คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขออนุญาต เพิ่มเติมนะครับ
สัสสตทิฏฐิ
ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป
ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง
วิเคราะห์สั้น ๆ พอทำความเข้าใจให้ง่าย เป็น 2 พวก ก็คือ
1. พวกสัสสตทิฏฐิในครั้งพุทธกาล ไม่รู้จักปัจจยาการ ไม่รู้จักกระบวนการเกิดดับของจิต ไม่รู้จักกระบวนเกิดขึ้นดับไปของขันธ์
แต่เชื่อเรื่องภพชาติ เชื่อว่าจิตเป็นอมตะ มีปรากฎมากมายในพระไตรปิฎก
2. พวกที่ศึกษาพระพุทธศาสนาบางพวก แม้จะท่องจำปฏิจจสมุปบาทได้ อ่านพระไตรปิฎก อธิบายปัจจยาการได้บ้างแต่ก็ยังคิดว่ามีอัตตา ตัวตน อยู่ในวงจรของกระแสธรรม ยังมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะเขาไม่เข้าใจกระบวนการของปัจจยาการ ไม่เข้าใจสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา สนใจแส่หาความเป็นความมีอัตตา ซึ่งเป็นความเห็นผิด
ผู้ศึกษาพึงระลึกไว้เสมอว่า ต่อเมื่อใดที่เรา ท่าน คุณ ใครก็ตาม ที่พูด เขียน อธิบาย สภาพธรรมที่สื่อออกมาว่ามีอัตตา นั่นคือขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คิดดูสิว่า ของใครผิด
เพื่อให้เข้าใจง่าย จะได้สลัดคืนสัสสตทิฏฐินี้ ถ้าอ่านตรงนี้เข้าใจ
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง
แต่เป็นไปได้ ที่ปุถุชน พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุข
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา
อ่าน พหุธาตุกสูตร คลิกที่นี่
และทบทวนตนเอง ค่อย ๆ ปลดเปลื้องความเห็นผิดของตนเอง มองเข้ามาที่ตนเองว่าตนเองมีความเห็นผิด จึงจะปลดเปลื้องความเห็นผิดได้
ตัวอย่างความเห็นผิด ไปคิดปรุงแต่ง มีทิฏฐิปักแน่น ว่า มีสัตว์มายึดขันธ์ ๕ <<--- อย่างนี้เรียกว่า มีความเห็นว่ามีอัตตา
พอมีความเห็นว่ามีอัตตาอย่างนี้ ก็คิดเอาสิว่า ย้อนแย้งกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ ควรจะเชื่อ จะยึดคำสอนแบบนี้ไหรือไม่ ?
อุจเฉททิฏฐิ
ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ ตรงข้ามกับ สัสสตทิฏฐิ
ตัวอย่างของกลุ่มคนที่เชื่อว่าตายแล้วขาดสูญ
ยกคำที่คุณมะม่วงหิมพานต์ได้เขียนไว้ มาแสดงต่อนะครับ
คนกลุ่มนี้ ไม่รู้จักขันธ์ 5 ไม่เชื่อในการมีอยู่ของชีวิตหลังความตาย
เขาเชื่อว่าเกิดมาชาติเดียว ตายแล้วก็จบกันไป เพราะเมื่อร่างกายต้องตาย
ตัวตนของเขาก็ต้องจบสิ้นตามร่างกายที่ตายนั้นไปด้วย
นี่คือตัวอย่างของพวกที่เห็นว่ามีตัวตน เมื่อตัวตนแตกสลาย กายแตกสลาย กายแตกทำลาย (ตายนั่นแหละ) แล้วก็จบกัน
นี่คือตัวอย่างของพวกอุจเฉททิฏฐิ
คนที่ไม่เข้าใจปัจจยาการในพระพุทธศาสนา ก็อาจเข้าใจไปว่า การมีทิฏฐิแบบอุจเฉททิฏฐินี่สุดยอดไปเลย สุดยอดอย่างไร
กล่าวคือ พวกนี้ไม่ต้องเสียเวลาปฏิบัติธรรมใด ๆ ไม่ต้องรู้จักอริยสัจสี่ ไม่ต้องรู้จักปฏิจจสมุปบาท พวกเขาตายไปก็ขาดสูญเหมือนกับพวกที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาแล้วนี่ !!!
