'เพื่อไทย' คิกออฟโครงการ 'Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ' ประเดิม 8 เขต กทม.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2966616
‘เพื่อไทย’ คิกออฟโครงการ ‘Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ’ ประเดิม 8 เขต กทม. รับฟังปัญหาของปชช.-เปิดรับแนวคิด แก้วิกฤตสร้างโอกาสคืนสู่ประเทศ ปูทางสู่ ‘ครอบครัวเพื่อไทย’
เมื่อวันที่ 30 กันยายน นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.
อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรค พท. และนาย
ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรค พท. เปิดอบรมโครงการ Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ นำร่อง 8 เขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามาแลกเปลี่ยน สะท้อนปัญหาและความคิดเห็นผ่านกิจกรรมเวิร์กช็อป และทำโพลปัญหาเชิงพื้นที่ โดยการจัดงานในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน ดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดการจัดกิจกรรมการรวมกลุ่มของ ศบค.
นาย
ประเสริฐกล่าวว่า ตลอดเส้นทางการเมืองที่ยาวนานกว่า 20 ปี ของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและสร้างปรากฏการณ์พัฒนาการทางประชาธิปไตยของไทยให้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทุกนโยบายของพรรคเพื่อไทย มาจากการเปิดกว้างรับความคิดเห็นของประชาชน และนำไปปฏิบัติจริงเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยทีมงานมืออาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้พี่น้องประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างที่เราเคยมีความสุขอย่างถ้วนหน้ามาแล้วในอดีต
ด้าน น.ส.
อรุณีกล่าวว่า ข้อสรุปที่ได้จากโครงการ Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ จะนำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้เตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร และนโยบายใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างคืนชีวิตที่ดีและมีคุณภาพให้กับพี่น้องประชาชนในแบบที่เราทำมาโดยตลอด
ขณะที่ นาย
ชนินทร์กล่าวว่า ผลการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปและการจัดทำโพลปัญหาเชิงพื้นที่ พบว่า ประชาชนกลุ่มนำร่อง 8 เขต กทม. ส่วนใหญ่ 90% เห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจคือปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข รองลงมา 50% คือปัญหาการเมือง และอีก 40% คือปัญหาการศึกษา ส่วนปัญหาเชิงพื้นที่กรุงเทพฯ เห็นว่า ปัญหาน้ำท่วม การจราจร การเก็บส่วยคอร์รัปชั่น อาชญากรรม ต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว และสิ่งที่ประชาชนคาดหวังมากที่สุดในขณะนี้คืออยากมีงานทำ ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลชุดนี้ทำให้ประชาชนสิ้นหวังทุกทาง พรรค พท.ได้เพิ่มช่องทางให้ประชาชนสะท้อนปัญหาเข้ามายังพรรคเพื่อไทย ผ่าน Line Official เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้พรรคการเมืองใกล้ชิดประชาชนได้โดยตรง
ทั้งนี้ สำหรับโครงการ Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 21 ตุลาคม 2564 เบื้องต้นจะดำเนินการใน 8 เขตในกรุงเทพมหานคร ก่อนจะขยายต่อไปในทุกเขตทั่วกรุงเทพฯ เมื่อจบการอบรม ผู้เข้าอบรมจะได้รับบัตรสมาชิกชั่วคราว เพื่อยืนยันว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของพรรคในฐานะ “ครอบครัวเพื่อไทย” ด้วย
ส.อ.ท. โพลล์ ความเห็น CEO พร้อมเปิดประเทศ จี้รัฐพักหนี้-หยุด ดบ.ธุรกิจท่องเที่ยว
https://www.prachachat.net/economy/news-772540
เปิดผลการสำรวจ CEO 45 กลุ่มอุตสาหกรรม FTI Poll พร้อมเปิดประเทศ ชงรัฐพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19
วันที่ 30 กันยายน 2564 นาย
วิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 ในเดือนกันยายน 2564 ภายใต้หัวข้อ “
ภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?” พบว่าผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ โดยขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้นและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้
