ก้าวไกลวาง 34 ขุนพลถลก ‘รัฐบาล’ พุ่งเป้า ‘เศรษฐา’ อุบไต๋มี ‘โทนี่’ หรือไม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4500433
ก้าวไกลวาง 34 ขุนพลถลก ‘รัฐบาล’ พุ่งเป้า ‘เศรษฐา’อุบไต๋มี ‘โทนี่’ หรือไม่ ปชป.ทัวร์พัทยาจัดติวเข้มซักฟอก
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม น.ส.
พนิดา มงคลสวัสดิ์ ส.ส.สมุทรปราการ พรรค ก.ก. กล่าวถึงความพร้อมในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 ว่า มีข้อมูลเยอะมาก ถือว่ามีความพร้อมในการอภิปราย จะอภิปรายในทุกเรื่อง เตรียมผู้อภิปรายไว้ทุกมิติ ดูในเรื่องของนโยบายในทุกๆ เรื่องที่รัฐบาลได้บอก ได้สัญญาไว้กับประชาชน และปัจจุบันเมื่อมีอำนาจแล้วได้ทำตามที่สัญญาหรือไม่ ในการอภิปรายในครั้งนี้คาดหวังว่าประชาชนได้เห็น เพราะสุดท้ายแล้วการอภิปรายในครั้งนี้ไม่ได้มีการลงมติ แต่ประชาชนที่ฟังอยู่ทางบ้านจะได้เห็นรูปธรรมว่าแนวทางการบริหารราชการของรัฐบาลไปถึงไหนแล้วในช่วงระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมาหลังจากเปลี่ยนผ่านมาจากรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจจนถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อาจจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในความรู้สึก แต่ต้องทำให้เห็นรูปธรรมในการอภิปราย อยากฝากประชาชนให้ติดตามการอภิปรายด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่า ขณะนี้พรรค ก.ก.เริ่มเตรียมความพร้อมในการอภิปรายทั่วไปรัฐบาล แบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 หลังจากมีผู้ยื่นเจตจำนงจะอภิปรายแล้ว จำนวน 34 คน โดยพรรคก้าวไกล ได้เวลาประมาณ 17 ชั่วโมง ส่วนหัวหน้าทีมในการติวเข้มและวางภาพรวมการอภิปรายครั้งนี้ ได้แก่ นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน จากเดิมทุกการอภิปราย จะเป็น น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรค และได้จัดกลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลออกเป็นซีรีส์ ทั้งประเด็นการเมือง เศรษฐกิจ การสาธารณสุข การทหาร การศึกษาและปัญหาสังคม โดยพุ่งเป้าไปที่นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นพิเศษมากกว่ารัฐมนตรีคนอื่น เพราะความผิดพลาดส่วนใหญ่มาจากภาพรวม ส่วนกรณีนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมีคนนำมาอภิปรายหรือไม่ ต้องรอดู
นาย
ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า พรรค ปชป.ได้จัดสัมมนา ส.ส.พรรคระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม ที่โรงแรมเคป ดารา รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี โดยนาย
เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานในการประชุม และนาย
เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรค จะได้สรุปภาพรวมของการสัมมนา ทั้งนี้ในวันที่ 30 มีนาคม เวลา 10.00 น. นาย
เฉลิมชัยได้นัดประชุมคณะกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรค เพื่อพิจารณาการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรค ที่จะนำไปพูดคุยร่วมกับ ส.ส.ในการประชุมสัมมนาร่วมกันระหว่าง กก.บห.และ ส.ส.พรรคด้วย
นาย
ราเมศ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในการสัมมนาจะหยิบยกหลายประเด็นทั้งในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรค ทั้งในสภาและนอกสภามาพิจารณา ที่สำคัญคือการเตรียมประเด็นที่จะมีการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3-4 เมษายนนี้ โดยจะมีการติวเข้มผู้ที่จะอภิปรายในแต่ละประเด็นด้วย
ส่งศาลรธน.ตีความอำนาจหน้าที่รัฐสภาแก้รธน.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_697199/
มติรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนมากขึ้น
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 31 ให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ โดยกล่าวว่าการเสนอญัตตินี้เพื่อให้รัฐสภาได้มีมติว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภาจะบรรจุวาระและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
