“พิชัย” รมว.พาณิชย์ เร่งเครื่องสกัดสินค้านอกไร้มาตรฐานทะลักไทย ถก 16 หน่วยงาน ทั้งกรมศุลฯ สคบ. อย. สมอ.สั่งตรวจเข้มข้น ฉุดนำเข้าวูบ 27% เอาผิดนอมินี 747 ราย เผยแพลตฟอร์ม TEMU จดทะเบียนตั้งบริษัทในไทยแล้วแต่ยังไม่เริ่มดำเนินการ เตรียมขอบีโอไอก่อนลุยธุรกิจ พร้อมยินดีรับสินค้าเอสเอ็มอีไทยเข้าขาย
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ครั้งที่ 2/2567 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 16 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าไร้คุณภาพที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ทั้งผ่านกรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หลังจากผลการทำงานที่ผ่านมา ได้ผลเป็นอย่างดี สามารถแก้ไขปัญหาลดลงไปได้มาก ดูแลผู้บริโภคและผู้ประกอบการ SMEs ได้เป็นอย่างดี
ล่าสุดผมได้หารือกับนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ซึ่งจีนได้ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพ โดยกล่าวว่า “หากมีหนอนก็ต้องกำจัด เพื่อให้ป่าไม่ใหญ่สามารถเติบโตได้”
TEMU จดตั้ง บ.เตรียมขอบีโอไอ
ล่าสุดได้รับรายงานว่า เมื่อ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ TEMU ก็ได้ดําเนินการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์แล้ว โดยใช้ชื่อบริษัท เวลโค เทคโนโลยี จํากัด และทางจีนก็ยินดีที่จะส่งเสริมการส่งออกสินค้า SMEs ไทยให้เข้าไปจำหน่ายในจีนทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่ โดยเป็นการเข้ามาดำเนินการจดทะเบียนธุรกิจในไทย แต่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ ซึ่งหากจะประกอบธุรกิจก็จำเป็นจะต้องเข้ามาขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภายใต้กฎหมายต่างด้าวของไทย หรือจะเข้ามาขอส่งเสริมการลงทุน กับสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการประสานงาน
ตรวจยิบฉุดนำเข้าลด 27%
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานอย่างเข้มข้น ทำให้สินค้าไร้คุณภาพเข้าสู่ประเทศลดลง โดยช่วงก่อนมีมาตรการ ม.ค.-มิ.ย. 2567 มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เฉลี่ยเดือนละ 3,112 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน การนำเข้าลดลงเหลือ 2,279 ล้านบาท ลดลง 27% ลดลงทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่มีมาตรฐาน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มมาตรการในการกำกับดูแล โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจสอบสารปนเปื้อน สารเคมีตกค้าง แมลงตกค้าง จาก 500 ครั้งต่อเดือน เป็น 5,000 ครั้งต่อเดือน และระยะกลาง เพิ่มการตรวจสอบ
เป็นวันละ 200 ครั้ง หรือปีละ 7.2 หมื่นครั้ง
ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ ได้ให้ อย. และ สคบ. ตรวจสอบการติดสลาก คุณภาพสินค้า จากปกติ 1,200 ครั้ง เป็น 1,600 ครั้งต่อเดือน และเพิ่มเป็น 3,000 ครั้งต่อเดือน ส่วนที่นำเข้า ให้ตรวจเข้ม 100% ในบางสินค้า และ 20-30% ในบางสินค้า และให้ชะลอการจ่ายเงินไว้ 5 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคมีเวลาตรวจสอบสินค้า รวมทั้งต้องตรวจสอบการติดสลาก อย. มอก. อย่างเข้มข้น
ส่วนการดำเนินคดี กรมศุลกากรได้ดำเนินคดีแล้ว 12,145 ราย มูลค่าความเสียหาย 529 ล้านบาท สมอ. จำนวน 59 คดี 33 ล้านบาท สคบ. จำนวน 159 คดี 57.8 ล้านบาท กรมทรัพย์สินทางปัญญา 177 คดี 153 ล้านบาท และ อย. 30,393 รายการ ยังประเมินมูลค่าความเสียหายไม่ได้
เ
อาผิดนอมินีแล้ว 747 ราย
นายนภินทรกล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหานอมินี ได้แบ่งกลุ่มตรวจสอบธุรกิจที่มีความเสี่ยง 6 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจขนส่งทางบก ธุรกิจโกดังและคลังสินค้า ธุรกิจซื้อขายที่ดินเพื่อการเกษตร และธุรกิจอื่น ๆ โดยผลการตรวจสอบตั้งแต่ 1 ก.ย.- 4 ธ.ค. 2567 สามารถดำเนินคดีได้ 747 ราย มูลค่าธุรกิจที่เข้าตรวจสอบ 11,720 ล้านบาท
“ขอแจ้งเตือนไปยังผู้ที่กระทำการเป็นนอมินีให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย ขอให้หยุดการกระทำ และให้ข้อมูลมายังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะ
กันตัวไว้เป็นพยาน แต่ถ้ายังขืนดื้อดึงและทำผิดต่อไป หากจับกุมได้ จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ไม่มีละเว้น” นายนภินทรกล่าว
สมอ.ห่วงกระทบผู้ผลิตใน ปท.
