สังโยชน์ 10 มีการทำงานอย่างไร

สังโยชน์ 10 คืออะไร  (อันนี้ผมกอปมาจากวิกิพีเดีย)
สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
6. รูปราคะ - มีความติดใจในรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
จบที่กอปปีมา

สังโยชน์สิบ คือ กิเลสเชื่อก ที่มัดสัตว์โลกให้ติดกับวัฏฏะสงสาร
คำว่าสัตว์ในที่นี้หมายถึงอะไร
ในพระสูตร กล่าวว่า   
" เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์...."

ประโยคในพระสูตร ถ้าผมจะเติมตัวประธานลงไป
" เพราะเหตุที่ (ธรรมชาติอันหนึ่ง) มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียก(ธรรมชาติอันหนึ่งนั้น) ว่า สัตว์"
ธรรมชาติอันหนึ่งนั้น หมายถึงอะไร เรามาพิจารณา ดังนี้

ผมเคยพูดว่า ปรมัตถธรรม สี่ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น  จิต เจตสิก รูป ก็คือขันธ์ห้า  ส่วนนิพพาน เป็นนามธาตุที่ถูกยึดกับขันธ์ห้าด้วย
กิเลสสังโยชน์ 10
 ถ้าเราพิจารณาใน ปรมัตถธรรม ซึ่งประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น คำว่าธรรมชาติอันนั้น จะต้องเป็น นิพพานธาตุ นี้แน่นอน 
ถ้าธรรมชาติอันนั้น เป็นจิตก็ไม่ได้ เพราะ ถือว่า เกี่ยวข้อง ในขันธ์ห้า 
จะเห็นได้ว่า ขันธ์ห้า ผูกโยงกับ นิพพานธาตุด้วย กิเลสสังโยชน์นั้นเอง

ธรรมชาติอันนั้น ถ้ายังมีข้องอยู่กับขันธ์ห้า เรียกว่าสัตว์โลก
ถ้าธรรมชาติอันนั้น ตัดสังโยชน์ได้ ลำดับแรก เรียกพระโสดาบัน ตัดได้อีก ก็เลื่อนลำดับไปเรื่อยๆ

ผมเคยอธิบายเรื่อง ปรมัตถธรรม มีคนแย้งมากมาย คือ

ผมบอกว่า จิต เจตสิก รูป คือขันธ์ห้า มีคนแย้งว่าไม่ใช่  
ผมเชื่อว่า  รูป ก็คือรูป  เวทนา สัญญา สังขาร ก็คือ เจตสิก  ส่วน จิต ก็คือ มโนวิญญาณ ถึงแม้ว่า จะไม่กล่าวถึง วิญญาณอื่นเช่น จักษุวิญญาณ
แต่ก็ถือว่า เมื่อ ตารับรู้ จิตก็รับรู้ (เป็นบางครั้งที่ใส่ใจ) 

    มีคนแย้งอีกว่า นิพพาน ไม่ใช่ธาตุ อันนี้เราจะกล่าวถึงธาตุต่างๆ 
รูป ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ  ตามคำสอนของศาาสนา อันนี้ก็ว่ากันไปตามนั้น
ส่วน นามธรรม นั้น ถ้าให้ผมแยก ก็มีสองอย่าง นามธรรมที่เป็นธาตุ  กับ นามธรรมที่ไม่เป็นธาตุ
นามธรรมที่เป็นธาตุ ก็คือจิต และนิพพานธาตุ

  จิตเป็นนามธาตุที่ เปลี่ยนแปลงได้ เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ มีการรับรู้อารมณ์สิ่งต่างๆ ตามแนวนักปฏิบัติเรียกว่าตัวผู้รู้
ส่วน นิพพาน ก็เป็นนามธาตุ เป็นของเที่ยง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และมีการรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เรียกว่า สัมปชัญญะ และญาณ
นามธรรมที่ไม่ใช่ธาตุ  เช่น เจตสิก  เจตสิกมีกริยา เป็นอาการของจิต เช่น สติ ก็คือ จิตระลึกได้ เป็นต้น อย่างเช่น สภาวะนิพพาน ก็ไม่ใช่ธาตุ สภาวะนิพพาน คือสภาวะที่ปราศจากกิเลส  ตัวอย่างเช่นเมื่อจิตเข้าสู่สภาวะนิพพาน ก็คือจิต มีลักษณะปราศจากกิเลส

