เมื่อวันก่อนหนอนฯคุยกับพี่สาวที่อยู่ต่างประเทศ เรื่องอาหารสมัยหนอนฯยังเด็ก พี่ก็พูดถึงเมนูโบราณอย่างหนึ่งเรียกว่า "หัวไชโป๊วต้มกะทิ"
พี่เก่งด้านการทำอาหารมากค่ะ ตอนหนอนฯยังเด็กบ้านเรามีพี่เป็นแม่ครัวหัวป่าก์ประจำบ้าน(อายุเราห่างกันมากค่ะ เกือบ ๒๐ ปี) และปัจจุบันเวลาหนอนฯนึกจะทำเมนูไหน ก็ต้องไลน์ไปถามเพื่อความชัวร์ พี่บอกว่าเมื่อก่อนตอนพวกหนอนฯยังเด็ก ป้าชอบทำเมนูนี้มากเพราะเด็กๆชอบ แต่มันแปลกตรงที่หนอนฯจำไม่ได้แฮะ
จำได้แต่ว่าพวกเราชอบกินหัวไชโป๊วผัดไข่กันมาก ที่บ้านชอบที่จะใช้หัวไชโป๊วจากจ.สุรินทร์ ยี่ห้อที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปผึ้งสามตัว ดังนั้นไชโป๊วต้มกะทิเราก็คงชอบด้วยล่ะ
พอพี่อธิบาย หนอนฯก็เริ่มนึกได้แต่ไม่ชัดเจนนัก จากความทรงจำเลือนราง ชักจะคิดถึงแฮะ
ดังนั้นเราต้องจัด
พี่บอกวิธีทำมาประมาณนี้ค่ะ
มีหอมแดง พริกไทย ไข่ และ หัวไชโป๊วถ้าเค็มให้แช่น้ำล้างเอาเค็มออกบ้าง
วันนี้หนอนฯมีแบบหั่นลูกเต๋า ชิมแล้วมันกรอบๆ รสคิดว่าใช้ได้ค่ะ เลยไม่ล้างน้ำ เพราะเดี๋ยวลงหม้อเคี่ยวๆไปรสมันจะออกไปอยู่ในกะทินะคะ
ผัดหอมแดงและพริกไทยกับกะทิ
ตามด้วยไชโป๊ว ผัดพอเข้ากัน แล้วใส่หางกะทิ เคี่ยวจนไชโป๊วนิ่ม
แต่ไชโป๊ววันนี้ เคี่ยวนานมันก็ไม่ค่อยนิ่มค่ะ ออกจะกรอบๆอยู่
อาจเป็นเพราะหนอนฯมีแบบหั่นลูกเต๋า ถ้าเป็นหัวแล้วเอามาหั่นเอง ที่เคยเอามาทำแกงจืดมันก็นิ่มอยู่นะคะ
ชิมรสให้ออกเค็มหวาน ใส่หัวกะทิ ใช้เกลือเติมถ้าต้องการเพิ่มเค็ม แต่หนอนฯชิมแล้ว โอ๋ย น้ำกะทิหอมมาก รสอร่อยเลยล่ะ ไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่ม
เมื่อรสได้ที่ ใส่ไข่ลงไป คนๆ เดือด ปิดเตา"
ตักใส่ถ้วยมานั่งพิจารณา หม่ำแล้วจำรสชาติวัยเด็กได้ล่ะค่ะ
หนอนฯว่านะ เมนูนี้แนะนำเอาแบบหัวมาหั่นเป็นชิ้นบางๆเองน่าจะดี ไชโป๊วมันจะนุ่มกว่านี้ ไม่ออกกรอบๆแบบถ้วยนี้
สรุปค่ะ แนะนำเลยล่ะ โดยเฉพาะสำหรับเด็กและผู้สูงวัยที่เบื่ออาหาร เพราะเมนูโบราณถ้วยนี้รับประทานง่าย รสไม่จัด แต่มีรสชาติหนักกว่าแกงจืด เปลี่ยนบรรยากาศได้ดีค่ะ
อย่างไรก็ดี หัวไชโป๊วมีรสเค็ม ดังนั้นท่านใดมีปัญหาสุขภาพที่ต้องเลี่ยงเค็ม ขอให้พิจารณาด้วยนะคะ
