แนะนำการฝึกสมาธิ-กรรมฐานหลวงทะลวงจิต

ได้ฟังแล้วรู้สึกน่าสนใจมากวิธีการฝึกสมาธิแบบนี้เลยเอามาแบ่งปันครับ น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
ก็พิจารณาตามความเหมาะสมครับ
เป็นคำสอนจากพระพุทธเจ้าของเราจากแดนพระนิพพานส่งลงสู่โลกมนุษย์ผ่านพระพุทธเจ้าน้อยหรือพระยาธรรมมิกราช(ในร่างของท่านแม่ชีกชพร ที่FB:มหาวิชชาลัย ธรรมิกราช) 
วิธีนี้เป็นการฝึกจิต ฝึกทะลวงจิตเพื่อล้างกิเลสตัณหา เข้าสู่ความบริสุทธิ์ ให้หยุดคิด หยุดการปรุงแต่ง หยุดความฟุ้งซ่าน
และรวมจิตนั้นเข้าสู่สภาวะแห่งความละเอียด สู่ความว่าง ความมี สักแต่ว่ามี ความมี ไม่มี เสมอเหมือนกัน ปล่อยวางความคิด  ปล่อยวางตัวตน ไม่ต้องมีอะไร เคยเป็นอะไรทั้งหมด ให้จิตแนบนิ่ง ได้พักผ่อนอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เกิด *พลังแห่งพุทธะ*  จนสามารถไปถึง "แดนพระนิพพาน" 
รู้เท่ารู้ทันกิเลสตัณหาสิ่งครอบงำจิตของตน ชำระได้อย่างถูกต้อง เป็นจิตพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ฟังเต็มๆได้ที่ https://youtu.be/sp_NhjQIUmE
หรืออ่านได้จากข้างล่างนี้ ที่ตัดบางส่วนไปบ้าง เพราะพันธิปให้พิมพ์ได้ไม่เกิน 10,000 ตัวอักษร
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
...ลูกทั้งหลาย  เมื่อเตรียมพร้อมที่จะทำความเข้าใจแล้ว ก็ให้ปล่อยจิต ปล่อยใจ ให้เบาๆ คือทำ เสมือนว่าไม่ทำ ไม่ทำ ก็เสมือนทำ ทำไป สักแต่ว่านะลูก
ทำใจเบาๆ นิ่งๆ เฉยๆ 
- ไม่ต้องกังวลอะไร
- ไม่ต้องคิดว่าจะต้องทำให้ได้  หรือจะทำไม่ได้
- ไม่ต้องเร่งรีบให้ได้  
ไม่ต้องเป็นกังวลอะไรทั้งหมด  ทำเฉยๆ เบาๆ
ลูกทั้งหลาย  ฝึกแค่ให้จิตของตนนั้นอยู่ให้นิ่งเฉย ฝึกแค่นี้ แล้วก็ดูพัฒนาการของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุของมันก็พอ
เพราะธรรมชาติของจิตนั้น มันกว้างอย่างไม่มีประมาณ แต่มันก็จะมีสิ่งต่างๆรบกวน  กระทบเข้ามามากมาย
และมันก็สามารถรวมให้แคบได้ เหลือเพียงแค่กำปั้น หรือเล็กกว่านั้น
และก็สามารถรวม จนจิตนั้นเข้าสู่สภาวะแห่งความละเอียด สู่ความว่าง ความมี สักแต่ว่ามี ความมี ไม่มี เสมอเหมือนกัน
เมื่อธรรมชาติของจิต เขาสามารถที่จะทำได้เช่นนี้ ลูกเอ๋ย เราก็แค่ฝึก เป็นผู้ดูอยู่  ผู้รู้อยู่  เห็นอยู่ แล้วก็ดู ดูธรรมชาติของจิต
ดูเขาดำเนินไป เป็นไปตามเหตุของเขา เท่านั้นละ