คำว่าสภาวะ  หมายถึงสภาพ เช่น น้ำมีสภาวะเป็นไอ คำว่าสภาวะจึงไม่ใช่ ธาตุ ความดี ความเลว ก็เป็นนามธรรมที่ไม่ใช่ธาตุ
เราลองคิดดูว่าถ้านามธรรมทุกอันไม่ใช่ธาตุ แล้วเมื่อเราตายไปก็สูญ อย่างความดี ถ้าเราสร้างความดีแล้วตายไป ความดียังอยู่  อย่างนี้ชีวิตก็อย่างที่คนเขาว่า เหลือแต่ชื่อ

ฟังไม่ใช่อย่างนั้นนะผมว่า  มันต้องมีนามธาตุที่สืบทอดต่อ เพื่อไปเกิดในชาติหน้า 
อย่าง จิต จุติจิตดับ มีปฏิสนธิเกิด สืบต่อ  ส่วนพระอรหันต์ตัดกิเลสสังโยชน์หมดแล้ว จิตดวงสุดท้ายดับ จิตดวงใหม่ไม่เกิด เหลือแต่นิพพานธาตุ 
ถ้าไม่มีนามธาตุ ก็ไม่มีการเกิดใหม่ ไม่มีชาติหน้า ผมก็คงไม่ต้องถือศาสนา เรามาถือศาสนาก็เพราะต้องการตายแล้วไปสู่ที่ดี ดีที่สุดก็คือ ออกจากวัฏสงสาร
ถ้าใครเข้าใจว่า นามธรรม มีแบบเดียวคือแบบไม่ใช่ธาตุ ก็ตามใจไม่ว่ากัน

มีคนแย้งผมว่า คำว่านิพพาน จะเป็นธาตุได้อย่างไร นิพพานเป็นได้อย่างเดียวคือสภาวะนิพพาน
ท่านเคยได้ยิน คำว่าบัวขาวหรือไม่ ถ้าไปถามชาวบ้านว่า รู้จักบัวขาวไหม เขาก็บอกว่ารู้ นั้นเป็นชื่อนักมวย บัวขาวเป็นได้ทั้งสองอย่างดอกไม้ก็ได้ ชื่อนักมวยก็ได้

เช่นกัน คำว่านิพพานแปลว่า ดับเย็น สงบ สันติ เขาแปลมาอย่างนั้น ไม่รู้ถูกหรือเปล่า
นิพพานจึงเป็นชื่อเรียก ธาตุที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมชาติอันนั้นมีอยู่  ส่วนสภาวะนิพพาน ก็มี แต่ถ้าท่านคิดว่า เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เป็นได้แค่สภาวะ ก็ตามใจท่านไม่ว่ากัน

มีคนแย้งผมว่า อายาตนะนิพพาน ไม่มี แต่พระพุทธองค์ตรัสว่ามี
คำว่าอาตนะ หมายถึง จุดรับรู้  อย่างธรรมรมณ์มากระทบใจ ใจก็เป็นอายตนะ เป็นตัวเชื่อมการรับรู้  ตัวนิพพานธาตุก็มีการรับรู้ ผ่านตัวจิตก็ได้
เหมือน เมื่อภาพกระทบตา จักษุวิญญาณเป็นตัวรู้ แล้วใจก็รู้ตาม(ถ้าใส่ใจ) เมื่อใจรู้ ตัวสัมปชัญญะก็รู้ ถ้าฝึกให้รู้ รู้ว่า ตาเห็นรูปอยู่
ปรกติ สัมปชัญญะจะรู้ด้วยการกระตุ้นด้วยการสร้างสติ

