นักกฎหมาย ชี้ต้องส่งเสริมให้คนสมัครใจเป็นทหาร ไม่ใช่เปิดทางให้ใช้เงินหลบเลี่ยง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9584200
นักกฎหมาย ชี้กองทัพต้องส่งเสริมให้คนสมัครใจเป็นทหาร ไม่ใช่เปิดทางให้ใช้เงินหลบเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร แนะเดินหน้าเดินหน้าสร้างระบบจูงใจ
วันที่ 10 ม.ค.2568 นาย
สุรพงษ์ กองจันทึก อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ แสดงความคิดเห็น กรณี พล.ท.ทวีพูล ริมสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) มีแนวความคิดว่าหากใครไม่ต้องการเป็นทหารเกณฑ์ ให้จ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อนำไปสนับสนุนพลทหารแทน ว่า ชายไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเป็นทหาร กองทัพไทยมีหน้าที่นำชายไทยทุกคนเข้าเป็นทหารตามความจำเป็น และสร้างระบบจูงใจให้ชายไทยสมัครเป็นทหาร ไม่ใช่การสร้างกระบวนการในการหลีกเลี่ยงทหารโดยใช้เงินเป็นตัวกำหนด
นาย
สุรพงษ์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยระบุในหน้าที่ของปวงชนชาวไทยมาตรา 50 ว่า ต้องรับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีกฎหมายพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 7 ระบุว่า ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่ต้องรับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน ดังนั้นกองทัพไทยจึงมีหน้าที่นำชายไทยเข้ารับราชการทหารตามที่จำเป็นตลอดมา
เพื่อให้ไม่เป็นภาระของประชาชนและงบประมาณของประเทศ กองทัพไทยก็มีการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพปี 2560-2569 เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดหน่วยให้มีขนาดเล็กลง ลดการใช้งบประมาณรายจ่ายของประเทศ ปรับลดอัตราทหารประจําการ โดยนํากําลังพลสํารองเข้ามาร่วมปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังดํารงสภาพความพร้อมรบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังจูงใจให้มีการสมัครใจเป็นทหารเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทหารจากการสมัครใจมีคุณภาพมากกว่า และมีการหลบหนีระหว่างการฝึกน้อยกว่าทหารที่มาจากการเกณฑ์บังคับหรือจับใบดำใบแดง
โดยเห็นจากการสมัครทางออนไลน์ ซึ่งเริ่มในปี 2564 มีผู้สมัครราว 3,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 6,101 คนในปี 2565 ต่อมาเพิ่มเป็น 10,156 คนในปี 2566 และเพิ่มเป็น 14,135 คนในปี 2567 ล่าสุดสำหรับการเกณฑ์ทหารประจำปี 2568 ข้อมูลเมื่อ 7 มกราคม 2568 ซึ่งยังไม่สิ้นสุดการรับสมัคร มีผู้สมัครออนไลน์มากกว่าปี 2567 ถึง 1,400 คน
นาย
สุรพงษ์กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผู้สมัครใจเข้ารับราชการทหาร ประกอบกับการปรับลดอัตราทหารประจำการ จะทำให้ปัญหาการบังคับเกณฑ์ทหารมีจำนวนลดลง จนอีกไม่นานจะไม่มีทหารที่ถูกบังคับอีกต่อไป เพื่อให้ถึงวันนั้นทางกองทัพต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้ โดยต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะให้มีอัตราการเพิ่มขึ้นของทหารที่สมัครใจในอัตราส่วนเท่าไร และจะสิ้นสุดไม่มีการบังคับเกณฑ์ทหารในเมื่อใด
เพื่อให้ได้ทหารกองประจำการที่มีคุณภาพประสิทธิภาพและสมัครใจอย่างแท้จริง กองทัพไทยควรส่งเสริมหรือมีการจูงใจต่างๆ ต่อการสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการที่ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การได้รับการฝึกอาชีพ การเล่าเรียนต่อ การได้เลื่อนยศตำแหน่ง สามารถต่อเข้าเป็นนายสิบ นายร้อย และก้าวหน้าในระบบราชการ รวมถึงค่าตอบแทน ฯลฯ ตลอดจนพัฒนาทหารกองประจำการไปสู่ระบบทหารอาชีพ ซึ่งมีความยั่งยืน เชี่ยวชาญ และได้รับการพัฒนาฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ต้องสร้างความมั่นใจถึงความเป็นธรรมในระบบทหาร โดยการมีนโยบายและมาตรการที่เด็ดขาดชัดเจน ในการตรวจสอบและลงโทษทหารที่กระทำการรุนแรงและผิดกฎหมาย เนื่องจากยังมีข่าวการกระทำที่ผิดกฎหมาย การซ้อม และใช้ความรุนแรงของทหารออกมาอยู่เสมอ
นาย
