ตอบคนชื่อตระกุยฝา คำพิพากษายิ่งลักษณ์โดนตัดสินจำคุกตามคดีอาญาไม่ใช่คดีการเมือง

เห็นแล้วรกลูกตาจะอธิบายก็ยากเย็นแสนเข็นกับคนลักษณะแบบนี้ ไม่ทราบว่าเป็นแบบนี้มาตั้งแต่เกิดเลยหรือเปล่า  เถียงจากกระทู้หนึ่งแล้วแคปเนื้อหามาตั้งกระทู้ใหม่มาชมตัวเองแล้วด่าคนอื่น พอเข้าไปตอบก็ชิ่งไปตั้งกระทู้ใหม่ในเรื่องเดิม https://ppantip.com/topic/37947984  เป็นอะไรมากไหม มาอ่านคำตอบตรงนี้จะได้เห็นชัดๆแล้วให้เคารพคำตัดสินของศาลเสียที นึกถึงหัวอกลิ่วล้อที่ต้องติดคุกติดตารางบ้าง มวลชนที่โดนหลอกไปชุมนุมจนติดคุกเคยคิดจะไปเยียวยาอะไรไหม อย่ามาทำหน้าระรื่นออกสื่อทั้งนายหัวกับน้องสาวหนีไปอยู่นอกประเทศแต่คนข้างหลังแทบกระอักกับสิ่งที่นายหัวหลอก ตั้งเป็นคำถามให้ด้วยตามคำท้าของลูกกระจ๊อกหน้าเหลี่ยม

เมื่อเจ้าพนักงานละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต
“มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
คำว่า “โดยทุจริต” ตามความหมายนี้ คือ การใช้อำนาจในหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้น และที่สำคัญคือ “ต้องมีหน้าที่” คือ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัตินั้นต้องอยู่ในหน้าที่ ดังนั้นหากไม่อยู่ในหน้าที่หรืออยู่ในหน้าที่แต่ทำโดยชอบและโดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีลักษณะคล้ายคลึงกับการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่มีข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบที่จะเป็นความผิดได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หากการกระทำนั้นไม่เกิดความเสียหายแล้วย่อมจะไม่เป็นความผิดตามมารา 157 ในขณะที่การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่ แม้ไม่เกิดความเสียหายก็ยังคงถือว่าเป็นการกระทำความผิดได้

หลักการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงาน และที่สำคัญ ต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

จากการไต่สวนของศาลฯ พบว่า ทั้ง ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลหลายครั้ง เพื่อชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว การทุจริตและขั้นตอนที่ไม่สามารถควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพได้ ผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดิน พร้อมจัดทำข้อเสนอให้ปรับเปลี่ยนนโยบาย อย่างไรก็ตาม ครม.ได้อนุมัติโครงการรับจำนำข้าวรวม 5 ฤดูกาลผลิต นับจากปี 2554-2557

หากพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่มีการรายงานข้อมูลต่อที่ประชุม กขช. พบว่าเกิดปัญหาหลายประการ เช่น การสวมสิทธิ์ชาวนา นำข้าวจากต่างประเทศมาจำนำ ออกใบประทวนเท็จ ใช้เอกสารปลอม ขนข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต เปิดจุดจำนำนอกพื้นที่ ฯลฯ โดยพบผู้กระทำผิดรวม 7,096 คน (รายงานครั้งที่ 1 จำนวน 1,184 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 2,042 คน และครั้งที่ 3 จำนวน 3,870 คน และมีการดำเนินคดี 105 คดี

แม้ กขช. และ ครม. ได้ออกมาตรการป้องกันความเสียหาย แต่เมื่อถึงขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นภาระงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก ปรากฏข้อมูลตามรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน รวม 3 รอบบัญชี ซึ่งจนถึงเดือน ก.ย. 2557 พบว่ามีการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการนี้ไปแล้วกว่า 8 แสนล้านบาท เกินจากกรอบงบประมาณ 5 แสนล้านบาทที่รัฐบาลกำหนดไว้ อีกทั้งยังขาดทุนไปกว่า 5.85 แสนล้านบาท และยังมีหนี้ค้างชำระเพิ่มต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าแผนบริหารจัดการข้าวของรัฐบาลขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

"หลังจำเลยรู้ข้อมูลคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ก็เพียงแต่ 'เห็นชอบตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอ และจะนำข้อสังเกตและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ เสนอ ครม. เพื่อทราบ' เท่านั้น หากจำเลยให้ความสำคัญ ผลการดำเนินการก็จะเกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้"

จำเลยอ้างว่าการนำสำนวนคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์กับพวก มาร่วมพิจารณาด้วย อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จากการไต่สวนของศาลฯ พบว่า จำเลยรับรู้ข้อมูลของการระบายข้าวแบบจีทูจี ระหว่างกรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัทกว่างตง และบริษัทไห่หนาน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวม 4 สัญญา เป็นอย่างดี โดยจำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2555 ยืนยันว่า "มีการส่งออกจริง" และ "เห็นสัญญาซื้อขายแล้วค่ะ" แสดงว่าจำเลยรับรู้เรื่องการระบายข้าวที่สมอ้างว่าเป็นการระบายแบบจีทูจี แต่ความจริงเป็นการนำข้าวมาเวียนขายในประเทศ ให้คนบางกลุ่มเข้าแสวงหาผลประโยชน์

ก่อนเริ่มโครงการทาง สตง. และ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาล แสดงว่าได้รับทราบข้อมูลเป็นระยะๆ แต่จำเลยไม่ติดตามตรวจสอบ จะเห็นว่าไปประชุม กขช. แค่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2554 ส่วนการประชุม กขช. อีก 22 นัด หาได้ร่วมประชุมเพื่อติดตามให้โครงการมีประสิทธิภาพตามที่บอกไว้ นอกจากนี้ยังแต่งตั้ง พ.ต.นพ. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ หรือ "หมอโด่ง" เป็นอนุกรรมการเกี่ยวกับการระบายข้าวหลายชุด ซึ่งต่อมาหมอโด่งตกเป็นจำเลยคดีทุจริตการระบายข้าวแบบจีทูจี

อีกทั้งยังมีข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ทั้งจากการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน การตั้งกระทู้ถามในสภา แทนที่จำเลยจะระงับยับยั้งความเสียหาย แต่กลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการต่อไป จนเกิดความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ

"เมื่อนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ถูกกล่าวหาว่าทุจริต และมีตำแหน่งเป็นถึงรัฐมนตรี การรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ แล้วรายงานผลขึ้นมาไม่เพียงพอ หากไม่มีการปล่อยปละละเลย ก็จะไม่กระทบงบประมาณแผ่นดินขนาดนี้"

"นับจากวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ 26 พ.ย. 2555 ยังมีเวลาเพียงพอในการตรวจสอบ หากจำเลยจะตรวจสอบอย่างจริงจัง เหมือนกรณีที่สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบโครงการข้าวถุงราคาถูก แต่กรณีกลับไม่ดำเนินการ ทั้งที่ทำได้โดยอาศัยอำนาจนายกรัฐมนตรี จึงมีพฤติการณ์ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และส่อแสดงเจตนาให้นายบุญทรงกับพวก แสวงหาผลประโยชน์โดยทุจริตจากโครงการ โดยสมอ้างว่าเป็นการระบายข้าวแบบจีทูจี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่"

การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ลงโทษจำคุก 5 ปี โดยมีมติเอกฉันท์ไม่รอลงอาญา

ไม่ต้องบิดเบือนอีกแล้ว


แถม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่