เปิดข้อกล่าวหาและโทษคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ "ยิ่งลักษณ์" คดีจำนำข้าว
คดีปล่อยปละละเลย ทำให้เกิดการทุจริต ในโครงการรับจำนำข้าว ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตกเป็นจำเลยนั้น ตามคำฟ้องของฝ่ายโจทก์ อ้างอิงกฎหมาย 2 ฉบับ คือประมวลกฎหมายอาญา และ กฎหมาย ป.ป.ช. โดยระวางโทษสูงสุดถึง 10 ปีด้วยกัน
ตามคำถือคดีอาญา หมายเลขดำที่ อม.22/2558 ที่โจทก์ คือ ป.ป.ช.ร่วมกับอัยการสูงสุด ยื่นฟ้องจำเลย คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีใจความสรุปว่า ระหว่าง ส.ค.ปี 2554 - พ.ค. ปี 2557 จำเลยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ/เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)
ระหว่างนั้นได้โครงการรับจำนำข้าว มีข้อทักท้วงเกิดขึ้น ทั้งจาก ป.ป.ช. สตง. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ รวมไปถึงพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ว่ามีแนวโน้มจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพข้าว บิดเบือนกลไกตลาด และเกิดปัญหาการทุจริตขึ้น แต่กลับเดินหน้านโยบาย โดยไม่ยับยั้งความเสียหาย ไม่มีการปรับแก้หลักเกณฑ์ เป็นเหตุให้กระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีอัตราโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี ปรับ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 123/1 กรณีไม่ระงับยับยั้ง ปล่อยปละละเลย มีอัตราโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
https://news.thaipbs.or.th/content/265515
เปิดข้อกล่าวหาและโทษคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ "ยิ่งลักษณ์" คดีจำนำข้าว
คดีปล่อยปละละเลย ทำให้เกิดการทุจริต ในโครงการรับจำนำข้าว ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตกเป็นจำเลยนั้น ตามคำฟ้องของฝ่ายโจทก์ อ้างอิงกฎหมาย 2 ฉบับ คือประมวลกฎหมายอาญา และ กฎหมาย ป.ป.ช. โดยระวางโทษสูงสุดถึง 10 ปีด้วยกัน
ตามคำถือคดีอาญา หมายเลขดำที่ อม.22/2558 ที่โจทก์ คือ ป.ป.ช.ร่วมกับอัยการสูงสุด ยื่นฟ้องจำเลย คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีใจความสรุปว่า ระหว่าง ส.ค.ปี 2554 - พ.ค. ปี 2557 จำเลยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ/เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)
ระหว่างนั้นได้โครงการรับจำนำข้าว มีข้อทักท้วงเกิดขึ้น ทั้งจาก ป.ป.ช. สตง. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ รวมไปถึงพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ว่ามีแนวโน้มจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพข้าว บิดเบือนกลไกตลาด และเกิดปัญหาการทุจริตขึ้น แต่กลับเดินหน้านโยบาย โดยไม่ยับยั้งความเสียหาย ไม่มีการปรับแก้หลักเกณฑ์ เป็นเหตุให้กระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีอัตราโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี ปรับ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 123/1 กรณีไม่ระงับยับยั้ง ปล่อยปละละเลย มีอัตราโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
https://news.thaipbs.or.th/content/265515