ตราบใดก็ตามที่ถ้าหากว่าเรายังส่งจิตออกนอกอยู่ ยังคิดถึงเรื่องนั้น เรื่องนี้อยู่ 
-- จิตของเราจะไม่รวม
-- จิตของเรา ก็จะกว้างไปตามเรื่องที่เราคิด ไปตามความฟุ้งซ่านของเรา
ฉะนั้น การที่ลูก จะสามารถที่จะรวมจิต มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวเพื่อที่จะให้จิตเกิดพลัง
เพื่อที่จะให้จิตนั้น กลับคืนสู่การทะลวงจิต  ล้างกิเลสตัณหา เข้าสู่ความบริสุทธิ์นั้น
ลูกก็จะต้องรวมจิตของลูกให้ได้ก่อน
พอจะเข้าใจแล้ว  ก็ลองค่อยๆปฏิบัติ ตามนี้ดูนะ
เพราะถ้าหากว่าเราฟังอย่างเดียว  เราอาจจะเข้าใจ แต่ก็ไม่เข้าถึง 
แล้วก็จะเกิดความลังเลสงสัยหลายอย่าง  เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลูก
แต่ถ้าหากว่า เราแค่ทำตามไปเฉยๆ เราจะเห็นเป็นขั้นเป็นตอนตามไปเอง
ฉะนั้น ให้ลูกทุกคน
-  ปล่อยวางความคิด  -  ปล่อยวางตัวตน  -  ปล่อยวางสิ่งที่เคยเรียน เคยฝึกฝน เคยทำมา
ไม่ต้องมีอะไร เคยเป็นอะไรทั้งหมด ลูก ถ้าวางไม่ได้ แสดงว่า ตนยังยึดอยู่นั่นละลูก
สมมุติว่า ตอนนี้มันวางๆไว้ ใครที่คิดว่า เคยเรียนมาแล้ว ก็ไม่ต้องคิดว่า เคยเรียนมาแล้ว
ใครที่คิดว่า เคยฝึกมาคล้ายๆแบบนี้ ก็ไม่ต้องไปคิดถึงมัน
สมมุติว่าเรานี้ ไม่เคยทำอะไร ไม่มีอะไรทั้งหมดนะลูก
ปล่อยใจว่างๆ  พอปล่อยใจว่างๆแล้ว ปราศจากสิ่งที่จะเป็นเหตุทำให้ตนทำไม่ได้แล้ว ค่อยๆเข้าสู่

ประการที่ 1 คือ การรวมจิต  ให้ทุกคนหลับตาก็ดี ลืมตาก็ได้ แต่ให้บอกกับตนเองว่า “หยุดคิด”
เราต้องปิดประตูของการเข้าออกแห่งจิต คือ ความคิด หยุดคิด ไม่ส่งจิตออกไปไหน
เพราะจิตดวงนี้ เขาจะได้อยู่ในบ้านของเขา อยู่ในที่ของเขา
จิตดวงนี้ จะได้รวมให้เล็กลง  แคบลงๆ
จิตดวงนี้ จะได้ตั้งมั่น อยู่ที่ศูนย์กลางกายได้ ให้ลูกทั้งหลาย หยุดคิดซะนะลูก
การคิด คือ การปล่อยจิตให้กว้างออกไป กวาดออกไป ทำให้เราหาจิตไม่เจอ ตั้งมั่นไม่ได้ รวมจิตไม่ได้
ทำให้มีเรื่องราววุ่นวาย กระแสความทุกข์มากมาย เข้ามาสู่จิตของเรา หาความสงบไม่เจอหรอกลูก
การคิด  เป็นเหตุแห่งการลากเอาความวุ่นวายต่างๆเข้ามาสู่จิต
จิตจึงเปิดกว้างออกไป ด้วยความคิด
จึงบรรจุอะไรเยอะแยะมากมายลงไปในจิตได้ ด้วยความคิด นี่ละลูก
ฉะนั้น จิตที่คิดไปเรื่อย  ดำเนินไปตามความคิดไปทุกสิ่งทุกอย่าง
จึงเป็นจิตที่ไม่มีความสงบ เพราะส่งออกไปอยู่เรื่อย กวาดออกไปอยู่เรื่อย
และจิตเหล่านี้  จึงมีข้อมูลขยะเยอะแยะมากมาย ทั้งมีสาระ แต่ก็มากเกินไปจนเหนื่อย ทั้งไร้สาระ
สิ่งที่ดี ไม่ดี อยู่ในนั้นเต็มไปหมด จนกลายเป็นความสับสนวุ่นวาย 
ฉะนั้น วันนี้เรา ต้องการที่จะฝึกจิตของเราให้รวม
ฉะนั้น การที่ปล่อยจิตออกไปตามความคิดน่ะ  มันคือ การปล่อยจิตให้แผ่กว้าง
มันจึงผิดวิธี และไม่สามารถทำได้หรอกลูก 
ฉะนั้น เราควรที่จะหยุดคิดก่อน หยุดคิด หยุดการปรุงแต่งทั้งปวง หยุดความฟุ้งซ่าน
ความคิดที่ดีก็ดี  ความคิดที่ไม่ดีก็ดี ให้หยุดทุกอย่าง  วางทุกอย่าง
ให้จิตของเรา อยู่ภายในร่างกาย ภายในตัวของเรานี้
ให้มันอยู่เพียงแค่ ตั้งแต่คอ ลงไปถึงท้อง
สมองของเราจะโล่งโปร่ง  เพราะไม่มีการใช้สมองแล้วเหลือแค่ความรู้ ที่เป็นแค่ความรู้สึกภายใน
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเรา  ไม่ได้ใช้สมอง
แต่ใจของเรา คือ ความรู้สึกภายในนั้น  เขาก็จะรู้สึกได้ว่า ตัวเบา  สมองโล่งโปร่ง
ความรู้สึกว่า เราอยู่ในเรา รู้สึกว่าสบาย  รู้สึกว่าเบา
รู้สึกว่า เกิดความนิ่งเงียบ เพราะเราไม่มีอะไร ต้องเป็นอะไรอีก
ทีนี้ เมื่อเราเข้ามาสู่ความรู้สึกภายในแล้ว
- รู้เฉพาะแค่ถึงที่คอ ลงมาถึงที่ท้อง  - รู้ตัวเพียงแค่ภายในของเรา
เราก็ค่อยๆ น้อมเอาความรู้สึก  เข้าไปไว้ที่ศูนย์กลางกายของเรา
ความรู้สึกรวมความรู้สึก เข้าไปไว้ที่ศูนย์กลางกายของเรา 
รวมให้เล็กลงไปอีก รวมจากความรู้สึกที่มี  ทั่วตัวของเรา รวมลงไปไว้ที่ศูนย์กลางกาย ที่เดียว 
จากที่เราอาจจะรู้สึกว่า เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เกิดสภาวะความร้อนบ้าง เย็นบ้าง  สุขหรือทุกข์ก็ตาม
ให้ข้ามความรู้สึกเหล่านั้นไปให้หมด ข้ามด้วยการไม่สนใจนะลูก
แล้วก็เอาความรู้สึกของเรา รวมไปที่ศูนย์กลางกาย
รวมไปเฉยๆ  ไม่ต้องกดข่ม ไม่ต้องเร่งรีบ ค่อยๆรวมไป รวมความรู้สึกไปที่ศูนย์กลางกาย
จนเกิดสภาวะที่สว่าง หรือมืดก็ตาม  เกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกาย  เราก็ดูไปเฉยๆ 
บางคนอาจจะมีแสงสว่างเกิดขึ้นเล็กน้อย มีคลื่นสีดำบดบังอยู่ ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องไปสนใจ แตกตื่นไปกับสิ่งเหล่านั้น 
เรามีหน้าที่เพียงแค่จับความรู้สึก รวมไปที่แสงสีขาว ส่วนสีดำไม่ต้องสนใจ ลูก ดูไป ดูไปเฉยๆ
เกาะสีขาวให้แน่น แต่ไม่ต้องตึงจนเกิดความกดดัน นะลูก แค่แตะเขาเบาๆ ไม่ปล่อยเขาไปไหน
คือ ดูเขาไป เหมือนว่า เรากำลังประคบประหงมอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่เป็นแสงสว่างน้อยๆ ไม่กล้าแตะเขาแรง
ปล่อยความรู้สึกเบาๆแล้วก็ดูเขาไป นี่ก็จะเป็นการรวมจิตได้แล้วนะ
รวมจิตมาเป็นอันหนึ่งอันเดียว จนเหลือเพียงแค่เล็กนิดเดียว จนจิตของเรานั้น

เข้าสู่ระดับที่ 2 คือ การทำพลังให้เกิดขึ้นในดวงจิต ซึ่งให้พวกเราทุกคนทำความเข้าใจว่า
พลังที่เกิดขึ้นจากจิตนั้น  เขาจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ คือ เมื่อเรารวมจิตเป็นอันหนึ่งอันเดียว
จิตนั้น ตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกาย  ไม่เกเร วอกแวกไปทางอื่น
จิตของเราจึงแนบนิ่ง เพราะได้พักผ่อนอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
พอจิตได้พักผ่อน โดยธรรมชาติของจิตนั้น ก็จะสว่าง
โดยธรรมชาติของจิตนั้น ก็จะมีแสงแห่งจิต  สว่างขึ้นๆ
 เรียกว่า แสงแห่งความรู้ตื่น ปัญญาแห่งความรู้แจ้ง ที่เกิดแก่จิตอย่างแท้จริง
โดยไม่ใช่การทรงฌาน ทรงญาณ อะไรทั้งหมดละลูก
แต่เป็นพลังของจิตเอง ซึ่งเป็น *พลังแห่งพุทธะ*
จิตเริ่มสว่างขึ้น ด้วยตัวของเขาเอง ฉะนั้น เมื่อจิตได้พักผ่อน จิตก็จะเกิดพลัง  สว่างขึ้นๆ
พอเขาสว่างขึ้นๆแล้ว เราก็แค่ดูไปเฉยๆ ประคบประหงมเขาไว้  อย่าแตะเขาแรง
พอเขาเกิดขึ้นแล้ว เราก็แค่ดูความเจริญเติบโตของเขาซึ่งแสงพลังเหล่านี้
 - ไม่ได้เกิดจาก พลังพุทธบารมีที่ชาร์จลงมา  เติมลงมา 
 - ไม่ได้เกิดจากการ เพ่งกสิณ
 - ไม่ได้เกิดจาก พลังของฌานสมาธิ
แต่เขาเกิดจาก การได้พักผ่อนของเขาเอง ลูก
การที่จิตได้พักผ่อน  จิตนั้นย่อมมีพลังของตัวมันเอง ซึ่งเป็นพลังภายในของตัวจิตเอง ลูก
ไม่เกี่ยวกับสภาวะของฌานภายนอก ของการชาร์จพลัง น้อมพลัง หรือเพ่งกสิณอะไรทั้งหมดละลูก
จุดตรงนี้ละ คือ จุดที่เราจะข้าม ข้ามการหลงฌาน หลงญาณรู้ต่างๆ
จุดตรงนี้ละลูก คือ การที่เราจะเข้าสู่จิตอันเป็นพุทธะ ซึ่งจิตที่รู้ตื่น
จะไม่ใช่จิตที่ทรงฌาน ฌานสมาธิ  เพียงทำให้จิตเกิดความสงบ
เมื่อจิตเกิดความสงบ จิตต้องเกิดการรู้ตื่น ถ้าจิตเข้าไปหลงอยู่ในความสงบ  หรืออยากรู้อยากเห็นต่างๆ
แล้วก็ติดอยู่เพียงเท่านั้น  จิตก็จะได้เพียงเท่านั้น
ฉะนั้น ลูกเอ๋ย  เราจึงต้องเดินต่อไป เดินต่อไปด้วยการ  ดูจิต ฝึกจิต
- ให้จิตของเรานี้ อยู่นิ่งเฉย
- ให้จิตของเราเกิดพลังอันเป็นพุทธะ  ที่เป็นพลังของตัวจิตเอง 
ทีนี้ละลูก เราจะเป็นผู้รู้ตื่น ผู้เบิกบาน  ก็ด้วยจิตของเราสว่างไสว
ไม่ใช่รู้ด้วยญาณ รู้ด้วยฌาน
เราจะหมดกิเลสหรือไม่ เราจะถึงนิพพานหรือไม่ จิตตัวนี้ละลูก
จิตอันเป็นพุทธะที่รู้ตื่นนี่ละ จะเป็นตัวรู้ เกิดขึ้นภายในของเราเอง 
และถ้าหากว่า กิเลสของเรายังมีอยู่ เราก็จะรู้ว่า ยังมีอยู่
ถ้าหากว่ากิเลสของเราหมดแล้ว เราก็จะรู้ว่าหมดแล้ว
เพราะนี่ละ คือ ของจริง 
ไม่มีอะไรช่วยหุ้มห่อ หลอกว่าดีแล้ว เช่น กำลังของฌาน
ไม่มีอะไรช่วยหุ้มห่อ ให้ไปทางโน้น เห็นไปทางนั้น เห็นไปว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้
มีเพียงแค่จิตดวงเดียวนี่ละลูก เขาจะมืด ก็คือ เขานั่นละเขาจะสว่าง ก็คือ เขานั่นละ
ทีนี้ พอจิตของเราสว่างแล้ว จากการพักผ่อนของจิต เราเห็นแล้วว่า สว่างขึ้นๆ
เราก็ดูความสว่างนั้นไป ดูไปเฉยๆ
จนกว่าเรานี้ จะข้ามขั้นตอนที่ 2 ไป คือ การทำให้จิตเกิดพลัง
จิตนั้นพลังเต็มเปี่ยมแล้ว เกิดพลังมากพอแล้ว
โดยธรรมชาติของจิตที่มีพลังมากพอ เขาก็จะเหมือนกับว่า เปิดสภาวธรรมของจิตนั้นกว้างขึ้น 
จากที่เรามองดูแสงสว่างที่เกิดจากจิต  มองดูดวงจิต
ทีนี้ ก็เหมือนเราเข้าไปสู่ดวงจิต และดวงจิตนั้น ก็เหมือนจะลึกเข้าไปๆ จนเหมือนจะไปทะลุสู่อีกที่หนึ่ง
ซึ่งการทะลวงจิตตรงนี้ ก็คือ การที่ความสว่าง พลังของจิตเติมเต็มแล้ว 
และจิตนั้นเบาสบายแล้ว  จึงดูดความรู้สึกของเรา ลึกเข้าไปสู่ดวงจิต
ทีนี้ ความรู้สึกของเราก็ลึกเข้าไป ทวนกระแสของจิต จนทะลุไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง
ซึ่งบางที ก็จะเป็นอุโมงค์ลึกลงไป
บางที ก็จะเป็นเหมือนกับว่า เป็นแค่รูเล็กๆ มืดๆ
บางคน ถ้าหากว่าพลังจิตมีมากแล้ว  ก็จะเป็นอุโมงค์ที่เป็นแก้วใส
แต่เราจะเหมือนหล่นลึกลงไป ในสถานที่ใดที่หนึ่ง  แล้วก็ไปโผล่อีกฝั่งหนึ่ง
ซึ่งการที่เรารวมสภาวะของจิตเรา  ทะลวงลงสู่อีกฝั่งหนึ่งของจิต
 ก็เหมือนเราเข้าไปสู่ภายในของจิต  ทะลวงจิตนั้นทะลุไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
เรานี้ อาจจะเห็นกิเลสก็ดี  กรรมวิบากก็ดี ที่ติดค้างอยู่ในดวงจิตของเรา 
บางที ก็จะเห็นความมืด เห็นพลังงาน ที่เป็นสีแดง สีดำ
เห็นความร้อน เห็นอะไรก็ตาม คือ เห็นด้วยความรู้สึก น่ะลูก  เราก็ไม่ต้องสนใจ
ทีนี้ เราก็มาอยู่.....
(ขั้นที่ 3 อ่านต่อได้ในความเห็นที่ 1 ครับ)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่