JJNY : อิสราเอลปัดเงื่อนไขฮามาส│‘พี่ปู’ สิงห์ขาวรุ่น21 หวนคิดถึง│‘เบญจา’ชวนปชช.ร่วมแสดงความเห็น│“แอน”รับถูก“ฟอร์ซเซลล์”

อิสราเอลปัดเงื่อนไขฮามาส ขอแยกปล่อยตัวประกันที่เป็นแม่ลูกกัน
https://www.dailynews.co.th/news/2911837/

อิสราเอลยืนกรานว่า กลุ่มฮามาสต้องปล่อยตัวประกันที่เป็นแม่-ลูก หรือผู้ปกครองกับบุตรหลานซึ่งถูกจับตัวมาด้วยกัน "พร้อมกันเท่านั้น" ห้ามแยกปล่อยคนละรอบเด็ดขาด
  
 
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 18 พ.ย. โดยอ้างข้อมูลจากสื่อท้องถิ่นหลายแห่งของอิสราเอล เกี่ยวกับการเจรจาเรื่องตัวประกัน ระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และมีกาตาร์ทำหน้าที่คนกลาง ว่าอิสราเอลยืนกราน ไม่มีทางยอมรับเงื่อนไขหรือข้อเสนอของกลุ่มฮามาส ที่จะมีการแยกตัวประกันซึ่งเป็นพ่อ แม่ และลูก หรือผู้ปกครองกับเด็กออกจากกัน

ทั้งนี้ อิสราเอลยื่นคำขาดว่า หากตัวประกันกลุ่มต่อไปที่จะได้รับการปล่อยตัว มีเด็กหรือมีผู้ที่ถูกควบคุมตัวพร้อมบุตรหลาน ทุกคนต้องได้รับการปล่อยตัวพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอิสราเอลยังคงสงวนท่าทีเกี่ยวกับการปล่อยนักโทษชาวปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อเรียกร้องอีกเรื่องจากกลุ่มฮามาส

สำหรับเงื่อนไขล่าสุดซึ่งมีการเปิดเผยออกมาจากแหล่งข่าวหลายฝ่าย เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คือการที่กลุ่มฮามาสต้องการให้อิสราเอลหยุดยิงเป็นเวลา 5 วัน เพื่อแลกกับตัวประกัน 50 คน อย่างไรก็ดี มีรายงานด้วยว่า นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอล ต้องการให้กลุ่มฮามาสปล่อยตัวประกันออกมา 70 คนในรอบนี้

อนึ่ง สื่อของอิสราเอลให้ความเห็นด้วยว่า การเจรจาเรื่องตัวประกันรอบนี้อาจใช้เวลานาน เนื่องจากแต่ละฝ่ายเพิ่มแรงกดดันต่อกันมากขึ้น และแกนนำกลุ่มฮามาสซึ่งมีอำนาจตัดสินใจ หนึ่งในนั้นคือนายยาห์ยา ซินวาร์ ผู้นำกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา ยังคงซ่อนตัวอยู่ในอุโมงค์ลึกจากพื้นดิน การติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกผ่านคนกลางจึงลำบาก.
 
https://twitter.com/TimesofIsrael/status/1725631677475721389


 
‘พี่ปู’ สิงห์ขาวรุ่น 21 หวนคิดถึง รับน้องขึ้นดอย อวยพร ลูกช้างใหม่ สู่ รั้ว มช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4288611

‘ยิ่งลักษณ์’  โพส หวนคิดถึง รับน้องขึ้นดอย อวยพรรับขวัญ ลูกช้างรุ่นใหม่เข้ารั้ว มช.
 
