JJNY : แกะรอยที่ตั้ง"สินเชื่อความสุข"│สื่อญี่ปุ่นชี้ 'โตโยต้า'เร่งล็อบบี้ไทย│วันนี้PM 2.5 พุ่งสูง│เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ

แกะรอยที่ตั้ง"สินเชื่อความสุข" ไร้วี่แวว สุดท้าย GPS โผล่ในแฟลตทหาร?
https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/240533
 
  
พีพีทีวี แกะรอยที่ตั้งบริษัทฯ ตามข้อมูลติดต่อแอปพลิเคชั่น “สินเชื่อความสุข” ไร้วี่แวว-ไม่มีใครรู้จัก google maps พาไปหยุดหน้าแฟลตทหาร!
 
ทีมข่าวพีพีทีวีลงพื้นที่ตามที่อยู่ของบริษัท ที่ลงไว้ในข้อมูลติดต่อแอปพลิเคชั่น “สินเชื่อความสุข” โดยตามข้อมูลที่ระบุไว้ในรายละเอียดแอปพลิเคชั่นจะเห็นว่า ที่อยู่ติดต่อมีบ้านเลขที่ลงไว้อย่างชัดเจนคือ 1 65/101-103 ซอยสุขุมวิท 64 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
 
ทีมข่าวพีพีทีวีจึงลงพื้นที่ซอย สุขุมวิท 64 เพื่อตามหาบริษัทสินเชื่อแห่งนี้ปรากฏว่าภายในซอยลักษณะเป็นซอยขนาดใหญ่ที่มีซอยเล็กๆแยกย่อยจำนวนมาก มีทั้งโรงเรียน คอนโดมิเนียม และบ้านพักไม่ต่ำกว่า 300 หลังคาเรือน

ซึ่งแต่ละบ้านเลขที่ก็ไม่ได้เรียงลำดับจากเลขน้อยไปมากเหมือนหมู่บ้านจัดสรรทั่วๆไป ทีมข่าวจึงลองปักหมุด บ้านเลขที่ 165/101-103 ใน google maps ซึ่งในแผนที่มีตำแหน่งบ้านเลขที่165จริงๆ แต่พอขับไปตามทาง ปรากฏว่า แผนที่พาไปหยุดอยู่กลางถนนซอยสุขุมวิท 64 แยก 8 ด้านหน้าอาคารที่พักแห่งหนึ่ง มีป้ายติดไว้ว่า ”อาคารพักอาศัยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่เขตบางจาก“ ซึ่งเป็นอาคารตึกสูงประมาณ 6 ชั้น
 
ทั้งนี้ทีมข่าวเข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ให้ข้อมูลว่า อาคารดังกล่าวเป็นแฟลตที่พักของทหาร ทีมข่าวจึงสอบถามถึงเลขที่อาคารแฟลตดังกล่าวว่าใช่เลขที่ 165 หรือไม่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบอกว่าไม่ทราบ ทีมข่าวจึงลองดูบริเวณที่พักพัสดุ ปรากฏว่าเลขที่อาคารขึ้นต้นด้วยเลข 199 ไม่ใช่ 165 ตามแผนที่
 
ขณะเดียวกันหากดูข้อมูลที่อยู่ในแอปพลิเคชั่นดีๆ จะเห็นว่าเลข 1 เว้นวรรคห่างจากเลข 65 จึงลองปักหมุด 65/101-103 ใน google maps อีกครั้ง แต่เลขที่บ้านดังกล่าวไม่ปรากฏในแผนที่ อย่างไรก็ตามทีมข่าวจึงสอบถาม วินรถจักรยานยนต์รับจ้างภายในซอยสุขุมวิท 64 บอกว่า บ้านในซอยมีตั้งแต่เลขที่ 1-300 กว่า ซึ่งแต่ละเลขที่บ้านจะกระจายตามซอยต่างๆ จึงไม่รู้แน่ชัดว่า บ้านเลขที่ 65 หรือ 165 อยู่จุดไหนกันแน่ ขณะเดียวกันเมื่อถามว่า ภายในซอย มีบริษัทสินเชื่อที่ชื่อมีความสุขหรือไม่ วินรถจักรยานยนต์รับจ้างบอกว่า ตั้งแต่วิ่งรถมาไม่เคยได้ยินชื่อบริษัทนี้มาก่อนเลย

นอกจากนั้นทีมข่าวโทรศัพท์สอบถาม พ.ต.อ.ชัยวัฒน์ ประดับไทย ผู้กำกับ สน. พระโขนง บอกว่า พื้นที่ซอยสุขุมวิท 64 อยู่ในการดูแลของสน. พระโขนง รู้เรื่องแอพพลิเคชั่นสินเชื่อจากในข่าวแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีประชาชนในพื้นที่เข้าแจ้งความว่าได้รับความเสียหายจากแอพพลิเคชั่นสินเชื่อดังกล่าว ทำให้ยังไม่มีมีการดำเนินคดีอาญาใดๆ
 
