จิตสงบกับจิตฉลาด
…………………..
โยม:
“จิตมันไม่นิ่ง
จะพัฒนาจิตใจอย่างไรให้นิ่งครับ?”
หลวงพ่อ:
“ทำจิตให้นิ่ง มันไม่ยากหรอก
ทำจิตให้ฉลาดยากกว่า
ทำจิตให้นิ่ง
มันอยู่ที่การเลือกอารมณ์กรรมฐาน
ถ้าเรารู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข
อย่างสมมติ เราหายใจแล้วมีความสุข
เราก็รู้ลมหายใจไปอย่างมีความสุข
รู้สบาย ๆ ไม่บังคับใจ
ว่าต้องไปอยู่ที่ลมหายใจด้วย
ถ้าใจถูกบังคับ ใจก็ไม่มีความสุข
เพราะฉะนั้น เราต้องไปดูตัวเองว่า
เราอยู่กับอารมณ์กรรมฐานชนิดไหน
แล้วมีความสุข
เราก็ไปอยู่กับอารมณ์อันนั้นอย่างสบายใจ
แต่ถ้าอยู่ ๆ อย่างเรารู้สึกว่า
หายใจแล้วมีความสุข
เราบังคับใจว่า ต้องไปอยู่ที่ลมหายใจ
พอใจถูกบังคับ ใจไม่มีความสุข
สมาธิก็ไม่เกิด
เพราะฉะนั้น จะให้สมาธิชนิดสงบเกิด
มีเคล็ดลับก็คือ
รู้จักเลือกอารมณ์ที่อยู่แล้วมีความสุข
แล้วก็ใช้ใจที่มีความสุขไปรู้อารมณ์อันนั้น
อารมณ์ก็มีความสุข ใจก็มีความสุข
แต่ของบางคนมันไม่สงบ
เพราะใจมันโลภ ใจมันอยากสงบ ใจมันอยากดี
พอใจมันโลภ มันก็ดิ้น มันก็เลยไม่สงบ
อันนี้ในส่วนของการฝึกจิตให้สงบนะ
ใช้อารมณ์ที่มีความสุข
ใช้ใจที่มีความสุขไปรู้อารมณ์นั้น
อีกส่วนหนึ่ง การฝึกจิตให้ฉลาด
ตัวนี้สำคัญกว่า
คอยสังเกตจิตใจของเราไป
จิตใจของเราเปลี่ยนแปลงทั้งวัน
เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย
บังคับไม่ได้ คอยรู้ความเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ
สุดท้ายปัญญามันจะเกิด
มันจะรู้ว่า จิตใจนี้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา
เป็นของไม่เที่ยง เป็นของบังคับไม่ได้
ถ้ารู้จักตรงนี้นะ
ใจจะค่อยคลายออกจากโลก
ความทุกข์ทั้งหลายจะค่อย ๆ ตกหายไป
ถ้าใจมีปัญญา จะพ้นทุกข์ถาวรได้
ใจที่มีแค่ความสงบของสมาธิ
พ้นทุกข์ได้ชั่วคราว
พอสมาธิเสื่อม ก็ทุกข์ใหม่
แต่ใจที่มีปัญญา จะพ้นทุกข์ถาวร
เพราะใจจะไม่เข้าไปยึดถือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ใจที่เข้าไปยึดสิ่งต่าง ๆ เพราะใจไม่มีปัญญา
เพราะฉะนั้น เราคอยสังเกตใจไปเรื่อย
ใจสุข ใจทุกข์ ใจดี ใจโลภ โกรธ หลง
คอยรู้ไปเรื่อย ๆ แล้วปัญญามันจะเกิด
มันจะรู้ว่า ความรู้สึกทุกชนิด
เกิดแล้วดับทั้งสิ้น
ความสุข เกิดแล้วก็ดับ
ความสงบ เกิดแล้วก็ดับ
ความชั่ว เกิดแล้วก็ดับ
ความทุกข์ เกิดแล้วก็ดับ
จะเห็นอย่างนี้นะ
สุดท้าย มันจะรู้สึกว่า
ความสุข และความทุกข์ มันก็เท่าเทียมกัน
ความดี และความชั่ว ก็เท่าเทียมกัน
ในแง่ที่ว่าเกิดแล้วดับเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น
เวลาจิตมีความสุข เราจะไม่หลงดีใจ
ความสุขหายไป เราก็ไม่เสียใจ
เพราะเรารู้ว่าความสุขเป็นของชั่วคราว
เวลามีความทุกข์เกิดขึ้น เราก็ไม่เสียใจ
เรารู้ว่ามันอยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ไป
ค่อย ๆ ดูไป
ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว
เกิดแล้วดับ ต่อไปจิตจะเป็นกลาง
ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ไม่ว่าดีหรือชั่วเกิดขึ้น
จิตจะเป็นกลาง
จิตที่เป็นกลางนั้น ไม่ดิ้นรน
จิตที่ไม่ดิ้นรนนั้น มีความสุข มีความสงบ
ยิ่งกว่าการนั่งสมาธิอีก”
…………………..
พระธรรมเทศนา
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ถอดคำ: โบ
เรียบเรียง: สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
https://www.facebook.com/1317977204900901/photos/a.1412754818756472.1073741828.1317977204900901/1611196735578945/?type=3&theater
จิตสงบกับจิตฉลาด
…………………..