สุรพงษ์กล่าวว่า กองทัพไทยต้องเดินหน้าสร้างระบบจูงใจ ให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชายไทยได้เห็นประโยชน์และได้รับประโยชน์จากการสมัครใจเข้ามาเป็นทหาร ไม่ใช่การสร้างกระบวนการในการหลีกเลี่ยงทหารโดยใช้เงินเป็นตัวกำหนด ตามความคิดของผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
บุกจับกุม นายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมหน้าห้อง เรียกรับเงินผู้รับเหมา 5 หมื่น
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_9584134
ป.ป.ท. ร่วมกับ บก.ปปป. และ ป.ป.ช. บุกจับกุม นายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมหน้าห้อง เรียกรับเงินผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่พักข้าราชการ
เมื่อวันที่ 12.30 น. วันที่ 10 ม.ค.2568 สำนักงาน ป.ป.ท. ภายใต้การอำนวยการของ นายภูมิวิศาล เกษมศุข เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. นาย
เอกชัย เกษมสุขธวัช รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. และ พ.ต.ท.
สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมายให้ พ.ต.ท.
สราวุธ คำเหลือง ผู้อำนวยการกองอำนวยการต่อต้านการทุจริต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เข้าร่วมบูรณาการประสานความร่วมมือกับ พล.ต.ต.
จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก, พล.ต.ต.
ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผบก.ปปป., พ.ต.อ.
สมศักดิ์ เนียมเล็ก ผกก.5 บก.ปปป. และ นาย
ไพโรจน์ นิยมเดชา ผู้อำนวยการกลุ่มสืบสวนและปฏิบัติการข่าว 2 สำนักงาน ป.ป.ช. ติดตามจับกุม
นาย ว. (นามสมมุติ) นายอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ 1/68 ลงวันที่ 8 มกราคม 2568 ในความผิดฐาน “
เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจหรือจูงใจให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต”
และ นาง อ. (นามสมมุติ) เจ้าหน้าที่ปกครองชำนาญงาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ 2/68 ลงวันที่ 8 มกราคม 2568 ในความผิดฐาน “
สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจหรือจูงใจ ให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ”
สืบเนื่องจากประมาณเดือนพฤษภาคม 2567 ผู้เสียหายทำสัญญาก่อสร้างโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่พักข้าราชการ ราคาจ้างเหมา 500,000 บาท มีนายอำเภอเหนือคลอง เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ลงนามเป็นผู้ว่าจ้างโครงการ
ต่อมาช่วงต้นเดือน มิถุนายน 2567 นายอำเภอเหนือคลอง ผู้ต้องหาที่ 1 มาพูดคุยเกี่ยวกับงานที่กำลังก่อสร้างตามสัญญาจ้างและบอกว่า “
เสร็จงานแล้ว ให้นาย 50,000 นะ” กระทั่งเมื่อการก่อสร้างโครงการตามสัญญาเสร็จสิ้น มีการตรวจรับงานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา ผู้กล่าวหาได้รับเงินค่าจ้างครบถ้วนแล้ว
ต่อมาช่วงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลโคกยาง ได้โทรศัพท์บอกกับผู้เสียหายว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ฝากมาบอกให้นำเงินไปให้ ถ้าไม่ยอมก็ให้ผู้เสียหายไปเอาหนังสือลาออกจากการเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้เสียหายจึงโทรศัพท์ไปสอบถามนาง
อ. (นามสมมุติ) ผู้ต้องหาที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปกครองชำนาญงาน ทำหน้าที่หน้าห้องปลัดอาวุโส อำเภอเหนือคลอง เกี่ยวกับเรื่องเงินดังกล่าว แต่ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน
ผู้เสียหายจึงไปหาผู้ต้องหาที่ 1 ตามกำหนดนัดแต่ไม่พบ โดยระหว่างนั้นก็มีบุคคลโทรศัพท์มาหาผู้เสียหายแจ้งว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ให้นำเงินไปให้จำนวนหลายครั้ง ผู้กล่าวหาจึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นและขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดกระบี่
จากนั้นร่วมกันวางแผนรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการกระทำผิดของผู้ต้องหาที่ 1 ด้วยการให้ผู้เสียหายนำเงินบางส่วน จำนวน 10,000 บาท ไปมอบให้กับผู้ต้องหาที่ 1 แต่ผู้ต้องหาที่ 1 ไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าพบและแจ้งกับหน้าห้องไว้ว่าให้ผู้เสียหายฝากเงินไว้กับ ผู้ต้องหาที่ 2
