รูปปั้น Laocoön และบุตรชายของเขาในพิพิธภัณฑ์Vatican Museums นครวาติกัน
Cr.ภาพ: LivioAndronico / Wikimedia Commons
เพราะ Laocoön นักบวช Trojan พยายามจะเปิดโปงอุบายของ Trojan Horse เขาจึงถูกโจมตีและถูกสังหารพร้อมกับลูกชายทั้งสองของเขาโดยงูยักษ์
สองตัว ที่เป็นที่รู้จักกันดีในตำนานเทพเจ้ากรีก (ด้วยการเตือนประชาชนของเขาไม่ให้ยอมรับและให้จุดไฟเผา Trojan Horse ปลอมของกรีก แต่เทพีเอเธน่าหยุดเขาด้วยการส่งงูไปจัดการกับ Laocoön และ Antiphantes และ Thymbraeus ลูกชายทั้งสองของเขา)
ซึ่งเรื่องราวของชะตากรรมอันน่าสยดสยองที่น่าเศร้านี้ ถูกเล่าขานมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ โดยกวีชาวกรีกหลายคนเช่น Apollodorus และ Quintus Smyrnaeus จากบทกวีมหากาพย์เรื่อง " Posthomerica " และยังได้รับการกล่าวถึงโดย Sophocles นักโศกนาฏกรรมชาวกรีกที่มีชื่อเสียง รวมทั้ง Virgil นักกวีชาวโรมัน ซึ่งมีเรื่องราวที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งที่มีชีวิตรอดจากยุค Hellenistic period แต่เรื่องของ Laocoön นั้นมีหลักฐานแค่ด้านงานเขียนเท่านั้น
ต่อมาในปี 1506 จุดจบที่น่าสยดสยองของ Laocoön เริ่มมีความเป็นจริงมากขึ้น เมื่อมีชาวนาขุดพบรูปปั้นหินอ่อนในไร่องุ่นในโรม ซึ่งรูปปั้นนั้นมีรูปสลัก ของ Laocoön อยู่ตรงกลาง และร่างกายที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อของเขาถูกรัดโดยงูสองตัวที่พันรอบขาและแขน และแขนซ้ายของเขาได้จับงูไว้แน่น
แต่ความพยายามของเขาที่จะป้องกันตัวนั้นไร้ผล เพราะหัวของงูที่อยู่เหนือสะโพกพร้อมที่จะกัดเขาอย่างรุนแรง ส่วนแขนขวาที่งอไปด้านหลังเหมือนถูกรัดด้วยลำตัวของงูตัวเดียวกัน
ในขณะที่ ลูกชายคนเล็กทางด้านขวาของเขา ก็ถูกรัดอย่างรุนแรงด้วยลำตัวของงูตัวที่สอง ที่เด็กชายพยายามดันหัวของงูที่กัดอยู่ให้ออกไปจากตัว แต่งูได้กัดเด็กไปแล้ว และพิษที่เข้าสู่ร่างกายของเด็กชายทำให้ยืนแทบไม่ไหว ส่วนพี่ชายทางด้านซ้ายของ Laocoön กำลังมองดูพ่อและน้องด้วยความสยดสยองและสิ้นหวัง พร้อมกับพยายามปลดงูออกจากข้อเท้าของตัวเอง
Laocoon และบุตรชายของเขาที่ยืดแขนออกไป
สำเนานี้จัดทำโดย Baccio Bandinelli of Florence ในปี 1520 เพื่อมอบให้ฟรานซิสที่ 1 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส
มันถูกส่งจากโรมไปฟลอเรนซ์ในปี 1531 ในปี 1671 Cr.ภาพ: The Digital Sculpture Project
เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา Julius II ทราบเรื่องที่พบรูปปั้น พระองค์จึงส่ง Michelangelo และ Giuliano da Sangallo สถาปนิกชาวฟลอเรนซ์ไปเพื่อตรวจสอบการขุดค้น ซึ่งต่อมาพวกเขาทั้งสองได้กลับไปที่วาติกันพร้อมกับยืนยันว่าเป็นรูปปั้นในตำนานของ Laocoön และลูกชาย
และเช่นเดียวกับการค้นพบทางโบราณคดีจำนวนมาก รูปปั้น Laocoön และลูกชายของเขาอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ มันมีส่วนที่หายไปสองสามชิ้น เช่น แขนซ้ายของลูกชายคนเล็ก มือขวาของลูกชายคนโตและขดลำตัวของงูบางส่วน แต่ชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ขาดหายไปคือ แขนขวาของ Laocoön
