ไทยติด Top 10 ประเทศที่มีมหาเศรษฐีจาก “ทุนนิยมพวกพ้อง” มากที่สุด
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-885565
ดิ อีโคโนมิสต์ จัดอันดับประเทศที่ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีจากธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากความใกล้ชิดกับรัฐมากที่สุดในโลก ไทยติดอันดับ 9 รัสเซียเป็นเบอร์ 1
วันที่ 14 มีนาคม 2565
ดิ อีโคโนมิสต์ เผยแพร่รายงานดัชนีทุนนิยมพวกพ้อง (The Crony-capitalism index) ประจำปี 2564 พร้อมกับระบุว่า การแพร่กระจายของลัทธิพวกพ้องในหลายประเทศผ่านการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (rent-seeking) ของผู้ประกอบการที่สร้างสายสัมพันธ์กับรัฐ หรือ บุคคลในรัฐบาลเพื่อสร้างกำไรสูงสุดแก่ธุรกิจ เป็นพฤติกรรมที่กำลังกัดกินระบบเศรษฐกิจ
เพื่อวัดว่า มีการใช้ระบบนี้แพร่หลายในโลกมากน้อยแค่ไหน ดิ อีโคโนมิสต์จึงจัดหมวดหมู่แหล่งความมั่งคั่งหลักของมหาเศรษฐี 2,755 คน โดยแบ่งภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมเป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวดที่อาศัยความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง และหมวดไม่อาศัยความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง
ทั้งนี้ หมวดที่อาศัยความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง ยังรวมถึงกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะมีพฤติกรรมแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจจากความใกล้ชิดกับรัฐบาล ในภาคธุรกิจธนาคาร คาสิโน การป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมใช้ทรัพยากรสาธารณะสร้างผลประโยชน์
พร้อมกับวัดเปรียบเทียบสัดส่วนของทั้ง 2 หมวด เทียบกับจีดีพีของแต่ละประเทศ
โดยพบว่า รัสเซียติดอยู่ในรายชื่ออันดับ 1 ที่มีมหาเศรษฐี 70% ใน 120 คน หรือ 84 คน ตรงกับคำจำกัดความทุนนิยมพวกพ้องของดิ อีโคโนมิสต์ ส่วนอเมริกามีเพียง 20% ขณะที่อินเดียมีมหาเศรษฐีกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นจาก 29% เป็น 43% ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของมหาเศรษฐีจากแวดวงเทคโนโลยีทั่วโลก ยังส่งผลให้ระดับความมั่งคั่งจากระบบพวกพ้องลดลง หากพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการจัดอันดับดังกล่าวพบว่า ในปี 2564 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 ไต่ระดับขึ้นมาจากอันดับที่ 12 เมื่อปี 2559
ธนาธร นำทีมคิกออฟแคมเปญ “ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น” 1 เม.ย.นี้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6940294
ธนาธร เปิด 22 รายชื่อผู้เชิญชวนแก้รธน. หมวด 14 ทลายรัฐราชการรวมศูนย์-ยุบส่วนภูมิภาค คิกออฟแคมเปญ “ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น” 1 เม.ย.นี้
เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2565 ที่อาคารอนาคตใหม่ นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นาย
ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า
น.ส.
พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารนำคณะก้าวหน้า แถลงเตรียมยื่นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น และเปิดรายชื่อผู้เชิญชวนเสนอกฎหมายจำนวน 22 คน ประกอบด้วยนักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการท้องถิ่น นักวิชาการ และนักการเมือง เตรียมเปิดแคมเปญ “
ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น” อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เม.ย.