ส่วนแหล่งที่ตั้ง ของบริษัทสินเชื่ออยู่ภายในซอยสุขุมวิท 64 จริงหรือไม่นั้น ผู้กำกับสน. พระโขนง บอกว่า ทางแอปฯ อาจระบุขึ้นมาลอยๆ ให้ดูเหมือนมีสถานที่ตั้งเป็นหลักแหล่ง แต่ความจริงแล้วอาจจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเลยก็ได้


 
สื่อญี่ปุ่นชี้ 'โตโยต้า' เร่งล็อบบี้ไทย ขอสนับสนุนรถไฮบริดเหนืออีวีจีน
https://www.bangkokbiznews.com/world/1161846

สื่อญี่ปุ่นเผย 'ค่ายรถญี่ปุ่น-จีน' แห่ล็อบบี้รัฐบาลไทยขอรับมาตรการสนับสนุน 'โตโยต้า' นำทัพล็อบบี้รถยนต์ไฮบริด ชิงโอกาสช่วงยอดขายรถอีวีจีนกำลังซึมลง
 
เว็บไซต์นิกเกอิเอเชียรายงานว่า ทั้งค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นและค่ายรถยนต์จีนกำลังแข่งกันล็อบบี้นักการเมืองไทย เพื่อช่วงชิงโอกาสในประเทศที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” ในจังหวะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ของจีนกำลังซบเซาลง
 
นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ได้เข้าพบกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อเดือนที่แล้วที่กรุงเทพ เพื่อหารือแนวทางยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยโดยรวม ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนไปจนถึงผู้ผลิตรถยนต์ โดยโตโยดะเน้นย้ำถึงความสำคัญของไทยในฐานะ “ศูนย์กลางการผลิตและการพัฒนา” ขณะที่นายกรัฐมนตรีแสดงความพร้อมของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมรถยนต์ไฮบริด
 
ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่ชะลอตัวลง โตโยต้ามองว่านี่เป็นโอกาสที่ดีในการเร่งผลักดันความพยายามในการล็อบบี้ของบริษัท” แหล่งข่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่นในไทยกล่าว
 
นอกจากนี้ โตโยดะและเหล่าผู้บริหารโตโยต้ายังได้พบกับนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน โดยโตโยต้าได้ให้คำมั่นที่จะลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทย "สนับสนุนสิทธิประโยชน์สำหรับรถกระบะและรถยนต์ไฮบริด"
 
โตโยต้าเป็นหนึ่งในบริษัทไม่กี่แห่งที่สามารถล็อบบี้บุคคลสำคัญหลากหลายกลุ่มได้ รวมถึงนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ข้าราชการระดับสูงอย่างณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน” แหล่งข่าวกล่าว
 
ทั้งนี้จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในไทยลดลง 27% ในเดือนม.ค. - พ.ย. 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 518,659 คัน ซึ่งสอดคล้องกับการคัดกรองสินเชื่อรถยนต์ที่เข้มงวดขึ้น โดยยอดขายรถอีวีลดลง 5% เหลือ 61,443 คัน หลังจากที่ยอดขายเคยเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เท่าในปี 2566 อยู่ที่ราว 76,000 คัน
 
ในทางตรงกันข้าม ยอดขายรถยนต์ไฮบริดมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 32% ในช่วงเดือนม.ค. - พ.ย. อยู่ที่ 105,434 คัน โดยรถยนต์โตโยต้า ยาริส ครอส เป็นหนึ่งในรุ่นที่ขายดีเป็นพิเศษ
 
สื่อญี่ปุ่นระบุว่า ในเดือนก.ค. รัฐบาลไทยตัดสินใจคงอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฮบริดที่ 6% โดยยกเลิกแผนการใช้โครงสร้างภาษีใหม่ปีหน้าที่จะเก็บเพิ่ม 2% ทุกๆ สองปีออกไปก่อน และมีการให้สิทธิประโยชน์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเช่นกัน รวมถึงเงินอุดหนุนสูงสุด 100,000 บาทต่อคัน เพื่อเป้าหมายผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2573 
 
ขณะเดียวกันยังมีการเพิ่มแรงจูงใจทางภาษีสำหรับรถยนต์ไฮบริดในกลุ่ม Mild Hybrid (MHEV) โดยฮิโรทากะ อุชิดะ หุ้นส่วนของบริษัทอาเธอร์ ดี ลิตเติล กล่าวว่า บริษัทในยุโรปและบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งได้ใช้เทคโนโลยี MHEV ไปแล้ว มาตรการนี้จึงอาจมองได้ว่า เป็นการโต้คืนบริษัทอีวีจีนที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษในปัจจุบัน 
 
