เทพอีกองค์ที่จะเล่าถึงก็คือเมอร์คิวรีที่แปลว่าปรอท หรือเรียกได้อีกชื่อคือ Hermes กระเป๋าแบรนด์ดังน่ะแหละ
ชื่อแบบนี้มาจากอะไรทำไมจึงเป็นปรอท เดี๋ยวจะบอกให้รู้
เทพเมอร์คิวรีนั้นมีสถานะเป็นเจ้าชายในสวรรค์เช่นเดียวกับอพอลโลผู้ซึ่งเป็นพี่ชายพ่อเดียวกัน ซึ่งก็คือซีอุส แต่คนละแม่กัน โดยแม่ของเขาคือ มาอียา (Maia) ลูกสาวของแอ๊ทลาส (Atlas) ซึ่งตัวแอ๊ทลาสนี้ก็คือยักษ์แบกโลกที่เป็นชื่อทั้งแผนที่ ซึ่งใช้กันทั่วโลก (ถ้าอยากรู้เดี๋ยวมีเล่า)
เมอร์คิวรีถือได้ว่าเป็นเทพที่ดูฉลาดเฉลียวว่องไว มาตั้งแต่เด็กคลอดออกมาก็เร็วไปไหนมาไหนได้แล้ว ซึ่งความว่องไวรวดเร็วนี่แหละที่จะเป็นลักษณะเด่นให้กลายเป็นเทพหน้าที่สำคัญต่อไป ในช่วงวัยเด็กก็มีการสร้างผลงานเกเรได้คือไปขโมยฝูงวัวอพอลโลเพื่อจะเอามาฆ่ากินเสียบไม้ย่างไฟหิน แล้วก็โดนจับได้ว่าเป็นหัวขโมย ตอนแรกก็ไม่ได้ยอมรับ
แต่ต่อมาคุณพ่อซีอุสก็บอกว่าให้สารภาพมาซะดีๆ น้องน้อยก็ยอมซึ่งพี่ชาย แล้วทำการมอบพิณกระดองเต่าซึ่งเป็นพิณที่สายเชือกหนังมารัดกับกระดองเพื่อไว้ใช้ดีดเล่นไห้กับอพอลโล ซึ่งพี่ชายรูปหล่อก็ชอบใจมากเลยยกโทษให้ และตอบแทนโดยมอบไม้ศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า คาดูเซอุส (Caduceus) มีฤทธิ์ซ่อมแซมทำให้ของที่พังแตกหักกลายมาเป็นของเด็ดได้ หรือแม้แต่เวลาคนทะเลาะกัน พอชี้ไม้ไปก็ประสานสัมพันธ์ได้ดังเดิม
ได้ไม้คทาวิเศษแล้วเมอร์คิวรีก็ดีใจเอาไปจิ้มโน่นจิ้มนี้เล่น จนไปเจองูสองตัวสู้กันอยู่ก็เลยเอาไปจิ้มมันก็เลยเลื้อยไปบนปลายไม้ เมอร์คิวรีชอบใจก็เลยเสกให้งู 2 ตัวค้างเข็งสต๊าฟไว้แบบนั้น เป็นส่วนประกอบคทาไปสวยงามดี รูปไม้นี้ยังคงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นกลางอยู่ และต่อมาก็เป็นการแพทย์
หากทางอพอลโลเป็นพระเอกแห่งทวยเทพแล้วเมอร์คิวรีก็เป็นจากพระรอง ซึ่งแม้จะมีบทบาทจากนางรอง แต่ก็หล่อหลายเท่า แต่มีบุคลิกกะล่อน ทะเล้น แคล้วคล่องว่องไว ฉลาดเฉลียวอะไรแบบนี้ ดูเป็นเพลย์บอยมากกว่านะ แต่สาวๆ บางคนก็ชอบแบบนี้แหละ ด้วยเหตุที่มีความว่องไววิ่งเก่งก็เลยถูกเซอุสใช้ให้ทำหน้าที่ส่งสาร ส่งข่าว ซึ่งก็เหมาะมาก
นอกจากนั้นก็ได้มอบรองเท้าติดปีก ชื่อรองเท้าตาลาเรีย (Talaria) ให้สามารถเหาะได้อีก พร้อมกับหมวกมีปีกชื่อเปคาซัส (Petasus) ช่วยให้ล่องหนได้ ซึ่งก็เหมาะแล้ว เพราะจะได้เหาะไปวิ่งไปข้ามไปบอกข่าวส่งข้อมูลทั้งจักรวาลอย่างรวดเร็ว ทำให้เมอร์คิวรีได้ตำแหน่งเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร ซึ่งก็สมควรแล้ว