ตัวอย่าง สัมปชัญญะเช่น  รู้ลมสั้น รุ้ลมยาว ยกเท้าก็รู้ ย่างเท้าก็รู้ จิตมีราคะก็รู้ จิตมีโทสะก็รู้ จิตมีโมหะก็รู้ รู้ชัด นั่งอยู่ก็รู้   ดูเหมือนว่า สิ่งต่างๆนี้ จิตก็รู้ใช่
จิตก็รู้ แต่สัมปชัญญะจะรู้ชนิดรู้แปบเดียว รู้แบบไม่ได้คิด ในพระสูตรก็บอกว่ารู้ชัด เป็นต้น

ถ้าเราผูกขาดว่า อายตนะ คือต้องเป็นของจิตเท่านั้น คงไม่ใช่ ในตัวเรามีตัวผู้รู้สองตัว ถ้าท่านไม่เชื่อ ก็แล้วแต่ท่านไม่ว่ากัน
มีคนแย้งผมเรื่องสัมปชัญญะ กับ ญาณ ที่ผมบอกว่า สองตัวนี้เป็นกริยาของ ตัวนิพพานธาตุ  โดยที่ญาณ จะเกิดจาก สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง

มีคนแย้งว่า สัมปชัญญะ กับญาณ เป็น เจตสิกของ จิต ที่ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง )  
ปัญญินทรีย์ คือจิต รู้และเข้าใจไม่หลง  เขาแปลมาอย่างนั้น ถ้าให้ผมเข้าใจผมเข้าใจว่า ปัญญาก็คือรู้ ความรู้  ปัญญินทรีย์ ก็คือจิตมีความรู้
คำว่ารู้ หมายถึงปัญญา ผูกขาดแต่จิตหรืออย่างไร จิตรู้  แล้วญาณรู้ไม่ได้หรืออย่างไร
จิตก็รู้ได้  จากที่เรียกว่า สุตมยะปัญญา จินตมยะปัญญา จิตรู้
ส่วน สัมปชัญญะ การรู้สึกตัว ถ้าเป็นการรู้สึกตัวของจิต แล้ว จิตเป็นตัวหรืออย่างไร
  จิตไม่มีตน ไม่มีตนในจิต
การตรัสรู้ธรรม ตัวจิต ป้อนความรู้ที่มี สู่ตัวญาณ เรียกว่าเกิดวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ ปัญญินทรีย์แน่นอน
มีคนบอกว่า ผมเป็นสัสสตทิฏฐิ เห็นว่า นิพพานเป็นตน

ไม่เลย ผมเห็นเหมือนพระพุทธเจ้า พระองค์เห็นว่า ธรรมชาติอันนั้นมีอยู่  พระองค์เห็นว่า อายาสตนะนิพพานมี  ผมก็ว่าตาม
คนที่เป็นสัสสตทิฏฐิก็คือคน เห็นว่ามีตนในขันธ์ห้า มีขันธ์ห้าเป็นตน ต่างหาก

มีคนแย้งผมว่า ถ้านิพพานธาตุมีในตัวปุถุชนทั่วไปได้อย่างไรเมื่อ ธาตุนี้เป็นธาตุที่ไม่มีกิเลส
คืออย่างที่ผมกล่าวว่า ในตัวเรามีตัวจิต และนิพพานธาตุเป็นธาตุรู้ด้วยกันสองตัว
ตัวจิตสร้างกิเลสพันตัวนิพพานธาตุอยู่ ดังที่เราเรียกว่า สังโยชน์ ซึ่งตัวนิพพานธาตุก็คงเออ ออ ไปด้วยกัน
ถือว่ามีอิทธิพลต่อกันพอสมควร