แล้วพวกเขาก็ปิดกั้นตนเอง ไม่ต้องเสียเวลาปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ พวกเขาก็ขาดสูญแล้ว จะเสียเวลาทำไม ?
ผมเคยอธิบายไปแล้วว่า คำว่า ขาดสูญ ของพวกอุจเฉททิฏฐิ ก็อย่างหนึ่ง การดับสูญของพระอรหันต์ก็อย่างหนึ่ง
https://ppantip.com/topic/41303287/comment52
ขาดสูญ แบบอุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
พระพุทธเจ้าแสดงไว้ว่า พวกอุจเฉททิฏฐิ ตายแล้วยังต้องไปเกิดในสังสารวัฏ อันมีอบายภูมิเป็นที่หมาย
ผู้ศึกษาพึงทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ว่า
พระอรหันต์ ผู้ปราศจากกิเลส ร่างกายแตกทำลาย (ตาย)แล้วดับสูญไป ตามเหตุปัจจัย
ไม่เท่ากับ
ตายแล้วขาดสูญตามที่พวกอุจเฉททิฏฐิบัญญัติไว้
ความเข้าใจเรื่องนี้ ต้องอาศัยสัมมาทิฏฐิ หากอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ก็จะไม่ใช่ฐานะที่จะเข้าใจได้เลย
นี่คือเหตุ ที่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงพยากรณ์ (ไม่ทำให้แจ้ง ไม่อธิบายให้แจ่มแจ้ง) อัพยากตธรรม กับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวกที่ไม่เปิดใจฟังธรรมของพระองค์
วัจฉโคตรปริพาชก เพียรพยายามไปสอบถามธรรมเรื่องนี้ --> ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ จากพระพุทธเจ้า
ตัวอย่างคำว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ มาในอัคคิวัจฉโคตตสูตร พระุทธเจ้าท่านก็อธิบายไว้ชัดเจน ว่า
[๒๔๗] ดูกรวัจฉะ ความเห็นว่า
โลกเที่ยง ... โลกไม่เที่ยง ...
โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ...
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ [ผู้ศึกษาควรดูจากพระสูตรเต็มมีคำบาลีมากกว่านี้]๑
ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ [ผู้ศึกษาควรดูจากพระสูตรเต็มมีคำบาลีมากกว่านี้]
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ...
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้
ดังนี้นั้น เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร
เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัดแกว่ง
เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความลำบาก
เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
ดูกรวัจฉะ เราเห็นโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวงเช่นนี้.
๑ ยกตัวอย่าง บาลี ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ เพื่อให้รู้ว่ามีคำนี้อยู่ในพระสูตร
[ความเห็นของผู้เขียน -->วัจฉโคต เปิดใจฟังธรรม จึงได้กราบทูลถาม และพระพุทธเจ้าทรงแสดงปัจจยาการ)
วัจฉโคต : ก็ความเห็นอะไร ๆ ของท่านพระโคดม มีอยู่บ้างหรือ?
ดูกรวัจฉะ ก็คำว่าความเห็นดังนี้นั้น ตถาคตกำจัดเสียแล้ว
ดูกรวัจฉะ ก็ตถาคตเห็นแล้วว่า
ดังนี้ รูป ดังนี้ ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่งรูป
ดังนี้ เวทนา ดังนี้ ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ ความดับแห่งเวทนา
ดังนี้ สัญญา ดังนี้ ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้ สังขาร ดังนี้ ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ ความดับแห่งสังขาร
ดังนี้ วิญญาณ ดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณ
เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
ตถาคตพ้นวิเศษแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะคลายกำหนัด เพราะดับสนิท เพราะสละเพราะปล่อย เพราะไม่ถือมั่น
ซึ่งความสำคัญทั้งปวง ซึ่งความต้องการทั้งปวง ซึ่งความถือว่าเราว่าของเรา และความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง.