นอกจากนี้ยังเสนอให้ภาครัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน รวมทั้งการขยายระยะเวลาเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิง เปิดให้บริการได้ พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19
ซึ่งจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้
1. ท่านเห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ หรือไม่
• อันดับที่ 1 : เห็นด้วย 78.0%
• อันดับที่ 2 : ไม่เห็นด้วย 22.0%
2. ปัจจัยใดที่ต้องนำมาพิจารณาในการเปิดประเทศ
• อันดับที่ 1 : อัตราการฉีดวัคซีน 2 เข็ม ให้แก่ประชาชน ไม่ต่ำกว่า 70% ได้ผลสำรวจ 86.0%
• อันดับที่ 2 : มาตรการคัดกรอง ตรวจติดตามผู้เดินทางเข้าประเทศ 66.7%
• อันดับที่ 3 : ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน 62.7%
• อันดับที่ 4 : ความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขในการรองรับผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ 59.3%
3. ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และดูแลเศรษฐกิจอย่างไร
• อันดับที่ 1 : ผ่อนคลายภาคธุรกิจและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น 73.3%
• อันดับที่ 2 : เข้มงวด ในการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคทุกช่องทาง 14.0%
• อันดับที่ 3 : เร่งเปิดประเทศ โดยให้ความสำคัญด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 12.7%
4. แนวทางการเปิดประเทศแบบใด ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
• อันดับที่ 1 : เปิดให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลัง 14 วัน สามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ 44.7%
• อันดับที่ 2 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ ในรูปแบบการจับคู่ระหว่างประเทศ (Travel Bubble) โดยไม่ต้องกักตัว 26.0%
• อันดับที่ 3 : เปิดเฉพาะพื้นที่ Sandbox เท่านั้น ห้ามออกนอกพื้นที่ 16.7%
• อันดับที่ 4 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่ต้องผ่านการกักตัวในสถานที่กักตัว 14 วัน 12.6%
5. การเตรียมความพร้อมเปิดประเทศ รัฐควรให้ความสำคัญในเรื่องใด
• อันดับที่ 1 : การเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ Sandbox 70.0%
• อันดับที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน 69.3%
• อันดับที่ 3 : ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการติดตามและเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ 67.3%
• อันดับที่ 4 : ความพร้อมในการตรวจเชื้อแบบ RT-PCR และการจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit 63.3%
6. หลังเปิดประเทศ รัฐควรมีการส่งเสริมอย่างไร
• อันดับที่ 1 : พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน 76.0%
• อันดับที่ 2 : ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิว และผ่อนผันให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 74.0%
• อันดับที่ 3 : ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดงาน Exhibition และการประชุมในประเทศ 54.0%
• อันดับที่ 4 : ลดค่าน้ำ ค่าไฟ อุดหนุนค่าเช่า ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 50.7%
7. ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศอย่างไร
• อันดับที่ 1 : ปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง 73.3%
• อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ 71.3%
• อันดับที่ 3 : พัฒนาสินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัย และการรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค 66.0%
• อันดับที่ 4 : ปฏิบัติตามมาตรการ Bubble and Seal ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยง 57.3%
เขื่อนอุบลรัตน์ เร่งปล่อยนํ้าวันละ 8 ล้าน ลบ.ม. เตือนชาวบ้านขนของขึ้นที่สูงโดยด่วน!
https://www.dailynews.co.th/news/328293/
เขื่อนอุบลรัตน์ เร่งปล่อยน้ำออกวันละ 8 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเตรียมรับมือน้ำก้อนใหญ่จากชัยภูมิ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำชี-พอง สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเตือนประชาชนทุกพื้นที่รับมือน้ำล้นตลิ่ง ให้ขนของขึ้นที่สูงอย่างเร่งด่วน.