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงต้องการให้มีการบูรณะส่วนที่ขาดหายไปนี้ให้สมบูรณ์ จึงมอบโครงการนี้ให้กับ Donato Bramante สถาปนิกวาติกัน ซึ่งได้จัด
ให้มีการประกวดเพื่อดูว่าใครสามารถสร้างการฟื้นฟูแขนที่ดีที่สุดได้ โดยตอนแรก Michelangelo แนะนำว่าแขนที่หายไปของ Laocoön ควรจะงอกลับเหมือนกำลังพยายามจะดึงงูออกจากหลังของเขา
แต่ Raphael จิตรกรและสถาปนิกชาวอิตาลีบอกว่า แขนน่าจะยืดขึ้นไปมากกว่า ในท้ายที่สุด Jacopo Sansovino ได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะ โดยทำเป็นแขนที่ยืดขึ้นไปจับตัวงู ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ Raphael
หลังจากนั้น ในที่สุดรูปปั้นก็ได้รับการซ่อมแซมใหม่ในปี 1532 ประมาณสองทศวรรษต่อมา โดย Giovanni Antonio Montorsoli ลูกศิษย์ของ Michelangelo โดยเป็นแขนใหม่ที่ตรงกว่าเดิม ซึ่งรูปปั้นใหม่นี้กลายเป็นรูปปั้นมาตรฐานจนถึงศตวรรษที่ 20 เมื่อโชคชะตาพลิกผันอีกครั้ง
Laocoön - Stefano Moderno - 1630
โดยในปี 1906 แขนที่งอไปทางด้านหลังแบบโบราณนั้น ถูกค้นพบในห้องประชุมของชาวโรมัน ห่างจากจุดที่พบกลุ่มรูปปั้นเพียงไม่กี่ร้อยเมตร
ซึ่งก่อนหน้านี้ Ludwig Pollak นักโบราณคดีผู้ค้นพบแขน ได้สังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันในรูปแบบศิลปะกลุ่มเดียวกันกับรูปปั้น Laocoön และสงสัยว่าแขนที่พบน่าจะเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่หายไปของรูปสลัก จึงได้นำแขนที่หักส่งไปยังพิพิธภัณฑ์วาติกัน
แต่ภัณฑารักษ์กลับนำแขนที่ Pollak พบไปไว้ในห้องเก็บของของพิพิธภัณฑ์และลืมเรื่องนี้ไปในทันที จนกระทั่งมีการไปพบอีกครั้งในครึ่งศตวรรษต่อมา โดยรอยหักในชิ้นส่วนแขนนั้นสอดคล้องพอดีกับรอยบนรูปปั้น ทำให้ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าชิ้นส่วนนั้นมาจากไหน
จากนั้น ในปี1957 พิพิธภัณฑ์ได้ถอดการบูรณะของ Montorsoli ออกและติดแขนที่งอดั้งเดิมที่พบห้องเก็บของของพิพิธภัณฑ์เข้าไปใหม่ รูปปั้นจึงมีแขนที่เป็นลักษณะตามที่ Michelangelo ประติมากรชาวอิตาลีที่ยิ่งใหญ่ได้แนะนำไว้ในตอนแรก หลังจากที่เขาจากไป
References:
# Bernard Frischer, An Annotated Chronology of the “Laocoon” Statue Group, The Digital Sculpture Project
# Stacy Conradt, Why the Laocoön Sculpture Had the Wrong Arm for Four Centuries, Mental Floss
# Monique Webber, Who Says Michelangelo Was Right? Conflicting Visions of the Past in Early Modern Prints, Public Domain Review
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แขนที่ขาดหายไปของ Laocoön และลูกชายของเขา
แต่ความพยายามของเขาที่จะป้องกันตัวนั้นไร้ผล เพราะหัวของงูที่อยู่เหนือสะโพกพร้อมที่จะกัดเขาอย่างรุนแรง ส่วนแขนขวาที่งอไปด้านหลังเหมือนถูกรัดด้วยลำตัวของงูตัวเดียวกัน
