สภาฯ เสียงเอกฉันท์ ชง ‘ครม.’ ทำประชามติถามประชาชน แก้ไขรัฐธรรมนูญ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3653278
สภาฯ เสียงเอกฉันท์ ชง ‘ครม.’ ทำประชามติถามประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมการเลือกตั้ง
เมื่อเวลา 13.10 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้ เป็นประธานการประชุม มีการลงมติในญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการตามที่สภามีมติในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมกับการเลือกตั้ง ของนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ซึ่งเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา สมาชิกได้อภิปรายญัตติด่วนดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่องค์ประชุมก่อนลงมติไม่ครบ ดังนั้น ประธานการประชุมขณะนั้นจึงได้สั่งเลื่อนการลงมติออกไป กระทั่งวันนี้ (3 พฤศจิกายน) ปรากฏว่าที่ประชุมสภาฯ มีเสียงเป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนน 323 ต่อ 0 งดออกเสียง 1 ไม่ออกเสียง 7 เสียง ให้สภาฯ ส่งเรื่องไปยังครม. ให้ทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่สภาฯ ลงมติในญัตติดังกล่าวแล้วต้องส่งให้วุฒิสภา ลงมติอีกครั้งว่าจะเห็นชอบกับญัตติดังกล่าวหรือไม่ หากวุฒิสภาลงมติเห็นชอบจึงมีผลที่จะส่งให้ ครม. รับไปพิจารณาว่าจะรับไปดำเนินการตามมติหรือไม่ แต่หากวุฒิสภาลงมติไม่เห็นชอบจะถือว่าญัตติดังกล่าวต้องยุติลง เนื่องจากตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 มาตรา 9 (4) กำหนดให้รัฐสภาพิจารณาและมีมติเรื่องที่สมควรให้มีการออกเสียงประชามติ และแจ้งต่อ ครม.
มาแล้ว! ครูยุ่น เข้ารับทราบข้อหา หลังถูกร้องมูลนิธิทำร้ายเด็ก-ใช้แรงงาน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7346906
ครูยุ่น มาตามหมายเรียก เข้าพบตำรวจ สภ.อัมพวา รับทราบข้อหาทำร้ายร่างกายเด็ก-ใช้แรงงานเด็ก หลังจากมูลนิธิเส้นด้ายเข้าแจ้งความ
จากกรณีมูลนิธิเส้นด้ายได้เข้าแจ้งความที่ สภ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 ต.ค.65 ว่ามีการทำร้ายเด็กภายในมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ต.สวนหลวง อ.อัมพวา ทำให้หน่วยงานเกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
จากกรณี นาง
ลักษณา อิศรางกูร ณ อยุธยา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมเจ้าหน้าที่นำเอกสารมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 รับเด็กสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนไปยังสถานแรกรับของทางราชการ เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองเด็กต่อโทรศัพท์ไปยัง อดีต สว. ซึ่งบอกว่าเป็นประธานมูลนิธิฯดังกล่าว จากนั้นเจ้าหน้าที่ พมจ.สมุทรสงคราม ได้นำเด็กในมูลนิธิออกไป 23 คน ยังไม่มีใครทราบว่านำไปที่ใด
ล่าสุดเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 3 พ.ย.2565 นาย
แก้วสรร อติโพธิ์ เดินทางมาที่มูลนิธิคุ้มครองเด็ก เปิดเผยเบื้องต้นว่า เด็กพวกนี้ไม่มีบ้าน ถูกรังแก ถูกทำร้าย มูลนิธิแห่งนี้จึงรับมาดูแล มูลนิธิมีอำนาจการปกครองถูกต้อง สามารถทำโทษเด็กเหมือนพ่อทำโทษลูก ไม่ได้รุนแรงเกินกว่าเหตุ การที่มีเด็กร้องเรียนไม่กี่คน ซึ่งกลุ่มนี้บางคนติดยาเสพติด ถ้าเป็นที่อื่นก็จับส่งตำรวจหมดอนาคตไปแล้ว
