🧡มาลาริน/กาลครั้งหนึ่งยังจำได้....ต้องอ่านอีกครั้ง....รอยแผลดอยสุเทพ จากยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์

เพี้ยนแคปเจอร์รอยแผลดอยสุเทพ จากยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ 



เมื่อวานนี้ นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์นำคณะเข้าตรวจสอบครุภัณฑ์กว่า 1,866 รายการ จากบ้านพักข้าราชการตุลาการ จำนวน 45 หลัง บนพื้นที่85 ไร่ ห่างจากด้านหลังศาลอุทธรณ์ภาค 5 จ.เชียงใหม่ ประมาณ 3 กิโลเมตร เพื่อรับมอบคืนตามมติคณะกรรมการจังหวัดเชียงใหม่
 
ถือเป็นการรับมอบ “บ้านป่าแหว่ง” และที่ดินที่ตั้งคืนมาดูแลจัดการ เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมต่อไป

1. นับว่า ภาครัฐได้แสดงความตั้งใจจริง เพราะคืนพื้นที่มาแล้ว และได้ให้มีการหาที่พักอื่นสำหรับข้าราชการ
หลังจากนี้ จะดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง รื้อถอนหรือฟื้นฟูสภาพพื้นที่อย่างไร ถือเป็นเรื่องที่คณะกรรมการจังหวัด ภาคประชาชน และทางธนารักษ์ จะต้องร่วมกันดำเนินการ “อย่างจริงใจ” เพื่อให้เกิดการแก้ไข เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นเป็นรูปธรรมต่อไป

2. ความจริง คือ บ้านป่าแหว่ง เป็นมรดกบาปจากยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ 
มิใช่มรดกบาปจากรัฐบาล คสช.
โครงการก่อสร้างบ้านพักตุลาการนี้ อนุมัติงบประมาณแผ่นดินให้สร้าง ณ ตำแหน่งนี้ และเซ็นสัญญาก่อสร้างในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพียงแต่มาก่อสร้างเสร็จกันในยุครัฐบาล คสช.เท่านั้นเอง

เมื่อได้รับการเรียกร้องจากประชาชน รัฐบาล คสช.นายกฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงให้มีการตรวจสอบ และยุติการใช้พื้นที่ ตลอดจนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม กระทั่งส่งมอบให้ธนารักษ์เมื่อวานนี้

3.เฉพาะโครงการบ้านพักส่วนบนที่ส่งคืนนี้ มูลค่าโครงการกว่า 342 ล้านบาท

ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า สำนักงานศาลยุติธรรม ออกประกาศเชิญชวนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโครงการนี้ เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2556
ตั้งงบกลางไว้ที่ 343,461,000 บาท ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์

 
 
ต่อมา มีเอกชนสนใจเข้าซื้อซอง กว่า 20 ราย แต่มีเอกชน 4 ราย ยื่นซองเสนอราคาเป็นทางการ ได้แก่บริษัท งามวงศ์วานการช่าง จำกัด บริษัท วรนิทัศน์จำกัด บริษัท พี.เอ็น.เอส.ไซน์ จำกัด บริษัท แอลที พรอบเพอร์ตี้ จำกัด 

สุดท้าย บริษัท พี.เอ็น.เอส.ไซน์ จำกัด เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 342,941,000 บาท
ต่ำกว่าราคากลาง 520,000 บาท

ได้เข้าทำสัญญาเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2556
ตกลงราคาครั้งสุดท้ายอยู่ที่ 342,900,000 บาท ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมขณะนั้น ชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ

พูดง่ายๆ ว่า ทั้งการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง ทำกันเสร็จสรรพมาตั้งแต่ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์

4. หลังจากนี้ จะทำอย่างไร?
ทางเลือกที่หนึ่ง เก็บสิ่งปลูกสร้างไว้ ปลูกป่า ทำให้ร่มรื่น เปิดให้ประชาชนขึ้นไปใช้ประโยชน์

ทางเลือกที่สอง รื้อทิ้งให้หมด แล้วดำเนินการปรับสภาพคืน ปลูกต้นไม้ ให้ประชาชนมาร่วมกันคืนพื้นที่ป่าให้ดอยสุเทพ ร่วมกันดูแล มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน มีต้นทุนค่ารื้อถอน ค่าปลูกต้นไม้ ต้นทุนค่าเสียหายทรัพย์สินราชการที่ก่อสร้างมา ฯลฯ
ทางเลือกอื่นๆ ......
ประการสำคัญ จะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

และประชาชนควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงว่านักการเมืองยุคไหนที่อนุมัติงบและเซ็นสัญญาให้ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านพักบนที่ดินตรงนี้ อันฝากบาดแผลไว้กับดอยสุเทพจนถึงปัจจุบัน

https://www.naewna.com/politic/columnist/51342

เพี้ยนแคปเจอร์ ความจริงคือรัฐบาลลุงตู่เป็นผู้สะสางมรดกบาปนี้ให้ประชาชนสบายใจ

เรื่องถึงมือลุงตู่  ไม่มีอะไรที่แก้ไขไม่ได้ ท่านทำให้ทุกเรื่องค่ะ

.....💕💕
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
พูดง่ายๆ ว่า ทั้งการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง ทำกันเสร็จสรรพมาตั้งแต่ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์

คัดมาจากเนื้อหาตอนหนึ่งในกระทู้นี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่