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ประตูระบายน้ำ D8 ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นาย
พงศ์ธร พิศาพิทักษ์กุล นายกเทศมนตรีตำบลพระลับ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและผู้นำชุมชนในพื้นที่ ร่วมทำการตรวจสอบสภาพปริมาณน้ำในแม่น้ำชี หลังระดับน้ำได้เพิ่มระดับสูงขึ้นมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ตามการระบายน้ำจาก จ.ชัยภูมิ จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น โดยพบว่าเช้าวันนี้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10 ซม. แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตลิ่งกว่า 50 ซม.
นาย
พงศ์ธร กล่าวว่า ทางเทศบาลฯ ได้ประสานงานร่วมกรมชลประทานและประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่รอยต่อระหว่างตำบลและอำเภอ เนื่องจาก ต.พระลับ เป็นจุดรับน้ำทั้งจากแม่น้ำชี และ แม่น้ำพอง รวมทั้งน้ำในเขตเมืองที่จะไหลลงสู่แม่น้ำชี ตามการระบายน้ำของกรมชลประทานและคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ทำให้ขณะนี้การจับตาดูมวลน้ำจากทั้ง 3 สาย จำเป็นจะต้องตรวจสอบอย่างเข้มงวดทุกชั่วโมง โดยที่ในขณะนี้ได้แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เขตแม่น้ำในการรับมือกับภาวะน้ำล้นตลิ่งตามการแจ้งเตือนของกรมชลประทาน รวมทั้งการขนย้ายสิ่งของไว้ที่สูง หรือหากต้องการอพยพออกนอกพื้นที่เพื่อความปลอดภัย เทศบาลฯได้มีการเตรียมพื้นที่รองรับประชาชนหากจำเป็นต้องย้ายออกนอกพื้นที่ในช่วงที่สถานการณ์วิกฤติ ขณะนี้การเตรียมการในด้านต่างๆพร้อมทั้งหมดแล้ว
“เทศบาลฯได้รับการแจ้งเตือนจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง ที่ได้มีการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชีที่คาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำชีตอนกลางจะมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและอาจจะล้นตลิ่งได้ เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำชีสูงขึ้นประมาณ 1.5 ซม. ต่อชั่วโมงและคาดว่าน้ำจะล้นตลิ่งภายใน 4-6 วัน นับตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งน้ำจะไหลเข้าท่วมพื้นที่ ต.พระบุ ต.หนองแวง และ ต.บ้านโต้น อ.พระยืน ต.โคกสำราญ และ ต.โนนสมบูรณ์ อ.บ้านแฮด ต.ท่าพระ ต.ดอนหัน และ ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น ต.โพนงาม และ ต.ยางท่าแจ้ง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ตามการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนมหาสารคาม โดยที่ในขณะนี้เขื่อนมหาสารคามได้ยกบานประตูระบายน้ำและแขวนลอยพ้นน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำในลุ่มน้ำชีตอนกลางไหลได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น” นาย
พงศ์ธร กล่าว
ขณะที่ นาย
สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า การแจ้งเตือนน้ำชีล้นตลิ่ง ซึ่งจังหวัดได้รับการประสานงานจากกรมชลประทานเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่ริมตลิ่งและตามเส้นทางน้ำได้รับทราบ ขณะเดียวกันนอกจากการบริหารจัดการน้ำตามแนวแม่น้ำชี ตั้งแต่ต้นทาง ที่ จ.ชัยภูมิและมีการระบายน้ำผ่านเขตขอนแก่นและเข้าสูร้อยเอ็ด ลงสูแม่น้ำมูลที่ จ.ยโสธร และ ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ จ.อุบลราชธานี นั้นพบว่า ขณะนี้พื้นที่รอยต่อขอนแก่น-ชัยภูมิ ที่ อ.แวงน้อย และ อ.แวงใหญ่ น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและพื้นที่เขตชุมชนแล้วในหลายจุด ซึ่งทุกหน่วยงานได้ระดมกำลังในการให้ความช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์แบบวันต่อวัน
JJNY : 'เพื่อไทย'คิกออฟ'Outside-IN'│ส.อ.ท.โพลล์ ความเห็นCEO│เขื่อนอุบลรัตน์เตือนชาวบ้านขนของ│ขอนแก่นอ่วม หนีไปรวมตัวเมรุ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2966616
‘เพื่อไทย’ คิกออฟโครงการ ‘Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ’ ประเดิม 8 เขต กทม. รับฟังปัญหาของปชช.-เปิดรับแนวคิด แก้วิกฤตสร้างโอกาสคืนสู่ประเทศ ปูทางสู่ ‘ครอบครัวเพื่อไทย’
เมื่อวันที่ 30 กันยายน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรค พท. และนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรค พท. เปิดอบรมโครงการ Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ นำร่อง 8 เขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามาแลกเปลี่ยน สะท้อนปัญหาและความคิดเห็นผ่านกิจกรรมเวิร์กช็อป และทำโพลปัญหาเชิงพื้นที่ โดยการจัดงานในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน ดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดการจัดกิจกรรมการรวมกลุ่มของ ศบค.