เมื่อผู้เสียหายเห็นว่าไม่สามารถเข้าพบผู้ต้องหาที่ 1 เพื่อมอบเงินให้ตามแผนที่วางเอาไว้ จึงเข้าไปนั่งพูดคุยเรื่องที่นำเงินมามอบให้กับผู้ต้องหาที่ 1 ต่อหน้าปลัดอาวุโส และผู้ต้องหาที่ 2 พร้อมกับนำเงิน ที่จัดเตรียมออกมาวางไว้กลางโต๊ะรับแขกภายในห้องปลัดอาวุโส
ก่อนที่ผู้ต้องหาที่ 2 จะหยิบเอาเงินบนโต๊ะไป และในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้นผู้เสียหายได้โทรศัพท์ถึงผู้ต้องหาที่ 2 สอบถามเรื่องเงินที่มอบให้ได้รับการยืนยันว่าส่งมอบเงินให้กับผู้ต้องหาที่ 1 แล้ว ผู้เสียหายจึงเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน บก.ปปป. ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 ตามกฎหมาย
ทั้งนี้ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด เพื่อขออนุมัติศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ออกหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 2 ราย แล้วในวันนี้ ขณะที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวนดังกล่าวเข้าไปมอบให้แก่ผู้ต้องหาภายในห้องทำงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปปป. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ท. และ ป.ป.ช.
จึงนำหมายจับเข้าจับกุมตัวผู้ต้องหา และดำเนินการส่งตัวผู้ต้องหาให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการตามกฎหมายต่อไป สำหรับการสอบถามปากคำเบื้องต้น ผู้ต้องหายังให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
นทท.จีนยกเลิกทริปเที่ยวไทย กลัวถูกลักพาตัว หลังซิงซิง ถูกหลอกไปทำงาน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9584065
นทท.จีนเตรียมยกเลิกทริปเที่ยวไทย กลัวถูกลักพาตัว กังวลด้านความปลอดภัย ถามเชียงใหม่ปลอดภัยมั้ย หลังซิงซิง นักแสดงจีน ถูกหลอกไปทำงาน
สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอนิ่ง รายงาน นักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากที่วางแผนจะเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ ได้แสดงความกังวลผ่านโซเชียลมีเดียในสัปดาห์นี้ และตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาว่า เชียงใหม่ปลอดภัยหรือไม่ และจะโน้มน้าวบริษัททัวร์ให้คืนเงินค่าใช้จ่ายได้อย่างไร หากต้องการยกเลิกการเดินทางไปประเทศไทย
ความวิตกกังวลดังกล่าวถูกกระตุ้นและเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับนักแสดงชาวจีนชื่อ
หวังซิง หรือ
ซิงซิง ที่หายตัวไปเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยเพื่อทำงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยหวังซิงถูกหลอกให้มาทำงานเป็นนักแสดงในไทย แต่กลับพาไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียวดี-เมียนมา
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทางการไทยได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วท่ามกลางการจับตามองของประชาชนจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยสามารถช่วยซิงซิงจากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ในเมืองเมียนมาที่ติดกับประเทศไทยได้สำเร็จ โดยซิงซิงเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ มีท่าทางสับสนและโกนหัวโล้น ตามภาพที่เจ้าหน้าที่เผยแพร่
เจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่า นายหวัง ซึ่งถูกหลอกล่อโดยชายแปลกหน้าชาวจีนที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทบันเทิงชื่อดังแห่งหนึ่งของไทยและเสนองานให้เขา ได้ถูกส่งตัวไปยังชายแดนเมียนมา และต่อมาข้ามไปยังเมืองเมียวดีของเมียนมา
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ความกระตือรือร้นของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดน้อยลง เนื่องจากเทศกาลตรุษจีนประจำปีกำลังใกล้เข้ามา บนแพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์จีน เสี่ยวหงซูมีคำค้นหาว่า “
ฉันจะยกเลิกการเดินทางไปประเทศไทยได้อย่างไร” มากกว่า 380,000 โพสต์ในที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา
JJNY : ชี้ต้องส่งเสริมให้คนสมัครใจเป็นทหาร│บุกจับนายอำเภอเรียกเงิน│นทท.จีนยกเลิกเที่ยวไทย│ฝรั่งเศสลั่นติดตามสอบสวนไทย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9584200
นักกฎหมาย ชี้กองทัพต้องส่งเสริมให้คนสมัครใจเป็นทหาร ไม่ใช่เปิดทางให้ใช้เงินหลบเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร แนะเดินหน้าเดินหน้าสร้างระบบจูงใจ
วันที่ 10 ม.ค.2568 นายสุรพงษ์ กองจันทึก อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ แสดงความคิดเห็น กรณี พล.ท.ทวีพูล ริมสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) มีแนวความคิดว่าหากใครไม่ต้องการเป็นทหารเกณฑ์ ให้จ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อนำไปสนับสนุนพลทหารแทน ว่า ชายไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเป็นทหาร กองทัพไทยมีหน้าที่นำชายไทยทุกคนเข้าเป็นทหารตามความจำเป็น และสร้างระบบจูงใจให้ชายไทยสมัครเป็นทหาร ไม่ใช่การสร้างกระบวนการในการหลีกเลี่ยงทหารโดยใช้เงินเป็นตัวกำหนด
นายสุรพงษ์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยระบุในหน้าที่ของปวงชนชาวไทยมาตรา 50 ว่า ต้องรับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีกฎหมายพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 7 ระบุว่า ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่ต้องรับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน ดังนั้นกองทัพไทยจึงมีหน้าที่นำชายไทยเข้ารับราชการทหารตามที่จำเป็นตลอดมา
เพื่อให้ไม่เป็นภาระของประชาชนและงบประมาณของประเทศ กองทัพไทยก็มีการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพปี 2560-2569 เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดหน่วยให้มีขนาดเล็กลง ลดการใช้งบประมาณรายจ่ายของประเทศ ปรับลดอัตราทหารประจําการ โดยนํากําลังพลสํารองเข้ามาร่วมปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังดํารงสภาพความพร้อมรบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังจูงใจให้มีการสมัครใจเป็นทหารเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทหารจากการสมัครใจมีคุณภาพมากกว่า และมีการหลบหนีระหว่างการฝึกน้อยกว่าทหารที่มาจากการเกณฑ์บังคับหรือจับใบดำใบแดง
โดยเห็นจากการสมัครทางออนไลน์ ซึ่งเริ่มในปี 2564 มีผู้สมัครราว 3,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 6,101 คนในปี 2565 ต่อมาเพิ่มเป็น 10,156 คนในปี 2566 และเพิ่มเป็น 14,135 คนในปี 2567 ล่าสุดสำหรับการเกณฑ์ทหารประจำปี 2568 ข้อมูลเมื่อ 7 มกราคม 2568 ซึ่งยังไม่สิ้นสุดการรับสมัคร มีผู้สมัครออนไลน์มากกว่าปี 2567 ถึง 1,400 คน
นายสุรพงษ์กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผู้สมัครใจเข้ารับราชการทหาร ประกอบกับการปรับลดอัตราทหารประจำการ จะทำให้ปัญหาการบังคับเกณฑ์ทหารมีจำนวนลดลง จนอีกไม่นานจะไม่มีทหารที่ถูกบังคับอีกต่อไป เพื่อให้ถึงวันนั้นทางกองทัพต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้ โดยต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะให้มีอัตราการเพิ่มขึ้นของทหารที่สมัครใจในอัตราส่วนเท่าไร และจะสิ้นสุดไม่มีการบังคับเกณฑ์ทหารในเมื่อใด
เพื่อให้ได้ทหารกองประจำการที่มีคุณภาพประสิทธิภาพและสมัครใจอย่างแท้จริง กองทัพไทยควรส่งเสริมหรือมีการจูงใจต่างๆ ต่อการสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการที่ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การได้รับการฝึกอาชีพ การเล่าเรียนต่อ การได้เลื่อนยศตำแหน่ง สามารถต่อเข้าเป็นนายสิบ นายร้อย และก้าวหน้าในระบบราชการ รวมถึงค่าตอบแทน ฯลฯ ตลอดจนพัฒนาทหารกองประจำการไปสู่ระบบทหารอาชีพ ซึ่งมีความยั่งยืน เชี่ยวชาญ และได้รับการพัฒนาฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ต้องสร้างความมั่นใจถึงความเป็นธรรมในระบบทหาร โดยการมีนโยบายและมาตรการที่เด็ดขาดชัดเจน ในการตรวจสอบและลงโทษทหารที่กระทำการรุนแรงและผิดกฎหมาย เนื่องจากยังมีข่าวการกระทำที่ผิดกฎหมาย การซ้อม และใช้ความรุนแรงของทหารออกมาอยู่เสมอ