นาย
ปิยบุตร กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2560 แม้จะมีหมวดว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นในหมวดที่ 14 แต่ในรายละเอียด พบว่าหลักการกระจายอำนาจ หลักการเป็นอิสระของท้องถิ่น และหลักการปกครองตนเองนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ วันนี้เรามีการเลือกตั้งท้องถิ่น ตั้งแต่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไปแล้ว และปลายเดือนพ.ค.นี้ จะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่การเลือกตั้งท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าประเทศไทยมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่
นาย
ปิยบุตร กล่าวต่อว่า ดังนั้น เราจะเปิดการรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวด 14 ว่าด้วยเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) ที่เปิดโอกาสให้บุคคลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยนำเนื้อหาสิ่งดีๆ ที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เข้ามา พร้อมเพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่ๆ ที่แก้ไขปัญหาเรื้อรังมาตลอดเกือบ 3 ทศวรรษ
หลักใหญ่ใจความของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 14 ประกอบด้วย
1. เราจะบัญญัติรับรองหลักความเป็นอิสระของท้องถิ่นและหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
2. เราจะบัญญัติอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีอำนาจหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่น มีบางเรื่องเท่านั้นที่ท้องถิ่นทำไม่ได้ เช่น ความมั่นคงในราชอาณาจักร เรื่องระบบเงินตราการต่างประเทศ นอกนั้นแล้วท้องถิ่นทำได้ทั้งหมด เว้นแต่ว่าบางกรณีที่ท้องถิ่นเห็นว่า ตนเองมีศักยภาพไม่เพียงพอ หรือร้องขอให้ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้ามาช่วย
3. แก้ปัญหากฎหมายซ้ำซ้อน ที่ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคมีอำนาจจัดทำบริการสาธารณะแบบเดียวกับที่ท้องถิ่นทำ ทำให้เกิดปัญหาว่าใครมีอำนาจทำกันแน่
4. เราจะจัดการแก้ปัญหาเรื้อรัง กรณีที่มีแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้ถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปให้ท้องถิ่นภายในกี่ปี โดยในร่างแก้ไข จะระบุว่า หากถ่ายโอนอำนาจภายในกี่ปี เมื่อครบระยะเวลาแล้วยังไม่ถ่ายโอน ให้ถือว่าถ่ายโอนไปเรียบร้อยแล้วโดยผลของรัฐธรรมนูญ
5. เรารับรองและยืนยันว่าในระดับอปท. ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ว่าท้องถิ่นแบบทั่วไปหรือแบบพิเศษ
6. เราให้ออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องของรายรับของอปท. โดยเสนอให้เพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ท้องถิ่นหามาได้กับรายได้ที่ส่วนกลางได้รับในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 ภายใน 3 ปี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัตราที่ 65 ต่อ 35
7. การเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวให้กับท้องถิ่นในการหารายได้ เช่น การกู้เงินและการออกพันธบัตร และการจัดทำบริการสาธารณะ ตั้งสหการหรือมอบอำนาจให้เอกชนเข้ามาทำแทนในบางเรื่อง
8. เราจะเข้าไปจัดการการกำกับดูแลให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสร
9. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของพลเมือง ในการบริหารจัดการท้องถิ่น เช่น การตั้งสภาพลเมือง เพื่อตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่น การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น การถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมจัดทำงบระดับท้องถิ่น
10. การวางโรดแมปของประเทศไทยว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค โดยให้ครม. ไปทำแผนการว่าหากยกเลิกแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้างและภายใน 5 ปี ครม. จะต้องจัดออกเสียงประชามติว่า ประชาชนต้องการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคแล้วหรือไม่
นาย
ปิยบุตร กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกที่เราเปิดร่างนี้ขึ้นมา และเราจะรวบรวมรายชื่อผู้เชิญชวนทั้งหมด 20 คนเพื่อนำร่างฉบับนี้ไปยื่นต่อประธานรัฐสภา จากนั้นเราจะเริ่มรณรงค์ล่ารายชื่อทั่วประเทศได้ทันที โดยวันที่ 1 เม.ย.นี้ เราจะเริ่มเข้าชื่อเป็นวันแรก เราเชื่อว่าการรณรงค์ในครั้งนี้ ในชื่อของ
“ขอคนละชื่อปลดล็อกท้องถิ่น” จะทำให้การกระจายอำนาจเกิดขึ้นได้จริง
เราเชื่อว่าการรณรงค์ครั้งนี้จะหาฉันทามติและฉันทานุมัติจากประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของกลุ่มการเมืองใดหรือพรรคใด แต่เป็นเรื่องประโยชน์ของการบริหารราชการแผ่นดิน ประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ และประโยชน์ของอนาคตประเทศไทย
เมื่อถามว่าหากนายกฯ ยุบสภาหรือลาออก การเปิดแคมเปญนี้จะทำอย่างไรต่อ นาย
ปิยบุตร กล่าวว่า ถ้ายุบสภา ขึ้นอยู่ว่ายุบวันไหน ถ้ายังไม่ได้ยื่นร่างเข้าสภา เท่ากับกระบวนการยังไม่จบ เราจะล่าชื่อต่อไปเรื่อยๆ และรอสภาชุดใหม่เข้ามาค่อยยื่น แต่ถ้ายื่นไปแล้วและมีการยุบสภา รัฐธรรมนูญระบุว่า สภา ชุดใหม่สามารถเสนอร่างที่คาไว้อยู่กลับมาพิจารณาใหม่ได้ ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือการรณรงค์ทางความคิดกับประชาชนทั่วประเทศว่า เราต้องการการกระจายอำนาจหรือไม่ เราอยู่กับรัฐราชการรวมศูนย์แบบนี้ไม่ได้หรือไม่ ส่วนวันไหนได้เข้าสภา เป็นเรื่องของอนาคต เชื่อมั่นว่าเมื่อได้เข้าสู่การพิจารณาของสภา ร่างนี้จะผ่านไปได้ด้วยดี
ด้านนาย
ธนาธร กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 14 ของเราประกอบด้วยผู้เชิญชวน 22 คนได้แก่ 1.นาย
ธนาธร 2.นาย
ปิยบุตร 3.น.ส.