นายประเสริฐกล่าวว่า ตลอดเส้นทางการเมืองที่ยาวนานกว่า 20 ปี ของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและสร้างปรากฏการณ์พัฒนาการทางประชาธิปไตยของไทยให้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทุกนโยบายของพรรคเพื่อไทย มาจากการเปิดกว้างรับความคิดเห็นของประชาชน และนำไปปฏิบัติจริงเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยทีมงานมืออาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้พี่น้องประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างที่เราเคยมีความสุขอย่างถ้วนหน้ามาแล้วในอดีต
ด้าน น.ส.อรุณีกล่าวว่า ข้อสรุปที่ได้จากโครงการ Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ จะนำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้เตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร และนโยบายใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างคืนชีวิตที่ดีและมีคุณภาพให้กับพี่น้องประชาชนในแบบที่เราทำมาโดยตลอด
ขณะที่ นายชนินทร์กล่าวว่า ผลการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปและการจัดทำโพลปัญหาเชิงพื้นที่ พบว่า ประชาชนกลุ่มนำร่อง 8 เขต กทม. ส่วนใหญ่ 90% เห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจคือปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข รองลงมา 50% คือปัญหาการเมือง และอีก 40% คือปัญหาการศึกษา ส่วนปัญหาเชิงพื้นที่กรุงเทพฯ เห็นว่า ปัญหาน้ำท่วม การจราจร การเก็บส่วยคอร์รัปชั่น อาชญากรรม ต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว และสิ่งที่ประชาชนคาดหวังมากที่สุดในขณะนี้คืออยากมีงานทำ ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลชุดนี้ทำให้ประชาชนสิ้นหวังทุกทาง พรรค พท.ได้เพิ่มช่องทางให้ประชาชนสะท้อนปัญหาเข้ามายังพรรคเพื่อไทย ผ่าน Line Official เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้พรรคการเมืองใกล้ชิดประชาชนได้โดยตรง
ทั้งนี้ สำหรับโครงการ Outside-IN ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 21 ตุลาคม 2564 เบื้องต้นจะดำเนินการใน 8 เขตในกรุงเทพมหานคร ก่อนจะขยายต่อไปในทุกเขตทั่วกรุงเทพฯ เมื่อจบการอบรม ผู้เข้าอบรมจะได้รับบัตรสมาชิกชั่วคราว เพื่อยืนยันว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของพรรคในฐานะ “ครอบครัวเพื่อไทย” ด้วย
ส.อ.ท. โพลล์ ความเห็น CEO พร้อมเปิดประเทศ จี้รัฐพักหนี้-หยุด ดบ.ธุรกิจท่องเที่ยว
https://www.prachachat.net/economy/news-772540
เปิดผลการสำรวจ CEO 45 กลุ่มอุตสาหกรรม FTI Poll พร้อมเปิดประเทศ ชงรัฐพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19
วันที่ 30 กันยายน 2564 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 ในเดือนกันยายน 2564 ภายใต้หัวข้อ “ภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?” พบว่าผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ โดยขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้นและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้
นอกจากนี้ยังเสนอให้ภาครัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน รวมทั้งการขยายระยะเวลาเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิง เปิดให้บริการได้ พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19
ซึ่งจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้
1. ท่านเห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ หรือไม่
• อันดับที่ 1 : เห็นด้วย 78.0%
• อันดับที่ 2 : ไม่เห็นด้วย 22.0%
2. ปัจจัยใดที่ต้องนำมาพิจารณาในการเปิดประเทศ
• อันดับที่ 1 : อัตราการฉีดวัคซีน 2 เข็ม ให้แก่ประชาชน ไม่ต่ำกว่า 70% ได้ผลสำรวจ 86.0%
