รวมถึงการส่งท่อแก๊สจากเมียนมานั้นมีปัญหา
3. การใช้แก๊สจากพื้นที่ซับซ้อนจะทำให้ราคาไฟฟ้าลดลง เพราะแก๊สจากพื้นที่ทับซ้อนเมื่อนำมาเป็นไฟฟ้าแล้วจะมีต้นทุนลดลง
4. ในการเปลี่ยนแปลงของโลก การใช้แก๊สและน้ำมันจะใช้ลดลง คนจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานจากไฮโดรเจนมากขึ้น ยิ่งขุดช้ามูลค่าจะยิ่งไม่มี คนจะเลิกใช้น้ำมันและแก๊ส ฉะนั้น หากมีมูลค่าอยู่ก็รีบใช้ เพราะวันข้างหน้าคนอาจจะไม่ใช้แก๊สและน้ำมันกันแล้ว รีบขุดมาใช้งานตอนนี้ดีกว่า
นายพิชัย กล่าวต่อว่า
5. แก๊สในพื้นที่อ่าวไทยและพื้นที่ซับซ้อนเขาเรียกว่าแก๊สเปียก สามารถนำเข้าโรงแยกแก๊สและทำปิโตเคมิคอลได้ ฉะนั้น นี่คือความได้เปรียบของพื้นที่ซับซ้อน ซึ่งหากขุดแก๊สมาได้สามารถสร้างรายได้ 6-20 เท่า
6. นอกจากจะได้แก๊สราคาถูกมาทำไฟฟ้าแล้ว รัฐยังได้รายได้เยอะ ซึ่งหากเจรจาพื้นที่ซับซ้อนได้รายได้ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น สามารถนำไปช่วยคนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุที่จะได้รายได้จากส่วนนี้ไปใช้ในโครงการต่างๆ รวมถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
7. พื้นที่ดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีแก๊สและพลังงานอยู่ ดังนั้น การที่จะเจรจาเพื่อให้ผลประโยชน์มากขึ้นก็เป็นไปได้
และ 8. แม้จะเจรจาจบวันนี้แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ค่าแก๊สเพิ่มขึ้นมาเลย แต่จะต้องใช้เวลา 2-8 ปีกว่าแก๊สจะขึ้นมาได้ ฉะนั้น จึงต้องรีบเจรจาในตอนนี้ เพราะหากปล่อยไว้นานกว่าจะเจรจาและกว่าจะขุดแก๊สขึ้นมาได้ แก๊สอาจจะหมดไปแล้วก็ได้
“8 ข้อนี้คือผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ เราจะได้ค่าไฟฟ้าที่ถูก มีรายได้เข้ามา และยังมีธุรกิจต่อเนื่องอีก จึงอยากเห็นว่ารัฐบาลเร่งทำอะไรที่เป็นประโยชน์ของประเทศ ผมไม่เห็นอะไรแย่จากเรื่องนี้ เห็นแต่รัฐบาลพูดแล้วก็ถอย แล้วก็พูดแล้วก็ถอย เร่งทำเถอะเหมือนที่บอกว่าต้องใช้เวลากว่าแก๊สจะออกมาได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เร่งทำเถอะ” นายพิชัย กล่าว
‘พิชัย’ ซัด รัฐขยับช้า ทำไทยซื้อลิขสิทธิ์บอลโลกแพง ด้าน ศรัณย์ อัด กสทช.บกพร่องรู้อยู่ว่ามีกฎแต่ไม่ยอมทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3674450
“พิชัย” ซัด รัฐขยับช้า ทำไทยซื้อลิขสิทธิ์บอลโลกแพง ด้าน ศรัณย์ อัด กสทช.บกพร่องรู้อยู่ว่ามีกฎแต่ไม่ยอมทำ
เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเศรษฐกิจพรรค พท. กล่าวถึงกรณีการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งมีมูลค่า 1,600 ล้านบาทว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ว่า ตนค่อนข้างสงสัยว่าประเทศอื่นใช้ค่าลิขสิทธิ์น้อยกว่ามาก ขณะนี้ตนมองว่าควรใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสมถูกต้อง ตนอยากให้ประชาชนได้มีความสุขจากการดูการแข่งขัน แต่หากลิขสิทธิ์แพงมาก อาจพิจารณาถ่ายทอดสดเพียงบางส่วนไม่ต้องทั้งหมด เช่นในช่วง 16 ทีมสุดท้ายที่ค่อนข้างเข้มข้น ประชาชนอาจสนใจมากกว่า และเชื่อว่าคนไทยจะเข้าใจและรับได้