พรรณิการ์ 4.นาย
ชำนาญ จันทร์เรือง 5.น.ส.
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ 6.นาย
ไกลก้อง ไวทยากร 7.น.ส.
เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ 8.นาย
สุรชัย ศรีสารคาม 9.นาย
ชัน ภักดีศรี 10.นาย
เดชรัต สุขกำเนิด ผอ.สถาบันวิจัยนโยบายเพื่ออนาคต (Think Forward Center) 11.นาย
พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา
12.นาย
ประเสริฐ วชิรเขื่อนขันธ์ อดีตนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองพระประแดง 13.นาย
ศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ เลขาธิการสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย 14.นาย
เทพพร จำปานวน นายกเทศมนตรีตำบลอาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด 15.นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
16.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ 17.นาย
ธเนศวร์ เจริญเมือง นักวิชาการ 18.นาย
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการ 19.นาย
ถวิล ไพรสณฑ์ อดีตรมว.ทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตรองประธานสภา 20.นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้บริหารบริษัทเอกชน 21.นาย
พิพัฒน์ วรสิทธิ์ดำรง นายกสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย และ 22.นาย
บรรณ แก้วฉ่ำ นิติกรชำนาญการข้าราชการท้องถิ่น
นาย
ธนาธร กล่าวด้วยว่า เมื่อดูรายชื่อผู้เชิญชวนทั้ง 22 คน มีผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานท้องถิ่นจริง รวมถึงนักการเมืองจากหลายพรรค และเมื่อการรณรงค์เกิดขึ้นจะเกิดการพูดคุยและแลกเปลี่ยนทั้งในระดับสังคมและระดับการเมือง ซึ่งตนเชื่อว่า ส.ส.พรรคก้าวไกล จะนำเรื่องนี้ไปปรึกษาหารือกับพรรคฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน
JJNY : ไทยติดTop10 “ทุนนิยมพวกพ้อง”│คิกออฟ“ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น”│สหรัฐฯ-จีน นัดหารือ│ลต.ผู้ว่าฯ-เมืองพัทยา22พ.ค.
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-885565
ดิ อีโคโนมิสต์ จัดอันดับประเทศที่ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีจากธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากความใกล้ชิดกับรัฐมากที่สุดในโลก ไทยติดอันดับ 9 รัสเซียเป็นเบอร์ 1
วันที่ 14 มีนาคม 2565 ดิ อีโคโนมิสต์ เผยแพร่รายงานดัชนีทุนนิยมพวกพ้อง (The Crony-capitalism index) ประจำปี 2564 พร้อมกับระบุว่า การแพร่กระจายของลัทธิพวกพ้องในหลายประเทศผ่านการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (rent-seeking) ของผู้ประกอบการที่สร้างสายสัมพันธ์กับรัฐ หรือ บุคคลในรัฐบาลเพื่อสร้างกำไรสูงสุดแก่ธุรกิจ เป็นพฤติกรรมที่กำลังกัดกินระบบเศรษฐกิจ
เพื่อวัดว่า มีการใช้ระบบนี้แพร่หลายในโลกมากน้อยแค่ไหน ดิ อีโคโนมิสต์จึงจัดหมวดหมู่แหล่งความมั่งคั่งหลักของมหาเศรษฐี 2,755 คน โดยแบ่งภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมเป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวดที่อาศัยความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง และหมวดไม่อาศัยความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง
ทั้งนี้ หมวดที่อาศัยความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง ยังรวมถึงกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะมีพฤติกรรมแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจจากความใกล้ชิดกับรัฐบาล ในภาคธุรกิจธนาคาร คาสิโน การป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมใช้ทรัพยากรสาธารณะสร้างผลประโยชน์
พร้อมกับวัดเปรียบเทียบสัดส่วนของทั้ง 2 หมวด เทียบกับจีดีพีของแต่ละประเทศ
โดยพบว่า รัสเซียติดอยู่ในรายชื่ออันดับ 1 ที่มีมหาเศรษฐี 70% ใน 120 คน หรือ 84 คน ตรงกับคำจำกัดความทุนนิยมพวกพ้องของดิ อีโคโนมิสต์ ส่วนอเมริกามีเพียง 20% ขณะที่อินเดียมีมหาเศรษฐีกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นจาก 29% เป็น 43% ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของมหาเศรษฐีจากแวดวงเทคโนโลยีทั่วโลก ยังส่งผลให้ระดับความมั่งคั่งจากระบบพวกพ้องลดลง หากพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการจัดอันดับดังกล่าวพบว่า ในปี 2564 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 ไต่ระดับขึ้นมาจากอันดับที่ 12 เมื่อปี 2559