โดยยังไม่มีผลการออกเสียงประชามติว่าประชาชนประสงค์ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่ และหากว่ารัฐสภาสามารถบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ดังนั้นการจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่จะสามารถกระทำในขั้นตอนที่รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 แล้ว โดยสอบถามไปพร้อมกับกรณีตามมาตรา 256 (8) ได้หรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยที่ 4/2564 หากไม่ได้จะต้องสอบถามในขั้นตอนใด
จากนั้น สมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว โดยสมาชิกรัฐสภาที่เห็นด้วย มองว่าการส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะต้องมีการทำประชามติสอบถามประชาชนก่อนหรือหลัง ซึ่งหากมีความชัดเจนจะทำให้ประหยัดเวลาและงบประมาณของประเทศ
เพราะการทำประชามติแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณมากกว่า 3,200 ล้านบาท พร้อมฝากให้คำนึงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนดีที่ต้องรักษาไว้ แต่หากมาตราใดมีปัญหาก็สามารถการแก้ไขในสภาได้ ซึ่งหากจะมีการแก้ไขต้องไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 และบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
ด้านสมาชิกรัฐสภาที่ไม่เห็นด้วย มองว่า ไม่มีความจำเป็นต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยมาชักเจนแล้ว พร้อมตั้งข้อสังเกตเป็นการซื้อเวลาเรื่องการทำประชามติหรือไม่ อีกทั้งการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะเป็นการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้นหรือไม่
ขณะที่ นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ใช้สิทธิ์ชี้แจงว่า การตัดสินใจของประธานรัฐสภาทึ่วินิฉัยไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที้พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกลเสนอ ได้ให้ฝ่ายกฎหมายของรัฐสภาพิจารณอย่างรอบคอบ และเห็นว่าหากบรรจุเข้าสู่การพิจารณาจะขัดหรือแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 211 วรรคสี่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันรัฐสภา ประกอบกับประธานรัฐสภาจะบรรจุร่างรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติมเข้าระเบียบวาระการประชุมได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาปี 2563 ข้อ 119 จะต้องเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา
อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายของสมาชิกเสร็จสิ้นที่สุดแล้วที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนน 233 เสียง
ดีเซลจ่อทะลุ32บ. กองทุนน้ำมันโอดอุ้มไม่ไหว อ่วมติดลบแตะแสนล้าน ‘สิบล้อ’ฮึ่มขึ้นค่าขนส่ง6%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4500444
ดีเซลจ่อทะลุ32บ. กองทุนน้ำมันโอดอุ้มไม่ไหว อ่วมติดลบแตะแสนล้าน ‘สิบล้อ’ฮึ่มขึ้นค่าขนส่ง6%
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม นาย
วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู โฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตามที่กระทรวงพลังงานได้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาท ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ทำให้ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นกลไกสำคัญชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเพื่อตรึงราคามีหนี้ใกล้ 1 แสนล้านบาทแล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้กองทุนน้ำมันฯมีภาระหนี้มากเกินไป และรักษาสภาพคล่อง กระทรวงพลังงานจะหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือประชาชนควบคู่กับการลดภาระหนี้ของกองทุนฯ หากไม่มีงบประมาณจากส่วนอื่นเข้ามาช่วย เช่น งบกลาง หรือการลดอัตราภาษีสรรพสามิต คาดว่ากองทุนฯจะต้องปรับลดอัตราการชดเชยราคาน้ำมันลง 1-2 บาทต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป จะมีการปรับลดการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแบบขั้นบันได สำหรับสถานะกองทุนน้ำมันฯจนถึง ณ วันที่ 24 มีนาคม ติดลบกว่า 98,000 ล้านบาท
“
ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 4.17 บาทต่อลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่กองทุนฯต้องจ่ายประมาณ 8,700 ล้านบาทต่อเดือน จึงขอให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ ณ เวลานี้ด้วย” นาย
วีรพัฒน์กล่าว
ขณะที่ นาย
วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ได้หารือถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศที่กองทุนน้ำมันฯ และมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินชดเชยของกองทุนน้ำมันฯประเภทน้ำมันดีเซลเพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศเกิน 30 บาท/ลิตร ได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป โดยการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯในกลุ่มน้ำมันดีเซล กบน. จะพิจารณาถึงข้อมูลต่างๆ ตามความเหมาะสมของช่วงเวลา เพื่อไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนและการบริหารจัดการของผู้ค้าน้ำมันมากจนเกินไป ทั้งนี้ ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน31 มีนาคม-1 เมษายน 2567 ยังไม่มีการดำเนินการอย่างแน่นอน
ด้าน นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้ภาครัฐดูให้รอบด้านก่อนจะปรับขึ้นน้ำมันดีเซลจาก 30 บาท เป็น 32 บาทต่อลิตร ในเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างซึม ภาคการบริโภคและการใช้จ่ายลดลง ทำให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตปรับลดการผลิตสินค้าลง 20-25% ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขนส่งของผู้ประกอบการสมาชิกสมาพันธ์ลดลงตามไปด้วย ดังนั้น ควรจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อเพื่อช่วยลดภาระผู้ประกอบการและประชาชนต่อไปอีก และไปพิจารณาปรับโครงสร้างพลังงานแทนเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว
“
การปรับขึ้นดีเซลจะกระทบต่อต้นทุนและราคาสินค้าอย่างแน่นอน เพราะเมื่อปรับราคาดีเซลขึ้นทุก 1 บาทต่อลิตร เราจะปรับค่าขนส่งขึ้น 3% ดังนั้นถ้าในเดือนเมษายนนี้ น้ำมันดีเซลขึ้น 2 บาทต่อลิตร เท่ากับค่าขนส่งต้องปรับขึ้น 6%” นาย
อภิชาติกล่าว
JJNY : ก้าวไกลวาง 34 ขุนพลถลก ‘รัฐบาล’│ส่งศาลรธน.ตีความ│ดีเซลจ่อทะลุ32บ. ‘สิบล้อ’ฮึ่ม│รัสเซียให้เหตุผล วีโต้กลไกยูเอ็น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4500433
ก้าวไกลวาง 34 ขุนพลถลก ‘รัฐบาล’ พุ่งเป้า ‘เศรษฐา’อุบไต๋มี ‘โทนี่’ หรือไม่ ปชป.ทัวร์พัทยาจัดติวเข้มซักฟอก
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม น.ส.พนิดา มงคลสวัสดิ์ ส.ส.สมุทรปราการ พรรค ก.ก. กล่าวถึงความพร้อมในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 ว่า มีข้อมูลเยอะมาก ถือว่ามีความพร้อมในการอภิปราย จะอภิปรายในทุกเรื่อง เตรียมผู้อภิปรายไว้ทุกมิติ ดูในเรื่องของนโยบายในทุกๆ เรื่องที่รัฐบาลได้บอก ได้สัญญาไว้กับประชาชน และปัจจุบันเมื่อมีอำนาจแล้วได้ทำตามที่สัญญาหรือไม่ ในการอภิปรายในครั้งนี้คาดหวังว่าประชาชนได้เห็น เพราะสุดท้ายแล้วการอภิปรายในครั้งนี้ไม่ได้มีการลงมติ แต่ประชาชนที่ฟังอยู่ทางบ้านจะได้เห็นรูปธรรมว่าแนวทางการบริหารราชการของรัฐบาลไปถึงไหนแล้วในช่วงระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมาหลังจากเปลี่ยนผ่านมาจากรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจจนถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อาจจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในความรู้สึก แต่ต้องทำให้เห็นรูปธรรมในการอภิปราย อยากฝากประชาชนให้ติดตามการอภิปรายด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่า ขณะนี้พรรค ก.ก.เริ่มเตรียมความพร้อมในการอภิปรายทั่วไปรัฐบาล แบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 หลังจากมีผู้ยื่นเจตจำนงจะอภิปรายแล้ว จำนวน 34 คน โดยพรรคก้าวไกล ได้เวลาประมาณ 17 ชั่วโมง ส่วนหัวหน้าทีมในการติวเข้มและวางภาพรวมการอภิปรายครั้งนี้ ได้แก่ นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน จากเดิมทุกการอภิปราย จะเป็น น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรค และได้จัดกลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลออกเป็นซีรีส์ ทั้งประเด็นการเมือง เศรษฐกิจ การสาธารณสุข การทหาร การศึกษาและปัญหาสังคม โดยพุ่งเป้าไปที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นพิเศษมากกว่ารัฐมนตรีคนอื่น เพราะความผิดพลาดส่วนใหญ่มาจากภาพรวม ส่วนกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมีคนนำมาอภิปรายหรือไม่ ต้องรอดู
