สภาฉลุย ผ่าน กม.ประชามติ ท่วมท้น 'ฝ่ายค้าน' ติงบทลงโทษ เปิดช่องปิดปาก ปชช.
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6467756
รัฐสภาฉลุย! กฎหมายประชามติ เสียงโหวตท่วมท้น หลังสมาชิก ท้วงบทลงโทษ มุ่งเล่นงาน จนท.ระดับล่าง ห่วงเปิดช่อง ใช้กฎหมาย ปิดปากประชาชน
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.64 เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) มีนาย
ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ วาระ 2 ที่ค้างจากสมัยประชุมรัฐสภาครั้งที่แล้ว
ก่อนเข้าสู่วาระประชุม นายชวน ขอความร่วมมือสมาชิกให้เว้นระยะห่างเท่าที่ทำได้ ใครที่ยังไม่อภิปรายให้อยู่นอกห้องประชุม และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาอย่างเคร่งครัด ตามมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข
จากนั้นจึงเข้าสู่วาระการประชุมพิจารณาเรื่องด่วนพิธีสารแก้ไขข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยว อาเซียน ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอ มีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ชี้แจง ใช้เวลาอภิปรายประมาณ 2 ชั่วโมง ที่ประชุมจึงให้ความเห็นชอบพิธีสารดังกล่าว ด้วยคะแนน 600 ต่อ 0 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 4
จากนั้นเวลา 11.45 น. เข้าสู่การพิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เริ่มพิจารณาจากการลงมติมาตรา 53 และ 54 เรื่องการคัดค้านการออกเสียงประชามติ ที่ค้างมาจากการประชุมสมัยที่แล้ว ซึ่งที่ประชุมลงมติ เห็นชอบ
ต่อมาเข้าสู่การพิจารณามาตรา 55 เรื่องบทกำหนดโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้ ที่ใช้อำนาจมิชอบในการออกเสียงประชามติ มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
โดย ส.ส.หลายคน อาทิ นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย พล.ต.ต.
สุพิศาล ภักดีนฤนาท ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายทักท้วงว่า เป็นการมุ่งลงโทษเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ แต่ไม่มีบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐในระดับสูงที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นกลาง จึงควรขยายขอบเขตบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐให้ครอบคลุมถึงส.ส. ส.ว.และผู้บริหารท้องถิ่นด้วย อย่างไรก็ตามที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตรา 55 ด้วยคะแนน 374 ต่อ 124 งดออกเสียง 3 ไม่ลงคะแนน10
กระทั่งต่อมาในมาตรา 60 เรื่องการกระทำใดที่เป็นความผิดในการออกเสียงประชามติ นพ.
วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายขอให้ตัดข้อความ “
เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะออกเสียงประชามติอันเป็นเท็จ” ตามที่กรรมาธิการฯ เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเขียนไว้กว้างเกินไป สามารถตีความได้หมด
เกรงจะเป็นการใช้กฎหมายมาปิดปากประชาชน ทำให้การรณรงค์ประชามติถูกปิดกั้น มีการให้ข้อมูลประชาชนแค่ฝ่ายเดียว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มข้อความดังกล่าว เพราะสามารถใช้การเอาผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตรา 60 ด้วยคะแนน 479 ต่อ 35 งดออกเสียง 3 ไม่ลงคะแนน 6
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมช่วงบ่ายเป็นไปอย่างราบรื่น สมาชิกรัฐสภาทั้งส.ส.และส.ว. อภิปรายแสดงความคิดเห็นในมาตราต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยไม่มีการตีรวนใดๆ ทำให้การประชุมพิจารณาเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว
กระทั่งเวลา 15.00 น. สมาชิกอภิปรายครบทั้ง 67 มาตรา ที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ วาระสาม ด้วยคะแนน 611 ต่อ 4 งดดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนนเสียง 1 รอการบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยใช้เวลาอภิปรายทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 15 นาที