ธนาธร นำทีมคิกออฟแคมเปญ “ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น” 1 เม.ย.นี้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6940294
ธนาธร เปิด 22 รายชื่อผู้เชิญชวนแก้รธน. หมวด 14 ทลายรัฐราชการรวมศูนย์-ยุบส่วนภูมิภาค คิกออฟแคมเปญ “ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น” 1 เม.ย.นี้
เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2565 ที่อาคารอนาคตใหม่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า
น.ส.พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารนำคณะก้าวหน้า แถลงเตรียมยื่นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น และเปิดรายชื่อผู้เชิญชวนเสนอกฎหมายจำนวน 22 คน ประกอบด้วยนักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการท้องถิ่น นักวิชาการ และนักการเมือง เตรียมเปิดแคมเปญ “ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น” อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เม.ย.
นายปิยบุตร กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2560 แม้จะมีหมวดว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นในหมวดที่ 14 แต่ในรายละเอียด พบว่าหลักการกระจายอำนาจ หลักการเป็นอิสระของท้องถิ่น และหลักการปกครองตนเองนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ วันนี้เรามีการเลือกตั้งท้องถิ่น ตั้งแต่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไปแล้ว และปลายเดือนพ.ค.นี้ จะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่การเลือกตั้งท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าประเทศไทยมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า ดังนั้น เราจะเปิดการรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวด 14 ว่าด้วยเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) ที่เปิดโอกาสให้บุคคลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยนำเนื้อหาสิ่งดีๆ ที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เข้ามา พร้อมเพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่ๆ ที่แก้ไขปัญหาเรื้อรังมาตลอดเกือบ 3 ทศวรรษ
หลักใหญ่ใจความของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 14 ประกอบด้วย
1. เราจะบัญญัติรับรองหลักความเป็นอิสระของท้องถิ่นและหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
2. เราจะบัญญัติอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีอำนาจหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่น มีบางเรื่องเท่านั้นที่ท้องถิ่นทำไม่ได้ เช่น ความมั่นคงในราชอาณาจักร เรื่องระบบเงินตราการต่างประเทศ นอกนั้นแล้วท้องถิ่นทำได้ทั้งหมด เว้นแต่ว่าบางกรณีที่ท้องถิ่นเห็นว่า ตนเองมีศักยภาพไม่เพียงพอ หรือร้องขอให้ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้ามาช่วย
3. แก้ปัญหากฎหมายซ้ำซ้อน ที่ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคมีอำนาจจัดทำบริการสาธารณะแบบเดียวกับที่ท้องถิ่นทำ ทำให้เกิดปัญหาว่าใครมีอำนาจทำกันแน่
4. เราจะจัดการแก้ปัญหาเรื้อรัง กรณีที่มีแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้ถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปให้ท้องถิ่นภายในกี่ปี โดยในร่างแก้ไข จะระบุว่า หากถ่ายโอนอำนาจภายในกี่ปี เมื่อครบระยะเวลาแล้วยังไม่ถ่ายโอน ให้ถือว่าถ่ายโอนไปเรียบร้อยแล้วโดยผลของรัฐธรรมนูญ
5. เรารับรองและยืนยันว่าในระดับอปท. ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ว่าท้องถิ่นแบบทั่วไปหรือแบบพิเศษ
6. เราให้ออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องของรายรับของอปท. โดยเสนอให้เพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ท้องถิ่นหามาได้กับรายได้ที่ส่วนกลางได้รับในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 ภายใน 3 ปี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัตราที่ 65 ต่อ 35
7. การเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวให้กับท้องถิ่นในการหารายได้ เช่น การกู้เงินและการออกพันธบัตร และการจัดทำบริการสาธารณะ ตั้งสหการหรือมอบอำนาจให้เอกชนเข้ามาทำแทนในบางเรื่อง
