ปัญหาธรรมะ?

กระทู้คำถาม
1.รู้เห็นอย่างไร    อาสวะจึงสิ้นไป...?

2.ถึงจะอยากและคิดว่า    ‘ทำอย่างไรหนอ    จิตจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น’    แต่ก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ เพราะไม่ได้ทำอะไร?

3.อริยสาวกรู้ชัดความเกิด    ความดับ    คุณ    โทษ    และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์    ๕    ตามความเป็นจริง เป็นอริยะสาวกขั้นใด?

4.ทำอะไรถึงเป็ยนักแสดงธรรม เป็นธรรมกถึก ?

5.นักปฏิบัติ ทำอย่างไรถึงถือว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม?
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
1.รู้เห็นอย่างไร    อาสวะจึงสิ้นไป...?
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
             คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
             คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
             เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ

2.ถึงจะอยากและคิดว่า    ‘ทำอย่างไรหนอ    จิตจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น’    แต่ก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ เพราะไม่ได้ทำอะไร?
เพราะไม่ได้เจริญ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และอริยมรรคมีองค์ 8


3.อริยสาวกรู้ชัดความเกิด    ความดับ    คุณ    โทษ    และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์    ๕    ตามความเป็นจริง เป็นอริยะสาวกขั้นใด?
ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่อง
สลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง. เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า
เป็นโสดาบันผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

4.ทำอะไรถึงเป็ยนักแสดงธรรม เป็นธรรมกถึก ?
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’

5.นักปฏิบัติ ทำอย่างไรถึงถือว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม?
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม'
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่