ทั้งนี้ นาย
พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้สั่งพักการประชุม 30 นาที เพื่อให้สมาชิกรับประทานอาหาร ก่อนจะกลับมาพิจารณาร่างพ.ร.บ.ยาเสพติด ต่อไป
"ผู้ติดเชื้อพุ่ง-เข้าไม่ถึงวัคซีน-มาตรการรัฐไม่ดลใจ-ศก.เปราะบาง" ปชช.ขาดความเชื่อมั่นใช้จ่าย
https://www.matichon.co.th/economy/news_2789044
“ผู้ติดเชื้อพุ่ง-เข้าไม่ถึงวัคซีน-มาตรการรัฐไม่ดลใจ-ศก.เปราะบาง” ปชช.ขาดความเชื่อมั่นใช้จ่าย
นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางศูนย์ฯและภาคธุรกิจหอค้าไทย กำลังติดตามเรื่องการกระจายและฉีดวัคซีน ซึ่งผลสำรวจประชาชนในแต่ละภาคกว่า 55-63 % ระบุว่ายังไม่ฉีดและในพื้นที่ยังไม่ได้รับการฉีด จึงทำให้กว่า 40-70% คาดว่าความมั่นใจในการใช้จ่ายและท่องเที่ยวยังไม่คึกคัก อีกทั้งเห็นว่ามาตรการรัฐที่ออกมาผ่านโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ยังไม่สร้างบรรยากาศใช้จ่ายให้คึกคักกว่าควรเป็น ส่วนใหญ่ระบุใช้จ่ายเหมือนเดิม ขณะที่ 20-30 % มองว่ายังซบเซา ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน(กกร.) จึงได้เสนอให้รัฐทบทวนและเพิ่มเติมมาตาการ โดยเพิ่มเงินคนละครึ่งจาก 3 พันบาท เป็น 6 พันบาท โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่จำกัดการใช้จ่ายและต้องลงทะเบียนทำให้ประชาชนระดับที่มีรายได้มองว่าไม่สะดวกและขั้นตอนยุ่งยาก ให้ปรับปัดฝุ่นช้อปดีมีคืน เป็นการนำการใช้จ่ายในลดหย่อนภาษีน่าจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อและได้รับความสนใจเข้าโครงการมากกว่า และควรเร่งทำในไตรมาส 3/2564 เพื่อประคองเศรษฐกิจ
“
ในการประชุมทีมเศรษฐกิจกับภาคเอกชน 23 มิถุนายน คาดว่าเอกชนจะเสนอแนวทางกระตุ้นใช้จ่ายเร่งด่วนและการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ อีกทั้งลดต้นทุนเอสเอ็มอี และความพร้อมเปิดประเทศ เริ่มที่แซนด์บ็อกซ์ ภูเก็ต เบื้องต้นจากสำรวจประชาชนเริ่มกลับมากังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิดอีกระลอก มองว่าจะเป็นการระบาดรอบ 3.5 เพราะคลัสเตอร์ใหม่มีต่อเนื่อง จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นแตะ 3-4 พันต่อวันอีกครั้ง กำลังส่งผลจิตวิทยาการใช้จ่ายช่วงนี้แม้มีมาตรการัฐลดลง และกังวลถึงโอกาสเปิดประเทศ อาจล่าช้าไหม ซึ่งความเชื่อมั่นประชาชนและธุรกิจตอนนี้อยู่ที่ การฉีควัคซีน โดยเฉพาะสายพันธ์เดต้านั้น แอสต้าเซนิกา ฉีดแล้วมีภูมิคุ้มกันได้ไหม เพราะในสหรัฐก็ยังเจอเชื้อนี้อยู่ รัฐต้องประกาศให้ชัดเจนว่าจะสามารถฉีดวัคซีนตามเป้าหมายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อให้กันยายน-ตุลาคม จำนวนตัวเลขติดเชื้อรายใหม่ควรต่ำกว่า 1,000 คน ก็จะดันต่อการท่องเที่ยวของคนไทย การใช้จ่ายฟื้นได้ ตอนนี้ความหวังอยู่ที่การบริหารจัดการวัคซีน มาตรการรัฐดลใจ และคุมการแพร่ระบาดใหม่ได้ จะลดความเปราะบางของเศรษฐกิจได้ และลดความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นกลับมาตกต่ำอีกรอบ “ นาย
ธนวรรธน์กล่าว
นาย
ธนวรรธน์ กล่าวว่า ส่วนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เริ่มจากภูเก็ตนั้น จากที่ได้สำรวจบริษัททัวร์นำเข้านักท่องเที่ยว พบว่า หลายประเทศที่เปิดประเทศจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปพักผ่อน และไทยก็ติดหนึ่งใน 10 ประเทศของโลก ที่นักท่องเที่ยวนิยมและต้องการเข้ามาแล้ว ซึ่งหากเปิดได้ตามกำหนด ปีนี้มีนักท่องเที่ยวมาถึง 3-4 แสนคน จะสร้างรายได้ 2-3 แสนบ้านบาท ช่วยกระตุ้นจีดีพี 0.7-1.0 % ,มาตรการกระตุ้นใช้จ่ายภาครัฐได้รับความนิยมตามเป้าหมาย จะส่งผลต่อจีดีพีทั้งปีนี้ขยายตัวได้ 2-2.5% และบนพื้นฐานส่งออกโต 7% เงินเฟ้อ1.3%
สรยุทธ โพสต์ นำเข้าวัคซีนโมเดอร์น่า ไม่คืบ องค์การเภสัชกรรม ทำอะไรอยู่?
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2790161
สรยุทธ โพสต์ นำเข้าวัคซีนโมเดอร์น่า ไม่คืบ ไม่เข้าใจ “องค์การเภสัชกรรม” ทำอะไรอยู่?
สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวชื่อดังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนทางเลือกยี่ห้อโมเดอร์น่า ที่จะนำเข้ามาในไทย ที่ไม่มีความคืบหน้า โดยข้อความระบุว่า
สถานการณ์บ้านเมืองมาถึงขนาดนี้! แต่ยังไม่มีความคืบหน้าวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์น่า” สมาคม รพ.เอกชน สั่งจองไปที่ “องค์การเภสัชกรรม” นานแล้ว 10 ล้านโดส ได้รับคำบอกเล่าจากรพ.เอกชนแค่ว่า คาดการณ์จะเข้ามาตุลาคมนี้ “องค์การเภสัชกรรม” เป็นองค์กรเดียวที่สั่งซื้อได้ เพราะเขาขายให้รัฐ หรือตัวแทนรัฐเท่านั้น กฎหมายก็เปิดทางแล้วพร้อมราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อย.ก็รับรองโมเดอร์น่า ไปนานแล้ว หลายคนไม่เข้าใจว่า “องค์การเภสัชกรรม” ทำอะไรอยู่ กราบเลยครับ
https://www.facebook.com/sorrayuth9115/posts/345622836924662\
JJNY : 4in1 สภาผ่านกม.ประชามติ│ปชช.ขาดความเชื่อมั่นใช้จ่าย│สรยุทธโพสต์ นำเข้าโมเดอร์น่าไม่คืบ│บทเรียนชิลีเปิดประเทศ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6467756
รัฐสภาฉลุย! กฎหมายประชามติ เสียงโหวตท่วมท้น หลังสมาชิก ท้วงบทลงโทษ มุ่งเล่นงาน จนท.ระดับล่าง ห่วงเปิดช่อง ใช้กฎหมาย ปิดปากประชาชน
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.64 เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ วาระ 2 ที่ค้างจากสมัยประชุมรัฐสภาครั้งที่แล้ว
ก่อนเข้าสู่วาระประชุม นายชวน ขอความร่วมมือสมาชิกให้เว้นระยะห่างเท่าที่ทำได้ ใครที่ยังไม่อภิปรายให้อยู่นอกห้องประชุม และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาอย่างเคร่งครัด ตามมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข
จากนั้นจึงเข้าสู่วาระการประชุมพิจารณาเรื่องด่วนพิธีสารแก้ไขข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยว อาเซียน ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอ มีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ชี้แจง ใช้เวลาอภิปรายประมาณ 2 ชั่วโมง ที่ประชุมจึงให้ความเห็นชอบพิธีสารดังกล่าว ด้วยคะแนน 600 ต่อ 0 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 4
จากนั้นเวลา 11.45 น. เข้าสู่การพิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เริ่มพิจารณาจากการลงมติมาตรา 53 และ 54 เรื่องการคัดค้านการออกเสียงประชามติ ที่ค้างมาจากการประชุมสมัยที่แล้ว ซึ่งที่ประชุมลงมติ เห็นชอบ
ต่อมาเข้าสู่การพิจารณามาตรา 55 เรื่องบทกำหนดโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้ ที่ใช้อำนาจมิชอบในการออกเสียงประชามติ มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
โดย ส.ส.หลายคน อาทิ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาท ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายทักท้วงว่า เป็นการมุ่งลงโทษเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ แต่ไม่มีบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐในระดับสูงที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นกลาง จึงควรขยายขอบเขตบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐให้ครอบคลุมถึงส.ส. ส.ว.และผู้บริหารท้องถิ่นด้วย อย่างไรก็ตามที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตรา 55 ด้วยคะแนน 374 ต่อ 124 งดออกเสียง 3 ไม่ลงคะแนน10
กระทั่งต่อมาในมาตรา 60 เรื่องการกระทำใดที่เป็นความผิดในการออกเสียงประชามติ นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายขอให้ตัดข้อความ “เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะออกเสียงประชามติอันเป็นเท็จ” ตามที่กรรมาธิการฯ เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเขียนไว้กว้างเกินไป สามารถตีความได้หมด
เกรงจะเป็นการใช้กฎหมายมาปิดปากประชาชน ทำให้การรณรงค์ประชามติถูกปิดกั้น มีการให้ข้อมูลประชาชนแค่ฝ่ายเดียว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มข้อความดังกล่าว เพราะสามารถใช้การเอาผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตรา 60 ด้วยคะแนน 479 ต่อ 35 งดออกเสียง 3 ไม่ลงคะแนน 6
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมช่วงบ่ายเป็นไปอย่างราบรื่น สมาชิกรัฐสภาทั้งส.ส.และส.ว. อภิปรายแสดงความคิดเห็นในมาตราต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยไม่มีการตีรวนใดๆ ทำให้การประชุมพิจารณาเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว
กระทั่งเวลา 15.00 น. สมาชิกอภิปรายครบทั้ง 67 มาตรา ที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ วาระสาม ด้วยคะแนน 611 ต่อ 4 งดดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนนเสียง 1 รอการบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยใช้เวลาอภิปรายทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 15 นาที
ทั้งนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้สั่งพักการประชุม 30 นาที เพื่อให้สมาชิกรับประทานอาหาร ก่อนจะกลับมาพิจารณาร่างพ.ร.บ.ยาเสพติด ต่อไป
"ผู้ติดเชื้อพุ่ง-เข้าไม่ถึงวัคซีน-มาตรการรัฐไม่ดลใจ-ศก.เปราะบาง" ปชช.ขาดความเชื่อมั่นใช้จ่าย
https://www.matichon.co.th/economy/news_2789044
“ผู้ติดเชื้อพุ่ง-เข้าไม่ถึงวัคซีน-มาตรการรัฐไม่ดลใจ-ศก.เปราะบาง” ปชช.ขาดความเชื่อมั่นใช้จ่าย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางศูนย์ฯและภาคธุรกิจหอค้าไทย กำลังติดตามเรื่องการกระจายและฉีดวัคซีน ซึ่งผลสำรวจประชาชนในแต่ละภาคกว่า 55-63 % ระบุว่ายังไม่ฉีดและในพื้นที่ยังไม่ได้รับการฉีด จึงทำให้กว่า 40-70% คาดว่าความมั่นใจในการใช้จ่ายและท่องเที่ยวยังไม่คึกคัก อีกทั้งเห็นว่ามาตรการรัฐที่ออกมาผ่านโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ยังไม่สร้างบรรยากาศใช้จ่ายให้คึกคักกว่าควรเป็น ส่วนใหญ่ระบุใช้จ่ายเหมือนเดิม ขณะที่ 20-30 % มองว่ายังซบเซา ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน(กกร.) จึงได้เสนอให้รัฐทบทวนและเพิ่มเติมมาตาการ โดยเพิ่มเงินคนละครึ่งจาก 3 พันบาท เป็น 6 พันบาท โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่จำกัดการใช้จ่ายและต้องลงทะเบียนทำให้ประชาชนระดับที่มีรายได้มองว่าไม่สะดวกและขั้นตอนยุ่งยาก ให้ปรับปัดฝุ่นช้อปดีมีคืน เป็นการนำการใช้จ่ายในลดหย่อนภาษีน่าจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อและได้รับความสนใจเข้าโครงการมากกว่า และควรเร่งทำในไตรมาส 3/2564 เพื่อประคองเศรษฐกิจ
