สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมตาม
ค้นหารูป. คติของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา. คติของเวทนามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหา
สัญญา. คติของสัญญามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร. คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหา
วิญญาณ. คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร? ก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เมื่อภิกษุตามค้นหารูป คติ
ของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา คติของเวทนามีเท่าไร? ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญา
มีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาวิญญาณ คติของวิญญาณ
มีอยู่เท่าไร? แม้ความถือใดด้วยอำนาจทิฏฐิว่า เราก็ดี ด้วยอำนาจตัณหาว่า ของเราก็ดี ด้วย
อำนาจมานะว่า เป็นเราก็ดี ของภิกษุใดมีอยู่ ความถือแม้นั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น. บุคคลย่อม
พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า จงมองดู จงพิจารณา
จงเทียบเคียง จงตรวจตรา จงให้แจ่มแจ้ง จงทำให้ปรากฏ ซึ่งโลกโดยความเป็นของสูญ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ.
[๕๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่าโมฆราช ในอุเทศว่า โมฆราช
สทา สโต ดังนี้. คำว่า ทุกเมื่อ คือ ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ
คือ มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ
บุคคลนั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรโมฆราช ... มีสติทุกเมื่อ.
[๕๐๗] ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ตรัสว่า อัตตานุทิฏฐิ ในอุเทศว่า อตฺตานุทิฏฺฐิ อูหจฺจ ดังนี้.
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็น
รูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็น
ตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง
ทิฏฐิอันไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิเป็นทางกันดาร ทิฏฐิเป็นข้าศึก (เสี้ยนหนาม) ทิฏฐิอันแส่
ไปผิด ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบไว้ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความจับต้องทางชั่ว
ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือโดยการแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความ
ถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในวัตถุไม่จริงว่าเป็นจริง ทิฏฐิ ๖๒ มีเท่าไร? ทิฏฐินี้เป็น
อัตตานุทิฏฐิ.
คำว่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว ความว่า รื้อ ถอน ฉุด ชัก ลากออก เพิกขึ้น
ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอัตตานุทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถอน
อัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว.
[๕๐๘] คำว่า พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ความว่า พึงข้ามขึ้น ก้าวล่วง เป็น
ไปล่วง แม้ซึ่งมัจจุ แม้ซึ่งชรา แม้ซึ่งมรณะ ด้วยอุบายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามพ้น
มัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
[๕๐๙] คำว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ ความว่า มองเห็น พิจารณาเห็น เทียบเคียง
พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโลกด้วยอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโลก
อย่างนี้.
[๕๑๐] แม้มารก็ชื่อว่ามัจจุราช แม้ความตายก็ชื่อว่ามัจจุราช ในอุเทศว่า มจฺจุราชา น
ปสฺสติ ดังนี้. คำว่า ย่อมไม่เห็น ความว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น คือ ไม่ประสบ ไม่พบ
ไม่ปะ ไม่ได้เฉพาะ.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า
เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่
ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมาร
ให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เข้า
ตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่
ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะ
ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่
ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญ-
*จยาตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดไม่ได้. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. และอาสวะของภิกษุนั้นก็หมดสิ้นไป เพราะเห็น
ด้วยปัญญา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่าทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่
สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ. ภิกษุ
นั้นเดินอยู่ก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เพราะภิกษุนั้นไม่ไปในทางแห่งมารผู้ลามก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความ
เป็นของสูญทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงข้ามพ้น
มัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้. เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้
มัจจุราชจึงไม่เห็น.
ว่าด้วยบุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้
ค้นหารูป. คติของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา. คติของเวทนามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหา
สัญญา. คติของสัญญามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร. คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหา
วิญญาณ. คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร? ก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เมื่อภิกษุตามค้นหารูป คติ
ของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา คติของเวทนามีเท่าไร? ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญา
มีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาวิญญาณ คติของวิญญาณ
มีอยู่เท่าไร? แม้ความถือใดด้วยอำนาจทิฏฐิว่า เราก็ดี ด้วยอำนาจตัณหาว่า ของเราก็ดี ด้วย
อำนาจมานะว่า เป็นเราก็ดี ของภิกษุใดมีอยู่ ความถือแม้นั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น. บุคคลย่อม
พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า จงมองดู จงพิจารณา
จงเทียบเคียง จงตรวจตรา จงให้แจ่มแจ้ง จงทำให้ปรากฏ ซึ่งโลกโดยความเป็นของสูญ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ.
[๕๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่าโมฆราช ในอุเทศว่า โมฆราช
สทา สโต ดังนี้. คำว่า ทุกเมื่อ คือ ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ
คือ มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ
บุคคลนั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรโมฆราช ... มีสติทุกเมื่อ.
[๕๐๗] ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ตรัสว่า อัตตานุทิฏฐิ ในอุเทศว่า อตฺตานุทิฏฺฐิ อูหจฺจ ดังนี้.
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็น
รูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็น
ตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง
ทิฏฐิอันไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิเป็นทางกันดาร ทิฏฐิเป็นข้าศึก (เสี้ยนหนาม) ทิฏฐิอันแส่
ไปผิด ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบไว้ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความจับต้องทางชั่ว
ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือโดยการแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความ
ถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในวัตถุไม่จริงว่าเป็นจริง ทิฏฐิ ๖๒ มีเท่าไร? ทิฏฐินี้เป็น
อัตตานุทิฏฐิ.
คำว่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว ความว่า รื้อ ถอน ฉุด ชัก ลากออก เพิกขึ้น
ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอัตตานุทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถอน
อัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว.
[๕๐๘] คำว่า พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ความว่า พึงข้ามขึ้น ก้าวล่วง เป็น
ไปล่วง แม้ซึ่งมัจจุ แม้ซึ่งชรา แม้ซึ่งมรณะ ด้วยอุบายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามพ้น
มัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
[๕๐๙] คำว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ ความว่า มองเห็น พิจารณาเห็น เทียบเคียง
พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโลกด้วยอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโลก
อย่างนี้.
[๕๑๐] แม้มารก็ชื่อว่ามัจจุราช แม้ความตายก็ชื่อว่ามัจจุราช ในอุเทศว่า มจฺจุราชา น
ปสฺสติ ดังนี้. คำว่า ย่อมไม่เห็น ความว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น คือ ไม่ประสบ ไม่พบ
ไม่ปะ ไม่ได้เฉพาะ.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า
เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่
ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมาร
ให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เข้า
ตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่
ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะ
ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่
ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญ-
*จยาตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดไม่ได้. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. และอาสวะของภิกษุนั้นก็หมดสิ้นไป เพราะเห็น
ด้วยปัญญา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่าทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่
สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ. ภิกษุ
นั้นเดินอยู่ก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เพราะภิกษุนั้นไม่ไปในทางแห่งมารผู้ลามก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความ
เป็นของสูญทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงข้ามพ้น
มัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้. เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้
มัจจุราชจึงไม่เห็น.