JJNY : ม็อบฮือชน “เอเปค”| "หมอธีระ" เปิดผลวิจัยอังกฤษ | 'ธนาธร' ปลุก ปชช.กดดัน 'ส.ส.-ส.ว.'|ห้ามซื้อขายหุ้น MORE ตลอดวัน

ม็อบฮือชน “เอเปค” ตลอดวัน จ่อผุดเวทีคู่ขนาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3671964
 
 
ม็อบฮือชน “เอเปค” จ่อผุดเวทีคู่ขนาน

ความคืบหน้าเครือข่ายราษฎร ในนามกลุ่ม “ราษฎรหยุด APEC 2022” ประกาศเคลื่อนไหวคู่ขนานในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค โดยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎรหยุดเอเปค เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างประเมินท่าทีของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร เท่าที่ทราบเบื้องต้นมีการวางกำลังตำรวจเรียกเข้าไปมากกว่าเดิม โดยเรียกตำรวจจากต่างจังหวัดเข้ามาด้วย รวมถึงเพิ่งมีประกาศปิดจุดต่างๆ เพิ่มเติมที่ห้ามจัดชุมนุม ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธี เส้นทางใหม่ หรือหาวิธีการไปให้ถึงสถานที้ประชุม(ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์)ให้ใกล้ที่สุด
 
เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่าจะมีการจัดในรูปแบบใดบ้าง น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ส่วนหลักจะมีเวทีคู่ขนานนำเสนอประเด็นที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พยายามเสนอในเอเปค เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) หรือนโยบายฟอกเขียว อยากให้ภาคประชาชนนำเสนอมุมมองว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
 
เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่า กรณีอาจจัดในพื้นที่ไม่ได้หรือเหตุอื่นๆ จะมีการปรับรูปแบบการชุมนุมอย่างไร น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า “คิดว่าอย่างไรก็ต้องตั้งเป็นเวทีให้ได้ เพราะรอบนี้ไม่ใช่มีเพียงแค่การจัดชุมนุมจากคนในกรุงเทพฯอย่างเดียว มีพี่น้องประชาชนมาจากต่างจังหวัด รวมถึงเครือข่ายต่างๆ ด้วย เชื่อว่าการสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรง คงเกินเหตุ และขายหน้ารัฐบาลมากเกินไปในเวทีต่างชาติ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังมีเวทีผู้นำจากต่างชาติอยู่ตรงนั้น คิดว่ารัฐบาลคงไม่กล้าทำอะไร นอกเหนือไปจากการกั้นพื้นที่ เพราะอย่างนั้นอย่างไรสุดท้ายก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะถูกสลายหรือไม่ถูกสลายอย่างไร สารที่สื่อสารออกไปก็คงชัดเจน” น.ส.ภัสราวลีกล่าว
 

 
"หมอธีระ" เปิดผลวิจัยอังกฤษ เปรียบเทียบลักษณะป่วยโควิด 26 อาการ ระหว่างสายพันธุ์ต่างๆ
https://siamrath.co.th/n/399135

วันที่ 14 พ.ย.65 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า...
 
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 204,102 คน ตายเพิ่ม 343 คน รวมแล้วติดไป 640,312,572 คน เสียชีวิตรวม 6,615,340 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญึ่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และฮ่องกง
 
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.98 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 90.96
 
...เปรียบเทียบอาการระหว่างสายพันธุ์ไวรัสโควิด-19
Whitaker M และคณะ จากสหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสาร Nature Communications เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา
ทำการศึกษาในกลุ่มประชากร 1,542,510 คน ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ตลอดช่วงการระบาดที่ผ่านมาตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิม อัลฟ่า เดลต้า และ Omicron BA.1 และ BA.2
เปรียบเทียบลักษณะอาการป่วย 26 อาการ ระหว่างสายพันธุ์ต่างๆ
ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อ Omicron มีโอกาสที่จะเกิดอาการป่วยมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า
ทั้งนี้ อาการที่พบในสายพันธุ์ Omicron นั้น นอกจากที่เหมือนกับสายพันธุ์อื่นคือ ไข้ ไอ และปวดกล้ามเนื้อแล้ว อาการที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นคือ การเจ็บคอ เสียงแหบ ปวดหัว คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
ในขณะที่ความผิดปกติของการรับรสและการดมกลิ่นนั้น ก็ยังเกิดขึ้นได้ แต่พบน้อยลงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า
 
...ข้อมูลข้างต้นจึงสะท้อนให้เราทราบธรรมชาติของโรคที่ประสบกันอยู่ และควรตระหนักถึงอาการข้างต้น หากใครป่วย มีอาการดังกล่าว ต้องนึกถึงโควิด-19 ด้วยเสมอ แยกตัวจากผู้อื่น และตรวจ ATK ด้วย เพื่อจะได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาได้ถูกต้อง ทันเวลา
 