ส่วนอีกตำแหน่งคือชื่อของเขา โดยเมอร์คิวรีแปลอีกอย่างว่าเป็น ธาตุปรอท ซึ่งคนบางคนอาจได้ยินสำนวนว่า ไวอย่างกับปรอท (เคยได้ยินกันไหมฮะ) ซึ่งก็หมายความว่า สารปรอทเวลาอยู่บนหินปล่อยให้กลิ้งไปมา มันจะกลิ้งไหลไปเร็วจนจับไม่ทันเช่นเดียวกับเทพองค์นี้ซึ่งมีสัญลักษณ์ที่ถูกเปรียบเปรยเรียกว่า “เร็วเท่าความคิด”
นอกจากนั้น เทพเมอร์คิวรียังได้ครองตำแหน่งอื่นๆ เช่น เทพแห่งการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เทพแห่งลมและสายฝน เพราะว่าเวลาวิ่งหรือเหาะไปจะทำให้อากาศปั่นป่วน
สัญลักษณ์เดิ่นอีกอย่างคือ การมีวาทศิลป์พูดจากหลอกล่อให้คนเชื่อได้ดี ยังมีตำแหน่งเทพแห่งทูตและเทพแห่งการเจรจาค้าขายไปอีก แล้วเมื่อรวมกับความว่องไวรวดเร็ว ก็เลยเหมาะที่จะเป็นเทพแห่งการส่งสาร เดินทางใช้บินก็เป็นบทบาทหลักที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด
การเป็นกลาง ตัวกลาง ที่ดี เจรจาเพื่อประกันความร้าวฉาน ทรงเพื่อบรรลุข้อตกลงอันดี ซึ่งก็เป็นลักษณะที่ดีต้องเข้าเจรจาการค้า การพาณิชย์ การส่งสาร ทั้งหมดที่รวมตัวกันทำให้เขาหลายภารกิจเหลือเกิน รวมถึงอีกภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งคือการเป็นกลางนำวิญญาณคนตายเข้าสู่ยมโลกอีกด้วย (อันนี้ดูไม่เข้ากันกับบทบาทอื่นที่ผ่านมาซะเลย) และก็มีชื่อว่า เฮอร์มีสไปโคปอมปัส (Hermes Piychopompus) ซึ่งก็เป็นอีกปางหนึ่งของเขาแหละ
พิพิธภัณฑ์วาติกันมีรูปประติมากรรมเมอร์คิวรีหลายองค์ แต่ทว่าแต่ละองค์ก็มีความไม่สมบูรณ์กันคนละแบบ บางอันมีหมวก แต่จะไม่มีปีก บางอันมีปีกกุดๆ ไม่มีปีกที่ขา มีคทาแต่หักหาย แต่นักโบราณคดีเขาก็ยังดูออกนะ
ทว่ารูปของเขาที่สวยที่สุดในวาติกันนั้นเป็นเมอร์คิวรีในปางมัคคุเทศน์สู่ยมโลก (ภาพแรกของบทความนี้แหละ) มีลักษณะคนละโหมดหรือตรงกันข้ามกับที่เราเคยเห็นกัน เป็นรูปหนุ่มเปลือยที่ยืนก้มใบหน้าอันสลดลงมา มีเสื้อคลุมเดินทางพาดไหล่ม้วนพันบนแขนในมาดสุขุม สงบ เศร้า เพื่อนำตัวผู้วายชนม์เข้าสู่การเดินทางอันเชื่องช้ามืดมิด ไม่บอกอาจไม่รู้ว่านี่คือเทพองค์ไหน รู้แต่ว่างดงามมาก จริงๆเนอะ
ยังมีเกร็ดเกี่ยวกับเมอร์คิวรีอีก นั่นก็คือการที่เมอร์คิวรีเป็นชื่อของดาวพุธและเป็นเทพประจำวันพุธ เปรียบได้กับพระพุธของไทย ซึ่งเป็นตราประจำกระทรวงดิจิตอลเชิงเศรษฐกิจและสังคม เหมาะสมกับการเป็นเทพแห่งการส่งสาร
อันที่จริงยังมีประวัติซับซ้อนกับพระพุธโรมันองค์นี้อีกเยอะ แต่หยุดเล่าดีกว่า ปล่อยให้ผู้ชมได้ทัศนาความงามเหลืองามของประติมากรรมชิ้นนี้เต็มที่ละกัน
พระรองขี้เล่น : เมอร์คิวรี ผู้ว่องไว
ชื่อแบบนี้มาจากอะไรทำไมจึงเป็นปรอท เดี๋ยวจะบอกให้รู้
เทพเมอร์คิวรีนั้นมีสถานะเป็นเจ้าชายในสวรรค์เช่นเดียวกับอพอลโลผู้ซึ่งเป็นพี่ชายพ่อเดียวกัน ซึ่งก็คือซีอุส แต่คนละแม่กัน โดยแม่ของเขาคือ มาอียา (Maia) ลูกสาวของแอ๊ทลาส (Atlas) ซึ่งตัวแอ๊ทลาสนี้ก็คือยักษ์แบกโลกที่เป็นชื่อทั้งแผนที่ ซึ่งใช้กันทั่วโลก (ถ้าอยากรู้เดี๋ยวมีเล่า)
เมอร์คิวรีถือได้ว่าเป็นเทพที่ดูฉลาดเฉลียวว่องไว มาตั้งแต่เด็กคลอดออกมาก็เร็วไปไหนมาไหนได้แล้ว ซึ่งความว่องไวรวดเร็วนี่แหละที่จะเป็นลักษณะเด่นให้กลายเป็นเทพหน้าที่สำคัญต่อไป ในช่วงวัยเด็กก็มีการสร้างผลงานเกเรได้คือไปขโมยฝูงวัวอพอลโลเพื่อจะเอามาฆ่ากินเสียบไม้ย่างไฟหิน แล้วก็โดนจับได้ว่าเป็นหัวขโมย ตอนแรกก็ไม่ได้ยอมรับ
แต่ต่อมาคุณพ่อซีอุสก็บอกว่าให้สารภาพมาซะดีๆ น้องน้อยก็ยอมซึ่งพี่ชาย แล้วทำการมอบพิณกระดองเต่าซึ่งเป็นพิณที่สายเชือกหนังมารัดกับกระดองเพื่อไว้ใช้ดีดเล่นไห้กับอพอลโล ซึ่งพี่ชายรูปหล่อก็ชอบใจมากเลยยกโทษให้ และตอบแทนโดยมอบไม้ศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า คาดูเซอุส (Caduceus) มีฤทธิ์ซ่อมแซมทำให้ของที่พังแตกหักกลายมาเป็นของเด็ดได้ หรือแม้แต่เวลาคนทะเลาะกัน พอชี้ไม้ไปก็ประสานสัมพันธ์ได้ดังเดิม
ได้ไม้คทาวิเศษแล้วเมอร์คิวรีก็ดีใจเอาไปจิ้มโน่นจิ้มนี้เล่น จนไปเจองูสองตัวสู้กันอยู่ก็เลยเอาไปจิ้มมันก็เลยเลื้อยไปบนปลายไม้ เมอร์คิวรีชอบใจก็เลยเสกให้งู 2 ตัวค้างเข็งสต๊าฟไว้แบบนั้น เป็นส่วนประกอบคทาไปสวยงามดี รูปไม้นี้ยังคงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นกลางอยู่ และต่อมาก็เป็นการแพทย์
หากทางอพอลโลเป็นพระเอกแห่งทวยเทพแล้วเมอร์คิวรีก็เป็นจากพระรอง ซึ่งแม้จะมีบทบาทจากนางรอง แต่ก็หล่อหลายเท่า แต่มีบุคลิกกะล่อน ทะเล้น แคล้วคล่องว่องไว ฉลาดเฉลียวอะไรแบบนี้ ดูเป็นเพลย์บอยมากกว่านะ แต่สาวๆ บางคนก็ชอบแบบนี้แหละ ด้วยเหตุที่มีความว่องไววิ่งเก่งก็เลยถูกเซอุสใช้ให้ทำหน้าที่ส่งสาร ส่งข่าว ซึ่งก็เหมาะมาก
นอกจากนั้นก็ได้มอบรองเท้าติดปีก ชื่อรองเท้าตาลาเรีย (Talaria) ให้สามารถเหาะได้อีก พร้อมกับหมวกมีปีกชื่อเปคาซัส (Petasus) ช่วยให้ล่องหนได้ ซึ่งก็เหมาะแล้ว เพราะจะได้เหาะไปวิ่งไปข้ามไปบอกข่าวส่งข้อมูลทั้งจักรวาลอย่างรวดเร็ว ทำให้เมอร์คิวรีได้ตำแหน่งเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร ซึ่งก็สมควรแล้ว
