พุทธวจน
."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
...."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ
ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน
๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑. ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี. เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและ
ความยึดมั่น แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความ
ยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ
เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่
ต้องเชื่อผู้อื่นเลย. ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. ดูกรกัจจานะ
ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี. ตถาคตแสดงธรรมโดย
สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะ
อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา
ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร
หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต
กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ
สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้
มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.
เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเรา
ไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่า
เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรา
นี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของ
แน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้
เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบ
สัตว์ไว้คือทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ
เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควร
มนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริย-
*สาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวก
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้น
เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น
เปิดธรรมที่ถูกปิด มีตรงไหนที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่ามีสิ่งอื่นที่เป็นสังขารนอกเหนือจากขันธ์ห้ามาเกาะขันธ์ห้า
."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
...."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ
ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน
๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑. ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี. เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและ
ความยึดมั่น แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความ
ยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ
เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่
ต้องเชื่อผู้อื่นเลย. ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. ดูกรกัจจานะ
ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี. ตถาคตแสดงธรรมโดย
สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะ
อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา
ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร
หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต
กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ
สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้
มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.
เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเรา
ไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่า
เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรา
นี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของ
แน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้
เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบ
สัตว์ไว้คือทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ
เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควร
มนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริย-
*สาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวก
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้น
เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น