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า พรรค ปชป.ได้จัดสัมมนา ส.ส.พรรคระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม ที่โรงแรมเคป ดารา รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานในการประชุม และนายเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรค จะได้สรุปภาพรวมของการสัมมนา ทั้งนี้ในวันที่ 30 มีนาคม เวลา 10.00 น. นายเฉลิมชัยได้นัดประชุมคณะกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรค เพื่อพิจารณาการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรค ที่จะนำไปพูดคุยร่วมกับ ส.ส.ในการประชุมสัมมนาร่วมกันระหว่าง กก.บห.และ ส.ส.พรรคด้วย
นายราเมศ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในการสัมมนาจะหยิบยกหลายประเด็นทั้งในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรค ทั้งในสภาและนอกสภามาพิจารณา ที่สำคัญคือการเตรียมประเด็นที่จะมีการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3-4 เมษายนนี้ โดยจะมีการติวเข้มผู้ที่จะอภิปรายในแต่ละประเด็นด้วย
ส่งศาลรธน.ตีความอำนาจหน้าที่รัฐสภาแก้รธน.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_697199/
มติรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนมากขึ้น
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 31 ให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ โดยกล่าวว่าการเสนอญัตตินี้เพื่อให้รัฐสภาได้มีมติว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภาจะบรรจุวาระและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
โดยยังไม่มีผลการออกเสียงประชามติว่าประชาชนประสงค์ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่ และหากว่ารัฐสภาสามารถบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ดังนั้นการจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่จะสามารถกระทำในขั้นตอนที่รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 แล้ว โดยสอบถามไปพร้อมกับกรณีตามมาตรา 256 (8) ได้หรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยที่ 4/2564 หากไม่ได้จะต้องสอบถามในขั้นตอนใด
จากนั้น สมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว โดยสมาชิกรัฐสภาที่เห็นด้วย มองว่าการส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะต้องมีการทำประชามติสอบถามประชาชนก่อนหรือหลัง ซึ่งหากมีความชัดเจนจะทำให้ประหยัดเวลาและงบประมาณของประเทศ
เพราะการทำประชามติแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณมากกว่า 3,200 ล้านบาท พร้อมฝากให้คำนึงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนดีที่ต้องรักษาไว้ แต่หากมาตราใดมีปัญหาก็สามารถการแก้ไขในสภาได้ ซึ่งหากจะมีการแก้ไขต้องไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 และบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
ด้านสมาชิกรัฐสภาที่ไม่เห็นด้วย มองว่า ไม่มีความจำเป็นต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยมาชักเจนแล้ว พร้อมตั้งข้อสังเกตเป็นการซื้อเวลาเรื่องการทำประชามติหรือไม่ อีกทั้งการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะเป็นการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้นหรือไม่
ขณะที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ใช้สิทธิ์ชี้แจงว่า การตัดสินใจของประธานรัฐสภาทึ่วินิฉัยไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที้พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกลเสนอ ได้ให้ฝ่ายกฎหมายของรัฐสภาพิจารณอย่างรอบคอบ และเห็นว่าหากบรรจุเข้าสู่การพิจารณาจะขัดหรือแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 211 วรรคสี่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันรัฐสภา ประกอบกับประธานรัฐสภาจะบรรจุร่างรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติมเข้าระเบียบวาระการประชุมได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาปี 2563 ข้อ 119 จะต้องเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา
อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายของสมาชิกเสร็จสิ้นที่สุดแล้วที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนน 233 เสียง
ดีเซลจ่อทะลุ32บ. กองทุนน้ำมันโอดอุ้มไม่ไหว อ่วมติดลบแตะแสนล้าน ‘สิบล้อ’ฮึ่มขึ้นค่าขนส่ง6%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4500444
ดีเซลจ่อทะลุ32บ. กองทุนน้ำมันโอดอุ้มไม่ไหว อ่วมติดลบแตะแสนล้าน ‘สิบล้อ’ฮึ่มขึ้นค่าขนส่ง6%
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู โฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตามที่กระทรวงพลังงานได้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาท ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ทำให้ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นกลไกสำคัญชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเพื่อตรึงราคามีหนี้ใกล้ 1 แสนล้านบาทแล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้กองทุนน้ำมันฯมีภาระหนี้มากเกินไป และรักษาสภาพคล่อง กระทรวงพลังงานจะหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือประชาชนควบคู่กับการลดภาระหนี้ของกองทุนฯ หากไม่มีงบประมาณจากส่วนอื่นเข้ามาช่วย เช่น งบกลาง หรือการลดอัตราภาษีสรรพสามิต คาดว่ากองทุนฯจะต้องปรับลดอัตราการชดเชยราคาน้ำมันลง 1-2 บาทต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป จะมีการปรับลดการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแบบขั้นบันได สำหรับสถานะกองทุนน้ำมันฯจนถึง ณ วันที่ 24 มีนาคม ติดลบกว่า 98,000 ล้านบาท
“ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 4.17 บาทต่อลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่กองทุนฯต้องจ่ายประมาณ 8,700 ล้านบาทต่อเดือน จึงขอให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ ณ เวลานี้ด้วย” นายวีรพัฒน์กล่าว
ขณะที่ นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ได้หารือถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศที่กองทุนน้ำมันฯ และมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินชดเชยของกองทุนน้ำมันฯประเภทน้ำมันดีเซลเพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศเกิน 30 บาท/ลิตร ได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป โดยการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯในกลุ่มน้ำมันดีเซล กบน. จะพิจารณาถึงข้อมูลต่างๆ ตามความเหมาะสมของช่วงเวลา เพื่อไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนและการบริหารจัดการของผู้ค้าน้ำมันมากจนเกินไป ทั้งนี้ ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน31 มีนาคม-1 เมษายน 2567 ยังไม่มีการดำเนินการอย่างแน่นอน
ด้าน นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้ภาครัฐดูให้รอบด้านก่อนจะปรับขึ้นน้ำมันดีเซลจาก 30 บาท เป็น 32 บาทต่อลิตร ในเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างซึม ภาคการบริโภคและการใช้จ่ายลดลง ทำให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตปรับลดการผลิตสินค้าลง 20-25% ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขนส่งของผู้ประกอบการสมาชิกสมาพันธ์ลดลงตามไปด้วย ดังนั้น ควรจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อเพื่อช่วยลดภาระผู้ประกอบการและประชาชนต่อไปอีก และไปพิจารณาปรับโครงสร้างพลังงานแทนเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว
“การปรับขึ้นดีเซลจะกระทบต่อต้นทุนและราคาสินค้าอย่างแน่นอน เพราะเมื่อปรับราคาดีเซลขึ้นทุก 1 บาทต่อลิตร เราจะปรับค่าขนส่งขึ้น 3% ดังนั้นถ้าในเดือนเมษายนนี้ น้ำมันดีเซลขึ้น 2 บาทต่อลิตร เท่ากับค่าขนส่งต้องปรับขึ้น 6%” นายอภิชาติกล่าว