พระสูตรเต็ม ที่นี่ อัคคิวัจฉโคตตสูตร
วัจฉโคตปริพาชกผู้มีความเห็นผิดนี้ มีความเพียรในการสอบถามธรรมจากพระพุทธเจ้าบ่อยครั้ง
จนในที่สุดพระพุทธเจ้ารู้ว่าเปิดใจฟังธรรม
ครั้นได้ฟังธรรมแล้วก็เข้าใจ ปลดเปลื้องความเห็นผิดของตนที่สะสมมายาวนาน ประกาศว่า
ข้าพระองค์นี้ถึงท่านพระโคดม พระธรรมและภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
พวกสัสสตทิฏฐิ+อุจเฉททิฏฐิ อ่านพระสูตรนี้แล้ว ควรทำความเข้าใจเพื่อละทิฏฐิเดิม
ไม่ใช่อ่านแล้วกลับทำให้เกิดความปักแน่นในสัสสตทิฏฐิ+อุจเฉททิฏฐิ
สรุป
ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีอัตตา ไม่มีขาดสูญแบบอุจเฉททิฏฐิ (ไม่งงนะครับ)
พระพุทธเจ้าท่านแสดงทางสายกลางแบบปัจจยาการ ท่านอธิบายไว้ดีแล้ว มีเหตุเกิด มีเหตุดับ
ละเอียดลงไปอีก จิตเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและดับไปตามเหตุปัจจัย
จิตของปุถุชนแม้เกิดขึ้นและดับไปแล้ว ก็ยังมีเหตุปัจจัย(คือกิเลส ตัณหา ความพอใจ)ให้มีจิตดวงใหม่เกิดขึ้น
จิตของพระอรหันต์(สิ้นกิเลส สิ้นตัณหา) เมื่อกายแตกทำลาย (ตาย) ดับแล้ว ก็ไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น
อย่ามัวไปมั่ว ให้ไฟฟ้าผ่าหัว ตีความมั่วซั่ว บิดเบือนให้คนอื่นเข้าใจเฉไฉออกไปว่า พระอรหันต์ขาดสูญแบบพวกอุจเฉททิฏฐิ เลยนะครับ
ว่าแต่ว่า พวกสัสสตทิฏฐิ ในเว็บบอร์ดนี้
จะเปิดใจอ่านข้อความของคุณมะม่วงหิมพานต์ คุณทำหมู คุณโอวันติ คุณวงกลม คุณ volk-w ฯลฯ และ ที่ผมเขียนนี้บ้างหรือเปล่าน้อ ?
สัสสตทิฏฐิ
ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป
ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง
วิเคราะห์สั้น ๆ พอทำความเข้าใจให้ง่าย เป็น 2 พวก ก็คือ
1. พวกสัสสตทิฏฐิในครั้งพุทธกาล ไม่รู้จักปัจจยาการ ไม่รู้จักกระบวนการเกิดดับของจิต ไม่รู้จักกระบวนเกิดขึ้นดับไปของขันธ์
แต่เชื่อเรื่องภพชาติ เชื่อว่าจิตเป็นอมตะ มีปรากฎมากมายในพระไตรปิฎก
2. พวกที่ศึกษาพระพุทธศาสนาบางพวก แม้จะท่องจำปฏิจจสมุปบาทได้ อ่านพระไตรปิฎก อธิบายปัจจยาการได้บ้างแต่ก็ยังคิดว่ามีอัตตา ตัวตน อยู่ในวงจรของกระแสธรรม ยังมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะเขาไม่เข้าใจกระบวนการของปัจจยาการ ไม่เข้าใจสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา สนใจแส่หาความเป็นความมีอัตตา ซึ่งเป็นความเห็นผิด