ในขณะที่ ลูกชายคนเล็กทางด้านขวาของเขา ก็ถูกรัดอย่างรุนแรงด้วยลำตัวของงูตัวที่สอง ที่เด็กชายพยายามดันหัวของงูที่กัดอยู่ให้ออกไปจากตัว แต่งูได้กัดเด็กไปแล้ว และพิษที่เข้าสู่ร่างกายของเด็กชายทำให้ยืนแทบไม่ไหว ส่วนพี่ชายทางด้านซ้ายของ Laocoön กำลังมองดูพ่อและน้องด้วยความสยดสยองและสิ้นหวัง พร้อมกับพยายามปลดงูออกจากข้อเท้าของตัวเอง
และเช่นเดียวกับการค้นพบทางโบราณคดีจำนวนมาก รูปปั้น Laocoön และลูกชายของเขาอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ มันมีส่วนที่หายไปสองสามชิ้น เช่น แขนซ้ายของลูกชายคนเล็ก มือขวาของลูกชายคนโตและขดลำตัวของงูบางส่วน แต่ชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ขาดหายไปคือ แขนขวาของ Laocoön
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงต้องการให้มีการบูรณะส่วนที่ขาดหายไปนี้ให้สมบูรณ์ จึงมอบโครงการนี้ให้กับ Donato Bramante สถาปนิกวาติกัน ซึ่งได้จัด
ให้มีการประกวดเพื่อดูว่าใครสามารถสร้างการฟื้นฟูแขนที่ดีที่สุดได้ โดยตอนแรก Michelangelo แนะนำว่าแขนที่หายไปของ Laocoön ควรจะงอกลับเหมือนกำลังพยายามจะดึงงูออกจากหลังของเขา
แต่ Raphael จิตรกรและสถาปนิกชาวอิตาลีบอกว่า แขนน่าจะยืดขึ้นไปมากกว่า ในท้ายที่สุด Jacopo Sansovino ได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะ โดยทำเป็นแขนที่ยืดขึ้นไปจับตัวงู ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ Raphael
หลังจากนั้น ในที่สุดรูปปั้นก็ได้รับการซ่อมแซมใหม่ในปี 1532 ประมาณสองทศวรรษต่อมา โดย Giovanni Antonio Montorsoli ลูกศิษย์ของ Michelangelo โดยเป็นแขนใหม่ที่ตรงกว่าเดิม ซึ่งรูปปั้นใหม่นี้กลายเป็นรูปปั้นมาตรฐานจนถึงศตวรรษที่ 20 เมื่อโชคชะตาพลิกผันอีกครั้ง
ซึ่งก่อนหน้านี้ Ludwig Pollak นักโบราณคดีผู้ค้นพบแขน ได้สังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันในรูปแบบศิลปะกลุ่มเดียวกันกับรูปปั้น Laocoön และสงสัยว่าแขนที่พบน่าจะเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่หายไปของรูปสลัก จึงได้นำแขนที่หักส่งไปยังพิพิธภัณฑ์วาติกัน
แต่ภัณฑารักษ์กลับนำแขนที่ Pollak พบไปไว้ในห้องเก็บของของพิพิธภัณฑ์และลืมเรื่องนี้ไปในทันที จนกระทั่งมีการไปพบอีกครั้งในครึ่งศตวรรษต่อมา โดยรอยหักในชิ้นส่วนแขนนั้นสอดคล้องพอดีกับรอยบนรูปปั้น ทำให้ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าชิ้นส่วนนั้นมาจากไหน
จากนั้น ในปี1957 พิพิธภัณฑ์ได้ถอดการบูรณะของ Montorsoli ออกและติดแขนที่งอดั้งเดิมที่พบห้องเก็บของของพิพิธภัณฑ์เข้าไปใหม่ รูปปั้นจึงมีแขนที่เป็นลักษณะตามที่ Michelangelo ประติมากรชาวอิตาลีที่ยิ่งใหญ่ได้แนะนำไว้ในตอนแรก หลังจากที่เขาจากไป
# Bernard Frischer, An Annotated Chronology of the “Laocoon” Statue Group, The Digital Sculpture Project
# Stacy Conradt, Why the Laocoön Sculpture Had the Wrong Arm for Four Centuries, Mental Floss
# Monique Webber, Who Says Michelangelo Was Right? Conflicting Visions of the Past in Early Modern Prints, Public Domain Review