8. เราจะเข้าไปจัดการการกำกับดูแลให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสร
9. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของพลเมือง ในการบริหารจัดการท้องถิ่น เช่น การตั้งสภาพลเมือง เพื่อตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่น การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น การถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมจัดทำงบระดับท้องถิ่น
10. การวางโรดแมปของประเทศไทยว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค โดยให้ครม. ไปทำแผนการว่าหากยกเลิกแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้างและภายใน 5 ปี ครม. จะต้องจัดออกเสียงประชามติว่า ประชาชนต้องการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคแล้วหรือไม่
นายปิยบุตร กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกที่เราเปิดร่างนี้ขึ้นมา และเราจะรวบรวมรายชื่อผู้เชิญชวนทั้งหมด 20 คนเพื่อนำร่างฉบับนี้ไปยื่นต่อประธานรัฐสภา จากนั้นเราจะเริ่มรณรงค์ล่ารายชื่อทั่วประเทศได้ทันที โดยวันที่ 1 เม.ย.นี้ เราจะเริ่มเข้าชื่อเป็นวันแรก เราเชื่อว่าการรณรงค์ในครั้งนี้ ในชื่อของ “ขอคนละชื่อปลดล็อกท้องถิ่น” จะทำให้การกระจายอำนาจเกิดขึ้นได้จริง
เราเชื่อว่าการรณรงค์ครั้งนี้จะหาฉันทามติและฉันทานุมัติจากประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของกลุ่มการเมืองใดหรือพรรคใด แต่เป็นเรื่องประโยชน์ของการบริหารราชการแผ่นดิน ประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ และประโยชน์ของอนาคตประเทศไทย
เมื่อถามว่าหากนายกฯ ยุบสภาหรือลาออก การเปิดแคมเปญนี้จะทำอย่างไรต่อ นายปิยบุตร กล่าวว่า ถ้ายุบสภา ขึ้นอยู่ว่ายุบวันไหน ถ้ายังไม่ได้ยื่นร่างเข้าสภา เท่ากับกระบวนการยังไม่จบ เราจะล่าชื่อต่อไปเรื่อยๆ และรอสภาชุดใหม่เข้ามาค่อยยื่น แต่ถ้ายื่นไปแล้วและมีการยุบสภา รัฐธรรมนูญระบุว่า สภา ชุดใหม่สามารถเสนอร่างที่คาไว้อยู่กลับมาพิจารณาใหม่ได้ ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือการรณรงค์ทางความคิดกับประชาชนทั่วประเทศว่า เราต้องการการกระจายอำนาจหรือไม่ เราอยู่กับรัฐราชการรวมศูนย์แบบนี้ไม่ได้หรือไม่ ส่วนวันไหนได้เข้าสภา เป็นเรื่องของอนาคต เชื่อมั่นว่าเมื่อได้เข้าสู่การพิจารณาของสภา ร่างนี้จะผ่านไปได้ด้วยดี
ด้านนายธนาธร กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 14 ของเราประกอบด้วยผู้เชิญชวน 22 คนได้แก่ 1.นายธนาธร 2.นายปิยบุตร 3.น.ส.พรรณิการ์ 4.นายชำนาญ จันทร์เรือง 5.น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ 6.นายไกลก้อง ไวทยากร 7.น.ส.เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ 8.นายสุรชัย ศรีสารคาม 9.นายชัน ภักดีศรี 10.นายเดชรัต สุขกำเนิด ผอ.สถาบันวิจัยนโยบายเพื่ออนาคต (Think Forward Center) 11.นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา
12.นายประเสริฐ วชิรเขื่อนขันธ์ อดีตนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองพระประแดง 13.นายศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ เลขาธิการสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย 14.นายเทพพร จำปานวน นายกเทศมนตรีตำบลอาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด 15.นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
16.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ 17.นายธเนศวร์ เจริญเมือง นักวิชาการ 18.นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการ 19.นายถวิล ไพรสณฑ์ อดีตรมว.ทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตรองประธานสภา 20.นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้บริหารบริษัทเอกชน 21.นายพิพัฒน์ วรสิทธิ์ดำรง นายกสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย และ 22.นายบรรณ แก้วฉ่ำ นิติกรชำนาญการข้าราชการท้องถิ่น
นายธนาธร กล่าวด้วยว่า เมื่อดูรายชื่อผู้เชิญชวนทั้ง 22 คน มีผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานท้องถิ่นจริง รวมถึงนักการเมืองจากหลายพรรค และเมื่อการรณรงค์เกิดขึ้นจะเกิดการพูดคุยและแลกเปลี่ยนทั้งในระดับสังคมและระดับการเมือง ซึ่งตนเชื่อว่า ส.ส.พรรคก้าวไกล จะนำเรื่องนี้ไปปรึกษาหารือกับพรรคฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน