เราอาจจะเคยได้ยินคนพูดกันบางครั้ง ว่าเวลาไม่สงบให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ให้หายใจเข้าออกช้าๆ หรือแม้กระทั่งได้ยินคนที่ฝึกสมาธิพูดเรื่องการสังเกตลมหายใจเข้าออก มันมีประโยชน์จริงมั้ยนะ สมมติว่าดีแล้วมันดียังไง
ประโยชน์มีหลายอย่างเลยนะครับ
เราต้องยอมรับก่อน ว่าใจกับกายมันมีส่วนที่ผูกกันอยู่ เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจกลไกการทำงานก็ได้ว่ามันผูกกันยังไง รู้แต่ว่ามันผูกกันก็พอ เช่น เวลาตื่นเต้นเหงื่อจะแตก (ใจตื่น เหงื่อกลับออกได้ทั้งที่ไม่ได้ร้อน) เวลาเจอคนที่ชอบใจจะเต้นตึกตัก (ใจพิศวาส หัวใจกลับเต้นเร็วขึ้นได้ทั้งที่ไม่ได้เหนื่อย) หรือความเครียดจะทำให้เป็นโรคต่างๆ (ใจกังวลกลัดกลุ้ม ร่างกายกลับเกิดสารพิษหรือทำงานผิดปกติไปได้) อันนี้คือ’ใจนำกาย’
ในมุมกลับ ‘กายนำใจ’ก็มีเหมือนกัน เช่น เวลานอนน้อยนอนไม่พอ จะมองโลกหงุดหงิดไปหมด มีแต่มุมลบๆ (ร่างกายอ่อนแอ ใจก็พาลอ่อนแอตามไปด้วย) หรือ เวลาทำอะไรช้าๆ ดูอะไรช้าๆ อยู่กับธรรมชาติเอื่อยๆ ใจจะสงบ ใจเย็น มองโลกแง่บวก (พอร่างกายช้า ใจก็จะช้าและนิ่งสงบตามไปด้วย)
ลมหายใจ(ส่วนหนึ่งของร่างกาย) จึงมีประโยชน์ในมุมที่สามารถใช้ช่วยดึง, ประคอง, ยึด, นำจิตใจได้
- เวลาใจไม่สงบ เรามักจะติดอยู่กับความคิดความกังวลอะไรบางอย่าง วนเวียนไป แล้วลมหายใจเรามักจะเร็วขึ้น สั้นขึ้น ผิดจากยามปกติโดยที่เราไม่รู้ตัว อันนี้เข้าข่าย’ใจนำกาย’ คือใจทุกข์ก็พาลนำกายให้มีความเปลี่ยนแปลงวุ่นวายตามไปด้วย
- การสูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ มันเป็นการทำ’กายนำใจ’ เพราะใจจะมาจับที่ลมหายใจแทน ใจก็จะหลุดจากความคิดความกังวลที่ครุ่นติดอยู่นั้น ทำให้ลืมคิดชั่วขณะ พอลืมคิดก็ทำให้เป็นสุขได้ในชั่วครู่นั้น
- ถ้ามีลมหายใจออกยาวๆด้วย และต่อเนื่องเข้าออกยาวๆต่อไปอีก ลมหายใจก็จะช้าลง มีแนวโน้มกลับสู่ภาวะหายใจปกติ คือหายใจช้าๆ สบายๆ ไม่เร่งรีบ พอใจตามไปยึดลมหายใจแบบนั้นได้นานขึ้น ตัวใจเองก็ใกล้เคียงจะกลับสู่ภาวะปกติเช่นกัน คือ ไม่เร่ง สงบ สบายใจ
- ถ้าสมมติเราหยุดทำอะไรทุกอย่างเลย นั่งพักเฉยๆ ดูลมหายใจอย่างเดียวเลยล่ะ? ถ้าทำได้นานพอ และใจยึดกับลมหายใจได้จริงๆ นั่นก็คือความเป็นสมาธิอย่างหนึ่ง ก็คือลืมโลกภายนอกทั้งหมด ไม่มีความวุ่นวายใดๆ ใจก็จะสงบ นิ่ง มีความสุข
- ถ้าสมมติต่อไปอีก ว่าไม่ใช่แค่เอาใจ’ยึด’ลมหายใจ แต่สังเกตความเป็นไปของมันด้วย มันเข้าหรืออก ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ติดขัดตรงไหนไหม มีความคิดความกังวลอะไรมาแทรกไหม ใจกำลังดึงกลับไปนึกถึงเรื่องอะไร…
เราจะเริ่มสังเกตเห็นอะไรบางอย่างที่อยู่กับเรามาตลอดแต่ถูกมองข้าม คือความเปลี่ยนแปลงไปมาของทั้งจิตใจและลมหายใจ มันไม่นิ่ง ไม่คงที่ มันต้องเปลี่ยนแปลง ความคุมไม่ได้ ไม่รู้เพราะอะไร รู้แต่ว่ามันไม่เที่ยง
อันนี้จะเป็นปัญญารูปแบบหนึ่ง ก็คือทำให้ความยึดติดปัญหายึดติดความคิดความกังวลน้อยลง เพราะเดี๋ยวอย่างไรมันก็จะผ่านไป มันจะเปลี่ยนแปลง มันต้องจบ ไม่ต้องไปสนใจหรือทำอะไรมาก
ลมหายใจมีประโยชน์มากนะครับ อยู่กับเราฟรีๆไม่เสียตังค์ แต่บางทีอะไรฟรีๆเราก็ไม่เห็นค่า
ลองดูไม่มีอะไรเสียหายครับ
https://neopositive.wordpress.com/