• อันดับที่ 2 : มาตรการคัดกรอง ตรวจติดตามผู้เดินทางเข้าประเทศ 66.7%
• อันดับที่ 3 : ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน 62.7%
• อันดับที่ 4 : ความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขในการรองรับผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ 59.3%
3. ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และดูแลเศรษฐกิจอย่างไร
• อันดับที่ 1 : ผ่อนคลายภาคธุรกิจและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น 73.3%
• อันดับที่ 2 : เข้มงวด ในการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคทุกช่องทาง 14.0%
• อันดับที่ 3 : เร่งเปิดประเทศ โดยให้ความสำคัญด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 12.7%
4. แนวทางการเปิดประเทศแบบใด ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
• อันดับที่ 1 : เปิดให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลัง 14 วัน สามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ 44.7%
• อันดับที่ 2 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ ในรูปแบบการจับคู่ระหว่างประเทศ (Travel Bubble) โดยไม่ต้องกักตัว 26.0%
• อันดับที่ 3 : เปิดเฉพาะพื้นที่ Sandbox เท่านั้น ห้ามออกนอกพื้นที่ 16.7%
• อันดับที่ 4 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่ต้องผ่านการกักตัวในสถานที่กักตัว 14 วัน 12.6%
5. การเตรียมความพร้อมเปิดประเทศ รัฐควรให้ความสำคัญในเรื่องใด
• อันดับที่ 1 : การเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ Sandbox 70.0%
• อันดับที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน 69.3%
• อันดับที่ 3 : ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการติดตามและเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ 67.3%
• อันดับที่ 4 : ความพร้อมในการตรวจเชื้อแบบ RT-PCR และการจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit 63.3%
6. หลังเปิดประเทศ รัฐควรมีการส่งเสริมอย่างไร
• อันดับที่ 1 : พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน 76.0%
• อันดับที่ 2 : ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิว และผ่อนผันให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 74.0%
• อันดับที่ 3 : ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดงาน Exhibition และการประชุมในประเทศ 54.0%
• อันดับที่ 4 : ลดค่าน้ำ ค่าไฟ อุดหนุนค่าเช่า ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 50.7%
7. ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศอย่างไร
• อันดับที่ 1 : ปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง 73.3%
• อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ 71.3%
• อันดับที่ 3 : พัฒนาสินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัย และการรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค 66.0%
• อันดับที่ 4 : ปฏิบัติตามมาตรการ Bubble and Seal ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยง 57.3%
เขื่อนอุบลรัตน์ เร่งปล่อยนํ้าวันละ 8 ล้าน ลบ.ม. เตือนชาวบ้านขนของขึ้นที่สูงโดยด่วน!
https://www.dailynews.co.th/news/328293/
เขื่อนอุบลรัตน์ เร่งปล่อยน้ำออกวันละ 8 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเตรียมรับมือน้ำก้อนใหญ่จากชัยภูมิ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำชี-พอง สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเตือนประชาชนทุกพื้นที่รับมือน้ำล้นตลิ่ง ให้ขนของขึ้นที่สูงอย่างเร่งด่วน.