ส่วนอีกตำแหน่งคือชื่อของเขา โดยเมอร์คิวรีแปลอีกอย่างว่าเป็น ธาตุปรอท ซึ่งคนบางคนอาจได้ยินสำนวนว่า ไวอย่างกับปรอท (เคยได้ยินกันไหมฮะ) ซึ่งก็หมายความว่า สารปรอทเวลาอยู่บนหินปล่อยให้กลิ้งไปมา มันจะกลิ้งไหลไปเร็วจนจับไม่ทันเช่นเดียวกับเทพองค์นี้ซึ่งมีสัญลักษณ์ที่ถูกเปรียบเปรยเรียกว่า “เร็วเท่าความคิด”
นอกจากนั้น เทพเมอร์คิวรียังได้ครองตำแหน่งอื่นๆ เช่น เทพแห่งการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เทพแห่งลมและสายฝน เพราะว่าเวลาวิ่งหรือเหาะไปจะทำให้อากาศปั่นป่วน
สัญลักษณ์เดิ่นอีกอย่างคือ การมีวาทศิลป์พูดจากหลอกล่อให้คนเชื่อได้ดี ยังมีตำแหน่งเทพแห่งทูตและเทพแห่งการเจรจาค้าขายไปอีก แล้วเมื่อรวมกับความว่องไวรวดเร็ว ก็เลยเหมาะที่จะเป็นเทพแห่งการส่งสาร เดินทางใช้บินก็เป็นบทบาทหลักที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด
การเป็นกลาง ตัวกลาง ที่ดี เจรจาเพื่อประกันความร้าวฉาน ทรงเพื่อบรรลุข้อตกลงอันดี ซึ่งก็เป็นลักษณะที่ดีต้องเข้าเจรจาการค้า การพาณิชย์ การส่งสาร ทั้งหมดที่รวมตัวกันทำให้เขาหลายภารกิจเหลือเกิน รวมถึงอีกภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งคือการเป็นกลางนำวิญญาณคนตายเข้าสู่ยมโลกอีกด้วย (อันนี้ดูไม่เข้ากันกับบทบาทอื่นที่ผ่านมาซะเลย) และก็มีชื่อว่า เฮอร์มีสไปโคปอมปัส (Hermes Piychopompus) ซึ่งก็เป็นอีกปางหนึ่งของเขาแหละ
พิพิธภัณฑ์วาติกันมีรูปประติมากรรมเมอร์คิวรีหลายองค์ แต่ทว่าแต่ละองค์ก็มีความไม่สมบูรณ์กันคนละแบบ บางอันมีหมวก แต่จะไม่มีปีก บางอันมีปีกกุดๆ ไม่มีปีกที่ขา มีคทาแต่หักหาย แต่นักโบราณคดีเขาก็ยังดูออกนะ
ทว่ารูปของเขาที่สวยที่สุดในวาติกันนั้นเป็นเมอร์คิวรีในปางมัคคุเทศน์สู่ยมโลก (ภาพแรกของบทความนี้แหละ) มีลักษณะคนละโหมดหรือตรงกันข้ามกับที่เราเคยเห็นกัน เป็นรูปหนุ่มเปลือยที่ยืนก้มใบหน้าอันสลดลงมา มีเสื้อคลุมเดินทางพาดไหล่ม้วนพันบนแขนในมาดสุขุม สงบ เศร้า เพื่อนำตัวผู้วายชนม์เข้าสู่การเดินทางอันเชื่องช้ามืดมิด ไม่บอกอาจไม่รู้ว่านี่คือเทพองค์ไหน รู้แต่ว่างดงามมาก จริงๆเนอะ
ยังมีเกร็ดเกี่ยวกับเมอร์คิวรีอีก นั่นก็คือการที่เมอร์คิวรีเป็นชื่อของดาวพุธและเป็นเทพประจำวันพุธ เปรียบได้กับพระพุธของไทย ซึ่งเป็นตราประจำกระทรวงดิจิตอลเชิงเศรษฐกิจและสังคม เหมาะสมกับการเป็นเทพแห่งการส่งสาร
อันที่จริงยังมีประวัติซับซ้อนกับพระพุธโรมันองค์นี้อีกเยอะ แต่หยุดเล่าดีกว่า ปล่อยให้ผู้ชมได้ทัศนาความงามเหลืองามของประติมากรรมชิ้นนี้เต็มที่ละกัน