นายนนทิชัย ลิขิตาภรณ์ ผู้อำนวยการกองตรวจการมาตรฐาน 1 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า การดูแลมาตรฐานการนำเข้าสินค้าควบคุมมีทั้งสิ้น 144 รายการ โดยในปี 2568 มีเป้าหมายจะเพิ่มขึ้นอีก 58 รายการ ส่งผลให้สินค้านำเข้าจะต้องมีมาตรฐานทั้งสิ้น 202 รายการ ล่าสุดทาง สมอ.สามารถเพิ่มมาตรฐานสินค้าได้เพิ่มอีก 5 รายการ ซึ่งจะมีการประกาศเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2568 นี้ โดยสินค้าที่ต้องได้มาตรฐานดังกล่าว เช่น สินค้าพลาสติก เหล็กเคลือบ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การที่จะกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้านั้น ต้องคำนึงถึงผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมภายในประเทศด้วย เพราะการกำหนดมาตรฐานนั้นจะต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด หากเข้มข้นมากเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อสินค้า ผู้ประกอบการในไทย ดังนั้น การจะออกมาตรฐานได้จำเป็นจะต้องพิจารณาตัวสินค้า ก่อนที่จะเสนอให้กับ บอร์ด สมอ. และนำไปขอความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก่อนที่จะประกาศเป็นกฎกระทรวงเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/economy/news-1713024
Temu จดทะเบียน 2 ล้านบาท ขอ BOI “พาณิชย์” สกัดสินค้าไร้มาตรฐาน ฟัน 747 นอมินี-นำเข้าลดวูบ 27%
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ครั้งที่ 2/2567 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 16 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าไร้คุณภาพที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ทั้งผ่านกรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หลังจากผลการทำงานที่ผ่านมา ได้ผลเป็นอย่างดี สามารถแก้ไขปัญหาลดลงไปได้มาก ดูแลผู้บริโภคและผู้ประกอบการ SMEs ได้เป็นอย่างดี
ล่าสุดผมได้หารือกับนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ซึ่งจีนได้ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพ โดยกล่าวว่า “หากมีหนอนก็ต้องกำจัด เพื่อให้ป่าไม่ใหญ่สามารถเติบโตได้”
TEMU จดตั้ง บ.เตรียมขอบีโอไอ
ล่าสุดได้รับรายงานว่า เมื่อ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ TEMU ก็ได้ดําเนินการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์แล้ว โดยใช้ชื่อบริษัท เวลโค เทคโนโลยี จํากัด และทางจีนก็ยินดีที่จะส่งเสริมการส่งออกสินค้า SMEs ไทยให้เข้าไปจำหน่ายในจีนทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่ โดยเป็นการเข้ามาดำเนินการจดทะเบียนธุรกิจในไทย แต่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ ซึ่งหากจะประกอบธุรกิจก็จำเป็นจะต้องเข้ามาขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภายใต้กฎหมายต่างด้าวของไทย หรือจะเข้ามาขอส่งเสริมการลงทุน กับสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการประสานงาน
ตรวจยิบฉุดนำเข้าลด 27%