อย่างคำว่าอวิชชา ก็คือแปลว่าไม่รู้ ตัวนิพพานธาตุไม่รู้ว่า ตัวจิตคิดและตัวจิตก็บอกว่า เราคิดด้วยกัน
อุปมานะ  สมมุติมีคนสองคนกอดกันในที่มืด คนที่พูดได้ก็บอกคนที่เป็นไบ้ว่า เราสองคนเป็นคนคนเดียวกันนะ คนเป็นใบ้
ก็ผยักหน้าหงึกๆ  พอเปิดไฟสว่าง เห็นชัดว่า นี้มีสองคน ไม่ใช่คนคนเดียวกันนี้ พอรู้ความจริง ตัวที่กอดอยู่ก็อาย ไม่กล้าบอกว่า
เป็นคนคนเดียวกัน

อย่างในการตรัสรู้  ตัวที่เห็นก็คือญาณ ที่เราเรียกว่าวิปัสสนาญาณ เมื่อญาณเห็นความจริง ตัวจิต คลายกำหนัด ในตัวเอง จิตก็แล่นเข้าสู่สภาวะนิพพาน
คือจิตก็แล่นเข้าสู่สภาวะปราศจากกิเลส

ฟังแล้วเข้าใจยากไหมละ ผมฟังและขบคิดตั้งนาน ใช่ละ ตัวนิพพานธาตุรู้ความจริง  ตัวจิต คลายกำหนัด จิตมุ่งสู่สภาวะปราศจากกิเลส 
เมื่อ จิตปราศจากกิเลส   นิพพานธาตุ ก็รู้ว่าจิตปราศจากกิเลส ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจอื่นไม่มี

ผมเคยอ่าน มีท่านหนึ่งบอกว่า การที่เราฟังพระสูตรไม่เข้าใจเพราะเรามีกิเลส  อันที่จริง พระสูตรมิได้มีเพื่อให้พระอรหันต์อ่าน ท่านมีเพื่อคนกิเลสหนาอย่างเรานี้แหละอ่าน

ตามหัวกระทู้ว่า สังโยชน์ 10 มีการทำงานอย่างไร
สังโยชน์ก็คือกิเลส ที่ผูกสัตว์
กิเลสก็มาจากจิตผูกกับตัวนิพพานธาตุ

อันที่จริงสักกายะทิฏฐิมิได้หมายถึงมีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเราเท่านั้น
การละสักกายะทิฏฐิ หมายถึงการละความยึดมั้นถือมั้นว่า ขันธ์ห้านี้เป็นตน  เพราะไม่มีตนในขันธ์ห้า
เมื่อตัดสังโยชน์ได้หมด ตัวนิพพานธาตุ ก็เป็นอิสระภาพ ท่านเรียกว่า นิโรธ คือสภาวะอิสระภาพ
เมื่อตายแล้วก็ตัวนิพพานธาตุก็กลับบ้านเก่า

ผมเคยฟังพระสูตรจำไม่ได้ว่าอยู่บทใหน  เรานี้มาจากที่อื่น  เรามาเกิดในโลก วัฏสงสารนี้
ตัวอวิชชาปิดบัง ทำให้เรากลับบ้านไม่ได้  พอมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้น พระองค์ก็มาปลูกเรา
ตื่นๆๆ  ดูชะให้เต็มตา นี้ไม่ใช่สิ่งที่น่าอยู่ อย่าหลงกับความสุขอันเล็กน้อย แล้วต้องได้รับทุกข์อย่างแสนสาหัส
แต่แล้วมันยากเกินไปที่เราจะออกจากวัฏฏะนี้ได้
พูดแล้วน้ำตาจะใหล อีกกีปีกี่ชาติ เราจะออกจากวัฏฏะนี้ได้ 
เพื่อนๆคงสนุกกับสังสารวัฏนี้  

ขอบคุณทุกท่าน ที่สามารถอ่านมาถึงตอนนี้ได้
รถต้นแบบต้องผ่านการทดสอบ ที่สนามหฤโหด ฉันได  สิ่งที่เราเข้าใจก็ควรมีคนมาท้วงติงฉันนั้น
ขอท่านๆ มาแสดงความคิดเห็นด้วยครับ ทุกครั้งผมอ่านและได้สิ่งดีๆเยอะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่