นาย
แก้วสรร กล่าวต่อว่า แต่สถานที่แห่งนี้พยายามอบรมสั่งสอนเพื่อให้กลับตัวเป็นคนดี จะมาหาว่าทำรุนแรงเกินไปได้อย่างไร เด็กทั้งหมดดูแลอย่างดี การจะมารับเด็กทั้ง 55 คนไป อาศัยอำนาจอะไร ถามเด็กทั้งหมดหรือยังสิ่งที่ถูกต้องควรฟังหูไว้หู ควรมาตรวจสอบแบบเงียบ ๆ เพื่อคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ใช่นำสื่อแห่กันมาแบบนี้ หากเจ้าหน้าที่ทำเกินว่าเหตุ ตนก็ไม่ยอมเหมือนกัน
ต่อมาเวลา 10.30 น. นาย
มนตรี สินทวิชัย หรือ ครู
ยุ่น อดีต สว.สมุทรสงคราม เดินทางมาที่มูลนิธิคุ้มครองเด็ก ต.สวนหลวง อ.อัมพวา แล้วเดินเข้าไปทักทาย นาย
แก้วสรร และทนายความ ที่มาก่อนแล้ว โดยครู
ยุ่นบอกกับผู้สื่อข่าวให้ไปที่ สภ.อัมพวา จากนั้นก็พากันนั่งรถออกไปที่ สภ.อัมพวา พบพนักงานสอบสวน
กระทั่งเวลา 12.30 น. ครู
ยุ่น จึงออกมาบอกว่า มาตามหมายเรียกของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อหาทำร้ายร่างกายเด็กและอาจจะมีข้อหาใช้แรงงานเด็กด้วย ขณะที่มีกระแสข่าวว่า เวลา 16.00 น.ของวันนี้ พล.ต.อ.
สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. มีกำหนดการจะลงพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม เพื่อติดตามความคืบหน้าและเร่งรัดคดีนี้ให้มีการออกหมายจับด้วย
นาย
ศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผวจ.สมุทรสงคราม รักษาราชการแทนผวจ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ทางจังหวัดมอบให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม และทีมสหวิชาชีพสอบถามเด็กที่มีกรณีร้องเรียนว่าถูกทำร้าย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการโดยนำตัวเด็กทั้ง 8 คน ออกจากมูลนิธิไปอยู่ในความคุ้มครองของบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรสงคราม คาดว่าต้องใช้เวลาอีกสักระยะ
นาย
ศิริศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับเด็กที่เหลืออีก 47 คน ล่าสุดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้นำตัวเด็กออกมาได้อีก 23 คนไปอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรสงคราม จึงเหลือเด็กอีก 24 คนที่สมัครใจอยู่ในมูลนิธิต่อ เป็นเด็กเล็ก 14 คน และเด็กโต 10 คน อายุน้อยที่สุด 2 ขวบ และอายุมากที่สุด 16 ปี ซึ่งแต่เดิมมูลนิธิมีเด็กในความดูแลทั้งหมด 55 คน
นาย
ศิริศักดิ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม และทีมสหวิชาชีพ ตำรวจ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสอบถามเด็กและผู้เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานเสนอจังหวัดพิจารณา หากพบว่ามีการกระทำความผิดจริง เช่น กระทำทารุณกรรมเด็ก ใช้แรงงานเด็กตามที่มีผู้ร้องเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมูลนิธิดังกล่าวได้
จี้รัฐ ‘รื้อ’ เกณฑ์ต่างชาติถือครองที่ดินได้ไม่คุ้มเสีย
https://www.nationtv.tv/news/economy-business/378891662
จากกรณี ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ทางทีมข่าวได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน บอกว่า ไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ที่ดินสูงขึ้น
จากกรณี ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. …. โดยให้ต่างชาติถือครองที่ดิน 1 ไร่ แลกการลงทุน 40 ล้านบาท เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น กฎหมายขายชาติ
ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชน บอกว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้ต่างชาติซื้อที่ดินในไทยเพราะจะทำให้ที่ดินสูงขึ้น ห่วงว่าประชาชนคนไทยไม่มีที่อยู่อาศัย เพราะขณะนี้คนยากคนจนยังไม่มีที่ดิน ที่อยู่อาศัย หรือที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มองว่าแผ่นดินไทยไม่ควรตกอยู่ในมือคนต่างชาติ ควรเก็บไว้ให้ลูกหลาน อยากให้ภาครัฐทบทวนโดยคำนึงถึงประชาชนในระยะยาว
ด้านรองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย
ธนิต โสรัตน์ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถซื้อที่ดินในประเทศไทย แลกกับนำเงิน 40 ล้านบาทเข้ามาลงทุนเป็นเวลา 3 ปี ในพันธบัตร กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และในหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริม หรือ BOI ปัจจุบันเงิน 1 ล้านดอลลาร์หรือ 40 ล้านบาท ที่จะนำมาลงทุนน้อยเกินไปสำหรับการแลกที่ดิน 1 ไร่ สิ่งที่ได้ไม่คุ้มที่ไทยจะเสียที่ดินให้ต่างชาติ
สิ่งที่จะตามมาคือการเข้ามาเก็งกำไรที่ดิน โดยเฉพาะรูปแบบนอมินี โดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย ที่จะเข้ามาลงทุนแบบนอมินีและกว้านซึ่งที่ดินไทย ไปเป็นแหล่งที่อยู่ทำให้ราคาที่ดินแพงขึ้น คนไทยก็จะเข้าถึงที่ดินยากขึ้น และสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือนอมินีนำที่ดินไปทำการเกษตรก็จะเป็นการแข่งขันและแย่งอาชีพคนไทย
JJNY : สภาฯ เสียงเอกฉันท์| มาแล้ว! ครูยุ่น เข้ารับทราบข้อหา| จี้รัฐ ‘รื้อ’ เกณฑ์ต่างชาติถือครองที่ดิน| 'พี่ศรี' ร้องศาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_3653278
สภาฯ เสียงเอกฉันท์ ชง ‘ครม.’ ทำประชามติถามประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมการเลือกตั้ง
เมื่อเวลา 13.10 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้ เป็นประธานการประชุม มีการลงมติในญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการตามที่สภามีมติในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมกับการเลือกตั้ง ของนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ซึ่งเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา สมาชิกได้อภิปรายญัตติด่วนดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่องค์ประชุมก่อนลงมติไม่ครบ ดังนั้น ประธานการประชุมขณะนั้นจึงได้สั่งเลื่อนการลงมติออกไป กระทั่งวันนี้ (3 พฤศจิกายน) ปรากฏว่าที่ประชุมสภาฯ มีเสียงเป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนน 323 ต่อ 0 งดออกเสียง 1 ไม่ออกเสียง 7 เสียง ให้สภาฯ ส่งเรื่องไปยังครม. ให้ทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่สภาฯ ลงมติในญัตติดังกล่าวแล้วต้องส่งให้วุฒิสภา ลงมติอีกครั้งว่าจะเห็นชอบกับญัตติดังกล่าวหรือไม่ หากวุฒิสภาลงมติเห็นชอบจึงมีผลที่จะส่งให้ ครม. รับไปพิจารณาว่าจะรับไปดำเนินการตามมติหรือไม่ แต่หากวุฒิสภาลงมติไม่เห็นชอบจะถือว่าญัตติดังกล่าวต้องยุติลง เนื่องจากตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 มาตรา 9 (4) กำหนดให้รัฐสภาพิจารณาและมีมติเรื่องที่สมควรให้มีการออกเสียงประชามติ และแจ้งต่อ ครม.
