ทนเรียกร้องไม่ไหว ไหนๆจะเขียน ep2 ให้แล้ว ต้องมีเมนูพิเศษด้วยสิคะ “เต้าหู้น้ำแดง” ....
เดี๋ยวแม่นันจะพามาล้วงเคล็ดลับความอร่อยในหม้อนี้กันค่ะ
วันที่แม่นันโพสบทความ “ซีอิ้วขาวหมดได้แต่ขาดไม่ได้” ไป และแฟนเพจได้ให้ความสนใจถามไถ่กันเข้ามามาก
ทำให้เกิดความรู้สึกอยากขอบคุณลูกหลานเจ้าของโรงงานซี่อิ๊วนี้เหลือเกิน ที่ยังคงรักษาสูตรเก่าแก่นี้ไว้
แม่นันจึงส่งลิงค์บทความผ่านอินบ้อกหน้าเพจซี่อิ๊วไป พร้อมใจความสั้นๆว่า “ขอบคุณนะคะที่ทำให้เราได้มีซี่อิ๊วอร่อยๆทานกัน”
คาดหวังเพียงอยากให้รับรู้ว่าแม่นันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เพราะหลังจากครั้งที่แม่นันได้โทรถามประวัติความเป็นมาของซี่อิ๊วยี่ห้อนี้
ก็ผ่านมาหลายปีแล้วค่ะ น้ารินท์ก็เสียไปแล้ว (แม่นันก็อดทานหมูย่างจิ้มรสเด็ดน้ารินท์ไปด้วย)
เช้ามาได้ยินเสียงข้อความเข้าอินบ้อกตัวเอง “ขอบคุณนะคะ อ่านแล้วยิ้มตามเลยค่ะ”
พร้อมมีข้อความสั่งขนมผักกาดและขอมารับเองถึงบ้าน ลงชื่อ “แน๊ต” ไม่รู้แน้ต (เจ้าของ) หรือแน้ต น้องแอดมินหน้าเพจ
จากนั้นแม่นันก็ขอตัวก่อน เพราะวันนั้นแม่นันมีภารกิจแต่เช้าค่ะ
ตกเย็นทายาทเจ้าของธุรกิจซี่อิ๊วเก่าแก่มาจอดรถหน้าบ้าน
ยกมือสวัสดียิ้มสดใส ขอบคุณแล้วขอบคุณอีก "แน๊ตนำซี่อิ๊วมาฝากคุณนันด้วยค่ะ"
“ตราตาแป๊ะ จะเป็นตัวเดียวกับตราบ้าน (ตราตึก) ที่คุณนันใช้นะคะ เพียงแต่ติดฉลากคนละอันขายคนละโซนค่ะ ส่วนตราดอกบ๊วย.. ตรากุหลาบ.....”
ขณะที่ฟังคุณแน๊ตอธิบาย แม่นันรู้สึกดีใจแทนบรรพบุรุษของคุณแน๊ต ที่ลูกหลานรับช่วงมาดูแลและพัฒนาต่อ
เหมือนที่แม่นันเองพยายามถ่ายทอดสูตรขนมผักกาด เพราะเสียดายถ้าสูตรดั้งเดิมจะหายไปอย่างเงียบๆ
....ทายาทเจ้าของธุรกิจร่ำลา....
หิวยังคะ เดี๋ยวแม่นันจะทำเต้าหู้น้ำแดงให้ทานเป็นมื้อเช้ากันค่ะ
แม่นันได้เต้าหู้อย่างนิ่มจากเจ้าอร่อยมา ตั้งใจจะทำเมนูน้ำแดงมาหลายวันแล้วค่ะ
ถือเป็นจังหวะดีจริงๆที่ได้ซี่อิ๊วคุณภาพมาเป็นเครื่องปรุง
- เตรียมล้างและลวกน้ำร้อนเต้าหู้สักรอบค่ะ จากนั้นใช้มีดคมๆแบ่งครึ่งเต้าหู้ให้บางลงเป็นสองชิ้นอย่างเบามือ ก่อนหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า พักไว้
- เห็ดหอมแช่น้ำ หั่นบาง เผื่อดอกกลมไว้ตบแต่งสวยๆสักดอกสองดอกค่ะ (แม่นันลืมนำเห็ดออกมาแช่น้ำเพิ่ม
รู้สึกเห็ดน้อยไปหน่อยเมื่อเทียบกับเต้าหู้ที่หั่นออกมา ) ไม่เป็นไรค่ะ ถ้ารสชาติอร่อย เห็ดหอมก็ถูกลืมได้เหมือนกันค่ะ
- โขลกสามเกลือ (รากผักชี กระเทียม พริกไทยดำ) พักไว้
- ละลายแป้งมันและแป้งข้าวโพดในน้ำต้มสุก พักไว้ สัดส่วนแป้งมันและแป้งข้าวโพด 1:2
วิธีทำ
- ตั้งหม้อต้มน้ำ (ถ้ามีน้ำสต้อคจะยิ่งหอมค่ะ) กะให้พอประมาณกับเต้าหู้
- ตั้งกระทะใส่น้ำมัน ผัดสามเกลอและเห็ดหอมให้เข้ากันจนขึ้นหอม จากนั้นตักใส่ในหม้อน้ำสต๊อค
- เมื่อน้ำสต๊อคเดือดได้ที่ ปรุงพื้นฐานด้วยเกลือ น้ำตาล พริกไทย และซี่อิ๊วขาว