นายสุรพงษ์กล่าวว่า กองทัพไทยต้องเดินหน้าสร้างระบบจูงใจ ให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชายไทยได้เห็นประโยชน์และได้รับประโยชน์จากการสมัครใจเข้ามาเป็นทหาร ไม่ใช่การสร้างกระบวนการในการหลีกเลี่ยงทหารโดยใช้เงินเป็นตัวกำหนด ตามความคิดของผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
บุกจับกุม นายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมหน้าห้อง เรียกรับเงินผู้รับเหมา 5 หมื่น
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_9584134
ป.ป.ท. ร่วมกับ บก.ปปป. และ ป.ป.ช. บุกจับกุม นายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมหน้าห้อง เรียกรับเงินผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่พักข้าราชการ
เมื่อวันที่ 12.30 น. วันที่ 10 ม.ค.2568 สำนักงาน ป.ป.ท. ภายใต้การอำนวยการของ นายภูมิวิศาล เกษมศุข เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. นายเอกชัย เกษมสุขธวัช รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. และ พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมายให้ พ.ต.ท.สราวุธ คำเหลือง ผู้อำนวยการกองอำนวยการต่อต้านการทุจริต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เข้าร่วมบูรณาการประสานความร่วมมือกับ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก, พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผบก.ปปป., พ.ต.อ.สมศักดิ์ เนียมเล็ก ผกก.5 บก.ปปป. และ นายไพโรจน์ นิยมเดชา ผู้อำนวยการกลุ่มสืบสวนและปฏิบัติการข่าว 2 สำนักงาน ป.ป.ช. ติดตามจับกุม
นาย ว. (นามสมมุติ) นายอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ 1/68 ลงวันที่ 8 มกราคม 2568 ในความผิดฐาน “เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจหรือจูงใจให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต”
และ นาง อ. (นามสมมุติ) เจ้าหน้าที่ปกครองชำนาญงาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ 2/68 ลงวันที่ 8 มกราคม 2568 ในความผิดฐาน “สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจหรือจูงใจ ให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ”
สืบเนื่องจากประมาณเดือนพฤษภาคม 2567 ผู้เสียหายทำสัญญาก่อสร้างโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่พักข้าราชการ ราคาจ้างเหมา 500,000 บาท มีนายอำเภอเหนือคลอง เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ลงนามเป็นผู้ว่าจ้างโครงการ
ต่อมาช่วงต้นเดือน มิถุนายน 2567 นายอำเภอเหนือคลอง ผู้ต้องหาที่ 1 มาพูดคุยเกี่ยวกับงานที่กำลังก่อสร้างตามสัญญาจ้างและบอกว่า “เสร็จงานแล้ว ให้นาย 50,000 นะ” กระทั่งเมื่อการก่อสร้างโครงการตามสัญญาเสร็จสิ้น มีการตรวจรับงานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา ผู้กล่าวหาได้รับเงินค่าจ้างครบถ้วนแล้ว
ต่อมาช่วงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลโคกยาง ได้โทรศัพท์บอกกับผู้เสียหายว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ฝากมาบอกให้นำเงินไปให้ ถ้าไม่ยอมก็ให้ผู้เสียหายไปเอาหนังสือลาออกจากการเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้เสียหายจึงโทรศัพท์ไปสอบถามนาง อ. (นามสมมุติ) ผู้ต้องหาที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปกครองชำนาญงาน ทำหน้าที่หน้าห้องปลัดอาวุโส อำเภอเหนือคลอง เกี่ยวกับเรื่องเงินดังกล่าว แต่ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน
ผู้เสียหายจึงไปหาผู้ต้องหาที่ 1 ตามกำหนดนัดแต่ไม่พบ โดยระหว่างนั้นก็มีบุคคลโทรศัพท์มาหาผู้เสียหายแจ้งว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ให้นำเงินไปให้จำนวนหลายครั้ง ผู้กล่าวหาจึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นและขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดกระบี่
จากนั้นร่วมกันวางแผนรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการกระทำผิดของผู้ต้องหาที่ 1 ด้วยการให้ผู้เสียหายนำเงินบางส่วน จำนวน 10,000 บาท ไปมอบให้กับผู้ต้องหาที่ 1 แต่ผู้ต้องหาที่ 1 ไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าพบและแจ้งกับหน้าห้องไว้ว่าให้ผู้เสียหายฝากเงินไว้กับ ผู้ต้องหาที่ 2