นายพิชัยกล่าวต่อว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ควรเตรียมการมานานก่อนหน้าให้นานก่อนหน้านี้ ถ้าดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ได้ทันท่วงทีแต่แรก ค่าลิขสิทธิ์คงไม่สูงมากกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งหากนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ พรรค พท. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขณะนี้คงจัดการได้เรียบร้อยไปแล้ว และได้ค่าลิขสิทธิ์ที่ถูกกว่านี้ ขอย้ำว่าอยากเห็นประชาชนมีความสุขในช่วงภาวะเศรษฐกิจแย่ อย่างน้อยคนได้ดูฟุตบอลให้ลืมความทุกข์ชั่วคราว แต่ค่าลิขสิทธิ์ 1,600 ล้านบาท ถือว่าแพงไป สงสัยเราติดต่อช้าไปหรือไม่ นี่ถือเป็นความบกพร่องรัฐบาล อีกไม่กี่วันจะถ่ายทอดแล้วยังสรุปไม่ได้ การทำงานของรัฐบาลเรา ถ้าไม่ถูกด่าไม่ทำ ไม่เข้าตัวก็ไม่ทำ
ด้าน นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย ในฐานะคณะทำงานเศรษฐกิจพรรค พท. กล่าวว่า กรณีนี้เป็นความบกพร่องของสำนักงานกิจการการกระจายเสียง การโทรทัศน์ และการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (กสทช.) เพราะ กสทช. ต้องทราบอยู่แล้วว่ามีกฎมัสต์ แฮฟ (Must Have) อยู่ ไม่ใช่เพิ่งมารู้สึกตัวว่าต้องซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอด ส่วนเหตุที่หลายประเทศซื้อลิขสิทธิ์ได้ถูกกว่า เพราะทางผู้จัดการแข่งขันก็บอกแล้วว่าถ้าซื้อลิขสิทธิ์ก่อนหน้านี้ จะได้อีกราคาหนึ่ง ซึ่งตนทราบมาว่ามีการพูดคุยกันภายในหน่วยงานของไทย ซึ่งคิดกันว่าซื้อลิขสิทธิ์ใกล้ช่วงถ่ายทอดแล้วจะได้ราคาถูกกว่า แต่หากมองในมุมคนที่รู้อยู่แล้วว่าต้องซื้อ ก็สามารถซื้อได้ตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ ด้วยราคาที่ถูกกว่ามาก คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 500-600 ล้านบาท ตามจำนวนประชากรไม่ถึง 1,000 ล้านบาท
ยัดคดี-รุนแรง-ละเมิดสิทธิ! ‘ราษฎร’ แถลงซัดรัฐไทย หน้าสถานทูตเมกา นัดม็อบใหญ่ ‘แยกอโศก’ 17 พ.ย. บอกผู้นำโลก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3674477
‘ราษฎร’ แถลงซัดหน้าสถานทูตเมกา นัด ‘ม็อบใหญ่แยกอโศก’ 17 พ.ย. จะไปยื่นหนังสือ บอกผู้นำเอเปค รัฐไทยยัดคดี-รุนแรง-ละเมิดสิทธิ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน เครือข่ายกลุ่มเคลื่อนไหว “ราษฎรหยุด APEC 2022” เดินทางไปยื่นหนังสือถึง 5 สถานทูต ได้แก่ สถานเอคอัครราชทูตแคนาดา, ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เพื่อสื่อสารถึงผู้นำที่จะมาเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค 2022
บรรยากาศ เวลา 11.45 น. ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย น.ส.ธนพร หรือไหม เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน กล่าวว่า วันนี้เราจะส่งสารของเราผ่านทางทูตสหรัฐอเมริกา ที่จะพูดถึงปัญหาสิทธิแรงงาน และกล่าวถึงที่มาของการเดินทางไปยื่นหนังสือถึง 5 สถานทูต
โดยภายหลังยื่นหนังสือ น.ส.ธนพรยังกล่าวด้วยว่า วันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ เราจะมีการชุมนุมใหญ่ เจอกันที่แยกอโศก เวลา 12.00 น. ขอเชิญพี่น้องประชาชนที่จะไปร่วมยื่นหนังสือต่อผู้นำเอเปค เราอาจพูดถึงว่าเอเปค ประชาชนได้อะไร
น.ส.ณัฐนิช หรือใบปอ กลุ่มทะลุวัง เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ ความว่า
เรียน เอกอัครราชทูตประจำประเทศแห่งระบอบประชาธิปไตย วันนี้เราเขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในปัจจุบัน และจุดยืนของเราที่มีต่อการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค ประจำปี 2565 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ภายหลังการเลือกตั้งนายกฯในปี 2562 ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร กลับมาดำรงตำแหน่งนายกฯอีกครั้ง การกลับมาของรัฐบาลเผด็จการนำไปสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วประเทศ ในปี 2563 ซึ่งมีข้อเรียกร้องสำคัญ 3 ประการคือ
1. พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ และองคาพยพต้องลาออก
2. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
3. ปฏิรูปสถาบันฯ
ซึ่งไม่ใช่ข้อเรียกร้องเพื่อล้มล้าง แต่เป็นข้อเรียกร้องที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและงบประมาณ เพื่อให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธุรกิจผูกขาด และยังมีบทบาทสำคัญในการผูกขาดธุรกิจ จนส่งผลให้ประชาชนต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาท นำไปสู่การเรียกร้องให้มีการยกเลิก ม.112 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ม.112 กลายเป็นอาวุธสำคัญของรัฐในการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ
นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้นักกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย ตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้ความรุนแรงจากรัฐในรูปแบบต่างๆ
น.ส.ณัฐนิชกล่าวต่อว่า ประการแรก รัฐใช้กำลังและความรุนแรงในการเข้าสลายการชุมนุมโดยสันติของประชาชน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 526 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตเป็นเยาวชนที่มีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น
ประการที่ 2 มีการดำเนินคดีมาตรา 112 กับนักกิจกรรมทางการเมืองและประชาชนจำนวนมาก อย่างน้อย 217 ราย ใน 236 คดี ซึ่งจำนวนนี้รวมไปถึงเยาวชนที่ออกมาใช้สิทธิทางการเมืองด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีการดำเนินนคดีอื่นๆ กับประชาชน เช่น ม.116 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ประการที่ 3 ผู้ต้องหาในคดีทางการเมืองต้องเผชิญกับความผิดปกติ และไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมภายใต้ ICCPR
รัฐบาลเผด็จการใช้เครื่องมือพิพากษาประชาชน ที่ผ่านมาในคดีทางการเมืองมักมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น มีการปฏิเสธให้สิทธิประกันตัว ซึ่งเป็นสิทธิที่ระบุไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคี มีการบังคับผู้ต้องหาคดีการเมืองให้ติดอุปกรณ์ติดตาม หรือกำไล EM ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการประกันตัว มีการปฏิเสธไม่ให้จำเลยใช้หลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และปฏิเสธไม่ให้มีผู้สังเกตการณ์ในการสืบพยานคดี ม.112 มากไปกว่านั้น นักกิจกรรม นักการเมือง และเอ็นจีโอ ไม่น้อยกว่า 30 ราย ตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิมนุษยชนจากการใช้สปายแวร์ (spyware) ในการใช้เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์จีพีเอส ในรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อสอดส่องข้อมูลส่วนตัว ดักจับสัญญาณ และติดตามการเคลื่อนไหวของประชาชนในทุกย่างก้าว
ดังนั้น เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในฐานะตัวแทนประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จะมีการพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากรัฐบาลไทยดังที่กล่าวมาในจดหมายฉบับนี้ เพราะเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การประชุมเอเปคไม่ควรเป็นเวทีในการสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ที่ได้อำนาจมาจากกระบอกปืน ไม่ใช่อาณัติของประชาชน
ด้วยความเคารพ และหวังเป็นอย่างยิ่ง
ประชาชนชาวไทย