✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋สัมมาทิฏฐิว่าด้วยความเห็นชอบ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
พุทธวจนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ เป็นที่ตั้งของ
เวทนา ฯ
...........................................................................................................
พระอัสสชิเถระคาถา
.........................................................................................................
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณ
ไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณ
เป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความ
คิดนี้ว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเรา
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละ
คืนอุปธิทั้งปวง ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทาน
ย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา.
แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔) ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรม
ได้.
...............................................................................................................
อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า ดูกรกัจจานะ
โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน
๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑. ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริงอยู่
ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี. เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอยู่
ความมีในโลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและ
ความยึดมั่น
แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความ
ยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ
เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่
ต้องเชื่อผู้อื่นเลย. ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. ดูกรกัจจานะ
ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี. ตถาคตแสดงธรรมโดย
สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
..............................................................................................................
วชิราภิกษุณีคาถา
พุทธวจนะ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง มีอยู่ ถ้าไม่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง ก็จะปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุที่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง จึงปรากฏได้."
..............................................................................
สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์
ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น
ทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก
ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น. ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน
กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ
เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้
ด้วยมือและเท้า ฉันใด ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้
เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา
ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด
จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง
จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น
นั่นเทียวแล. ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
..............................................................................................................
พุทธวจนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงภาระ
ผู้แบกภาระ
เครื่องถือมั่นภาระ
และเครื่องวางภาระ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่
ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่า
ภาระ คืออุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป อุปาทานขันธ์ คือเวทนา อุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทาน
ขันธ์ คือสังขาร และอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็
ผู้แบกภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่าบุคคล บุคคลนี้นั้น คือ
ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าผู้แบกภาระ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็
เครื่องถือมั่นภาระเป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเครื่องถือมั่นภาระ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็
การวางภาระเป็นไฉน? ความที่ตัณหานั่นแลดับไปด้วย
สำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าการวางภาระ. พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล เครื่องถือมั่น
ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข
บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อม
ทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.
.................................................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริย-
*สาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวก
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้น
เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้
สังโยชน์ ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น
......................................................................................
โปฏฐปาทะ ความได้อัตตา ๓ เหล่านี้ คือ ได้อัตตาที่หยาบ ๑ ได้อัตตา
ที่สำเร็จด้วยใจ ๑ ได้อัตตาที่หารูปมิได้ ๑
ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อละความได้อัตตาที่หยาบว่า พวกท่าน
ปฏิบัติอย่างไรจึงจะละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อละความได้อัตตาแม้ที่สำเร็จด้วยใจว่า
พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อละความได้อัตตาแม้ที่หารูปมิได้ว่า พวกท่าน
ปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
..................................................................................
ดูกรจิตตะ อย่างนั้นแหละ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้น ไม่นับว่า
ได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่หยาบอย่างเดียว.
ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ
ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว.
ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หารูปมิได้ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ
ไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้อย่างเดียว
ดูกรจิตตะ เหล่านี้แลเป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาของโลก เป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติ
ของโลก ที่ตถาคตกล่าวอยู่ มิได้ยึดถือ.
...............................................
สัมมาทิฏฐิสูตร
www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1518&Z=1753
เปิดธรรมที่ถูกปิด สัมมาทิฐิ ที่จริงแท้ไม่ยากต่อการเข้าใจเป็นเบื้องต้นต่อการปฎิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ เป็นที่ตั้งของ
เวทนา ฯ
...........................................................................................................
เหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ
ทรงสั่งสอนอย่างนี้.
.........................................................................................................
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณ
ไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณ
เป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความ
คิดนี้ว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเรา
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละ
คืนอุปธิทั้งปวง ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทาน
ย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา.
แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔) ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรม
ได้.
...............................................................................................................
อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า ดูกรกัจจานะ
โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน
๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑. ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริงอยู่
ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี. เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอยู่
ความมีในโลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและ
ความยึดมั่น
แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความ
ยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ
เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่
ต้องเชื่อผู้อื่นเลย. ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. ดูกรกัจจานะ
ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี. ตถาคตแสดงธรรมโดย
สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
..............................................................................................................
ในกองสังขารล้วนนี้(ของอรหันต์) ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด ฯ
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ
ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์
ไม่มีอะไรดับฯ
...................................................................................................
ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ คือนิพพาน
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง มีอยู่ ถ้าไม่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง ก็จะปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุที่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง จึงปรากฏได้."
..............................................................................
สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์
ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น
ทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก
ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น. ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน
กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ
เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้
ด้วยมือและเท้า ฉันใด ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้
เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา
ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด
จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง
จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น
นั่นเทียวแล. ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
..............................................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงภาระ
ผู้แบกภาระ
เครื่องถือมั่นภาระ
และเครื่องวางภาระ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่
ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่า
ภาระ คืออุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป อุปาทานขันธ์ คือเวทนา อุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทาน
ขันธ์ คือสังขาร และอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็
ผู้แบกภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่าบุคคล บุคคลนี้นั้น คือ
ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าผู้แบกภาระ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็
เครื่องถือมั่นภาระเป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเครื่องถือมั่นภาระ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็
การวางภาระเป็นไฉน? ความที่ตัณหานั่นแลดับไปด้วย
สำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าการวางภาระ. พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล เครื่องถือมั่น
ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข
บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อม
ทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.
.................................................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริย-
*สาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวก
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้น
เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้
สังโยชน์ ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น
......................................................................................
โปฏฐปาทะ ความได้อัตตา ๓ เหล่านี้ คือ ได้อัตตาที่หยาบ ๑ ได้อัตตา
ที่สำเร็จด้วยใจ ๑ ได้อัตตาที่หารูปมิได้ ๑
ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อละความได้อัตตาที่หยาบว่า พวกท่าน
ปฏิบัติอย่างไรจึงจะละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อละความได้อัตตาแม้ที่สำเร็จด้วยใจว่า
พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อละความได้อัตตาแม้ที่หารูปมิได้ว่า พวกท่าน
ปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
..................................................................................
ดูกรจิตตะ อย่างนั้นแหละ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้น ไม่นับว่า
ได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่หยาบอย่างเดียว.
ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ
ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว.
ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หารูปมิได้ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ
ไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้อย่างเดียว
ดูกรจิตตะ เหล่านี้แลเป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาของโลก เป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติ
ของโลก ที่ตถาคตกล่าวอยู่ มิได้ยึดถือ.
...............................................
สัมมาทิฏฐิสูตร
www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1518&Z=1753