- ตามด้วยน้ำมันงา และขวดนี้ค่ะ ซี่อิ๊วดำเค็มตราดอกบ๊วย ที่นอกจากสีที่ได้จะเป็นสีดำอ่อนๆเหมาะกับสีเมนูน้ำแดงแล้ว ยังได้ความเค็มที่กลมกล่อม
รสไม่แหลม แม่นันลองชิมดูระหว่าง “ตราตาแป๊ะ” กับ “ตราดอกบ๊วย” แล้วค่ะ ตราดอกบ๊วยเหมาะกับเมนูนี้มากกว่า
- เมื่อได้รสชาติที่กลมกล่อมแล้ว ค่อยๆหยอดแป้งที่ละลายน้ำไว้ค่ะ คนก่อนใช้อีกครั้งนะคะ ระหว่างหยอดแป้ง
ต้องคอยคนน้ำในหม้อกันแป้งจับเป็นก้อนด้วยนะคะ เมื่อรู้สึกว่าน้ำเริ่มข้นขึ้นเล็กน้อย ค่อยๆตักเต้าหู้นิ่มที่หั่นเตรียมไว้ลงใส่ในน้ำแดง
คนอย่างเบามือ รอเดือดอีกครั้ง
- ปิดเตา แล้วย้ายตำแหน่งหม้อทันทีค่ะ
เพียงเท่านี้ก็จะได้เมนูขึ้นเหลา “เต้าหู้น้ำแดง” แสนอร่อย เป็นมื้อเช้า มื้อว่างตามชอบค่ะ ลองทำดูนะคะ
พี่ภูมิกลับจากที่ทำงานพอดี
“ภูมิ..มามี้ทำเต้าหู้น้ำแดง อาบน้ำแล้วลงมากินกันเร๊ว”
“เต้าหู้น้ำแดงเหรอ ขอชิมหน่อย” “อื้ม..อร่อยจัง”
“มามี้ตักให้ภูมิเลย ภูมิอาบน้ำเสร็จแล้ว”
.....ฮ่าฮ่า เป็นที่รู้กันค่ะว่าพี่ภูมิเป็นเด็กโบฯประจำบ้าน ชอบทุกเมนูที่โบฯโบฯ
มาปิดท้ายด้วยซี่อิ๊วสามขวดนี้ที่คุณแน๊ตอธิบายให้ฟังค่ะ
"ตราตาแป๊ะ จะเป็นตัวเดียวกับตราบ้าน" ที่น้ารินท์ใช้ทำน้ำจิ้มหมูย่างนั่นเอง
"ตราดอกบ๊วย เป็นน้ำเข้มข้นกว่าตราตาแป๊ะ"
"ตรากุหลาบ เป็นซีอิ๊วดำหวาน ข้นๆ ใช้ผัดเส้น ผัดซีอิ๊วได้ค่า"
ลองปรับใช้ตามเมนูดูนะคะ
ส่วนท่านใดที่สนใจอยากได้ซี่อิ๊วไว้ในครัวเรือน หาซื้อได้ใน shoppee ค่ะ
Ep.2 ซีอิ้วขาวหมดได้แต่ขาดไม่ได้
ทนเรียกร้องไม่ไหว ไหนๆจะเขียน ep2 ให้แล้ว ต้องมีเมนูพิเศษด้วยสิคะ “เต้าหู้น้ำแดง” ....
....ทายาทเจ้าของธุรกิจร่ำลา....
หิวยังคะ เดี๋ยวแม่นันจะทำเต้าหู้น้ำแดงให้ทานเป็นมื้อเช้ากันค่ะ
แม่นันได้เต้าหู้อย่างนิ่มจากเจ้าอร่อยมา ตั้งใจจะทำเมนูน้ำแดงมาหลายวันแล้วค่ะ
- เตรียมล้างและลวกน้ำร้อนเต้าหู้สักรอบค่ะ จากนั้นใช้มีดคมๆแบ่งครึ่งเต้าหู้ให้บางลงเป็นสองชิ้นอย่างเบามือ ก่อนหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า พักไว้
- ละลายแป้งมันและแป้งข้าวโพดในน้ำต้มสุก พักไว้ สัดส่วนแป้งมันและแป้งข้าวโพด 1:2
- เมื่อน้ำสต๊อคเดือดได้ที่ ปรุงพื้นฐานด้วยเกลือ น้ำตาล พริกไทย และซี่อิ๊วขาว
- ตามด้วยน้ำมันงา และขวดนี้ค่ะ ซี่อิ๊วดำเค็มตราดอกบ๊วย ที่นอกจากสีที่ได้จะเป็นสีดำอ่อนๆเหมาะกับสีเมนูน้ำแดงแล้ว ยังได้ความเค็มที่กลมกล่อม
- เมื่อได้รสชาติที่กลมกล่อมแล้ว ค่อยๆหยอดแป้งที่ละลายน้ำไว้ค่ะ คนก่อนใช้อีกครั้งนะคะ ระหว่างหยอดแป้ง
- ปิดเตา แล้วย้ายตำแหน่งหม้อทันทีค่ะ
เพียงเท่านี้ก็จะได้เมนูขึ้นเหลา “เต้าหู้น้ำแดง” แสนอร่อย เป็นมื้อเช้า มื้อว่างตามชอบค่ะ ลองทำดูนะคะ
“ภูมิ..มามี้ทำเต้าหู้น้ำแดง อาบน้ำแล้วลงมากินกันเร๊ว”
"ตราดอกบ๊วย เป็นน้ำเข้มข้นกว่าตราตาแป๊ะ"
"ตรากุหลาบ เป็นซีอิ๊วดำหวาน ข้นๆ ใช้ผัดเส้น ผัดซีอิ๊วได้ค่า"
ลองปรับใช้ตามเมนูดูนะคะ
ep.1 https://www.facebook.com/201756519902042/posts/4095875923823396/