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ประตูระบายน้ำ D8 ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายพงศ์ธร พิศาพิทักษ์กุล นายกเทศมนตรีตำบลพระลับ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและผู้นำชุมชนในพื้นที่ ร่วมทำการตรวจสอบสภาพปริมาณน้ำในแม่น้ำชี หลังระดับน้ำได้เพิ่มระดับสูงขึ้นมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ตามการระบายน้ำจาก จ.ชัยภูมิ จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น โดยพบว่าเช้าวันนี้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10 ซม. แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตลิ่งกว่า 50 ซม.
นายพงศ์ธร กล่าวว่า ทางเทศบาลฯ ได้ประสานงานร่วมกรมชลประทานและประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่รอยต่อระหว่างตำบลและอำเภอ เนื่องจาก ต.พระลับ เป็นจุดรับน้ำทั้งจากแม่น้ำชี และ แม่น้ำพอง รวมทั้งน้ำในเขตเมืองที่จะไหลลงสู่แม่น้ำชี ตามการระบายน้ำของกรมชลประทานและคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ทำให้ขณะนี้การจับตาดูมวลน้ำจากทั้ง 3 สาย จำเป็นจะต้องตรวจสอบอย่างเข้มงวดทุกชั่วโมง โดยที่ในขณะนี้ได้แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เขตแม่น้ำในการรับมือกับภาวะน้ำล้นตลิ่งตามการแจ้งเตือนของกรมชลประทาน รวมทั้งการขนย้ายสิ่งของไว้ที่สูง หรือหากต้องการอพยพออกนอกพื้นที่เพื่อความปลอดภัย เทศบาลฯได้มีการเตรียมพื้นที่รองรับประชาชนหากจำเป็นต้องย้ายออกนอกพื้นที่ในช่วงที่สถานการณ์วิกฤติ ขณะนี้การเตรียมการในด้านต่างๆพร้อมทั้งหมดแล้ว
“เทศบาลฯได้รับการแจ้งเตือนจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง ที่ได้มีการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชีที่คาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำชีตอนกลางจะมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและอาจจะล้นตลิ่งได้ เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำชีสูงขึ้นประมาณ 1.5 ซม. ต่อชั่วโมงและคาดว่าน้ำจะล้นตลิ่งภายใน 4-6 วัน นับตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งน้ำจะไหลเข้าท่วมพื้นที่ ต.พระบุ ต.หนองแวง และ ต.บ้านโต้น อ.พระยืน ต.โคกสำราญ และ ต.โนนสมบูรณ์ อ.บ้านแฮด ต.ท่าพระ ต.ดอนหัน และ ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น ต.โพนงาม และ ต.ยางท่าแจ้ง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ตามการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนมหาสารคาม โดยที่ในขณะนี้เขื่อนมหาสารคามได้ยกบานประตูระบายน้ำและแขวนลอยพ้นน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำในลุ่มน้ำชีตอนกลางไหลได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น” นายพงศ์ธร กล่าว
ขณะที่ นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า การแจ้งเตือนน้ำชีล้นตลิ่ง ซึ่งจังหวัดได้รับการประสานงานจากกรมชลประทานเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่ริมตลิ่งและตามเส้นทางน้ำได้รับทราบ ขณะเดียวกันนอกจากการบริหารจัดการน้ำตามแนวแม่น้ำชี ตั้งแต่ต้นทาง ที่ จ.ชัยภูมิและมีการระบายน้ำผ่านเขตขอนแก่นและเข้าสูร้อยเอ็ด ลงสูแม่น้ำมูลที่ จ.ยโสธร และ ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ จ.อุบลราชธานี นั้นพบว่า ขณะนี้พื้นที่รอยต่อขอนแก่น-ชัยภูมิ ที่ อ.แวงน้อย และ อ.แวงใหญ่ น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและพื้นที่เขตชุมชนแล้วในหลายจุด ซึ่งทุกหน่วยงานได้ระดมกำลังในการให้ความช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์แบบวันต่อวัน