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra หวนคิดถึงกิจกรรมรับน้องขึ้นดอยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยระบุว่า
 
วันนี้ (18 พ.ย. 66) เป็นวันรับน้องขึ้นดอยของลูกช้าง 66 สำหรับพี่สิงห์ขาวรุ่น 21 อย่างดิฉัน ถือว่าวันเวลาผ่านไปเร็วมากค่ะ
 
ปีนี้เป็นอีกปีที่ทุกคนให้ความสำคัญกับการรับน้องขึ้นดอย เพราะการสร้างความรัก และความสามัคคีกันระหว่างลูกช้างคือสิ่งที่พวกเราให้ความสำคัญกันมายาวนาน วันนี้เยาวชนรุ่นใหม่ เป็นพลังสำคัญในการผลักดันอนาคตของประเทศ ซึ่งประเพณีรับน้องขึ้นดอยเองก็เป็นประเพณีที่ทำให้เห็นถึงพลังความร่วมมือจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง และเพื่อนสู่เพื่อนค่ะ
 
มช. ไม่ได้เป็นเพียงสถาบันการศึกษาที่สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับประเทศนะคะ แต่ที่นี่ยังเป็นบ้านที่อบอุ่น เป็นที่ที่มีความรัก ความเอื้ออาทร และพร้อมช่วยเหลือทุกคนโดยเฉพาะนักศึกษาที่มาเรียนต่างบ้านต่างเมือง ดังนั้น ทุกกิจกรรมคือการส่งเสริมความใกล้ชิด เพื่อทุกคนจะได้ช่วยเหลือดูแลกัน ซึ่งดิฉันก็เคยได้รับเมื่อครั้งเริ่มต้นมาเรียนที่นี่ค่ะ
 
พี่ในฐานะพี่สิงห์ขาว 21 และลูกช้าง มช. รุ่น 28 ขอต้อนรับน้องๆ ทุกคนสู่รั้ว มช. และบ้านสิงห์ขาวอย่างเป็นทางการ พี่ขอให้น้องๆ ประสบความสำเร็จในการเรียน และการใช้ชีวิตตามที่หวัง เพื่อจะได้เป็นอนาคตของประเทศ เป็นความหวังของครอบครัวต่อไป … ขอให้น้องๆ โชคดีนะคะ
 
ด้วยรักและห่วงใยเสมอ
 
‘พี่ปู’ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

https://www.facebook.com/Y.Shinawatra/posts/pfbid0GjhxWzhaqkKK9K8NehzS3m5uSSYS5uUDF4WyjpzmN8XCckmkh4obHqTMRwxEZqMVl
 

 
‘เบญจา’ ชวนปชช.ร่วมแสดงความเห็น ‘ร่างกม.นิรโทษกรรมก้าวไกล’ เชื่อจำเป็นต้องเปิดประตูบานแรก เพื่อยุติความขัดแย้งการเมือง
https://siamrath.co.th/n/493597

‘เบญจา’ ชวนปชช.ร่วมแสดงความเห็น ‘ร่างกม.นิรโทษกรรมก้าวไกล’ เชื่อจำเป็นต้องเปิดประตูบานแรก เพื่อยุติความขัดแย้งการเมือง มอง กรณี ‘ทนายอานนท์’ ควรได้รับสิทธิประกันตัว แต่กลับถูกยกเว้นใน ‘คดีการเมือง-ม.112’
 
เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 น.ส.เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 4 ปี ปรับเป็นเงิน 20,000 บาท โดยไม่รอลงอาญาในคดีอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา เขียนจดหมายถึงลูกขณะอยู่ในเรือนจำ ใจความสำคัญระบุว่า หลังปีใหม่จะถูกย้ายเรือนจำจากกทม. ไปขังต่อที่เรือนจำ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ว่า ศาลฎีกามีคำสั่งยืนยันไม่ให้ประกันตัวนายอานนท์ แม้ทนายความจะยื่นถึงเหตุจำเป็นไปแล้ว และในความเป็นจริง สิทธิในการประกันตัวเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ถูกรับรองในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศ ทว่าสิทธิดังกล่าวกลับกลายเป็นสิทธิที่ถูกยกเว้นโดยเฉพาะกับผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีการเมือง คดีมาตรา 112  และเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมในการต่อสู้คดีนายอานนท์ จึงถอนประกันในคดีที่เหลือกว่า 20 คดีแล้ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการต่อสู้คดี
 