นอกจากค่ายรถญี่ปุ่นแล้ว บรรดา "ค่ายรถจีน" ก็พยายามล็อบบี้ไทยเช่นกัน ซึ่งมาตรการอุดหนุนรถอีวีกำหนดให้ผู้รับการอุดหนุนต้องผลิตรถยนต์ในไทยในปี 2567 ให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้าในปี 2565 และ 2566 และขยายการผลิตเพิ่มขึ้น 50% ในปี 2568
 
อย่างไรก็ดี เมื่อความต้องการรถยนต์ชะลอตัวลง บรรดาค่ายรถยนต์จีน เช่น เกรท วอลล์ มอเตอร์ และ เอ็มจี มอเตอร์ ต่างก็เรียกร้องให้รัฐบาลไทยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ดังกล่าวลง
 
เมื่อต้นเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลตกลงที่จะเลื่อนเส้นตายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงปี 2568 และมากกว่านั้น พร้อมอนุญาตให้มีการนำรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนสามารถนำกลับออกไปขายในประเทศอื่นได้ และเป็นที่คาดว่ารัฐบาลจะลดจำนวนการนำเข้าจากปี 2565 และ 2566 ที่จะนำมาคำนวณในเป้าหมายการผลิตด้วย
 
แหล่งข่าวผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นรายใหญ่แห่งหนึ่งกล่าวว่า “เนื่องจากรัฐบาลไทยต้องการดึงดูดผู้ผลิตอีวีจากจีนให้เข้ามาในประเทศตั้งแต่แรก จึงไม่สามารถเร่งรัดให้พวกเขาปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ได้อย่างเข้มงวดนัก
 
ขณะที่ผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์จีนรายหนึ่งในไทยกล่าวว่า “เราคาดไม่ถึงว่า ตลาดไทยจะหดตัวลงมากขนาดนี้จากระเบียบสินเชื่อรถที่เข้มงวดขึ้น การผ่อนคลายโควต้าจึงเป็นเรื่องปกติ
 
ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะตกต่ำลงขนาดไหนในอนาคต ผู้ผลิตอีวีบางรายกำลังคิดว่า การไม่รับการอุดหนุนอาจจะดีกว่าเพื่อที่จะไม่ต้องถูกกำหนดให้ผลิต” ผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์จีนรายหนึ่งกล่าว
 
ทั้งนี้ ภาวะขาลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย ซึ่งยอดขายในปี 2567 ลดลงไปถึงระดับที่เทียบได้กับช่วงวิกฤติโควิด-19 และวิกฤติการเงินโลก คาดว่าจะยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ และแม้ว่ามาตรการอุดหนุนสำหรับรถยนต์อีวีจะยังคงมากกว่าที่ให้กับรถยนต์ไฮบริด แต่เป็นที่คาดว่าผู้ผลิตรถญี่ปุ่นซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 70% จะยังคงเดินหน้าล็อบบี้เพื่อผลักดันการออกมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากขึ้นต่อไป 
 
อ้างอิง: nikkei


 
ค่าฝุ่นวันนี้ PM 2.5 พุ่งสูง เตือนคนกรุง กระทบสุขภาพ เผย เขตไหนอ่วมสุด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9588518

ค่าฝุ่นวันนี้ PM 2.5 พุ่งสูง เตือนคนกรุง กระทบสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ เขตไหนอ่วมสุด เผย จังหวัดไหนมีค่าฝุ่นต่ำสุด เช็กที่นี่
เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 14 ม.ค.2568 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รายงาน ค่าฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมแบบรายชั่วโมง ตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือ PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ
 
พบว่า ทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ มีค่าฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ (สีแดง) โดยพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงที่สุด คือ บางรัก 116.7 ไมโครกรัม
 
ค่าฝุ่นวันนี้ PM 2.5 พุ่งสูง เตือนคนกรุง กระทบสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ เขตไหนอ่วมสุด เผย จังหวัดไหนมีค่าฝุ่นต่ำสุด เช็กที่นี่
ด้านของภาพรวมประเทศไทย พบค่าฝุ่น PM2.5 เริ่มมีผลต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ (สีแดง) บริเวณภาคกลาง และพบค่าฝุ่น PM 2.5 ที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ (สีส้ม) กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ สำหรับจังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM2.5 ต่ำที่สุดคือ จ.เชียงราย 16.1 ไมโครกรัม
 
ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ยังคงมีค่า PM2.5 ที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ
 
ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ,
 
ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
โดยประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 รายชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” ที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง IOS และ Android
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่