อสัญญีพรหม (พรหมลูกฟัก) อธิษฐานดับจิตไม่มีสติ นิพพานลวง มิจฉาสมาธิ มิฐฉาวิมุติ

วัดพระธรรมกาย ผมเอามาฝาก มีคนโจมตีท่าน!!! โปรดชี้แจงด่วน
อสัญญีพรหม (พรหมลูกฟัก) อธิษฐานดับจิตไม่มีสติ นิพพานลวง มิจฉาสมาธิ มิฐฉาวิมุติ
...อสัญญีพรหม(พรหมลูกฟัก)  ระวังการ ‘อธิษฐานดับ’ จิตไม่มีสติ เป็น‘มิจฉาสมาธิ’ มีแต่กาย(รูป)ไม่มีจิต(นาม) เรียกว่าอสัญญีพรหม(พรหมลูกฟัก) กิเลสยังครบ..มิฐฉาวิมุติ
------
กายอรูปพรหมลวงโลก (ธรรมกาย)...อรูปพรมหมไม่มีกายมีแต่จิต
ใน ปาสราสิสูตร ที่ 6 ฌานทุกชั้นมารมองไม่เห็น...ไม่มีพระพุทธเจ้าภาคมาร
(วิชาธรรมกายชั้นสูงลวงโลก) มิฐฉาวิมุติย่อมลงสู่อบาย...กิเลสยังครบ..นิพพานไม่ใช่อัตตา
------
ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ...อธิษฐานดับจิต
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้หาสัญญามิได้ (คือมีแต่รูป) พรหมโลกชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคภาวนา เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จจตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุดสถิตย์อยู่ในปราสาท แก้ววิมานอันมโหฬารกว้างขวาง มีบุปผชาติประดับประดาเรียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว มีหน้าตาสวยสง่าอุปมาดังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไหว จักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาล มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัปอสัญญีพรหม(พรหมลูกฟัก)
---------
หลวงปู่ดูลย์..
บางท่านเข้าใจตนเองผิดก็มี เช่นตนเองติดอยู่ที่ "อสัญญีภพ" อันเป็นจุดบอดอยู่ที่ "โคตรภูญาณ" ซึ่งเป็นจุดรวมระหว่าง โลกียภูมิและโลกุตรภูมิ ติดแนบแน่นอยู่ที่ตรงนั้นโดยไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรเลย กลับสำคัญว่าตนไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะจิตไม่เกาะเกี่ยวอะไร เกิดอวิชชาแห่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา เมื่ออยู่ตามปกติก็หงอยเหงาเซาซึม เพราะจิตขาดความคล่องตัว ขาดปัญญา ยิ่งนานวันเข้าความงมโง่ก็ยิ่งเพิ่มพูน แต่ตนเองไม่รู้ตัวต้องมีคนช่วย

ครั้นหลวงปู่แนะนำ พอฟังได้ความเข้าใจก็สะดุ้งสะท้านขึ้น ค่อยรู้สึกตัว ในหลายกรณีหลวงปู่จะพูดจี้จุดแรงๆ หรือไม่ก็เป็นคำที่เข้าไปจี้ใจ กระแทกจุดจนกระทั่งจิตเคลื่อนออกจากอสัญญีภพนั้นๆ ได้