ขอให้เจริญอาหาร ช่วง" อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ "ค่ะ
เมนูนี้..."ไม่รัก แต่คิดถึง" (หัวไชโป๊วต้มกะทิ)
พี่เก่งด้านการทำอาหารมากค่ะ ตอนหนอนฯยังเด็กบ้านเรามีพี่เป็นแม่ครัวหัวป่าก์ประจำบ้าน(อายุเราห่างกันมากค่ะ เกือบ ๒๐ ปี) และปัจจุบันเวลาหนอนฯนึกจะทำเมนูไหน ก็ต้องไลน์ไปถามเพื่อความชัวร์ พี่บอกว่าเมื่อก่อนตอนพวกหนอนฯยังเด็ก ป้าชอบทำเมนูนี้มากเพราะเด็กๆชอบ แต่มันแปลกตรงที่หนอนฯจำไม่ได้แฮะ
จำได้แต่ว่าพวกเราชอบกินหัวไชโป๊วผัดไข่กันมาก ที่บ้านชอบที่จะใช้หัวไชโป๊วจากจ.สุรินทร์ ยี่ห้อที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปผึ้งสามตัว ดังนั้นไชโป๊วต้มกะทิเราก็คงชอบด้วยล่ะ
พอพี่อธิบาย หนอนฯก็เริ่มนึกได้แต่ไม่ชัดเจนนัก จากความทรงจำเลือนราง ชักจะคิดถึงแฮะ
ดังนั้นเราต้องจัด
พี่บอกวิธีทำมาประมาณนี้ค่ะ
มีหอมแดง พริกไทย ไข่ และ หัวไชโป๊วถ้าเค็มให้แช่น้ำล้างเอาเค็มออกบ้าง
วันนี้หนอนฯมีแบบหั่นลูกเต๋า ชิมแล้วมันกรอบๆ รสคิดว่าใช้ได้ค่ะ เลยไม่ล้างน้ำ เพราะเดี๋ยวลงหม้อเคี่ยวๆไปรสมันจะออกไปอยู่ในกะทินะคะ
ผัดหอมแดงและพริกไทยกับกะทิ
ตามด้วยไชโป๊ว ผัดพอเข้ากัน แล้วใส่หางกะทิ เคี่ยวจนไชโป๊วนิ่ม
แต่ไชโป๊ววันนี้ เคี่ยวนานมันก็ไม่ค่อยนิ่มค่ะ ออกจะกรอบๆอยู่
อาจเป็นเพราะหนอนฯมีแบบหั่นลูกเต๋า ถ้าเป็นหัวแล้วเอามาหั่นเอง ที่เคยเอามาทำแกงจืดมันก็นิ่มอยู่นะคะ
ชิมรสให้ออกเค็มหวาน ใส่หัวกะทิ ใช้เกลือเติมถ้าต้องการเพิ่มเค็ม แต่หนอนฯชิมแล้ว โอ๋ย น้ำกะทิหอมมาก รสอร่อยเลยล่ะ ไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่ม
เมื่อรสได้ที่ ใส่ไข่ลงไป คนๆ เดือด ปิดเตา"
ตักใส่ถ้วยมานั่งพิจารณา หม่ำแล้วจำรสชาติวัยเด็กได้ล่ะค่ะ
หนอนฯว่านะ เมนูนี้แนะนำเอาแบบหัวมาหั่นเป็นชิ้นบางๆเองน่าจะดี ไชโป๊วมันจะนุ่มกว่านี้ ไม่ออกกรอบๆแบบถ้วยนี้
สรุปค่ะ แนะนำเลยล่ะ โดยเฉพาะสำหรับเด็กและผู้สูงวัยที่เบื่ออาหาร เพราะเมนูโบราณถ้วยนี้รับประทานง่าย รสไม่จัด แต่มีรสชาติหนักกว่าแกงจืด เปลี่ยนบรรยากาศได้ดีค่ะ
อย่างไรก็ดี หัวไชโป๊วมีรสเค็ม ดังนั้นท่านใดมีปัญหาสุขภาพที่ต้องเลี่ยงเค็ม ขอให้พิจารณาด้วยนะคะ
ขอให้เจริญอาหาร ช่วง" อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ "ค่ะ