ผู้ศึกษาพึงระลึกไว้เสมอว่า ต่อเมื่อใดที่เรา ท่าน คุณ ใครก็ตาม ที่พูด เขียน อธิบาย สภาพธรรมที่สื่อออกมาว่ามีอัตตา นั่นคือขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คิดดูสิว่า ของใครผิด
เพื่อให้เข้าใจง่าย จะได้สลัดคืนสัสสตทิฏฐินี้ ถ้าอ่านตรงนี้เข้าใจ
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง
แต่เป็นไปได้ ที่ปุถุชน พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุข
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา
แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา
อ่าน พหุธาตุกสูตร คลิกที่นี่
และทบทวนตนเอง ค่อย ๆ ปลดเปลื้องความเห็นผิดของตนเอง มองเข้ามาที่ตนเองว่าตนเองมีความเห็นผิด จึงจะปลดเปลื้องความเห็นผิดได้
ตัวอย่างความเห็นผิด ไปคิดปรุงแต่ง มีทิฏฐิปักแน่น ว่า มีสัตว์มายึดขันธ์ ๕ <<--- อย่างนี้เรียกว่า มีความเห็นว่ามีอัตตา
พอมีความเห็นว่ามีอัตตาอย่างนี้ ก็คิดเอาสิว่า ย้อนแย้งกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ ควรจะเชื่อ จะยึดคำสอนแบบนี้ไหรือไม่ ?
อุจเฉททิฏฐิ
ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ ตรงข้ามกับ สัสสตทิฏฐิ
ตัวอย่างของกลุ่มคนที่เชื่อว่าตายแล้วขาดสูญ
ยกคำที่คุณมะม่วงหิมพานต์ได้เขียนไว้ มาแสดงต่อนะครับ
คนกลุ่มนี้ ไม่รู้จักขันธ์ 5 ไม่เชื่อในการมีอยู่ของชีวิตหลังความตาย
เขาเชื่อว่าเกิดมาชาติเดียว ตายแล้วก็จบกันไป เพราะเมื่อร่างกายต้องตาย
ตัวตนของเขาก็ต้องจบสิ้นตามร่างกายที่ตายนั้นไปด้วย
นี่คือตัวอย่างของพวกที่เห็นว่ามีตัวตน เมื่อตัวตนแตกสลาย กายแตกสลาย กายแตกทำลาย (ตายนั่นแหละ) แล้วก็จบกัน
นี่คือตัวอย่างของพวกอุจเฉททิฏฐิ
คนที่ไม่เข้าใจปัจจยาการในพระพุทธศาสนา ก็อาจเข้าใจไปว่า การมีทิฏฐิแบบอุจเฉททิฏฐินี่สุดยอดไปเลย สุดยอดอย่างไร
กล่าวคือ พวกนี้ไม่ต้องเสียเวลาปฏิบัติธรรมใด ๆ ไม่ต้องรู้จักอริยสัจสี่ ไม่ต้องรู้จักปฏิจจสมุปบาท พวกเขาตายไปก็ขาดสูญเหมือนกับพวกที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาแล้วนี่ !!!
แล้วพวกเขาก็ปิดกั้นตนเอง ไม่ต้องเสียเวลาปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ พวกเขาก็ขาดสูญแล้ว จะเสียเวลาทำไม ?