หลวงปู่บอกว่า เขาปฏิบัติมาได้ถึงขั้นนี้ ก็นับว่ามีความสามารถไม่น้อย เพียงแต่กำลังสติอ่อนไปหน่อย ไม่เหมาะสมกลมกลืนกัน ปัญญาแก้ไม่ทัน เลยตกอสัญญีภพไปอย่างน่าเวทนา พอชี้แนะคำสองคำให้เขารู้เรื่องเข้าใจ ต่อไปเขาก็แก้ไขได้เอง เมื่อเขาปรับปรุงให้กำลังแก่ธรรมทั้งมวล ผสมผสานสอดคล้องกลมกลืนกันได้ อริยมรรคสมังคี ก็ย่อมเป็นไปเองตามกฎแห่งธรรมดา
---------
พระอริยคุณาธาร
อสัญญีพรหม!
สัตว์โลกพวกนี้บรรลุฌานพิเศษชื่อว่า อสัญญีฌาน ตายแล้วอุบัติในภูมิพิเศษนี้ ได้ชื่อว่าอสัญญีพรหม ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า ‘พวกพรหมลูกฟักลูกแฟง’ ไม่มีความรู้สึกนึกคิดอะไร
อสัญญีฌาน หมายถึงการเพ่งดับสัญญา หรือที่ในปัจจุบันเขาเรียกว่า ‘อธิษฐานดับ’
การเจริญฌานแบบนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นการปฏิบัติผิด เรียกว่า ‘มิจฉาสมาธิ’ ทำให้ตนอาภัพไม่สามารถเจริญก้าวหน้า เป็นอย่างที่เรียกว่า ‘ตกสูง’ ซึ่งตรงกันข้ามกับ ‘ตกต่ำ’
ภูมิตกต่ำ ได้แก่ ‘โลกันต์นรก’ อยู่ก้นบึ้งของนรกทั้งปวง ผู้ตกโลกันต์พวกนั้นเป็นพวกคนมีมิจฉาทิฐิอย่างยิ่ง ยึดมั่นในความผิดอย่างแน่นแฟ้น เหมือนเข้ากระดูกดำถอนตนไม่ขึ้น
ส่วนตกสูง ได้แก่ ‘ภูมิอสัญญีฌาน’ นั้นผู้ปฏิบัติทางสมาธิมุ่งจะดับความรู้สึกให้ได้ท่าเดียว ไม่ใช้ปัญญาวินิจฉัยผิดถูก กล่าวคือเข้าใจผิดว่า...
‘ภูมิดับสัญญาและเวทนาเป็นภูมิสันติสุขที่สุด’
หรือเห็นผิดไปว่า...
‘จิตเป็นตัวทุกข์ ถ้ามีจิตรับรู้อารมณ์อยู่ตราบใด ก็จะมีทุกข์ตราบนั้น จึงเพ่งดับจิต’
พระพรหมอสัญญีนั้น มีผู้รู้และผู้ทรงอภิญญาได้ประสบมาได้อธิบายไว้ว่า พวกพรหมเหล่านี้จะไปมาในอากาศต่างอิริยาบถกัน บ้างนั่ง บ้างนอน บ้างยืนเหมือนคนไร้สติ
ถ้าเราอยากพบเชิญมาเขาก็มา แต่จะปรึกษาหารืออะไรก็ไม่รู้เรื่อง การไปมาเหมือนอัตโนมัติ ช่างเป็นความอาภัพแท้ ๆ
พระบรมโพธิสัตว์ ไม่อุบัติในภูมินี้ เพราะพระองค์ท่านมีปัญญารู้จักวินิจฉัยผิดชอบ
ส่วนใหญ่ของอสัญญีพรหมมักจะเป็นพวกฤๅษีชีไพรที่มุ่งมั่นปฏิบัติสมาธิทางสมถกรรมฐาน โดยมิใช้ปัญญาเข้าช่วย จึงทำให้ ‘หลงทาง’ เท่ากับเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
มีคำกล่าวที่ว่า...
‘การได้เกิดเป็นมนุษย์และได้อยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งพระศาสนาของพระพุทธองค์ เป็นสิ่งประเสริฐโดยแท้’ จึงเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องยิ่งนัก...เพราะพระผู้มีพระภาคทรงเน้นให้สัตว์โลกได้ดำเนินอยู่ใน...
‘ศีล...สมาธิ...และปัญญา’
เมื่อเราเคร่งครัดในศีล...เจริญสมาธิจนเกิดปัญญาแล้ว ปัญญาที่คมกล้าจึงเปรียบเสมือนศาตราที่ใช้ถากถางทางสู่แดนสูงสุด คือ ‘นิพพาน’
นิพพาน...ที่ที่มิมีการเวียนเกิดเวียนตายอีกชั่วนิจนิรันดร์!

-------------
ไม่มีพระพุทธเจ้าภาคมาร (วิชาธรรมกายชั้นสูงลวงโลก)
มิฐฉาวิมุติย่อมลงสู่อบาย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


อุปมาสมณพราหมณ์กับฝูงเนื้อ
             [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ติดบ่วงนอนทับกองบ่วง พึงทราบ
ว่า เป็นสัตว์ที่ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามา
ก็หนีไปไม่ได้ ตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน
ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น.
บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ ฉันนั้น
สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตน
ออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ
เสื่อมความพินาศไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ. เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง นอน
ทับกองบ่วง พึงทราบว่า เป็นสัตว์ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ
เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน
ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้
สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาป
กระทำได้ตามต้องการฉันนั้น.
             อนึ่ง เหมือนอย่างว่า เนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าใหญ่ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน
เพราะไม่ได้ประสบพรานป่า ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม ย่อมบรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ
ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ภิกษุนี้เรียกว่า ได้กระทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็น
ของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็น
ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า
ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการ
ทั้งปวงอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึง
ความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการ
ทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า
ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการ
ทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า
ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการ
ทั้งปวง ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลาย
จักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียโดย
ประการทั้งปวง ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็แลเพราะเห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้น
ไป ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความ
ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้ ย่อม
วางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้ประสบมารผู้มีบาปธรรม.
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค แล้วแล.
จบ ปาสราสิสูตร ที่ ๖
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่