“ ในการประชุมทีมเศรษฐกิจกับภาคเอกชน 23 มิถุนายน คาดว่าเอกชนจะเสนอแนวทางกระตุ้นใช้จ่ายเร่งด่วนและการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ อีกทั้งลดต้นทุนเอสเอ็มอี และความพร้อมเปิดประเทศ เริ่มที่แซนด์บ็อกซ์ ภูเก็ต เบื้องต้นจากสำรวจประชาชนเริ่มกลับมากังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิดอีกระลอก มองว่าจะเป็นการระบาดรอบ 3.5 เพราะคลัสเตอร์ใหม่มีต่อเนื่อง จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นแตะ 3-4 พันต่อวันอีกครั้ง กำลังส่งผลจิตวิทยาการใช้จ่ายช่วงนี้แม้มีมาตรการัฐลดลง และกังวลถึงโอกาสเปิดประเทศ อาจล่าช้าไหม ซึ่งความเชื่อมั่นประชาชนและธุรกิจตอนนี้อยู่ที่ การฉีควัคซีน โดยเฉพาะสายพันธ์เดต้านั้น แอสต้าเซนิกา ฉีดแล้วมีภูมิคุ้มกันได้ไหม เพราะในสหรัฐก็ยังเจอเชื้อนี้อยู่ รัฐต้องประกาศให้ชัดเจนว่าจะสามารถฉีดวัคซีนตามเป้าหมายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อให้กันยายน-ตุลาคม จำนวนตัวเลขติดเชื้อรายใหม่ควรต่ำกว่า 1,000 คน ก็จะดันต่อการท่องเที่ยวของคนไทย การใช้จ่ายฟื้นได้ ตอนนี้ความหวังอยู่ที่การบริหารจัดการวัคซีน มาตรการรัฐดลใจ และคุมการแพร่ระบาดใหม่ได้ จะลดความเปราะบางของเศรษฐกิจได้ และลดความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นกลับมาตกต่ำอีกรอบ “ นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ส่วนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เริ่มจากภูเก็ตนั้น จากที่ได้สำรวจบริษัททัวร์นำเข้านักท่องเที่ยว พบว่า หลายประเทศที่เปิดประเทศจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปพักผ่อน และไทยก็ติดหนึ่งใน 10 ประเทศของโลก ที่นักท่องเที่ยวนิยมและต้องการเข้ามาแล้ว ซึ่งหากเปิดได้ตามกำหนด ปีนี้มีนักท่องเที่ยวมาถึง 3-4 แสนคน จะสร้างรายได้ 2-3 แสนบ้านบาท ช่วยกระตุ้นจีดีพี 0.7-1.0 % ,มาตรการกระตุ้นใช้จ่ายภาครัฐได้รับความนิยมตามเป้าหมาย จะส่งผลต่อจีดีพีทั้งปีนี้ขยายตัวได้ 2-2.5% และบนพื้นฐานส่งออกโต 7% เงินเฟ้อ1.3%
สรยุทธ โพสต์ นำเข้าวัคซีนโมเดอร์น่า ไม่คืบ องค์การเภสัชกรรม ทำอะไรอยู่?
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2790161
สรยุทธ โพสต์ นำเข้าวัคซีนโมเดอร์น่า ไม่คืบ ไม่เข้าใจ “องค์การเภสัชกรรม” ทำอะไรอยู่?
สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวชื่อดังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนทางเลือกยี่ห้อโมเดอร์น่า ที่จะนำเข้ามาในไทย ที่ไม่มีความคืบหน้า โดยข้อความระบุว่า
สถานการณ์บ้านเมืองมาถึงขนาดนี้! แต่ยังไม่มีความคืบหน้าวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์น่า” สมาคม รพ.เอกชน สั่งจองไปที่ “องค์การเภสัชกรรม” นานแล้ว 10 ล้านโดส ได้รับคำบอกเล่าจากรพ.เอกชนแค่ว่า คาดการณ์จะเข้ามาตุลาคมนี้ “องค์การเภสัชกรรม” เป็นองค์กรเดียวที่สั่งซื้อได้ เพราะเขาขายให้รัฐ หรือตัวแทนรัฐเท่านั้น กฎหมายก็เปิดทางแล้วพร้อมราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อย.ก็รับรองโมเดอร์น่า ไปนานแล้ว หลายคนไม่เข้าใจว่า “องค์การเภสัชกรรม” ทำอะไรอยู่ กราบเลยครับ
https://www.facebook.com/sorrayuth9115/posts/345622836924662\