ผมเคยอธิบายไปแล้วว่า คำว่า ขาดสูญ ของพวกอุจเฉททิฏฐิ ก็อย่างหนึ่ง การดับสูญของพระอรหันต์ก็อย่างหนึ่ง
https://ppantip.com/topic/41303287/comment52
ขาดสูญ แบบอุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
พระพุทธเจ้าแสดงไว้ว่า พวกอุจเฉททิฏฐิ ตายแล้วยังต้องไปเกิดในสังสารวัฏ อันมีอบายภูมิเป็นที่หมาย
ผู้ศึกษาพึงทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ว่า
พระอรหันต์ ผู้ปราศจากกิเลส ร่างกายแตกทำลาย (ตาย)แล้วดับสูญไป ตามเหตุปัจจัย
ไม่เท่ากับ
ตายแล้วขาดสูญตามที่พวกอุจเฉททิฏฐิบัญญัติไว้
ความเข้าใจเรื่องนี้ ต้องอาศัยสัมมาทิฏฐิ หากอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ก็จะไม่ใช่ฐานะที่จะเข้าใจได้เลย
นี่คือเหตุ ที่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงพยากรณ์ (ไม่ทำให้แจ้ง ไม่อธิบายให้แจ่มแจ้ง) อัพยากตธรรม กับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวกที่ไม่เปิดใจฟังธรรมของพระองค์
วัจฉโคตรปริพาชก เพียรพยายามไปสอบถามธรรมเรื่องนี้ --> ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ จากพระพุทธเจ้า
ตัวอย่างคำว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ มาในอัคคิวัจฉโคตตสูตร พระุทธเจ้าท่านก็อธิบายไว้ชัดเจน ว่า
[๒๔๗] ดูกรวัจฉะ ความเห็นว่า
โลกเที่ยง ... โลกไม่เที่ยง ...
โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ...
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ [ผู้ศึกษาควรดูจากพระสูตรเต็มมีคำบาลีมากกว่านี้]๑
ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ [ผู้ศึกษาควรดูจากพระสูตรเต็มมีคำบาลีมากกว่านี้]
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ...
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้
ดังนี้นั้น เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร
เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัดแกว่ง
เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความลำบาก
เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
ดูกรวัจฉะ เราเห็นโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวงเช่นนี้.
๑ ยกตัวอย่าง บาลี ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ เพื่อให้รู้ว่ามีคำนี้อยู่ในพระสูตร
[ความเห็นของผู้เขียน -->วัจฉโคต เปิดใจฟังธรรม จึงได้กราบทูลถาม และพระพุทธเจ้าทรงแสดงปัจจยาการ)
วัจฉโคต : ก็ความเห็นอะไร ๆ ของท่านพระโคดม มีอยู่บ้างหรือ?
ดูกรวัจฉะ ก็คำว่าความเห็นดังนี้นั้น ตถาคตกำจัดเสียแล้ว
ดูกรวัจฉะ ก็ตถาคตเห็นแล้วว่า
ดังนี้ รูป ดังนี้ ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่งรูป
ดังนี้ เวทนา ดังนี้ ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ ความดับแห่งเวทนา
ดังนี้ สัญญา ดังนี้ ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้ สังขาร ดังนี้ ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ ความดับแห่งสังขาร
ดังนี้ วิญญาณ ดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณ
เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
ตถาคตพ้นวิเศษแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะคลายกำหนัด เพราะดับสนิท เพราะสละเพราะปล่อย เพราะไม่ถือมั่น
ซึ่งความสำคัญทั้งปวง ซึ่งความต้องการทั้งปวง ซึ่งความถือว่าเราว่าของเรา และความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง.