...ระลอกปลายปีนี้ ไทยเราคงต้องระวัง เพราะปัจจัยพื้นฐานไม่เหมือนยุโรปและสิงคโปร์
ระลอกที่กำลังเผชิญนั้นช้ากว่าเขา 6-8 สัปดาห์ และตกอยู่ในช่วงที่คนจำนวนมากได้รับเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน
ความรู้จากงานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้านี้ ที่เคยชี้ให้เห็นว่า ประสิทธิภาพวัคซีนในการลดความรุนแรงอาจคงอยู่ถึงประมาณ 7 เดือนแล้วจะถดถอยลงมาก
ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลไตรมาสปลายปี ที่เกิดกิจกรรมเสี่ยง แออัด และท่องเที่ยวกันมาก
จึงต้องช่วยกันป้องกันตัวสม่ำเสมอ ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด
ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
โรงพยาบาลควรตรวจคัดกรองผู้ป่วยในก่อนรับเข้ารักษา เพื่อปกป้องผู้ป่วยทุกคนและบุคลากรทางการแพทย์ เรื่องนี้ควรถือเป็นสิทธิของทุกคนที่จะได้รับ
 
การดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย
คนติดเชื้อ ไม่สบาย ควรแยกตัวจากคนอื่น 7-10 วันจนดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK ได้ผลลบ
สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน

 อ้างอิง
Whitaker M et al. Variant-specific symptoms of COVID-19 in a study of 1,542,510 adults in England. Nature Communications. 11 November 2022.

https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid0pz3rJ7ZqgW6BUTjivaPnMZugW7EkZ3S3x42k7vJ2RL87fGkfid8DQ6cywVaUNaB8l
 

 
'ธนาธร' ปลุก ปชช.กดดัน 'ส.ส.-ส.ว.' รับร่างปลดล็อกท้องถิ่น เข้าสภา 29-30 พ.ย.นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3672082
 
‘ธนาธร’ ปลุก ปชช.กดดัน ‘ส.ส.-ส.ว.’ รับ ‘ร่างปลดล็อกท้องถิ่น’ ที่จะเข้าสภา 29-30 พ.ย.นี้
 
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ในฐานะผู้เสนอแก้ไขกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Thanathorn Juangroongruangkit-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ระบุว่า จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย
 
“เมื่อไหร่ประเทศไทยจะพ้นจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนา ตลอดเวลากว่า 4 ปีที่ผมและชาวอนาคตใหม่ เริ่มทำงานการเมืองมา ทุกจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ที่เราเดินทางไป เราได้เห็นคนเก่ง เห็นสถานที่ที่สวยงามตระการตา เห็นศักยภาพของผู้คน เห็นโอกาสทางเศรษฐกิจมากมายที่ทำให้เราตั้งคำถามว่าเหตุใดประเทศไทยจึงไม่สามารถไปได้ไกลกว่านี้ ทำไมเราจึงเป็นประเทศกำลังพัฒนา รายได้ปานกลาง มาตลอดหลายสิบปี” นายธนาธรกล่าว
 
นายธนาธรกล่าวว่า คณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เชื่อว่าหากประเทศไทยไม่จัดการเรื่องปัญหาการกระจายอำนาจ ไม่ให้อิสระกับท้องถิ่น เราจะไม่มีวันไปไกลกว่านี้ได้ จึงได้รณรงค์ภายใต้โครงการ “ขอคนละชื่อปลดล็อกท้องถิ่น” ซึ่งเป็นกิจกรรมเชิญชวนบุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เพื่อขจัดอุปสรรคในการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
 
นายธนาธรกล่าวต่อว่า ตลอด 3 เดือน ได้จัดเวทีรณรงค์ใน 30 จังหวัด มีประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพวกเราทั้งสิ้น 80,772 รายชื่อ และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบรายชื่อ มีเอกสารครบถ้วน จำนวน 76,591 รายชื่อ ทั้งหมดนี้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารราชการของประเทศ อยากเห็นการกระจายอำนาจที่สมบูรณ์เกิดขึ้นในประเทศไทย
นายธนาธรกล่าวว่า ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 เรียบร้อยแล้ว และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2565 ขอให้พี่น้องประชาชน รวมถึงนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภา และข้าราชการท้องถิ่นทุกท่าน ช่วยกันรณรงค์ และส่งเสียงเรียกร้องไปยังสมาชิกรัฐสภา ให้ลงคะแนนรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับตัวแทนของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่จะเข้าไปชี้แจงในสภา ประกอบไปด้วย 
1. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า 
2. นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า 
3. นายวีระศักดิ์ เครือเทพ นักวิชาการด้านการคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจและคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
4. นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลาและอดีตนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย 
และ 5. นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรค ก.ก.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่