โดยอานนท์ได้เขียนจดหมายถึงลูกทั้งสอง มีใจความว่า แม้ขณะนี้อานนท์จะถูกลงโทษแต่ไม่ใช่การรับผิด และในคดีความทั้งหมด 20 คดี อาจทำให้อานนท์ต้องรับโทษมากกว่า 80 ปี แต่ไม่มีแม้แต่วันเดียวที่เป็นการรับผิด ไม่มีการสารภาพหรือยอมรับว่าการต่อสู้ของเขาและเพื่อนๆ เป็นความผิดอย่างเด็ดขาด และจนกว่าเขาจะได้รับอิสรภาพจากโทษซึ่งไม่มีความผิด ลูกทั้ง 2 ของเขา คงเติบโตและบ้านเมืองนี้คงเปลี่ยนแปลงไปไม่อาจเหมือนเดิมอีกแล้ว
 
น.ส.เบญจา กล่าวอีกว่า สิ่งที่นายอานนท์ และนักโทษคดีการเมืองทุกคนกำลังเผชิญ เป็นโจทย์ใหญ่ที่สะท้อนปัญหาการใช้กฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน ซ้ำร้ายกระบวนการยุติธรรมยังไม่ได้คุ้มครองหรือเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ เห็นได้จากปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายกับนักโทษคดีการเมือง มีแนวโน้มละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้นเรื่อยๆ และออกห่างจากหลักการที่เป็นสากล ถึงเวลาแล้วที่สังคมต้องตระหนักร่วมกันถึงปัญหา
 
ท่ามกลางวิกฤติการเมืองไทยขณะนี้ หนทางที่จะสร้างความมั่นคงให้สถาบันกษัตริย์พร้อมไปกับการสร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทย คือต้องแก้ไขทบทวนกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ยืนยันในหลักการว่าการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง ต้องได้รับความคุ้มครอง ไม่มีใครต้องติดคุกจากการแสดงออกหรือแสดงความเห็นทางการเมืองโดยสันติ” น.ส.เบญจา กล่าว
 
น.ส.เบญจา ยังกล่าวถึงการเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่พรรคจะเสนอต่อสภาฯ ในอนาคต โดยยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นภารกิจของผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล ในการหาทางออกจากความขัดแย้งทางการเมืองด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตย และกลไกรัฐสภา
 
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลเสนอเข้าสู่สภาฯ แล้ว คือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม แก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองฯ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น
 
ตนจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าไปแสดงความเห็นในเว็บไซต์ของสภาฯ และติดตามให้ร่างผ่านการพิจารณาสภาฯ แม้ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการทำงานทางความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมือง ไปจนถึงการพูดคุยเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม แต่นี่คือประตูบานแรกที่จำเป็นต้องเปิดออกให้ได้ หากสังคมเราต้องการยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่มีมายาวนาน
 
การผลักดันให้เกิดการนิรโทษกรรมประชาชนจากคดีทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน จะเป็นการพื้นที่ให้ทุกฝ่ายที่เคยขัดแย้งกัน มีพื้นที่ปลอดภัย ใช้กระบวนการประชาธิปไตยแสวงหาฉันทามติใหม่ของสังคม และยังเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่สุดในการคืนความยุติธรรมให้ประชาชน ไม่ว่าใครจะมีความคิด ความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างไร การสร้างระบบการเมืองที่ดี มีนิติรัฐ รวมถึงการนิรโทษกรรมให้ประชาชน ไม่ได้เป็นแค่เรื่องการเมืองและสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการสร้างสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปลดปล่อยศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตด้วย” น.ส. เบญจา กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่