ดูลมหายใจทำไม
เราอาจจะเคยได้ยินคนพูดกันบางครั้ง ว่าเวลาไม่สงบให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ให้หายใจเข้าออกช้าๆ หรือแม้กระทั่งได้ยินคนที่ฝึกสมาธิพูดเรื่องการสังเกตลมหายใจเข้าออก มันมีประโยชน์จริงมั้ยนะ สมมติว่าดีแล้วมันดียังไง
ประโยชน์มีหลายอย่างเลยนะครับ
เราต้องยอมรับก่อน ว่าใจกับกายมันมีส่วนที่ผูกกันอยู่ เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจกลไกการทำงานก็ได้ว่ามันผูกกันยังไง รู้แต่ว่ามันผูกกันก็พอ เช่น เวลาตื่นเต้นเหงื่อจะแตก (ใจตื่น เหงื่อกลับออกได้ทั้งที่ไม่ได้ร้อน) เวลาเจอคนที่ชอบใจจะเต้นตึกตัก (ใจพิศวาส หัวใจกลับเต้นเร็วขึ้นได้ทั้งที่ไม่ได้เหนื่อย) หรือความเครียดจะทำให้เป็นโรคต่างๆ (ใจกังวลกลัดกลุ้ม ร่างกายกลับเกิดสารพิษหรือทำงานผิดปกติไปได้) อันนี้คือ’ใจนำกาย’
ในมุมกลับ ‘กายนำใจ’ก็มีเหมือนกัน เช่น เวลานอนน้อยนอนไม่พอ จะมองโลกหงุดหงิดไปหมด มีแต่มุมลบๆ (ร่างกายอ่อนแอ ใจก็พาลอ่อนแอตามไปด้วย) หรือ เวลาทำอะไรช้าๆ ดูอะไรช้าๆ อยู่กับธรรมชาติเอื่อยๆ ใจจะสงบ ใจเย็น มองโลกแง่บวก (พอร่างกายช้า ใจก็จะช้าและนิ่งสงบตามไปด้วย)
ลมหายใจ(ส่วนหนึ่งของร่างกาย) จึงมีประโยชน์ในมุมที่สามารถใช้ช่วยดึง, ประคอง, ยึด, นำจิตใจได้
- เวลาใจไม่สงบ เรามักจะติดอยู่กับความคิดความกังวลอะไรบางอย่าง วนเวียนไป แล้วลมหายใจเรามักจะเร็วขึ้น สั้นขึ้น ผิดจากยามปกติโดยที่เราไม่รู้ตัว อันนี้เข้าข่าย’ใจนำกาย’ คือใจทุกข์ก็พาลนำกายให้มีความเปลี่ยนแปลงวุ่นวายตามไปด้วย
- การสูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ มันเป็นการทำ’กายนำใจ’ เพราะใจจะมาจับที่ลมหายใจแทน ใจก็จะหลุดจากความคิดความกังวลที่ครุ่นติดอยู่นั้น ทำให้ลืมคิดชั่วขณะ พอลืมคิดก็ทำให้เป็นสุขได้ในชั่วครู่นั้น
- ถ้ามีลมหายใจออกยาวๆด้วย และต่อเนื่องเข้าออกยาวๆต่อไปอีก ลมหายใจก็จะช้าลง มีแนวโน้มกลับสู่ภาวะหายใจปกติ คือหายใจช้าๆ สบายๆ ไม่เร่งรีบ พอใจตามไปยึดลมหายใจแบบนั้นได้นานขึ้น ตัวใจเองก็ใกล้เคียงจะกลับสู่ภาวะปกติเช่นกัน คือ ไม่เร่ง สงบ สบายใจ
- ถ้าสมมติเราหยุดทำอะไรทุกอย่างเลย นั่งพักเฉยๆ ดูลมหายใจอย่างเดียวเลยล่ะ? ถ้าทำได้นานพอ และใจยึดกับลมหายใจได้จริงๆ นั่นก็คือความเป็นสมาธิอย่างหนึ่ง ก็คือลืมโลกภายนอกทั้งหมด ไม่มีความวุ่นวายใดๆ ใจก็จะสงบ นิ่ง มีความสุข
- ถ้าสมมติต่อไปอีก ว่าไม่ใช่แค่เอาใจ’ยึด’ลมหายใจ แต่สังเกตความเป็นไปของมันด้วย มันเข้าหรืออก ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ติดขัดตรงไหนไหม มีความคิดความกังวลอะไรมาแทรกไหม ใจกำลังดึงกลับไปนึกถึงเรื่องอะไร…
เราจะเริ่มสังเกตเห็นอะไรบางอย่างที่อยู่กับเรามาตลอดแต่ถูกมองข้าม คือความเปลี่ยนแปลงไปมาของทั้งจิตใจและลมหายใจ มันไม่นิ่ง ไม่คงที่ มันต้องเปลี่ยนแปลง ความคุมไม่ได้ ไม่รู้เพราะอะไร รู้แต่ว่ามันไม่เที่ยง
อันนี้จะเป็นปัญญารูปแบบหนึ่ง ก็คือทำให้ความยึดติดปัญหายึดติดความคิดความกังวลน้อยลง เพราะเดี๋ยวอย่างไรมันก็จะผ่านไป มันจะเปลี่ยนแปลง มันต้องจบ ไม่ต้องไปสนใจหรือทำอะไรมาก
ลมหายใจมีประโยชน์มากนะครับ อยู่กับเราฟรีๆไม่เสียตังค์ แต่บางทีอะไรฟรีๆเราก็ไม่เห็นค่า
ลองดูไม่มีอะไรเสียหายครับ
https://neopositive.wordpress.com/