พระสูตรเต็ม ที่นี่ อัคคิวัจฉโคตตสูตร
วัจฉโคตปริพาชกผู้มีความเห็นผิดนี้ มีความเพียรในการสอบถามธรรมจากพระพุทธเจ้าบ่อยครั้ง
จนในที่สุดพระพุทธเจ้ารู้ว่าเปิดใจฟังธรรม
ครั้นได้ฟังธรรมแล้วก็เข้าใจ ปลดเปลื้องความเห็นผิดของตนที่สะสมมายาวนาน ประกาศว่า
ข้าพระองค์นี้ถึงท่านพระโคดม พระธรรมและภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
พวกสัสสตทิฏฐิ+อุจเฉททิฏฐิ อ่านพระสูตรนี้แล้ว ควรทำความเข้าใจเพื่อละทิฏฐิเดิม
ไม่ใช่อ่านแล้วกลับทำให้เกิดความปักแน่นในสัสสตทิฏฐิ+อุจเฉททิฏฐิ
สรุป
ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีอัตตา ไม่มีขาดสูญแบบอุจเฉททิฏฐิ (ไม่งงนะครับ)
พระพุทธเจ้าท่านแสดงทางสายกลางแบบปัจจยาการ ท่านอธิบายไว้ดีแล้ว มีเหตุเกิด มีเหตุดับ
ละเอียดลงไปอีก จิตเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและดับไปตามเหตุปัจจัย
จิตของปุถุชนแม้เกิดขึ้นและดับไปแล้ว ก็ยังมีเหตุปัจจัย(คือกิเลส ตัณหา ความพอใจ)ให้มีจิตดวงใหม่เกิดขึ้น
จิตของพระอรหันต์(สิ้นกิเลส สิ้นตัณหา) เมื่อกายแตกทำลาย (ตาย) ดับแล้ว ก็ไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น
อย่ามัวไปมั่ว ให้ไฟฟ้าผ่าหัว ตีความมั่วซั่ว บิดเบือนให้คนอื่นเข้าใจเฉไฉออกไปว่า พระอรหันต์ขาดสูญแบบพวกอุจเฉททิฏฐิ เลยนะครับ
ว่าแต่ว่า พวกสัสสตทิฏฐิ ในเว็บบอร์ดนี้
จะเปิดใจอ่านข้อความของคุณมะม่วงหิมพานต์ คุณทำหมู คุณโอวันติ คุณวงกลม คุณ volk-w ฯลฯ และ ที่ผมเขียนนี้บ้างหรือเปล่าน้อ ?
แสดงความคิดเห็น
ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ = ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
จะยกตัวอย่างให้สมาชิกได้พิจารณา
คำว่า "ชีพ" มาจากคำว่า "ชีวะ" เป็นตัวอาตมันที่หลายศาสนาในครั้งพุทธกาลเชื่อถือกัน
ดูตัวอย่างใน วิกิพีเดีย
เมื่อเข้าใจคำว่า "ชีพ" ในพระไตรปิฎก หมายถึงตัวอะไรแล้ว
คราวนี้ "ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" มันมีอาการประมาณเท่าใด ?
ผมจะยกตัวอย่างในปัจจุบันนี้ใกล้ๆ ตัวมาแสดง
คือพวกไม่นับถือศาสนาอะไรเลย
คนกลุ่มนี้ ไม่รู้จักขันธ์ 5 ไม่เชื่อในการมีอยู่ของชีวิตหลังความตาย
เขาเชื่อว่าเกิดมาชาติเดียว ตายแล้วก็จบกันไป เพราะเมื่อร่างกายต้องตาย
ตัวตนของเขาก็ต้องจบสิ้นตามร่างกายที่ตายนั้นไปด้วย
ความเชื่อแบบนี้แหละที่เรียกว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ = ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
แล้วมันต่างกันอย่างไรกับความเชื่อในพุทธศาสนา
ก็ชีวะและสรีระที่ยึดถือกันอยู่ในครั้งพุทธกาลนี้แหละ
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า เป็นความเชื่อที่ผิดไปจากความจริง
"ชีวะ" ที่ยึดถือกันว่าคือตัวตนของเรานั้น เป็นเรื่องที่เราทึกทักเอาด้วยตัณหา อุปาทาน
ชีวิตคนเรานั้น มีกลไกการทำงานเป็นแบบฉบับอย่างขันธ์ 5 คือเป็นสภาวะธรรม 5 ประเภท