โยม:
“จิตมันไม่นิ่ง
จะพัฒนาจิตใจอย่างไรให้นิ่งครับ?”
หลวงพ่อ:
“ทำจิตให้นิ่ง มันไม่ยากหรอก
ทำจิตให้ฉลาดยากกว่า
ทำจิตให้นิ่ง
มันอยู่ที่การเลือกอารมณ์กรรมฐาน
ถ้าเรารู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข
อย่างสมมติ เราหายใจแล้วมีความสุข
เราก็รู้ลมหายใจไปอย่างมีความสุข
รู้สบาย ๆ ไม่บังคับใจ
ว่าต้องไปอยู่ที่ลมหายใจด้วย
ถ้าใจถูกบังคับ ใจก็ไม่มีความสุข
เพราะฉะนั้น เราต้องไปดูตัวเองว่า
เราอยู่กับอารมณ์กรรมฐานชนิดไหน
แล้วมีความสุข
เราก็ไปอยู่กับอารมณ์อันนั้นอย่างสบายใจ
แต่ถ้าอยู่ ๆ อย่างเรารู้สึกว่า
หายใจแล้วมีความสุข
เราบังคับใจว่า ต้องไปอยู่ที่ลมหายใจ
พอใจถูกบังคับ ใจไม่มีความสุข
สมาธิก็ไม่เกิด
เพราะฉะนั้น จะให้สมาธิชนิดสงบเกิด
มีเคล็ดลับก็คือ
รู้จักเลือกอารมณ์ที่อยู่แล้วมีความสุข
แล้วก็ใช้ใจที่มีความสุขไปรู้อารมณ์อันนั้น
อารมณ์ก็มีความสุข ใจก็มีความสุข
แต่ของบางคนมันไม่สงบ
เพราะใจมันโลภ ใจมันอยากสงบ ใจมันอยากดี
พอใจมันโลภ มันก็ดิ้น มันก็เลยไม่สงบ
อันนี้ในส่วนของการฝึกจิตให้สงบนะ
ใช้อารมณ์ที่มีความสุข
ใช้ใจที่มีความสุขไปรู้อารมณ์นั้น
อีกส่วนหนึ่ง การฝึกจิตให้ฉลาด
ตัวนี้สำคัญกว่า
คอยสังเกตจิตใจของเราไป
จิตใจของเราเปลี่ยนแปลงทั้งวัน
เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย
บังคับไม่ได้ คอยรู้ความเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ
สุดท้ายปัญญามันจะเกิด
มันจะรู้ว่า จิตใจนี้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา
เป็นของไม่เที่ยง เป็นของบังคับไม่ได้
ถ้ารู้จักตรงนี้นะ
ใจจะค่อยคลายออกจากโลก
ความทุกข์ทั้งหลายจะค่อย ๆ ตกหายไป
ถ้าใจมีปัญญา จะพ้นทุกข์ถาวรได้
ใจที่มีแค่ความสงบของสมาธิ
พ้นทุกข์ได้ชั่วคราว
พอสมาธิเสื่อม ก็ทุกข์ใหม่
แต่ใจที่มีปัญญา จะพ้นทุกข์ถาวร
เพราะใจจะไม่เข้าไปยึดถือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ใจที่เข้าไปยึดสิ่งต่าง ๆ เพราะใจไม่มีปัญญา
เพราะฉะนั้น เราคอยสังเกตใจไปเรื่อย
ใจสุข ใจทุกข์ ใจดี ใจโลภ โกรธ หลง
คอยรู้ไปเรื่อย ๆ แล้วปัญญามันจะเกิด
มันจะรู้ว่า ความรู้สึกทุกชนิด
เกิดแล้วดับทั้งสิ้น
ความสุข เกิดแล้วก็ดับ
ความสงบ เกิดแล้วก็ดับ
ความชั่ว เกิดแล้วก็ดับ
ความทุกข์ เกิดแล้วก็ดับ
จะเห็นอย่างนี้นะ
สุดท้าย มันจะรู้สึกว่า
ความสุข และความทุกข์ มันก็เท่าเทียมกัน
ความดี และความชั่ว ก็เท่าเทียมกัน
ในแง่ที่ว่าเกิดแล้วดับเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น
เวลาจิตมีความสุข เราจะไม่หลงดีใจ
ความสุขหายไป เราก็ไม่เสียใจ
เพราะเรารู้ว่าความสุขเป็นของชั่วคราว
เวลามีความทุกข์เกิดขึ้น เราก็ไม่เสียใจ
เรารู้ว่ามันอยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ไป
ค่อย ๆ ดูไป
ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว
เกิดแล้วดับ ต่อไปจิตจะเป็นกลาง
ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ไม่ว่าดีหรือชั่วเกิดขึ้น
จิตจะเป็นกลาง
จิตที่เป็นกลางนั้น ไม่ดิ้นรน
จิตที่ไม่ดิ้นรนนั้น มีความสุข มีความสงบ
ยิ่งกว่าการนั่งสมาธิอีก”
…………………..
พระธรรมเทศนา
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ถอดคำ: โบ
เรียบเรียง: สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
https://www.facebook.com/1317977204900901/photos/a.1412754818756472.1073741828.1317977204900901/1611196735578945/?type=3&theater