มาแล้ว! ครูยุ่น เข้ารับทราบข้อหา หลังถูกร้องมูลนิธิทำร้ายเด็ก-ใช้แรงงาน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7346906
ครูยุ่น มาตามหมายเรียก เข้าพบตำรวจ สภ.อัมพวา รับทราบข้อหาทำร้ายร่างกายเด็ก-ใช้แรงงานเด็ก หลังจากมูลนิธิเส้นด้ายเข้าแจ้งความ
จากกรณีมูลนิธิเส้นด้ายได้เข้าแจ้งความที่ สภ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 ต.ค.65 ว่ามีการทำร้ายเด็กภายในมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ต.สวนหลวง อ.อัมพวา ทำให้หน่วยงานเกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
จากกรณี นางลักษณา อิศรางกูร ณ อยุธยา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมเจ้าหน้าที่นำเอกสารมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 รับเด็กสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนไปยังสถานแรกรับของทางราชการ เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองเด็กต่อโทรศัพท์ไปยัง อดีต สว. ซึ่งบอกว่าเป็นประธานมูลนิธิฯดังกล่าว จากนั้นเจ้าหน้าที่ พมจ.สมุทรสงคราม ได้นำเด็กในมูลนิธิออกไป 23 คน ยังไม่มีใครทราบว่านำไปที่ใด
ล่าสุดเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 3 พ.ย.2565 นายแก้วสรร อติโพธิ์ เดินทางมาที่มูลนิธิคุ้มครองเด็ก เปิดเผยเบื้องต้นว่า เด็กพวกนี้ไม่มีบ้าน ถูกรังแก ถูกทำร้าย มูลนิธิแห่งนี้จึงรับมาดูแล มูลนิธิมีอำนาจการปกครองถูกต้อง สามารถทำโทษเด็กเหมือนพ่อทำโทษลูก ไม่ได้รุนแรงเกินกว่าเหตุ การที่มีเด็กร้องเรียนไม่กี่คน ซึ่งกลุ่มนี้บางคนติดยาเสพติด ถ้าเป็นที่อื่นก็จับส่งตำรวจหมดอนาคตไปแล้ว
นายแก้วสรร กล่าวต่อว่า แต่สถานที่แห่งนี้พยายามอบรมสั่งสอนเพื่อให้กลับตัวเป็นคนดี จะมาหาว่าทำรุนแรงเกินไปได้อย่างไร เด็กทั้งหมดดูแลอย่างดี การจะมารับเด็กทั้ง 55 คนไป อาศัยอำนาจอะไร ถามเด็กทั้งหมดหรือยังสิ่งที่ถูกต้องควรฟังหูไว้หู ควรมาตรวจสอบแบบเงียบ ๆ เพื่อคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ใช่นำสื่อแห่กันมาแบบนี้ หากเจ้าหน้าที่ทำเกินว่าเหตุ ตนก็ไม่ยอมเหมือนกัน
ต่อมาเวลา 10.30 น. นายมนตรี สินทวิชัย หรือ ครูยุ่น อดีต สว.สมุทรสงคราม เดินทางมาที่มูลนิธิคุ้มครองเด็ก ต.สวนหลวง อ.อัมพวา แล้วเดินเข้าไปทักทาย นายแก้วสรร และทนายความ ที่มาก่อนแล้ว โดยครูยุ่นบอกกับผู้สื่อข่าวให้ไปที่ สภ.อัมพวา จากนั้นก็พากันนั่งรถออกไปที่ สภ.อัมพวา พบพนักงานสอบสวน
กระทั่งเวลา 12.30 น. ครูยุ่น จึงออกมาบอกว่า มาตามหมายเรียกของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อหาทำร้ายร่างกายเด็กและอาจจะมีข้อหาใช้แรงงานเด็กด้วย ขณะที่มีกระแสข่าวว่า เวลา 16.00 น.ของวันนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. มีกำหนดการจะลงพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม เพื่อติดตามความคืบหน้าและเร่งรัดคดีนี้ให้มีการออกหมายจับด้วย
นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผวจ.สมุทรสงคราม รักษาราชการแทนผวจ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ทางจังหวัดมอบให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม และทีมสหวิชาชีพสอบถามเด็กที่มีกรณีร้องเรียนว่าถูกทำร้าย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการโดยนำตัวเด็กทั้ง 8 คน ออกจากมูลนิธิไปอยู่ในความคุ้มครองของบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรสงคราม คาดว่าต้องใช้เวลาอีกสักระยะ
นายศิริศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับเด็กที่เหลืออีก 47 คน ล่าสุดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้นำตัวเด็กออกมาได้อีก 23 คนไปอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรสงคราม จึงเหลือเด็กอีก 24 คนที่สมัครใจอยู่ในมูลนิธิต่อ เป็นเด็กเล็ก 14 คน และเด็กโต 10 คน อายุน้อยที่สุด 2 ขวบ และอายุมากที่สุด 16 ปี ซึ่งแต่เดิมมูลนิธิมีเด็กในความดูแลทั้งหมด 55 คน
นายศิริศักดิ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม และทีมสหวิชาชีพ ตำรวจ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสอบถามเด็กและผู้เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานเสนอจังหวัดพิจารณา หากพบว่ามีการกระทำความผิดจริง เช่น กระทำทารุณกรรมเด็ก ใช้แรงงานเด็กตามที่มีผู้ร้องเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมูลนิธิดังกล่าวได้
จี้รัฐ ‘รื้อ’ เกณฑ์ต่างชาติถือครองที่ดินได้ไม่คุ้มเสีย
https://www.nationtv.tv/news/economy-business/378891662
จากกรณี ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ทางทีมข่าวได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน บอกว่า ไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ที่ดินสูงขึ้น
จากกรณี ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. …. โดยให้ต่างชาติถือครองที่ดิน 1 ไร่ แลกการลงทุน 40 ล้านบาท เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น กฎหมายขายชาติ
ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชน บอกว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้ต่างชาติซื้อที่ดินในไทยเพราะจะทำให้ที่ดินสูงขึ้น ห่วงว่าประชาชนคนไทยไม่มีที่อยู่อาศัย เพราะขณะนี้คนยากคนจนยังไม่มีที่ดิน ที่อยู่อาศัย หรือที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มองว่าแผ่นดินไทยไม่ควรตกอยู่ในมือคนต่างชาติ ควรเก็บไว้ให้ลูกหลาน อยากให้ภาครัฐทบทวนโดยคำนึงถึงประชาชนในระยะยาว
ด้านรองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ธนิต โสรัตน์ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถซื้อที่ดินในประเทศไทย แลกกับนำเงิน 40 ล้านบาทเข้ามาลงทุนเป็นเวลา 3 ปี ในพันธบัตร กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และในหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริม หรือ BOI ปัจจุบันเงิน 1 ล้านดอลลาร์หรือ 40 ล้านบาท ที่จะนำมาลงทุนน้อยเกินไปสำหรับการแลกที่ดิน 1 ไร่ สิ่งที่ได้ไม่คุ้มที่ไทยจะเสียที่ดินให้ต่างชาติ
สิ่งที่จะตามมาคือการเข้ามาเก็งกำไรที่ดิน โดยเฉพาะรูปแบบนอมินี โดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย ที่จะเข้ามาลงทุนแบบนอมินีและกว้านซึ่งที่ดินไทย ไปเป็นแหล่งที่อยู่ทำให้ราคาที่ดินแพงขึ้น คนไทยก็จะเข้าถึงที่ดินยากขึ้น และสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือนอมินีนำที่ดินไปทำการเกษตรก็จะเป็นการแข่งขันและแย่งอาชีพคนไทย