ที่เกิดดับตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย มีเหตุเกิดก็เกิดขึ้น พอหมดเหตุก็ดับไป
และสืบต่อกันไปได้อย่างนับชาติไม่ถ้วน เหตุเกิดที่เรียกว่าสมุทัยยังคงมีอยู่
สรุปว่า
1."ชีวะ" พุทธศาสนาไม่เชื่อว่าชีวะนี้มีตัวตนจริงๆ
เป็นเพียงสักกายะทิฏฐิที่ยึดมั่นถือมั่นเอาเพราะเหตุคือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิที่ผิด
2."สรีระ" ส่วนมากจะหมายถึงรูปร่างกาย ซึ่งรูปร่างกายนี้ ในทางพุทธศาสนาจัดเข้าเป็นขันธ์ๆ หนึ่งเท่านั้น
คือรูปขันธ์ ความตายของร่างกายไม่สามารถหยุดการสืบต่อของชีวิตได้ ถ้ายังมีสมุทัย หรือ เหตุเกิด ตือ
อวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน การสืบต่อของขันธ์ ก็ยังคงทำให้ขันธ์ 5 เกิดดับ-สืบต่อกันไปอีกได้เรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น
3.การเปรียบเทียบขันธ์ 5 ว่าคือ "สรีระ" เพียงอย่างเดียวเป็นการเปรียบที่ผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าท่านแบ่งเอาไว้
และ "ชีวะ" หมายถึงตัวที่คอยเวียนว่ายตายเกิด ก็ยิ่งเข้าใจผิด เพราะพระพุทธศาสนาไม่เชื่อเรื่องอาตมันหรือชีวะ หรือชีพ อันนี้ มาตั้งแต่ต้น
4.การสืบต่อของขันธ์ 5 นั้น เป็นไปได้เรื่อยๆ แม้ร่างกายตายลง โดยถือเอาจิต-องค์ธรรมประกอบจิต-และรูปบางประเภท
ที่จะเกิดขึ้นต่อไป เพราะเหตุปัจจัยกระตุ้นให้เกิดขึ้น
5.ขันธ์ 5 ที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติเอาไว้แล้วนำมาสอนนั้น หมายถึงทั้งรูปธรรมและนามธรรม
โดยที่พระองค์เอา ชีวิตมาตั้ง --->แล้วก็แบ่งย่อยออกเป็นขันธ์ 5
ดังนั้น ความสามารถในการสืบต่อของชีวิต ก็ย่อมเกิดจากความสามารถของขันธ์ 5 ด้วยตัวมันเองนั่นเอง
ไม่จำเป็นต้องไปหาตัวอะไรมาคอยเวียน่ายตายเกิดอีก
เมื่อท่านเอาชีวิตมาตั้ง -->แล้วก็แบ่งแยกย่อยออกไปเป็นขันธ์ 5
เมื่อชีวิตเกิดการสืบต่อไปยังภพชาติต่อไป ก็ย่อมเกิดจากสภาวะธรรมย่อย คือขันธ์ 5 นั่นเองเป็นตัวกระทำกิจ
ไม่ใช่ตัวพิเศษอะไรที่ไหนเป็นตัวกระทำการ
กระทู้นี้ตั้งขึ้น เพราะนายหัวหอมที่ครั้งหนึ่งได้อาละวาดเอากับสมาชิกจนโดนยึดล๊อคอิน
แต่ต่อมาได้สมัครสมาชิกเข้ามากมายหลายล๊อคอิน และมาตั้งกระทู้พาดพิงความเห็นของผม
ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ
โดยที่ตนนั้น ไม่รู้ว่า "ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" หมายถึงอะไร ?
ก็เลยตั้งกระทู้อธิบายให้เป็นเรื่องเป็นราว โดยตั้งใจว่า เมื่อคุณหัวหอมได้ทำความเข้าใจแล้ว
จะช่วยให้เขาเลิกเอาเนื้อหาแบบกระทู้นี้มาเถียงผู้อื่นเสียที เพราะจะเถียงเขาทั้งที
ตนก็ยังเอาเรื่องที่ตนเข้าใจผิดนั่นแหละมาเถียงเค้า..
อาศัยว่าเรื่องเหล่านี้มันต้อลงลึกเกินกว่าปรกติ หัวหอมเลยอาศัยช่องทางนี้มาตีเนียน
ผมห่วงก็แต่ผู้ที่กำลังศึกษาพระธรรม อาจจะหลงไปกับท่าทางอันน่าเชื่อถือของโมฆะบุรุษเข้า
จะทำให้เสียเวลาในการศึกษาพระธรรม จนอาจเลยเถิดไปสู่ความเสื่อมลงของพุทธศาสนาได้ครับ.
อนุโมทนาทุกท่าน.