เมื่อผู้เสียหายเห็นว่าไม่สามารถเข้าพบผู้ต้องหาที่ 1 เพื่อมอบเงินให้ตามแผนที่วางเอาไว้ จึงเข้าไปนั่งพูดคุยเรื่องที่นำเงินมามอบให้กับผู้ต้องหาที่ 1 ต่อหน้าปลัดอาวุโส และผู้ต้องหาที่ 2 พร้อมกับนำเงิน ที่จัดเตรียมออกมาวางไว้กลางโต๊ะรับแขกภายในห้องปลัดอาวุโส
ก่อนที่ผู้ต้องหาที่ 2 จะหยิบเอาเงินบนโต๊ะไป และในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้นผู้เสียหายได้โทรศัพท์ถึงผู้ต้องหาที่ 2 สอบถามเรื่องเงินที่มอบให้ได้รับการยืนยันว่าส่งมอบเงินให้กับผู้ต้องหาที่ 1 แล้ว ผู้เสียหายจึงเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน บก.ปปป. ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 ตามกฎหมาย
ทั้งนี้ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด เพื่อขออนุมัติศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ออกหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 2 ราย แล้วในวันนี้ ขณะที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวนดังกล่าวเข้าไปมอบให้แก่ผู้ต้องหาภายในห้องทำงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปปป. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ท. และ ป.ป.ช.
จึงนำหมายจับเข้าจับกุมตัวผู้ต้องหา และดำเนินการส่งตัวผู้ต้องหาให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการตามกฎหมายต่อไป สำหรับการสอบถามปากคำเบื้องต้น ผู้ต้องหายังให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
นทท.จีนยกเลิกทริปเที่ยวไทย กลัวถูกลักพาตัว หลังซิงซิง ถูกหลอกไปทำงาน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9584065
นทท.จีนเตรียมยกเลิกทริปเที่ยวไทย กลัวถูกลักพาตัว กังวลด้านความปลอดภัย ถามเชียงใหม่ปลอดภัยมั้ย หลังซิงซิง นักแสดงจีน ถูกหลอกไปทำงาน
สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอนิ่ง รายงาน นักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากที่วางแผนจะเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ ได้แสดงความกังวลผ่านโซเชียลมีเดียในสัปดาห์นี้ และตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาว่า เชียงใหม่ปลอดภัยหรือไม่ และจะโน้มน้าวบริษัททัวร์ให้คืนเงินค่าใช้จ่ายได้อย่างไร หากต้องการยกเลิกการเดินทางไปประเทศไทย
ความวิตกกังวลดังกล่าวถูกกระตุ้นและเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับนักแสดงชาวจีนชื่อ หวังซิง หรือ ซิงซิง ที่หายตัวไปเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยเพื่อทำงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยหวังซิงถูกหลอกให้มาทำงานเป็นนักแสดงในไทย แต่กลับพาไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียวดี-เมียนมา
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทางการไทยได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วท่ามกลางการจับตามองของประชาชนจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยสามารถช่วยซิงซิงจากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ในเมืองเมียนมาที่ติดกับประเทศไทยได้สำเร็จ โดยซิงซิงเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ มีท่าทางสับสนและโกนหัวโล้น ตามภาพที่เจ้าหน้าที่เผยแพร่
เจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่า นายหวัง ซึ่งถูกหลอกล่อโดยชายแปลกหน้าชาวจีนที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทบันเทิงชื่อดังแห่งหนึ่งของไทยและเสนองานให้เขา ได้ถูกส่งตัวไปยังชายแดนเมียนมา และต่อมาข้ามไปยังเมืองเมียวดีของเมียนมา
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ความกระตือรือร้นของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดน้อยลง เนื่องจากเทศกาลตรุษจีนประจำปีกำลังใกล้เข้ามา บนแพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์จีน เสี่ยวหงซูมีคำค้นหาว่า “ฉันจะยกเลิกการเดินทางไปประเทศไทยได้อย่างไร” มากกว่า 380,000 โพสต์ในที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา