จากกระทู้
https://ppantip.com/topic/41069146
ข่าวสารเพิ่มเติม
https://www.komchadluek.net/scoop/385297
ผ่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ฉบับใหม่... ทำผู้ประกอบการกลัว ?
โดยกฎหมายจะทำให้ผู้บริโภคดีขึ้น ไม่ถูกเอาเปรียบ และ สคบ.ก็จะมีกฎหมายในมือทำงานได้เต็มที่ อีกอย่างที่สำคัญทำงานด้วยความรวดเร็วที่จะดำเนินการจัดการเรื่องร้องเรียน เราจะทำให้เหมือนในต่างประเทศที่การคุ้มครองผู้บริโภคจะแข็งแรงมาก
โดยในส่วนของ “นายพิฆเนศ ต๊ะปวง” รองเลขาธิการ สคบ. ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ ว่า สังคมจะได้อะไรจากกฎหมายใหม่นี้ คือ ได้ 3 เรื่อง ส่วนที่ 1 คือกระบวนการจัดการที่เร็วขึ้นของภาครัฐ โดยกฎหมายใหม่กำหนดสัดส่วนใหม่ในบอร์ด สคบ. โดยให้มีปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเพราะอดีตไม่มี โดยปัจจุบันมีการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นและเทคโนโลยีล้ำหน้าไปไกลขึ้น ในการทำงานของ สคบ.ที่มีภาครัฐในนามบอร์ดจัดการได้รวดเร็วเพราะมีปลัดกระทรวงต่างๆ (ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี , ปลัดกระทรวงเกษตรฯ, ปลัดคมนาคม , ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , ปลัดกระทรวงพาณิชย์ , ปลัดกระทรวงมหาดไทย , ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ)
2.กฎหมายใหม่ จะทำให้ผู้ประกอบการกลัวมากขึ้น คือการเพิ่มบทลงโทษปรับ สูงขึ้น 1 เท่าทุกมาตราจากกฎหมายเก่า และกลัว เรื่องที่กฎหมายกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัย โดยทำให้กลัวจากเรื่องเปรียบเทียบความผิด (การคิดค่าปรับเอาเงินเข้าหลวง) ไม่ได้ ถ้าสินค้าที่ขายแล้วมีผลกระทบต่อร่างกาย อนามัยและชีวิต บอร์ด สคบ.เปรียบเทียบความผิดไม่ได้ คือให้ดำเนินคดีส่งฟ้องศาลอย่างเดียว เจรจาค่าปรับเองไม่ได้
3.ความทั่วถึง กฎหมายใหม่ทำให้เกิดการจัดการครอบคลุมทุกพื้นที่ กระจายงานไปให้ท้องถิ่น ดูแล 4 เรื่อง คือการร้องทุกข์ , เรื่องตรวจสอบ , เรื่ององค์ความรู้สื่อสารประชาสัมพันธ์ , การผลักดันให้เกิดการรวมตัวสร้างเครือข่าย โดยเฉพาะเรื่องการตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ที่จะให้อำนาจ “คุ้มครองผู้บริโภคท้องถิ่น” พิจารณาเปรียบเทียบความผิดในการสั่งปรับได้เลย
“นอกจากนี้ สคบ. กำลังทำ Big Data ตามแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูล 28 หน่วยงานใน 6 ฐานคือฐานบัตรประชาชน , ฐานผู้ประกอบธุรกิจ , ฐานใบอนุญาต , ฐานเรื่องร้องเรียน , ฐานดำเนินคดี , ฐานองค์ความรู้ โดย 28 หน่วยจะเห็นข้อมูลเหล่านั้นเช่นเดียวกันหมด ซึ่งจะทำให้ได้ภายใน 330 วัน (ประมาณปี 2563) ตอนนี้ก็ผ่านมาเกือบ 50 วัน เราได้พบปะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินการ ภาพการทำงานวันนี้ไม่สามารถทำงานเพียงหน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ เพราะงานคุ้มครองผู้บริโภคกว้างขวางมาก” รองเลขาธิการ สคบ. ย้ำชัด
ฟาก “น.ส.สารี อ๋องสมหวัง” เลขาธิการมูลนิธิผู้บริโภค ได้ชื่นชมจุดแข็งกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่เรื่องบทบัญญัติการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยว่า บ้านเรายังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย อย่างเช่น บริการขนส่งมวลชนรถยังไม่ปลอดภัย หรือสนามเด็กเล่นในห้าง หรือการเที่ยวสวนสัตว์ หรือการกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจนเสียชีวิต ในอนาคตหวังว่าจะดำเนินการอะไรได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น เพราะเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยโดยตรง เช่น การเรียกเก็บสินค้า การให้ความรู้กับผู้บริโภค เพราะ สคบ.มีอำนาจสั่งได้เลยพร้อมการดำเนินคดี
การคุ้มครองผู้บริโภค
https://ppantip.com/topic/41069146
ข่าวสารเพิ่มเติม
https://www.komchadluek.net/scoop/385297
ผ่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ฉบับใหม่... ทำผู้ประกอบการกลัว ?
โดยกฎหมายจะทำให้ผู้บริโภคดีขึ้น ไม่ถูกเอาเปรียบ และ สคบ.ก็จะมีกฎหมายในมือทำงานได้เต็มที่ อีกอย่างที่สำคัญทำงานด้วยความรวดเร็วที่จะดำเนินการจัดการเรื่องร้องเรียน เราจะทำให้เหมือนในต่างประเทศที่การคุ้มครองผู้บริโภคจะแข็งแรงมาก
โดยในส่วนของ “นายพิฆเนศ ต๊ะปวง” รองเลขาธิการ สคบ. ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ ว่า สังคมจะได้อะไรจากกฎหมายใหม่นี้ คือ ได้ 3 เรื่อง ส่วนที่ 1 คือกระบวนการจัดการที่เร็วขึ้นของภาครัฐ โดยกฎหมายใหม่กำหนดสัดส่วนใหม่ในบอร์ด สคบ. โดยให้มีปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเพราะอดีตไม่มี โดยปัจจุบันมีการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นและเทคโนโลยีล้ำหน้าไปไกลขึ้น ในการทำงานของ สคบ.ที่มีภาครัฐในนามบอร์ดจัดการได้รวดเร็วเพราะมีปลัดกระทรวงต่างๆ (ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี , ปลัดกระทรวงเกษตรฯ, ปลัดคมนาคม , ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , ปลัดกระทรวงพาณิชย์ , ปลัดกระทรวงมหาดไทย , ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ)
2.กฎหมายใหม่ จะทำให้ผู้ประกอบการกลัวมากขึ้น คือการเพิ่มบทลงโทษปรับ สูงขึ้น 1 เท่าทุกมาตราจากกฎหมายเก่า และกลัว เรื่องที่กฎหมายกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัย โดยทำให้กลัวจากเรื่องเปรียบเทียบความผิด (การคิดค่าปรับเอาเงินเข้าหลวง) ไม่ได้ ถ้าสินค้าที่ขายแล้วมีผลกระทบต่อร่างกาย อนามัยและชีวิต บอร์ด สคบ.เปรียบเทียบความผิดไม่ได้ คือให้ดำเนินคดีส่งฟ้องศาลอย่างเดียว เจรจาค่าปรับเองไม่ได้
3.ความทั่วถึง กฎหมายใหม่ทำให้เกิดการจัดการครอบคลุมทุกพื้นที่ กระจายงานไปให้ท้องถิ่น ดูแล 4 เรื่อง คือการร้องทุกข์ , เรื่องตรวจสอบ , เรื่ององค์ความรู้สื่อสารประชาสัมพันธ์ , การผลักดันให้เกิดการรวมตัวสร้างเครือข่าย โดยเฉพาะเรื่องการตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ที่จะให้อำนาจ “คุ้มครองผู้บริโภคท้องถิ่น” พิจารณาเปรียบเทียบความผิดในการสั่งปรับได้เลย
“นอกจากนี้ สคบ. กำลังทำ Big Data ตามแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูล 28 หน่วยงานใน 6 ฐานคือฐานบัตรประชาชน , ฐานผู้ประกอบธุรกิจ , ฐานใบอนุญาต , ฐานเรื่องร้องเรียน , ฐานดำเนินคดี , ฐานองค์ความรู้ โดย 28 หน่วยจะเห็นข้อมูลเหล่านั้นเช่นเดียวกันหมด ซึ่งจะทำให้ได้ภายใน 330 วัน (ประมาณปี 2563) ตอนนี้ก็ผ่านมาเกือบ 50 วัน เราได้พบปะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินการ ภาพการทำงานวันนี้ไม่สามารถทำงานเพียงหน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ เพราะงานคุ้มครองผู้บริโภคกว้างขวางมาก” รองเลขาธิการ สคบ. ย้ำชัด
ฟาก “น.ส.สารี อ๋องสมหวัง” เลขาธิการมูลนิธิผู้บริโภค ได้ชื่นชมจุดแข็งกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่เรื่องบทบัญญัติการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยว่า บ้านเรายังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย อย่างเช่น บริการขนส่งมวลชนรถยังไม่ปลอดภัย หรือสนามเด็กเล่นในห้าง หรือการเที่ยวสวนสัตว์ หรือการกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจนเสียชีวิต ในอนาคตหวังว่าจะดำเนินการอะไรได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น เพราะเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยโดยตรง เช่น การเรียกเก็บสินค้า การให้ความรู้กับผู้บริโภค เพราะ สคบ.มีอำนาจสั่งได้เลยพร้อมการดำเนินคดี