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานอย่างเข้มข้น ทำให้สินค้าไร้คุณภาพเข้าสู่ประเทศลดลง โดยช่วงก่อนมีมาตรการ ม.ค.-มิ.ย. 2567 มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เฉลี่ยเดือนละ 3,112 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน การนำเข้าลดลงเหลือ 2,279 ล้านบาท ลดลง 27% ลดลงทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่มีมาตรฐาน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มมาตรการในการกำกับดูแล โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจสอบสารปนเปื้อน สารเคมีตกค้าง แมลงตกค้าง จาก 500 ครั้งต่อเดือน เป็น 5,000 ครั้งต่อเดือน และระยะกลาง เพิ่มการตรวจสอบ เป็นวันละ 200 ครั้ง หรือปีละ 7.2 หมื่นครั้ง
ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ ได้ให้ อย. และ สคบ. ตรวจสอบการติดสลาก คุณภาพสินค้า จากปกติ 1,200 ครั้ง เป็น 1,600 ครั้งต่อเดือน และเพิ่มเป็น 3,000 ครั้งต่อเดือน ส่วนที่นำเข้า ให้ตรวจเข้ม 100% ในบางสินค้า และ 20-30% ในบางสินค้า และให้ชะลอการจ่ายเงินไว้ 5 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคมีเวลาตรวจสอบสินค้า รวมทั้งต้องตรวจสอบการติดสลาก อย. มอก. อย่างเข้มข้น
ส่วนการดำเนินคดี กรมศุลกากรได้ดำเนินคดีแล้ว 12,145 ราย มูลค่าความเสียหาย 529 ล้านบาท สมอ. จำนวน 59 คดี 33 ล้านบาท สคบ. จำนวน 159 คดี 57.8 ล้านบาท กรมทรัพย์สินทางปัญญา 177 คดี 153 ล้านบาท และ อย. 30,393 รายการ ยังประเมินมูลค่าความเสียหายไม่ได้
เอาผิดนอมินีแล้ว 747 ราย
นายนภินทรกล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหานอมินี ได้แบ่งกลุ่มตรวจสอบธุรกิจที่มีความเสี่ยง 6 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจขนส่งทางบก ธุรกิจโกดังและคลังสินค้า ธุรกิจซื้อขายที่ดินเพื่อการเกษตร และธุรกิจอื่น ๆ โดยผลการตรวจสอบตั้งแต่ 1 ก.ย.- 4 ธ.ค. 2567 สามารถดำเนินคดีได้ 747 ราย มูลค่าธุรกิจที่เข้าตรวจสอบ 11,720 ล้านบาท
“ขอแจ้งเตือนไปยังผู้ที่กระทำการเป็นนอมินีให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย ขอให้หยุดการกระทำ และให้ข้อมูลมายังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะกันตัวไว้เป็นพยาน แต่ถ้ายังขืนดื้อดึงและทำผิดต่อไป หากจับกุมได้ จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ไม่มีละเว้น” นายนภินทรกล่าว
สมอ.ห่วงกระทบผู้ผลิตใน ปท.
นายนนทิชัย ลิขิตาภรณ์ ผู้อำนวยการกองตรวจการมาตรฐาน 1 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า การดูแลมาตรฐานการนำเข้าสินค้าควบคุมมีทั้งสิ้น 144 รายการ โดยในปี 2568 มีเป้าหมายจะเพิ่มขึ้นอีก 58 รายการ ส่งผลให้สินค้านำเข้าจะต้องมีมาตรฐานทั้งสิ้น 202 รายการ ล่าสุดทาง สมอ.สามารถเพิ่มมาตรฐานสินค้าได้เพิ่มอีก 5 รายการ ซึ่งจะมีการประกาศเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2568 นี้ โดยสินค้าที่ต้องได้มาตรฐานดังกล่าว เช่น สินค้าพลาสติก เหล็กเคลือบ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การที่จะกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้านั้น ต้องคำนึงถึงผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมภายในประเทศด้วย เพราะการกำหนดมาตรฐานนั้นจะต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด หากเข้มข้นมากเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อสินค้า ผู้ประกอบการในไทย ดังนั้น การจะออกมาตรฐานได้จำเป็นจะต้องพิจารณาตัวสินค้า ก่อนที่จะเสนอให้กับ บอร์ด สมอ. และนำไปขอความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก่อนที่จะประกาศเป็นกฎกระทรวงเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-1713024